ภาพและเรื่องโดย..นิพนธ์ คันทรง
ท่านเจ้าคุณพระวิมลธรรมภาณ มีนามเดิมว่า “ สังเวียน บุญมาก ” กำเนิด ณ บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2464 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา โยมบิดาชื่อ กริ่ม บุญมาก โยมมารดาชื่อ พริ้ง บุญมาก มีพี่น้องรวมด้วยกัน 6 คน คือ
1. นางขาว เหมพิจิตร
2. นางสาวละออง บุญมาก
3. นางน้ำค้าง บุญมาก
4. นางน้ำผึ้ง บุญมาก
5. พระพรหมมุนี ( ปุญญารามเถร หลวงปู่วิชมัย บุญมาก ) วัดบวรนิเวศวิหาร
6. พระวิมลธรรมภาณ ( ฐิตปุญญเถร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก ) วัดดวงแข
เมื่อเยาว์วัยได้รับการศึกษาเบื้องต้น ณ โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านแก่ง อันเป็นวัดใกล้บ้านจนจบชั้นประถมปีที่ 4 แล้วได้ทำการศึกษาต่อจนจบวิชาครูเกษตรกรรมที่จังหวัดนครสวรรค์ ครั้น พ.ศ.2482 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เมื่ออายุได้ 18 ปี และได้ทำการ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดดวงแข โดยมี เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ( ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2482 เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้อยู่จำพรรษาที่ วัดดวงแข ศึกษาพระปริยัติธรรมและสอบไล่ได้นักธรรมโท เมื่อ พ.ศ.2484
พ.ศ.2484 อายุครบอุปสมบท ได้อุปสมบทที่ วัดดวงแข โดย เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุพจนมุนี ( ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระพรหมมุนี สุวจเถร ผิน ธรรมประทีป) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดรัตน์ ( ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระญาณวิสุทธิเถร ) วัดดวงแข เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “ ฐิตปุญญาเถร ” เมื่อดือนพฤษภาคม 2484 และในคราวอุปสมบทนี้เองได้เปลี่ยนชื่อจาก สังเวียน มาเป็น วิเวียร สืบมา หลังจากอุปสมบทแล้วได้ทำการสอบบาลีประโยค 3 แต่ปรากฏว่าสอบตก จึงได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยเข้าพักอาศัยอยู่กับ ท่านพระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ (หลวงพ่ออยู่) เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่ง หรือบิดาบุญธรรม และนี่คือวิถีชีวิตของหลวงปู่ที่ได้เปลี่ยนแปลงใหม่เมื่อเสียใจกับการสอบตกในการสอบบาลี
หลวงพ่ออยู่ เกิดเมื่อ พ.ศ.2419 มรณภาพ พ.ศ.2491 สมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายของหลวงพ่ออยู่คือ พระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ รวมอายุได้ 72 ปีเศษ เมื่อจัดการงานศพของหลวงพ่ออยู่เสร็จแล้ว หลวงปู่ก็ได้เดินทางกลับมา วัดดวงแข เพื่อทบทวนพระเวทวิทยาต่างๆ จนถึงประมาณปี พ.ศ.2495 หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ในวันหนึ่งมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งได้เดินเข้ามาใน วัดดวงแข และได้มาขออนุญาตพัก 1 คืน วันรุ่งขึ้นจะนั่งรถไฟเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา หลวงปู่ก็จัดที่พักให้ที่ศาลาสูง ( ปัจจุบันรื้อไปแล้ว ) หลวงปู่ก็จัดการกวาดวัดต่อไปจนเวลาประมาณเกือบ 2 ทุ่ม หลวงปู่กวาดวัดเสร็จแล้วก็สรงน้ำเพื่อที่จะสวดมนต์ทำวัตร พระภิกษุชรารูปนั้นก็ได้กวักมือเรียกหลวงปู่ไปพบบอกว่า เดี๋ยวสวดมนต์ทำวัตรด้วยกัน เมื่อทั้งสองรูปพร้อมแล้วพระภิกษุชรารูปนั้นก็บอกว่า ปลงอาบัติก่อน ผมก็เป็นพระธรรมยุติเหมือนกับท่าน บวชมาตั้งแต่เป็นเณร
เมื่อปลงอาบัติเสร็จแล้วก็เริ่มสวดมนต์กันจนจบ หลวงปู่บอกว่า พระภิกษุชรารูปนี้สวดมนต์ได้เพราะมาก อักขระชัดเจนสวดเก่งมาก เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้วก็ให้นั่งกัมมัฏฐานกัน นั่งอยู่ได้ประมาณครึ่งชั่วโมงพระภิกษุรูปนั้นก็สั่งให้หยุดนั่ง และสอบถามประวัติหลวงปู่ว่าใครอบรมสั่งสอนวิชาวิปัสสนากรรมฐานให้ หลวงปู่ก็บอกว่า ท่านพระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ ( หลวงพ่ออยู่ ) วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ สอนให้ พระภิกษุชรารูปนั้นก็ยกมือขึ้นไหว้แล้วพูดว่า ท่านหลวงพ่ออยู่นี้เก่งมากอบรมศิษย์ได้ถึงขนาดนี้ แล้วพระภิกษุรูปนั้นก็บอกว่า ตัวของท่านคือ พระอาจารย์สิงห์แห่งโคราช เมื่อหลวงปู่ทราบก็ก้มลงกราบเท้าพระอาจารย์สิงห์ ขอขมาท่านที่ไม่ทราบว่าท่านคือใคร พระอาจารย์สิงห์เลยบอกให้หลวงปู่ไปจัดดอกไม้ ธูป เทียน ผ้าขาว น้ำเปล่าอีก 1 แก้วมา
เมื่อหลวงปู่จัดเครื่องเหล่านี้มาแล้ว พระอาจารย์สิงห์ ก็ให้หลวงปู่ถวายท่านเพื่อทำการศึกษาวิชาพระเวทวิทยาต่างๆ และได้อบรมสั่งสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อจนสำเร็จในวิชาของท่านพระอาจารย์สิงห์ ในครั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ได้อยู่พักที่ วัดดวงแข 10 วัน ได้สอนให้หลวงปู่เขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ มากมาย หลวงปู่บอกว่า วิชากัมมัฏฐานของพระอาจารย์สิงห์นั้นเป็นวิชาที่ลึกซึ้งมาก ต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปี ถึงเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่ท่านแนะนำมา ในระหว่างที่ศึกษาอยู่กับพระอาจารย์สิงห์นั้น พระอาจารย์สิงห์ได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์ต่างๆ ถ้าหากว่าหลวงปู่เดินทางผ่านไปก็ให้ไปกราบพบครูบาอาจารย์เหล่านั้นได้ เมื่อพระอาจารย์สิงห์เดินทางกลับไปจังหวัดนครราชสีมาแล้ว
หลวงปู่ก็ได้พบกับ พระอาจารย์สิงห์ อีกหลายครั้งด้วยกันที่วัดบรมนิวาส และที่วัดปทุมวนาราม กทม. และที่ต่างจังหวัดอีกหลายครั้ง และเคยร่วมธุดงค์ไปกับพระอาจารย์สิงห์ถึงประเทศลาว ต่อมาในปี พ.ศ.2500 เศษ หลวงปู่ได้ถูกนิมนต์ไปนั่งสวดพุทธาภิเษกที่วัดบวรนิเวศวิหาร และได้ไปพบกับ หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี ที่มานั่งปรกปลุกเสกที่วัดบวรนิเวศวิหาร และหลวงปู่ได้เคยไปศึกษาวิชาการลบผงจาก “ หลวงพ่อโด่ ” หลวงพ่อโด่บอกว่า ถ้ามีเวลาให้ไปกราบพบพระอาจารย์ท่านหนึ่งที่มีความรู้ความสามารถเก่งมากคือ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ นั่นเอง แต่หลวงปู่ไม่เคยได้ไปกราบพบหลวงปู่ทิมเลย แต่ก็ให้ความเคารพนับถือหลวงปู่ทิมมาก เวลามีพุทธาภิเษก หรือมีพิธีเททองหล่อพระที่ วัดดวงแข หลวงปู่จะต้องให้เอารูปเหมือนหลวงปู่ทิมมาร่วมพิธีทุกครั้งไป
หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อโด่เก่งมาก ปลุกเสกพระหรือปลัดถึงกับลอยได้วิ่งได้เลยทีเดียว นับได้ว่าพระอาจารย์ของหลวงปู่ที่หลวงปู่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามีอยู่เท่านี้ ส่วนที่หลวงปู่ให้ความเคารพนับถือมีอยู่หลายรูปด้วยกัน แต่ที่เห็นหลวงปู่พูดถึงบ่อยๆ ก็มี หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง หลวงปู่อยู่ วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม จ.อ่างทอง ( หลวงพ่อสนิทเป็นสหายทางธรรมกันมาตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อสนิทยังอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส และเคยมาฉันอาหารหลับนอนที่วัดดวงแขบ่อย ) และ หลวงปู่บุญญฤทธิ์ พระอาจารย์สายกัมมัฏฐานที่ให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาก ถ้าหลวงปู่บุญญฤทธิ์มากรุงเทพฯต้องมาหา หลวงปู่วิเวียร ทุกครั้งไป หลวงปู่เป็นพระที่มีเมตตาสูง ท่านจะให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้ยากจนตลอดเวลา จนเป็นที่ทราบของพระเถรผู้ใหญ่หลายท่านตลอดจนบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ให้ความเคารพนับถือ
หลวงปู่ท่านถือหลักพรหมวิหาร 4 ใครมาหาท่าน หลวงปู่จะประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ และว่าพระคาถาเพื่อเป็นสิริมงคลให้ แล้วจะพูดว่า เจริญเฮงเฮงกันนะ ทุกครั้งไป ไม่ว่าวัดไหนหน่วยราชการใดมาขอพึ่งท่าน หลวงปู่จะช่วยเหลือทุกครั้งไปมิได้ขาด
![]() |
พระวิมลธรรมภาณ (ฐิตปุญฺญเถร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก) วัดดวงแข กทม. |
1. นางขาว เหมพิจิตร
2. นางสาวละออง บุญมาก
3. นางน้ำค้าง บุญมาก
4. นางน้ำผึ้ง บุญมาก
5. พระพรหมมุนี ( ปุญญารามเถร หลวงปู่วิชมัย บุญมาก ) วัดบวรนิเวศวิหาร
6. พระวิมลธรรมภาณ ( ฐิตปุญญเถร หลวงปู่วิเวียร บุญมาก ) วัดดวงแข
![]() |
พระผงสมเด็จประภามณฑลพุทธเมตตา หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข |
![]() |
พระผงสมเด็จนางพญาพุทธเมตตา หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข |
![]() |
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กทม. พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่วิเวียร |
หลวงพ่ออยู่ ก็เลยให้หันเหชีวิตมาในแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาพระเวทวิทยาคมจากหลวงพ่ออยู่แทนจนสำเร็จ (หลวงพ่ออยู่ วัดบ้านแก่ง เป็นศิษย์เอกของ 3 พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งในสมัยก่อนคือเป็นศิษย์ของท่าน พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท พระครูพิสิสถสมถคุณ หรือหลวงปู่เฮง คงฺคสุวณฺโณ วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ และพระครูนิวาสธรรมขันธ์ หรือหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์ ) วิชาของ 3 พระอาจารย์นี้ หลวงพ่ออยู่ วัดบ้านแก่ง ได้ถ่ายทอดให้ หลวงปู่วิเวียร จนหมดสิ้น ตำราพระเวทเหล่านี้ หลวงปู่วิเวียร ได้เคยเล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันนี้ยังอยู่ที่วัดบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ หลวงปู่ได้เดินทางขึ้น-ล่องระหว่าง วัดดวงแข กับวัดบ้านแก่งเวลาเข้าพรรษาจะอยู่ที่ วัดดวงแข พอออกพรรษาจะมาอยู่ที่วัดบ้านแก่งเพื่อศึกษาพระเวทต่างๆ กับหลวงพ่ออยู่ตั้งแต่ พ.ศ.2485 ถึง พ.ศ.2491 ซึ่งเป็นปีที่หลวงพ่ออยู่มรณภาพ
![]() |
พระผงปิดตาพุทธเมตตาทรงน้ำเต้า หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข |
![]() |
พระผงปิดตาพุทธเมตตาลอยองค์ หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข |
![]() |
เหรียญหลวงปู่วิเวียร รุ่นแรก หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข |
หลวงปู่ก็ได้พบกับ พระอาจารย์สิงห์ อีกหลายครั้งด้วยกันที่วัดบรมนิวาส และที่วัดปทุมวนาราม กทม. และที่ต่างจังหวัดอีกหลายครั้ง และเคยร่วมธุดงค์ไปกับพระอาจารย์สิงห์ถึงประเทศลาว ต่อมาในปี พ.ศ.2500 เศษ หลวงปู่ได้ถูกนิมนต์ไปนั่งสวดพุทธาภิเษกที่วัดบวรนิเวศวิหาร และได้ไปพบกับ หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี ที่มานั่งปรกปลุกเสกที่วัดบวรนิเวศวิหาร และหลวงปู่ได้เคยไปศึกษาวิชาการลบผงจาก “ หลวงพ่อโด่ ” หลวงพ่อโด่บอกว่า ถ้ามีเวลาให้ไปกราบพบพระอาจารย์ท่านหนึ่งที่มีความรู้ความสามารถเก่งมากคือ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ นั่นเอง แต่หลวงปู่ไม่เคยได้ไปกราบพบหลวงปู่ทิมเลย แต่ก็ให้ความเคารพนับถือหลวงปู่ทิมมาก เวลามีพุทธาภิเษก หรือมีพิธีเททองหล่อพระที่ วัดดวงแข หลวงปู่จะต้องให้เอารูปเหมือนหลวงปู่ทิมมาร่วมพิธีทุกครั้งไป
![]() |
พระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ (หลวงพ่ออยู่) วัดบ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ พระอาจารย์ของหลวงปู่วิเวียร |
หลวงปู่ท่านถือหลักพรหมวิหาร 4 ใครมาหาท่าน หลวงปู่จะประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ และว่าพระคาถาเพื่อเป็นสิริมงคลให้ แล้วจะพูดว่า เจริญเฮงเฮงกันนะ ทุกครั้งไป ไม่ว่าวัดไหนหน่วยราชการใดมาขอพึ่งท่าน หลวงปู่จะช่วยเหลือทุกครั้งไปมิได้ขาด
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1101 ปักษ์หลัง เดือน กันยายน พ.ศ. 2555 : หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข พระวิมลธรรมภาณ ( ฐิตปุญญเถร วิเวียร ) วัดดวงแข กรุงเทพมหานคร ตอน 1 ภาพและเรื่องโดย..นิพนธ์ คันทรง ราคาปก 60 บาท )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..