รูปหล่อปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พิมพ์นิยม พ.ศ.2484 ( บล็อกแรก )


ภาพและเรื่องโดย ประเจียด คงศาสตรา

รูปหล่อปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
เนื้อโลหะผสม พิมพ์นิยม เอ พ.ศ. 2484
" รูปหล่อปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ มายุติการสร้างเมื่อปี ..2490 ก่อน หลวงพ่อเดิม มรณภาพ 4 ปี หลวงพ่อเดิม บอกกับ หลวงพ่อน้อยว่า พอได้แล้วละ รูปหล่อปั๊ม ของฉันทำมามากแล้ว ดังนั้น รูปหล่อปั๊ม รุ่นสุดท้าย คือพิมพ์ที่เรียกกันว่า บล็อกปากแตก มีรอยแตกที่ปากของ หลวงพ่อเดิม กับ บล็อกคอตึง ศีรษะโต "

วัดหนองโพ สมัยเมื่อ หลวงพ่อเดิม เป็นเจ้าอาวาสนั้นกันดารไม่มีถนนหนทางเข้าวัด มีเพียงทางเกวียนที่ชาวบ้านใช้สัญจรไปมากับถนนดินเส้นเล็กๆ จากสถานีรถไฟบ้านหนองโพ ที่มีรถไฟจอดเพียงวันละ 1 ขบวน ทว่าความทุรกันดารของเส้นทางคมนาคมมิอาจขวางกั้น ความศรัทธาแห่งสาธุชนทั่วประเทศไทย ที่พากันแห่ไปนมัสการ หลวงพ่อเดิม มิได้ขาดสาย หลวงพ่อเดิม ต้องเป่าหัวบ้าง ประสิทธิเมของขลังบ้าง จนแทบจะหมดลม ขาสองข้างของท่านยกขึ้นลงมิได้หยุดเพื่อเหยียบน้ำครามประทับรอยเท้าลงบนผ้าขาว ให้ผู้ศรัทธานำไปกราบไหว้บูชาจนกลายเป็นคำกล่าวติดปากผู้คนว่า "​ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ขลังแม้กระทั่งรอยเท้า ก็ยังยิงไม่ออก " 

รูปหล่อปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
เนื้อโลหะผสม พิมพ์นิยม เอ พ.ศ. 2484
หลวงพ่อเดิม ยอมเหนื่อยยากลำบากกายปลุกเสกวัตถุมงคล เป่าศีรษะผู้เคารพนับถือ ยกเท้าเหยียบรอยเท้าบนผ้าขาว จนหลายครั้งลูกศิษย์ และอุปัฏฐากใกล้ชิดทนไม่ได้ต้องช่วยกันอุ้ม หลวงพ่อเดิม หนีเข้าไปในกุฏิ ด้วยเกรงว่า หลวงพ่อเดิม ที่อยู่ในวัยชราจะมรณภาพ แต่ท่านขอให้อุ้มกลับออกมาอีกโดยให้เหตุผลว่า " เขามาจากทางไกลกว่าจะมาถึง เพียงเพื่อได้พบได้รับของขลัง หรือแม้แต่การเป่าหัวจากตัวฉันเพียงชั่วอึดใจ อย่าให้เขาผิดหวังเลย

ท่านผู้อ่านที่เคารพ รายได้จากการออก วัตถุมงคลของกรรมการ วัดหนองโพ และจากการที่มีผู้ถวายเป็นการส่วนตัว หลวงพ่อเดิม ไม่เคยใส่ใจ จนมีคำกล่าวถึง หลวงพ่อเดิม ว่า เงินผ่านเพียงสายตา หลวงพ่อเดิม ไม่เคยเข้าไปกระทบจิตใจของหลวงพ่อ  เงินทุกบาททุกสตางค์ หลวงพ่อเดิม นำไปก่อสร้างเป็นโบสถ์, วิหาร, ศาลาการเปรียญ หมู่กุฏิสงฆ์ในถิ่นกันดาร ที่ไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากทางการกรมการศาสนา เท่าที่มีอยู่ในบันทึกที่เป็นทางการก็เป็นร้อยแห่ง ที่ไม่เป็นทางการอีกมาก หลังจาก หลวงพ่อเดิม มรณภาพ มีการสำรวจทรัพย์สินของ หลวงพ่อเดิม ในกุฏิ ไม่พบเงินทองของมีค่า ในย่ามคู่ใจของท่าน มีพระคัมภีร์ที่หลวงพ่อรักที่สุดอยู่เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น ทั้งยังมรณภาพในระหว่างที่เป็นประธานสร้างโบสถ์ วัดอินทาราม ทดแทนคุณอุปัชฌาย์ของท่านอีกด้วย 

แม้ในจังหวัดนครสวรรค์ จะมีพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยที่มีพระกิตติคุณสูงอยู่หลายองค์ อาทิ หลวงพ่อทอง วัดเขากบ, หลวงพ่อพวง วัดหนองกะโดน, หลวงพ่อเฮ็ง วัดเขาดิน, หลวงพ่อโฉม วัดตาคลีใหญ่ ฯลฯ แต่ผู้คนพากันนมัสการ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ กันเป็นส่วนใหญ่ จึงกลายมาเป็นสมัญญานามของ หลวงพ่อเดิม ว่า เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว มีศิษย์สืบทอดอาคมอยู่สองรูป รูปแรกคือ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ได้วิชามีดหมอและตำราสร้างมีดหมอของ หลวงพ่อเดิม กลับคืนไปวัดเขาแก้ว  รูปที่สองคือท่าน พระครูนิพนธ์ธรรมคุต (น้อย เตชปุญโญ) เจ้าอาวาส วัดหนองโพ สืบต่อจาก หลวงพ่อเดิม (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน .พรหมบุรี . สิงห์บุรี ได้วิชาคชศาสตร์ (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว อดีตเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี) 

ปี ..2482 หลวงพ่อเดิม มีอายุ 83 ทางคณะศิษย์มี หลวงพ่อน้อย เตชปุญโญ เวลานั้นเป็นพระเลขาของ หลวงพ่อเดิม ได้ดำริทำการหล่อรูปเหมือน ขนาดเท่าองค์จริงของ หลวงพ่อเดิม ไว้ที่ วัดหนองโพ โดยว่าจ้างช่างปั้นและช่างหล่อจากกรุงเทพฯ มาทำการปั้นและหล่อกันที่ วัดหนองโพ ฝ่ายฆราวาสมี นายประดิษฐ์ ลิ้มประยูร พขร. รถไฟสายเหนือเป็นผู้ประสานงาน โดยนายประดิษฐ์ ได้สร้าง เหรียญรูปไข่ที่เรียกกันว่า เหรียญ 2482 สมนาคุณแก่ผู้ร่วมสมทบทุนหล่อรูปหล่อ 

การพิจารณาด้านหน้า รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม พ.ศ. 2484 พิมพ์ A คอหลัง 4 เส้น
ในคราวนั้นมีวัดที่ หลวงพ่อเดิม เคยไปสร้างความเจริญไว้มาขออนุญาตหล่อเพิ่มอีก 3 องค์ เททองพิธีเดียวกัน เป็นอันว่าในวาระนั้นมีการหล่อ รูปหล่อ เท่าองค์จริงหลวงพ่อเดิมรวม 4 องค์ด้วยกัน ทุบเบ้าแต่งจนเรียบร้อย แล้ววัดทั้ง 3 วัด ต่างอัญเชิญ รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม ขึ้นเกวียนร้องรำทำเพลง นำ รูปหล่อ  หลวงพ่อเดิม กลับไปประดิษฐานที่วัดของตนต่อไป ในการนี้มีผู้ต้องการให้มีการสร้าง รูปหล่อจำลอง หลวงพ่อเดิม ขนาดเล็กห้อยติดตัวได้ แต่ทาง วัดหนองโพ เห็นว่ายุ่งยากเรื่องจึงเงียบไป 

การพิจารณาด้านหลัง รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม พ.ศ. 2484 พิมพ์ A คอหลัง 4 เส้น
วันหนึ่งในปี ..2483 มีผู้นำรูปหล่อโบราณขนาดเล็ก มาให้หลวงพ่อน้อยดูกราบเรียนว่า วัดหนองหลวง (สถานีปลายราง) ให้ช่างชาวบ้านปั้นหุ่นและหล่อออกมา หลวงพ่อเดิม เป็นประธานเททองและปลุกเสกให้ หลวงพ่อน้อยเห็นแล้วมีความรู้สึกว่าไม่สวย ไม่สมกับที่จะเป็น รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม จึงเรียก นายประดิษฐ์ฯ มาปรึกษา นายประดิษฐ์ จึงไปติดต่อโรงปั๊ม แถวเสาชิงช้า (เวลานั้นเป็นศูนย์กลางการสร้างเหรียญ และวัตถุมงคลให้กับพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ) ได้รูปหล่อลองพิมพ์ ที่เป็นตะกั่วมาให้หลวงพ่อน้อยดู หลวงพ่อน้อยบอกว่าใช้ได้ คุณประดิษฐ์จึงสั่งทำ รูปหล่อ ชุดแรก มีอยู่สองเนื้อด้วยกัน 

1. เนื้อโลหะผสม (เนื้อทองเหลือง) ทำด้วยโลหะผสมตามสูตรของโรงปั๊ม กระแสเนื้อโลหะออกสีเหลืองอมเขียว
2.
เนื้ออัลปาก้า เป็นโลหะผสมมีเนื้อเป็นกระแสสีขาว แต่ถ้าถูกอากาศถูกเหงื่อจะมีสีเหลืองอมขาว เอาน้ำยาล้างก็จะขาวอย่างเดิม เป็นโลหะที่ใช้ทำช้อนส้อมส่งมาจากยุโรป คนไทยนิยมกว่าเนื้อเงิน เพราะไม่ดำและทำความสะอาดง่าย 

รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม พิมพ์นิยม
เนื้ออัลปาก้า พ.ศ. 2484
หลวงพ่อน้อย ได้อธิบายให้ผู้เขียนฟังว่า ได้มอบหมายให้ นาย ประดิษฐ์ ลิ้มประยูร สั่งทำทั้งสองเนื้อ ทางโรงปั๊มได้ทำการปั๊มเสร็จแล้วห่อด้วยกระดาษว่าวเป็นองค์ๆ โดยคิดเป็น กุรุส 1 กุรุสมี 12 โหล (144) องค์ สั่งคราวละ 3-4 กุรุส โดยตอนแรกทางนายประดิษฐ์ สำรองค่าใช้จ่ายไปก่อน เมื่อทางวัดให้บูชาได้เงิน จึงคืนทุนให้ ปรากฏว่าเป็นที่นิยม แม่พิมพ์แตกด้านหน้าบ้างด้านหลังบ้าง โรงปั๊มจึงแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดมีหลายบล็อกดังที่เห็นในปัจจุบัน 

เมื่อ หลวงพ่อเดิม ได้เห็น รูปหล่อ รุ่นแรก ได้ถามหลวงพ่อน้อยที่เป็นพระเลขาว่า โรงปั๊มมีบล็อกอยู่ใช่หรือไม่ หลวงพ่อน้อยตอบว่าขอรับ หลวงพ่อเดิม ร้อง อืออือ ถ้าอย่างนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน ฉันจะลงเหล็กจาร พระเจ้าอมโลกไว้ใต้ฐานทุกองค์ เป็นการป้องกันของเสริม ฉันจะครอบให้คุณน้อยไว้จารก้นรูปหล่อ เพราะฉันไม่มีเวลาพอจะลงเหล็กจารได้ทุกองค์ ดังนั้นเหล็กจารก้น รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม จึงมีสองลายมือ คือ ลายมือเหล็กจาร หลวงพ่อเดิม และ ลายมือเหล็กจาร หลวงพ่อน้อย 

รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม พิมพ์นิยม
เนื้ออัลปาก้า พ.ศ. 2484
รูปหล่อปั๊ม ของ หลวงพ่อเดิม มายุติการสร้างเมื่อปี ..2490 ก่อน หลวงพ่อเดิม มรณภาพ 4 ปี หลวงพ่อเดิม บอกกับหลวงพ่อน้อยว่า พอได้แล้วล่ะ รูปหล่อ ของฉันทำมามากแล้ว รุ่นสุดท้ายคือ พิมพ์ที่เรียกกันว่า บล็อกปากแตก มีรอยแตกที่ปากของ หลวงพ่อเดิม กับ บล็อกคอตึง ศีรษะโต 

อานุภาพของ รูปหล่อปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นั้นครบทุกด้าน ตั้งแต่มหาอุด, แคล้วคลาด, คงกระพัน, เมตตามหานิยม (สำหรับ เมตตามหานิยมนั้นเกิดจากบารมีส่วนตัวของ หลวงพ่อเดิม เป็นหลัก)

ที่เขียนมาทั้งหมด ผู้เขียนได้สอบถามจากปากของ หลวงพ่อน้อย ที่ผู้เขียนเรียกติดปากว่า หลวงลุง เพราะเป็นญาติฝ่ายบิดาของภรรยาคนปัจจุบันของผู้เขียน ท่านมาเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ ในงานแต่งงานของผู้เขียนที่ไปเป็นเขยบ้านหนองโพเมื่อ 30 ปีก่อนโน้น 

ข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือ หลวงพ่อเดิม เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว ที่ออกวางตลาดเป็นครั้งแรก ก่อนผู้อื่น ก็ได้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากหลวงลุงน้อยองค์นี้แหละครับ 

( ที่มา : ย่อจาก ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1126 เดือนกันยายน 2556  รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พิมพ์นิยม ..2484 ( บล็อกแรก ) ภาพและเรื่องโดย ประเจียด คงศาสตรา
ลิขสิทธิ์ 2010 ลานโพธิ์ - สำนักพิมพ์บางกอกสาส์นสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.  Copyright Bangkoksarn Publishing 2010. 

วันนี้อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้ 


 BangkokSarn App        Lanpo        OokBee       Meb market       AiS Bookstore 
#รูปหล่อ #รูปหล่อปั๊ม #หลวงพ่อเดิม #วัดหนองโพ #พ.ศ.2484