ภาพและเรื่องโดย เอกลักษณ์ เพริศพริ้ง
พระเถราจารย์ผู้ทรงเวทวิทยาคมที่สร้างเครื่องรางของขลังถวายพระมหากษัตริย์ เท่าที่ผู้เขียนเคยได้ยินได้ฟังมาก็มี “ สมเด็จพระพนรัตน์ แห่งวัดป่าแก้ว ” ที่สร้าง “ ตะกรุดมหาจักรพรรดิตราธิราช ” ถวาย “ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ” แห่งราชธานีศรีอโยธยา หรือ “ หลวงพ่อปาน แห่งวัดคลองด่าน ” ก็ถวาย “ เขี้ยวเสือแกะ ” แด่ “ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ” เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประตูน้ำที่ตำบลคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับ “ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี ” ก็มี หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม จังหวัดราชบุรี และ หลวงพ่อชม แห่งวัดบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่สร้าง “ ตะกรุด ” ถวายพระองค์ท่าน
สำหรับ หลวงพ่อชม นั้น “ ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ” เมื่อครั้งทรงพระอิสริยยศที่ “ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ” ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มาพบหลวงพ่อถึงที่วัด
หากจะกล่าวว่า “ หลวงพ่อชม ” เป็นพระอาจารย์ของ “ พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ ” ก็กล่าวได้เต็มปากเต็มคำ พูดได้อย่างเต็มภาคภูมิ เพราะเป็นเรื่องจริง หลวงพ่อชม ท่านจึงมีศักดิ์ศรีสูงส่งไม่อาจนำชีวประวัติของท่านมาลงประกอบเรื่องของพระเกจิอาจารย์ท่านอื่นได้ และก็เป็นเช่นเดียวกันกับ “ หลวงพ่อฟอง แห่งวัดเขาดิน ” ที่ไม่อาจนำเรื่องของท่านมาประกอบเรื่องของ “ หลวงพ่อชม ” ได้อีกเช่นกัน ( หลวงพ่อฟองกับ หลวงพ่อชม เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดเดียวกัน คือ วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม หรือ วัดเขาดิน โดยหลวงพ่อฟองท่านเป็นก่อน ครั้นหลวงพ่อฟองมรณภาพ หลวงพ่อชม จึงย้ายจาก วัดบางเดื่อ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาดินรูปต่อมา )
อนึ่ง ผู้เขียนเคยนำเรื่องของหลวงพ่อฟองและวัดเขาดินมาเผยแพร่ แต่มิได้นำเรื่องของ หลวงพ่อชม มาลงด้วย เพราะผู้เขียนต้องการแยกประวัติของพระอาจารย์ทั้งสองออกจากกันอย่างเด็ดขาด เรื่องจึงเป็นเช่นนี้แล...
ผู้เขียนกล่าวถึงพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษจาก อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปแล้วหลายท่าน อันได้แก่ หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง, หลวงพ่อชด วัดดอกไม้, หลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ และล่าสุดก็ หลวงพ่อฟอง แห่งวัดเขาดิน ในฉบับนี้ผู้เขียนมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จักนำเสนอเรื่องราวและชีวประวัติของ “ หลวงพ่อชม แห่งวัดบางเดื่อ ” พระเกจิอาจารย์ผู้มีคุณวิเศษสุดเหลือคณานับ ปาฏิหาริย์แห่งท่านเป็นที่เลื่องเล่าระบือไกล ขจรขจายเล็ดลอดเข้าไปถึงในรั้วในวัง ดังเข้าไปถึงพระกรรณของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ดังนี้...
“ หลวงพ่อชม ” ท่านเคยเป็นสมภารครอง “ วัดบางเดื่อ ” นานถึง ๒๐ ปี ก่อนที่ท่านจะย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาดิน ฉะนั้นผู้เขียนจักขออนุญาตนำเสนอประวัติของ “ วัดบางเดื่อ ” ซึ่งเป็นวัดที่ หลวงพ่อชม เคยเป็นอดีตเจ้าอาวาส และเพื่อเป็นการเผยแพร่ประวัติวัดวาอารามและชีวประวัติของพระอาจารย์ผู้ทรงเวทวิทยาอาคมท่านอื่นๆ ใน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ครบถ้วน ตามที่ผู้เขียนตั้งใจเอาไว้
วัดบางเดื่อ ตั้งอยู่ใน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ “ วัดดอกมะเดื่อ ” หน้าวัดตั้งอยู่ทางทิศใต้ของคลอง บางเดื่อ ( คลองเกาะเลิ่งในปัจจุบัน ) ที่เชื่อมระหว่าง “ แม่น้ำป่าสัก ” กับ “ แม่น้ำลพบุรี ” ซึ่งเป็นทางสัญจรทางน้ำที่สำคัญของกรุงศรี อยุธยา ตอนเหนือ
“ วัดบางเดื่อ ” สร้างขึ้นในปลายรัชกาลของ “ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ” ประมาณพุทธศักราช ๒๓๐๐ ซึ่งในปีนั้น “ เจ้าฟ้าอุทุมพร ” หรือ “ เจ้าฟ้าดอกเดื่อ ” ( อุทุมพร ความหมายว่า มะเดื่อ ) ได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่ง “ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ” ( วังหน้า ) วัดบางเดื่อ จะเป็นวัดที่ “ เจ้าฟ้าอุทุมพร ” ทรงสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่ทรงได้รับการสถาปนาหรือไม่นั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน คงมีแต่ชื่อวัดที่เป็นชื่อเดียวกันกับพระนามเดิมของพระองค์ท่าน
ในช่วงก่อนเสียกรุงศรี อยุธยา ครั้งที่ ๒ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๐๗ “ พระเจ้ามังระ ” โปรดให้จัดกำลังออกเป็น ๒ ทัพ เพื่อเข้าตีกรุงศรี อยุธยา ทั้งทางตอนเหนือและทางตอนใต้ โดยให้ “ เนเมียวสีหบดี ” เป็นแม่ทัพคุมกำลังทางด้านทิศเหนือ มีกำลังพล ๒๐,๐๐๐ นาย รุกเข้าทางเชียงใหม่แล้วไล่ลงมาเรื่อย กระทั่งมาตั้งค่ายปิดล้อมกรุงศรี อยุธยา ทางตอนเหนือที่ปากน้ำประสบ เมื่อต้นพุทธศักราช ๒๓๐๙
ส่วนอีกทัพหนึ่งทางด้านทิศใต้ ก็สั่งให้ “ มังมหานรธา ” เป็นแม่ทัพ มีกำลังพล ๑๕,๐๐๐ นาย รุกเข้าทางเมืองทวาย ชุมพร เพชรบุรี ราชบุรี แล้วปิดล้อมทางตอนใต้ของกรุงศรี อยุธยา สันนิษฐานว่า “ พื้นที่ วัดบางเดื่อ ” น่าจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพม่า เพื่อใช้เป็นที่สะสมเสบียงกรัง เนื่องจากเป็นที่ดอน
เมื่อกรุงศรี อยุธยา แตกไม่นาน พม่าจึงเร่งถอนทัพกลับไป เพื่อทำศึกกับจีนทางตอนเหนือของประเทศ คงเหลือกำลังไว้เพียงบางส่วนที่ “ ค่ายโพธิ์สามต้น ” โดยมอบหมายให้ “ สุกี้พระนายกอง ” เป็นแม่ทัพ มีกำลังทหารราว ๓,๐๐๐ นาย เพื่อทำการรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติกลับไปยังกรุงอังวะ วัดบางเดื่อ จึงถูกทิ้งให้ร้าง
ครั้นในศึกกอบกู้เอกราช “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” ทรงเห็นชัยภูมิที่เกื้อกูลของ วัดบางเดื่อ พระองค์ท่านจึงใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นที่เตรียมทัพ ก่อนทำศึกใหญ่ครั้งสำคัญที่ “ ค่ายโพธิ์สามต้น ” จนได้รับชัยชนะ เมื่อมีชัยต่ออริราชศัตรูแล้ว พระองค์ท่านก็ทรงใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นที่รวบรวมไพล่พล และทำพิธีทางศาสนาให้กับทหารหาญผู้กล้าที่ได้พลีชีพกอบกู้บ้านเมืองตามประเพณี ตลอดจนใช้เป็นแหล่งรวบรวมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการสร้างกรุงธนบุรีต่อไป
แม้ว่า “ วัดบางเดื่อ ” จะมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการกอบกู้ชาติบ้านเมือง แต่ด้วยการมีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งด้านการศึก, การป้องกันประเทศ และการขยายพระราชอาณาจักร ตลอดจนความเร่งด่วนในการก่อร่างสร้างเมืองเพื่อเตรียมรับศึกในอนาคต และสภาพความบอบช้ำทางเศรษฐกิจ จึงเป็นการยากลำบากที่จะมีการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ในรัชกาล “ พระเจ้ากรุงธนบุรี ”
“ วัดบางเดื่อ ” ได้รับพระราชวิสุงคามสีมาในพุทธศักราช ๒๓๘๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี พุทธศักราช ๒๕๑๕ ได้มีการก่อสร้างพระอุโบสถหลังปัจจุบันขึ้น บนที่ตั้งเดิมของพระอุโบสถหลังเก่า ส่วนที่หน้าบันของพระอุโบสถก็ประทับตราแผ่นดิน มีระเบียงรายล้อมด้วยซุ้มเสมาคู่จำนวน ๘ ซุ้ม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปเนื้อหินทรายลงรักปิดทอง ผนังด้านในเป็นภาพเขียนพุทธประวัติ
๑. หลวงปู่ขาว เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ศิลปะ อยุธยา หล่อด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ ประดิษฐานอยู่ในวิหาร
๒. พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์ ขนาดเท่าพระองค์จริง ประดิษฐานในพระตำหนัก จัดสร้างถวายเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๕
๓. พระเจดีย์อัฐิทหารหาญ ๕๐๐ นาย ที่ร่วมถวายชีวิตเป็นราชพลี เป็นเจดีย์รูปทรงเหลี่ยมย่อมุม แต่ละด้านประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญ เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของเหล่าทหารกล้า ที่เสียสละชีวิตในการกอบกู้เอกราช ณ สมรภูมิค่ายโพธิ์สามต้น
๔. ศาลาปฏิบัติธรรมและลานปฏิบัติธรรม เป็นศาลาทรงไทย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมอุทิศถวายแด่ “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ”
๕. เรือพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นเรือขุดเก่าแก่ที่มีสภาพสมบูรณ์ โดยเจ้าของโรงสีท่านหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้กู้ขึ้นมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาตามนิมิต แล้วนำมาถวาย “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” ณ วัดบางเดื่อ
๖. หอจดหมายเหตุสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นใหม่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนา โดยมี “ พันจ่าอากาศเอก สุรศาสตร์ วิเศษลา ” เป็นผู้นำในการพัฒนา ภายในประดิษฐาน “ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” ทรงประทับยืนบัญชาการรบบนเรือพระที่นั่งพร้อมเหล่าทหารเอก
วัดบางเดื่อ ตั้งอยู่ในเขตปกครองขององค์การบริหารส่วน ตำบลบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี “ พระชลชา ชยันโต ” เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันทุกภาคส่วนกำลังวางแผนเพื่อพัฒนาให้วัดบางเดื่อกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและเชิงประวัติศาสตร์ต่อไป
“พระครูอุทุมพราศัย ” นามเดิมว่า “ ชม ” ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๐ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะเส็ง ณ บ้าน บางเดื่อ ตำบลบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ “ เชย ” โยมมารดาชื่อ “ นิ่ม ” ตระกูลของท่านไม่มีนามสกุล ก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะสาเหตุอันใด ท่านมีพี่น้องท้องเดียวกัน ๕ คน ท่านเป็นคนสุดท้อง พอถึงเกณฑ์เข้าเรียน โยมบิดา-มารดาก็พาไปฝากเรียนหนังสือที่ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พอท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าวิทยฐานะดีแล้ว ก็กลับมาช่วยบิดา-มารดาประกอบสัมมาอาชีพด้วยความขยันขันแข็ง เมื่อท่านอายุได้ ๑๖ ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสะแก สถานที่ที่ท่านเรียนหนังสือ
และที่ วัดสะแก แห่งนี้ในขณะนั้นขึ้นชื่อลือชาว่า “ เป็นศูนย์รวมปรมาจารย์ด้านพุทธเวทแห่งยุคอีกแหล่งหนึ่ง ” และปรมาจารย์ที่ว่าก็มี อาจารย์เฮง ไพรยวัล, พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ และ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ โดยอาจารย์เฮงท่านจะเป็นโต้โผใหญ่ และทุกๆ ท่านที่ว่ามาต่างก็เป็นลูกศิษย์เรียนวิชากับ “ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ” กันทั้งสิ้น...
ตอน หลวงพ่อชม ยังเป็นเณร ( ผู้เขียนขอเรียกว่าสามเณรชม ) อาจารย์เฮงได้บวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดสะแก สามเณรชม จึงเห็นอภินิหารของ อาจารย์เฮง อยู่บ่อยๆ เช่น “ อาจารย์เฮงท่านให้ลูกศิษย์คนหนึ่งนั่งชักยันต์คงกระพันชาตรีเก้าเฮ แล้วท่านก็สั่งให้ศิษย์อีกสองคนช่วยกันยกหินก้อนใหญ่ทุ่มใส่หัวของผู้ที่ชักยันต์จนหน้าคะมำกระแทกพื้นอย่างแรง แต่ปรากฏว่า คนที่โดนหินทุ่มใส่กลับไม่เป็นอะไรเลย รอยแตกช้ำก็ไม่มีให้เห็น ” หรือ “ บางครั้งท่านก็จะสั่งให้ลูกศิษย์เอามีดดาบคมกริบมาฟันมาแทงกัน ก็ไม่เห็นมีใครได้เลือดสักคน ” เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก
นั่นจึงทำให้มีผู้คนจากทั่วประเทศหลั่งไหลเดินทางมาขอเรียนวิชากับท่านอาจารย์เฮงเป็นจำนวนมาก โดยศิษย์ของท่านจะมีหลายระดับ ไล่กันตั้งแต่ผู้หลักผู้ใหญ่เจ้าขุนมูลนายลงไปยันนักเลงประจำตรอก มีผู้คนมาหาท่านมากมายทำให้วัดสะแกดูแคบลงไปถนัดตา เรียกได้ว่ากุฏิของท่านอาจารย์เฮงไม่เคยขาดคน
สามเณรชม เห็นปาฏิหาริย์ของท่าน อาจารย์เฮง แบบจะจะคาตาทุกวี่วัน ทำให้ท่านอยากจะเรียนวิชาอาคมกับเขาบ้าง แต่ท่านอาจารย์เฮงเป็นผู้มีตบะแก่กล้า เวลาท่านตวาดลูกศิษย์ทีก็ถึงกับขวัญหนีดีฝ่อต้องเรียกขวัญกลับมาใหม่ ตอนที่ท่านอาจารย์เฮงดุ ท่านจะดุมากอย่างกับ “ เสือ ” กันเลยทีเดียว จึงทำให้ สามเณรชม ไม่กล้าไปขอเรียน ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เณรไม่กล้า ก็เพราะว่าท่านยังเด็กเกิน หากทะเล่อทะล่าไปขอเรียนก็จะโดนท่านอาจารย์เฮง “ ดุ ” เอาเสียเปล่าๆ
อนึ่ง ภายหลังท่าน “ พระอาจารย์เฮง ” ก็ลาสิกขาออกมามีภรรยา แล้วลอยเรืออยู่ที่หน้าวัดสะแก อันเรือประทุนลำนี้ ท่านอาจารย์เฮงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดลงไปได้ทั้งสิ้น นั่นก็เพราะท่านอาจารย์มีภรรยาที่สาวและสวยมากๆ จึงไม่ต้องการให้ใครมาพบเห็น แต่ก็มียกเว้นอยู่ผู้หนึ่งที่ลงเรือได้ ท่านผู้นั้นก็คือ “ อาจารย์ก้าน บำรุงกิจ ” น้องชายแท้ๆ ของ “ พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ ” ซึ่งอาจารย์ก้านท่านนี้เมื่อสมัยบวชเป็นพระภิกษุ ก็มีพระอุปัชฌาย์รูปเดียวกันกับท่านอาจารย์เฮง พระอุปัชฌาย์ท่านนั่นคือ “ หลวงพ่อกลั่น แห่งวัดพระญาติ ” ต่อมาอาจารย์ก้านก็ได้เป็นศิษย์เรียนวิชากับท่านอาจารย์เฮงอีกด้วย
และด้วยที่ สามเณรชม เป็นผู้มีใจรักในวิชาไสยศาสตร์ ท่านจึงไม่ปล่อยให้เวลาในแต่ละวันผ่านไปแบบเปล่าๆ ปลี้ๆ ท่านจึงแอบศึกษาตำรับตำราโบราณของวัดสะแกเรื่อยมา อันไหนไม่เข้าใจก็ถามเอากับพระบ้าง กับลูกศิษย์ของอาจารย์เฮงบ้าง แนวๆ ว่าครูพักลักจำทำนองนี้ ในขณะนั้นนั่นเองก็มีผู้เฝ้าดูเณรอยู่อย่างเงียบๆ ด้วยความพึงพอใจ และผู้ที่เฝ้ามองสามเณรชมอยู่นั้นก็คือ “ พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ ” นั่นเอง
เมื่อ “ สามเณรชม ” มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ก็ได้อุปสมบท ณ วัดสะแก โดยมี พระครูอุทัยคณารักษ์ ( แด่ ) วัดสะแก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระโบราณคณิสสร ( ใหญ่ ติณณสุวัณโณ ) วัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอาจารย์วัดไผ่ฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “ กสฺสโป ” และเมื่อ สามเณรชม บวชเป็นพระภิกษุแล้วผู้เขียนก็จะขอเรียกนามท่านใหม่ว่า “ หลวงพ่อชม ” เมื่อ หลวงพ่อชม บวชแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดสะแกเรื่อยมา
ก็อย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า หลวงพ่อชม ท่านอยากเรียนอาคมเป็นอย่างมาก แต่ท่านอาจารย์เฮงเล่าก็ดุเสียเหลือเกิน ท่านจึงได้มาขอเรียนวิชากับ พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ ซึ่งท่านก็เป็นลูกศิษย์และเป็น “ สัทธิวิหาริก ” ใน หลวงพ่อกลั่น แห่งวัดพระญาติ ( สัทธิวิหาริก แปลว่า ผู้ที่ได้รับการบวชจากอุปัชฌาย์ หรือหลวงพ่อกลั่นเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ ) อีกทั้งพระอาจารย์สียังเป็นศิษย์รุ่นน้องของท่านอาจารย์เฮงตอนไปเรียนอาคมกับ หลวงพ่อกลั่น ที่วัดพระญาติ
พระอาจารย์สี ท่านจึงเก่งไม่แพ้ อาจารย์เฮง แถมตอนที่พระอาจารย์สีเรียนจบ หลวงพ่อกลั่น ยังได้มอบตำราโบราณของสำนักวัดประดู่ทรงธรรมให้อีกด้วย และนี่คือหนึ่งในตำราที่ หลวงพ่อชม ได้แอบศึกษา
พระอาจารย์สีท่านเมตตาหลวงพ่อชมตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นเณร ท่านมองเห็นแล้วว่า “ สามเณรชม คือช้างเผือกในบวรพุทธศาสนา ต่อไปในภายภาคหน้าจะสร้างคุณประโยชน์ให้กับประชาชนและพระศาสนาอย่างใหญ่หลวง ” ท่านจึงสอนสุดยอดวิชาที่เล่าเรียนมาจาก “ หลวงพ่อกลั่น ” แห่งวัดพระญาติให้จนหมดสิ้น จากนั้นพระอาจารย์สีได้แนะนำให้ไปเรียนอาคมเพิ่มเติมกับท่าน “ อาจารย์เฮง ไพรยวัล ”
อนึ่ง เมื่อตอนที่ หลวงพ่อชม มาเรียนกับพระอาจารย์สีใหม่ๆ ท่านพระอาจารย์ก็สอนให้แต่การนั่งสมาธิ ไม่เห็นท่านจะสอนคาถาให้สักตัว “ แรกๆ หลวงพ่อชมรู้สึกเบื่อหน่าย เพราะอยากจะเรียนคาถาอาคมใจแทบขาด แต่ไฉนเลยท่านพระอาจารย์กลับให้นั่งหลับหูหลับตาอยู่อย่างนี้ คาถาสักตัวก็ยังไม่ได้เรียน น่าเบื่อเหลือเกิน ” และไม่ทราบว่า “ พระอาจารย์สี ” รู้ความในใจของตนได้อย่างไร พระอาจารย์จึงพูดกับ หลวงพ่อชม อย่างเมตตาว่า “ อันวิชาไสยศาสตร์ใดๆ ก็ดี ล้วนแต่มีพื้นฐานอยู่ที่สมาธิทั้งสิ้น วิชาที่จะทำแล้วมีความขลังก็ต้องอาศัยสมาธิ จึงจะได้ผล ” ด้วยคำแนะนำที่ “ เห็นแจ้ง ” นี้ ทำให้ หลวงพ่อชม เกิดความตั้งใจขยันมั่นเพียรเรียนกรรมฐานยิ่งๆ ขึ้น เมื่อพระอาจารย์เห็นว่า หลวงพ่อชม มีสมาธิดีมั่นคงแล้ว ท่านจึงสอนเวทมนต์ให้ ส่วนเวลาที่ หลวงพ่อชม ท่านนั่งภาวนาแล้วเกิดนิมิตแปลกๆ ประหลาดๆ ขึ้น ถ้าไม่ถามเอากับ พระอาจารย์สี ท่านก็จะปรึกษากับ หลวงพ่อชม ( หลวงพ่อชม ท่านขึ้นกรรมฐานกับหลวงปู่ดู่ )
หนึ่งในวิชามหาเสน่ห์ที่ท่าน พระอาจารย์สี ได้ถ่ายทอดให้กับ หลวงพ่อชม ก็คือ “ วิชาเสกสีผึ้ง ” ตำรับท่าน อาจารย์เฮง ไพรยวัล
อันวิชาเสกสีผึ้งนี้หากจะให้ขลังสามารถใช้ได้ผลจริง เวลาเสกจะต้องได้ยินเสียงสีผึ้งระเบิดดัง “ เปรี๊ยะ ” เสียก่อนจึงจะถือว่าสำเร็จ หลวงพ่อชม ท่านเสกคาถาอยู่ ๑๐๘ คาบก็ยังไม่เกิดผล ท่านนึกในใจว่า “ คงจะไม่สำเร็จแล้วกระมัง น่าจะเสียเวลาเปล่าๆ ” แต่ท่านก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า “ ตลอดเวลาที่ท่านเสก ท่านมั่วแต่พะวงคิดว่าเมื่อไหร่ถึงจะได้ยินเสียงสีผึ้งระเบิดสักที ” และเหตุดังกล่าวเหล่านี้ทำให้จิตใจของท่านไม่สงบ จึงไม่เกิดผลใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อหลวงพ่อนึกได้อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงตั้งจิตเป็นธงชัยตั้งใจเป็นพระคาถาแล้วทดลองเสกอีกครั้งหนึ่ง และคราวนี้ หลวงพ่อชม ท่านไม่สนใจเสียงใดๆ ทั้งสิ้น
โดยครั้งที่สองนี้ หลวงพ่อท่านเสกยังไม่ทันถึง ๑๐๘ คาบตามกำหนด ก็ปรากฏเสียงสีผึ้งระเบิดติดต่อกันถึง ๓ ครั้งซ้อน วิชาสีผึ้งมหาเสน่ห์ของหลวงพ่อชมนี้จึงสำเร็จครบถ้วนกระบวนการ
ต่อมา หลวงพ่อชม ได้ยินชื่อเสียงของอาจารย์ฆราวาสท่านหนึ่งในอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาจารย์ฆราวาสท่านนั้นมีชื่อว่า “ ปู่สอน ”
อัน ปู่สอน นี้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านมหาเสน่ห์ที่ว่ากันว่า “ เป็นเสน่ห์ที่แรงที่สุด เท่าที่เคยมีมา ” ส่วนผลที่เกิดจากวิชานี้ก็เห็นเป็นที่ประจักษ์แจ้งต่อผู้คนประชาชนทั่วไป นั่นก็คือ “ ตัวปู่เอง ท่านมีสาวงามรุ่นลูกเป็นภรรยาถึง ๗ คน โดยอาศัยหลับนอนอยู่บนเรือนเดียวกัน อีกทั้งยังไม่เคยเกิดเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันเลย ”
หลวงพ่อชม จึงได้เดินทางไปขอเรียนวิชากับ ปู่สอน ที่อำเภออุทัย และเมื่อปู่เห็นหน้า หลวงพ่อชม ท่านก็ถูกชะตาเป็นอย่างมาก ยิ่งได้สนทนาปราศรัยก็ยิ่งถูกใจเป็นอย่างยิ่ง ปู่จึงครอบครูแล้วถ่ายทอดสุดยอดวิชาให้ และวิชานี้ก็คือ “ วิชาเสกแป้งแปลงหน้า ” นั่นเอง
อัน “ วิชาเสกแป้งแปลงหน้า ” นี้ หากนำมาผัดหน้าทาตัว เวลาเดินทางไปไหนมาไหน “ คนที่เห็นจะรู้สึกว่าเรามีรูปร่างงามสง่าน่าชม หน้าตาหล่อเหลาชวนมอง เป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้ที่พบเห็น แม้นตนจะเป็นคนรูปชั่วตัวดำก็ตามที ” เมื่อ หลวงพ่อชม มสำเร็จวิชานี้ ท่านได้ลองเสกให้ลูกศิษย์นำไปใช้ดู ก็ปรากฏผลเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง...
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
![]() |
เหรียญรุ่นแรก ปี 2517 ออกวัดบางเดื่อ กะไหล่เงิน |
สำหรับ หลวงพ่อชม นั้น “ ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ” เมื่อครั้งทรงพระอิสริยยศที่ “ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ” ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มาพบหลวงพ่อถึงที่วัด
หากจะกล่าวว่า “ หลวงพ่อชม ” เป็นพระอาจารย์ของ “ พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ ” ก็กล่าวได้เต็มปากเต็มคำ พูดได้อย่างเต็มภาคภูมิ เพราะเป็นเรื่องจริง หลวงพ่อชม ท่านจึงมีศักดิ์ศรีสูงส่งไม่อาจนำชีวประวัติของท่านมาลงประกอบเรื่องของพระเกจิอาจารย์ท่านอื่นได้ และก็เป็นเช่นเดียวกันกับ “ หลวงพ่อฟอง แห่งวัดเขาดิน ” ที่ไม่อาจนำเรื่องของท่านมาประกอบเรื่องของ “ หลวงพ่อชม ” ได้อีกเช่นกัน ( หลวงพ่อฟองกับ หลวงพ่อชม เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดเดียวกัน คือ วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม หรือ วัดเขาดิน โดยหลวงพ่อฟองท่านเป็นก่อน ครั้นหลวงพ่อฟองมรณภาพ หลวงพ่อชม จึงย้ายจาก วัดบางเดื่อ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาดินรูปต่อมา )
อนึ่ง ผู้เขียนเคยนำเรื่องของหลวงพ่อฟองและวัดเขาดินมาเผยแพร่ แต่มิได้นำเรื่องของ หลวงพ่อชม มาลงด้วย เพราะผู้เขียนต้องการแยกประวัติของพระอาจารย์ทั้งสองออกจากกันอย่างเด็ดขาด เรื่องจึงเป็นเช่นนี้แล...
![]() |
“ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐” เมื่อครั้งทรงพระอิสริยยศที่
“พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ
สยามมกุฎราชกุมาร” ทรงเสด็จพระราชดำเนิน
เป็นการส่วนพระองค์มาพบหลวงพ่อถึงที่วัด
|
วัดบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
![]() |
รูปถ่ายเพชรกลับอัดกระจก สองหน้า ยุคแรก วัดบางเดื่อ |
วัดบางเดื่อ ตั้งอยู่ใน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ “ วัดดอกมะเดื่อ ” หน้าวัดตั้งอยู่ทางทิศใต้ของคลอง บางเดื่อ ( คลองเกาะเลิ่งในปัจจุบัน ) ที่เชื่อมระหว่าง “ แม่น้ำป่าสัก ” กับ “ แม่น้ำลพบุรี ” ซึ่งเป็นทางสัญจรทางน้ำที่สำคัญของกรุงศรี อยุธยา ตอนเหนือ
“ วัดบางเดื่อ ” สร้างขึ้นในปลายรัชกาลของ “ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ” ประมาณพุทธศักราช ๒๓๐๐ ซึ่งในปีนั้น “ เจ้าฟ้าอุทุมพร ” หรือ “ เจ้าฟ้าดอกเดื่อ ” ( อุทุมพร ความหมายว่า มะเดื่อ ) ได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่ง “ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ” ( วังหน้า ) วัดบางเดื่อ จะเป็นวัดที่ “ เจ้าฟ้าอุทุมพร ” ทรงสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่ทรงได้รับการสถาปนาหรือไม่นั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน คงมีแต่ชื่อวัดที่เป็นชื่อเดียวกันกับพระนามเดิมของพระองค์ท่าน
ในช่วงก่อนเสียกรุงศรี อยุธยา ครั้งที่ ๒ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๐๗ “ พระเจ้ามังระ ” โปรดให้จัดกำลังออกเป็น ๒ ทัพ เพื่อเข้าตีกรุงศรี อยุธยา ทั้งทางตอนเหนือและทางตอนใต้ โดยให้ “ เนเมียวสีหบดี ” เป็นแม่ทัพคุมกำลังทางด้านทิศเหนือ มีกำลังพล ๒๐,๐๐๐ นาย รุกเข้าทางเชียงใหม่แล้วไล่ลงมาเรื่อย กระทั่งมาตั้งค่ายปิดล้อมกรุงศรี อยุธยา ทางตอนเหนือที่ปากน้ำประสบ เมื่อต้นพุทธศักราช ๒๓๐๙
![]() |
พระสมเด็จยุคแรก วัดบางเดื่อ |
เมื่อกรุงศรี อยุธยา แตกไม่นาน พม่าจึงเร่งถอนทัพกลับไป เพื่อทำศึกกับจีนทางตอนเหนือของประเทศ คงเหลือกำลังไว้เพียงบางส่วนที่ “ ค่ายโพธิ์สามต้น ” โดยมอบหมายให้ “ สุกี้พระนายกอง ” เป็นแม่ทัพ มีกำลังทหารราว ๓,๐๐๐ นาย เพื่อทำการรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติกลับไปยังกรุงอังวะ วัดบางเดื่อ จึงถูกทิ้งให้ร้าง
![]() |
พระสมเด็จเนื้อดิน ชาวบ้านร่วมกันทำ วัดบางเดื่อ |
แม้ว่า “ วัดบางเดื่อ ” จะมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการกอบกู้ชาติบ้านเมือง แต่ด้วยการมีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งด้านการศึก, การป้องกันประเทศ และการขยายพระราชอาณาจักร ตลอดจนความเร่งด่วนในการก่อร่างสร้างเมืองเพื่อเตรียมรับศึกในอนาคต และสภาพความบอบช้ำทางเศรษฐกิจ จึงเป็นการยากลำบากที่จะมีการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ในรัชกาล “ พระเจ้ากรุงธนบุรี ”
![]() |
พระหลวงพ่อขาว เนื้อผง วัดบางเดื่อ |
ปูชนียวัตถุและสถานที่สำคัญภายใน วัดบางเดื่อ
๑. หลวงปู่ขาว เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ศิลปะ อยุธยา หล่อด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ ประดิษฐานอยู่ในวิหาร
๒. พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์ ขนาดเท่าพระองค์จริง ประดิษฐานในพระตำหนัก จัดสร้างถวายเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๕
๓. พระเจดีย์อัฐิทหารหาญ ๕๐๐ นาย ที่ร่วมถวายชีวิตเป็นราชพลี เป็นเจดีย์รูปทรงเหลี่ยมย่อมุม แต่ละด้านประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญ เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของเหล่าทหารกล้า ที่เสียสละชีวิตในการกอบกู้เอกราช ณ สมรภูมิค่ายโพธิ์สามต้น
๔. ศาลาปฏิบัติธรรมและลานปฏิบัติธรรม เป็นศาลาทรงไทย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมอุทิศถวายแด่ “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ”
๕. เรือพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นเรือขุดเก่าแก่ที่มีสภาพสมบูรณ์ โดยเจ้าของโรงสีท่านหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้กู้ขึ้นมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาตามนิมิต แล้วนำมาถวาย “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” ณ วัดบางเดื่อ
![]() |
เรือยนต์แบบเดียวกับที่อาจารย์เฮงเคยใช้ |
วัดบางเดื่อ ตั้งอยู่ในเขตปกครองขององค์การบริหารส่วน ตำบลบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี “ พระชลชา ชยันโต ” เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันทุกภาคส่วนกำลังวางแผนเพื่อพัฒนาให้วัดบางเดื่อกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและเชิงประวัติศาสตร์ต่อไป
พระครูอุทุมพราศัย ( หลวงพ่อชม กสฺสโป )
![]() |
บริเวณหน้าวัดสะแก ที่อาจารย์เฮงใช้เป็นที่จอดเรือ |
และที่ วัดสะแก แห่งนี้ในขณะนั้นขึ้นชื่อลือชาว่า “ เป็นศูนย์รวมปรมาจารย์ด้านพุทธเวทแห่งยุคอีกแหล่งหนึ่ง ” และปรมาจารย์ที่ว่าก็มี อาจารย์เฮง ไพรยวัล, พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ และ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ โดยอาจารย์เฮงท่านจะเป็นโต้โผใหญ่ และทุกๆ ท่านที่ว่ามาต่างก็เป็นลูกศิษย์เรียนวิชากับ “ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ” กันทั้งสิ้น...
![]() |
เหรียญหลวงพ่อขาว วัดบางเดื่อ อยุธยา พ.ศ. 2510 |
![]() |
รูปถ่ายหลังเทียนชัย ออกวัดบางเดื่อ |
สามเณรชม เห็นปาฏิหาริย์ของท่าน อาจารย์เฮง แบบจะจะคาตาทุกวี่วัน ทำให้ท่านอยากจะเรียนวิชาอาคมกับเขาบ้าง แต่ท่านอาจารย์เฮงเป็นผู้มีตบะแก่กล้า เวลาท่านตวาดลูกศิษย์ทีก็ถึงกับขวัญหนีดีฝ่อต้องเรียกขวัญกลับมาใหม่ ตอนที่ท่านอาจารย์เฮงดุ ท่านจะดุมากอย่างกับ “ เสือ ” กันเลยทีเดียว จึงทำให้ สามเณรชม ไม่กล้าไปขอเรียน ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เณรไม่กล้า ก็เพราะว่าท่านยังเด็กเกิน หากทะเล่อทะล่าไปขอเรียนก็จะโดนท่านอาจารย์เฮง “ ดุ ” เอาเสียเปล่าๆ
อนึ่ง ภายหลังท่าน “ พระอาจารย์เฮง ” ก็ลาสิกขาออกมามีภรรยา แล้วลอยเรืออยู่ที่หน้าวัดสะแก อันเรือประทุนลำนี้ ท่านอาจารย์เฮงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดลงไปได้ทั้งสิ้น นั่นก็เพราะท่านอาจารย์มีภรรยาที่สาวและสวยมากๆ จึงไม่ต้องการให้ใครมาพบเห็น แต่ก็มียกเว้นอยู่ผู้หนึ่งที่ลงเรือได้ ท่านผู้นั้นก็คือ “ อาจารย์ก้าน บำรุงกิจ ” น้องชายแท้ๆ ของ “ พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ ” ซึ่งอาจารย์ก้านท่านนี้เมื่อสมัยบวชเป็นพระภิกษุ ก็มีพระอุปัชฌาย์รูปเดียวกันกับท่านอาจารย์เฮง พระอุปัชฌาย์ท่านนั่นคือ “ หลวงพ่อกลั่น แห่งวัดพระญาติ ” ต่อมาอาจารย์ก้านก็ได้เป็นศิษย์เรียนวิชากับท่านอาจารย์เฮงอีกด้วย
![]() |
พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ วัดสะแก |
![]() |
หลวงปู่ดู่ วัดสะแก |
เมื่อ “ สามเณรชม ” มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ก็ได้อุปสมบท ณ วัดสะแก โดยมี พระครูอุทัยคณารักษ์ ( แด่ ) วัดสะแก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระโบราณคณิสสร ( ใหญ่ ติณณสุวัณโณ ) วัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอาจารย์วัดไผ่ฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “ กสฺสโป ” และเมื่อ สามเณรชม บวชเป็นพระภิกษุแล้วผู้เขียนก็จะขอเรียกนามท่านใหม่ว่า “ หลวงพ่อชม ” เมื่อ หลวงพ่อชม บวชแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดสะแกเรื่อยมา
พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ
ก็อย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า หลวงพ่อชม ท่านอยากเรียนอาคมเป็นอย่างมาก แต่ท่านอาจารย์เฮงเล่าก็ดุเสียเหลือเกิน ท่านจึงได้มาขอเรียนวิชากับ พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ ซึ่งท่านก็เป็นลูกศิษย์และเป็น “ สัทธิวิหาริก ” ใน หลวงพ่อกลั่น แห่งวัดพระญาติ ( สัทธิวิหาริก แปลว่า ผู้ที่ได้รับการบวชจากอุปัชฌาย์ หรือหลวงพ่อกลั่นเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ ) อีกทั้งพระอาจารย์สียังเป็นศิษย์รุ่นน้องของท่านอาจารย์เฮงตอนไปเรียนอาคมกับ หลวงพ่อกลั่น ที่วัดพระญาติ
พระอาจารย์สี ท่านจึงเก่งไม่แพ้ อาจารย์เฮง แถมตอนที่พระอาจารย์สีเรียนจบ หลวงพ่อกลั่น ยังได้มอบตำราโบราณของสำนักวัดประดู่ทรงธรรมให้อีกด้วย และนี่คือหนึ่งในตำราที่ หลวงพ่อชม ได้แอบศึกษา
ตอนที่ยังเป็นสามเณร
![]() |
อาจารย์เฮงถ่ายกับครอบครัว |
![]() |
อาจารย์เฮง ไพรยวัล |
สีผึ้งมหาเสน่ห์
หนึ่งในวิชามหาเสน่ห์ที่ท่าน พระอาจารย์สี ได้ถ่ายทอดให้กับ หลวงพ่อชม ก็คือ “ วิชาเสกสีผึ้ง ” ตำรับท่าน อาจารย์เฮง ไพรยวัล
![]() |
เหรียญรุ่นแรกปืนไขว้ ปี 2517 วัดเขาดิน เนื้อเงิน ตอกโค้ด พุทโธ |
อันวิชาเสกสีผึ้งนี้หากจะให้ขลังสามารถใช้ได้ผลจริง เวลาเสกจะต้องได้ยินเสียงสีผึ้งระเบิดดัง “ เปรี๊ยะ ” เสียก่อนจึงจะถือว่าสำเร็จ หลวงพ่อชม ท่านเสกคาถาอยู่ ๑๐๘ คาบก็ยังไม่เกิดผล ท่านนึกในใจว่า “ คงจะไม่สำเร็จแล้วกระมัง น่าจะเสียเวลาเปล่าๆ ” แต่ท่านก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า “ ตลอดเวลาที่ท่านเสก ท่านมั่วแต่พะวงคิดว่าเมื่อไหร่ถึงจะได้ยินเสียงสีผึ้งระเบิดสักที ” และเหตุดังกล่าวเหล่านี้ทำให้จิตใจของท่านไม่สงบ จึงไม่เกิดผลใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อหลวงพ่อนึกได้อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงตั้งจิตเป็นธงชัยตั้งใจเป็นพระคาถาแล้วทดลองเสกอีกครั้งหนึ่ง และคราวนี้ หลวงพ่อชม ท่านไม่สนใจเสียงใดๆ ทั้งสิ้น
โดยครั้งที่สองนี้ หลวงพ่อท่านเสกยังไม่ทันถึง ๑๐๘ คาบตามกำหนด ก็ปรากฏเสียงสีผึ้งระเบิดติดต่อกันถึง ๓ ครั้งซ้อน วิชาสีผึ้งมหาเสน่ห์ของหลวงพ่อชมนี้จึงสำเร็จครบถ้วนกระบวนการ
เสน่ห์เหนือเสน่ห์
![]() |
พระโมคคัลลาน์ รุ่นจตุพร เนื้อทองแดง ปี 2527 วัดเขาดิน |
อัน ปู่สอน นี้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านมหาเสน่ห์ที่ว่ากันว่า “ เป็นเสน่ห์ที่แรงที่สุด เท่าที่เคยมีมา ” ส่วนผลที่เกิดจากวิชานี้ก็เห็นเป็นที่ประจักษ์แจ้งต่อผู้คนประชาชนทั่วไป นั่นก็คือ “ ตัวปู่เอง ท่านมีสาวงามรุ่นลูกเป็นภรรยาถึง ๗ คน โดยอาศัยหลับนอนอยู่บนเรือนเดียวกัน อีกทั้งยังไม่เคยเกิดเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันเลย ”
หลวงพ่อชม จึงได้เดินทางไปขอเรียนวิชากับ ปู่สอน ที่อำเภออุทัย และเมื่อปู่เห็นหน้า หลวงพ่อชม ท่านก็ถูกชะตาเป็นอย่างมาก ยิ่งได้สนทนาปราศรัยก็ยิ่งถูกใจเป็นอย่างยิ่ง ปู่จึงครอบครูแล้วถ่ายทอดสุดยอดวิชาให้ และวิชานี้ก็คือ “ วิชาเสกแป้งแปลงหน้า ” นั่นเอง
อัน “ วิชาเสกแป้งแปลงหน้า ” นี้ หากนำมาผัดหน้าทาตัว เวลาเดินทางไปไหนมาไหน “ คนที่เห็นจะรู้สึกว่าเรามีรูปร่างงามสง่าน่าชม หน้าตาหล่อเหลาชวนมอง เป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้ที่พบเห็น แม้นตนจะเป็นคนรูปชั่วตัวดำก็ตามที ” เมื่อ หลวงพ่อชม มสำเร็จวิชานี้ ท่านได้ลองเสกให้ลูกศิษย์นำไปใช้ดู ก็ปรากฏผลเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง...
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1205 พระครูอุทุมพราศัย ( หลวงพ่อชม กสฺสโป ) วัดบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปักษ์หลัง เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ราคาปก 60 บาท )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้