ภาพและเรื่องโดย ลายทอง คงคาพยนต์
วัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา นับเป็นสำนักเรียนทางวิทยาคมอันโด่งดังมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรี อยุธยา เกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าพุทธาคมล้วนเคยผ่านสำนักนี้มาทั้งสิ้น หรือไม่ก็ได้รับอิทธิพลทางตำรับวิทยาคมมาจากสำนักแห่งนี้ “ หลวงพ่อบุญนาค ” อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 9 เป็นผู้สืบทอดพุทธาคมที่มีเรื่องราวน่าสนใจอย่างยิ่ง
วัดประดู่ทรงธรรม เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งในด้าน ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และการศึกษาวิชาว่าด้วยศิลป์ 20 ประการ รวมทั้งถาวรวัตถุต่างๆ ด้านประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานว่าอดีตเจ้าอาวาส วัดประดู่ทรงธรรม เป็นผู้มีคุณธรรมพิเศษในการทำพิธีลงเครื่องตามตำราพิชัยสงครามทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ ประกอบพิธีที่วัดตูมอันเป็นวัดสำหรับลงเครื่องพิชัยสงครามสืบมาแต่ครั้งกรุงศรี อยุธยา ในส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ยังได้ทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์ วัดประดู่ทรงธรรม ด้วย เช่น
ปี พ.ศ.2451 หลวงพ่อเลื่อง ( เจ้าอาวาสองค์ที่ 4 ) ได้ลงเครื่องทูลเกล้าฯถวาย ซึ่งปรากฏในหนังสือพระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ตอนหนึ่งว่า
วันที่ 27 ตุลาคม 2451 วันนี้ได้นิมนต์พระเลื่องมาลงเครื่องตามแบบพระอาจารย์สี ลงพระแสงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทำพิธีชุบที่วัดตูม
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อาราธนาหลวงพ่อเลื่อง ลงเลขยันต์และอักขระ ธงกระบี่ธุช พระครุฑพ่าห์ ตามแบบของเดิมทำพิธีชุบที่วัดตูม ต่อเนื่องลงตะกรุดพิสมร เป็นประจำทุกปี
วัดประดู่ทรงธรรม นี้เดิมชื่อ “ วัดประดู่ ” หรือ “ วัดประดู่โรงธรรม ” เป็นวัดโบราณ ในสมัยกรุงศรี อยุธยา ในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ กล่าวว่าเป็นพระอารามหลวงชื่อ “ วัดอัศนาวาศน์วิหาร ” แต่จะสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรี อยุธยา กล่าวออกชื่อ วัดประดู่ หรือ วัดประดู่โรงธรรม เป็นครั้งแรก ในสมัย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เมื่อปี พ.ศ.2163 มีความว่า
เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถนั้น พระศรีศิลป์ บวชอยู่ที่วัดระฆัง ( คือวัดวรโพธิ์ในปัจจุบัน ) ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระพิมลธรรม มีวิชาความรู้ผู้คนนับถือมาก ทั้งจมื่นศรีสรรักษ์ก็ถวายตัวเป็นบุตรเลี้ยง ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ พระพิมลธรรมคิดขบถซ่องสุมกำลังได้มากแล้วก็ลอบสึกออกมาคุมสมัครพรรคพวกเข้าปล้นพระราชวัง จับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ได้ ให้ปลงพระชนม์เสีย แล้วพระพิมลธรรมได้ครองราชสมบัติ ปรากฏพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
ในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวความต่อไปอีกว่า
เวลานั้น พวกญี่ปุ่นเข้ามาค้าขายอยู่ที่กรุงศรี อยุธยา มีความโกรธแค้นว่าพระพิมลธรรมเป็นขบถ ข้าราชการยังพากันถวายราชสมบัติไม่จำกัดเสีย พวกญี่ปุ่นประมาณ 500 คน จึงพากันเข้าไปในพระราชวัง หมายจะทำร้ายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เมื่อเสด็จออกบอกพระปริยัติธรรมพระภิกษุ สามเณร ณ พระที่นั่งจอมทอง แต่พระสงฆ์วัดประดู่โรงธรรม 8 รูป พาพระองค์หนีรอดไปได้ พอพระมหาอำมาตย์คุมพวกเจ้าหน้าที่เข้าไปถึง จึงไล่ฆ่าฟันพวกญี่ปุ่นล้มตายแตกหนีลงเรือแล่นออกทะเลไป แต่นั่นพวกญี่ปุ่นก็มิได้มาค้าขายที่อยุธยาอีก และว่าครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงตั้งพระมหาอำมาตย์ผู้มีความชอบให้เป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ในที่นี้ ต่อมาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าปราสาททอง ในรัชกาลหลัง
พระราชพงศาวดารกรุงศรี อยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ) กล่าวตอนนี้ไว้ว่า
“ ...แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการ ให้วิเสทแต่งกัปบียะจังหันถวายพระสงฆ์ วัดประดู่ทรงธรรม เป็นนิจอัตรา ”
จากหลักฐานดังกล่าวมา ถ้าหากจะนับอายุของ วัดประดู่ทรงธรรม ตั้งแต่ พ.ศ.2163 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ( พ.ศ.2559 ) ก็เป็นเวลานานถึง 396 ปีเศษ แสดงให้เห็นถึงอายุขัยอันยาวนาน และความเก่าแก่ของวัดเป็นอย่างดี
อนึ่ง เหตุที่ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ วัดประดู่ทรงธรรม นั้น ” ก็เนื่องจากเดิมทีเดียวเป็นสองวัดมีอาณาเขตติดต่อกันคือ วัดประดู่ วัดหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือ วัดโรงธรรมวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้และในสมัยกรุงศรี อยุธยา นั้นเอง ได้รวมวัดทั้งสองนี้เข้าเป็นวัดเดียวกัน เรียกว่า “ วัดประดู่โรงธรรม ” ซึ่งชื่อของวัดนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ ( พร เตชะคุปต์ ) ได้ให้ความเห็นว่า
ความจริง วัดประดู่ เป็นวัด 1 วัดโรงธรรมอีกวัด 1 แต่ วัดประดู่ ในกรุงเก่ามีหลายวัดด้วยกัน ครั้นจะเรียกแต่ วัดประดู่ เฉยๆ ก็เกรงว่าจะไม่ตรงกับ วัดประดู่ ที่อยู่ข้างวัดโรงธรรมจึงเรียกควบกันไปว่า “ วัดประดู่โรงธรรม ”
ตามคำบอกเล่าของ พระอธิการบุญนาค สีลสํวโร อดีตเจ้าอาวาส วัดประดู่ทรงธรรม และท่านผู้รู้อีกหลายท่าน มีข้อความตรงกันว่า
วัดประดู่ทรงธรรม ในปัจจุบันนี้ เป็นวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้ชื่อเดิมว่า “ วัดประดู่โรงธรรม ” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “ วัดประดู่ทรงธรรม ” คำว่า ทรงธรรม แปลงมาจาก “ โรงธรรม ” เข้าใจว่าคงจะอาศัยเหตุที่ครั้งหนึ่งในสมัยกรุงศรี อยุธยา พระสงฆ์สำนักนี้เคยได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมาตลอดรัชกาล และชื่อ วัดประดู่ทรงธรรม ยังเป็นชื่อที่เรียกขานกันอยู่จนทุกวันนี้ ส่วน วัดประดู่ เก่านั้นตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของ วัดประดู่ ใหม่ ( วัดประดู่ทรงธรรม ปัจจุบัน ) นับจากอุโบสถออกไปประมาณ 3 เส้นเศษ ยังมีเนินดินที่ตั้งอุโบสถของ วัดประดู่ เก่าปรากฏอยู่ เล่ากันว่าเมื่อในรัชกาลที่ 5 ยังมีอุโบสถที่เหลืออยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ พร้อมทั้งพระพุทธรูปศิลาทรายอีกเป็นจำนวนมาก
ครั้นเมื่อทางราชการตัดทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่านใกล้ๆ กับบริเวณวัดนี้และปรากฏว่า ณ บริเวณที่ตั้งแต่สถานีรถไฟ อยุธยา ขึ้นไปจนถึงลำคลองบ้านม้า เป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนมาก การก่อสร้างทางรถไฟบริวณพื้นที่ดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องใช้ดินเป็นจำนวนมาก นายช่างชาวฝรั่งเศสผู้รับเหมา ได้ใช้ดินพื้นที่บริเวณใกล้เคียง รวมทั้งดินของ วัดประดู่ เก่า พร้อมด้วยอิฐหักกากปูนมาถมทำทางรถไฟ และต่อมาภายหลังก็ถูกพวกราษฎรบุกเบิกที่ดินปลูกบ้านเรือนและทำพืชไร่อีก วัดประดู่ เก่า และวัดโรงธรรม จึงสิ้นซากไป ทุกวันนี้จึงเหลืออยู่แต่เพียง วัดประดู่ เก่าวัดเดียวเท่านั้น ส่วนวัดโรงธรรมนั้นในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกเพี้ยนไปเป็น “ วัดโรงทาน ” ว่าเป็นวัดหลวง ( พระอารามหลวง ) วัดหนึ่งในสมัยกรุงศรี อยุธยา และว่า สมเด็จเจ้าอุทุมพร ( กรมขุนพรพินิต หรือ ขุนหลวงหาวัด ) ทรงสร้าง ปัจจุบันไม่มีซากเหลืออยู่ และไม่ปรากฏภูมิสถานที่ตั้งของวัด หรืออาจเรียกชื่อปัจจุบันเป็นอย่างอื่นอีกไม่ทราบ ซึ่งควรจะได้สืบสาวเรื่องราวกันต่อไป วัดประดู่ เก่าก็ดี วัดโรงธรรมก็ดี เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วัดเมืองเก่าคือเมืองอโยธยา สันนิษฐานว่า คงจะเป็นวัดขนาดย่อม สร้างในที่อันมีกำหนดว่าเป็นอรัญญิก ( คือห่างไกลจากเมืองพอพระสงฆ์เข้ามาบิณฑบาตถึง ) เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี และในบริเวณใกล้เคียง ก็มีวัดอรัญวาสีอีกหลายวัด เช่น วัดเดิม หรือ วัดอโยธยา เป็นต้น
สำหรับพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี มีปรากฏอยู่ในทำเนียบสมณศักดิ์ครั้งกรุงศรี อยุธยา ว่า มี พระพุทธาจารย์ อยู่วัดโบสถ์ราชเดชะ ( วัดโบสถ์-วัดราชเดชะ ) เป็นเจ้าคณะกลางฝ่ายอรัญวาสี บังคับบัญชาพระสงฆ์ฝ่ายสมถวิปัสสนา และมีพระราชาคณะขึ้นอยู่กับฝ่ายนี้คือ
พระญาณไตรโลก อยู่วัดโรงธรรม เป็นคณะรอง อรัญวาสี 1
พระอุบาลี อยู่วัดกุฏ อรัญวาสี 1
พระญาณโพธิ อยู่วัดเจ้ามอญ อรัญวาสี 1
พระธรรมโกษา อยู่ วัดประดู่ อรัญวาสี 1
พระเทพมุณี อยู่วัดกุฎีดาว อรัญวาสี 1
พระเทพโมลี อยู่วัดสมณโกฏ อรัญวาสี 1
พระธรรมกิต อยู่วัดมเหยงค์ อรัญวาสี 1
ในสมัยกรุงศรี อยุธยา วัดประดู่โรงธรรม ได้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ( กรมขุนพรพินิต หรือขุนหลวงหาวัด หรือขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม ) เมื่อทรงผนวชถึงสองครั้งด้วย คือ
เมื่อปีขาล พ.ศ.2301 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงสละราชสมบัติแล้วเสด็จออกไปทรงผนวชที่วัดอโยธยา (วัดเดิม) แล้วเสด็จมาประทับ ณ วัดประดู่โรงธรรม จนกระทั่งลาผนวชเมื่อ พ.ศ.2302 การที่ทรงผนวชครั้งนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ตอนหนึ่งว่า
“ ถึง ณ วันเดือน 8 ข้างขึ้น (กรมขุนพรพินิต) เสด็จทรงเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย เป็นกระบวนพยุหยาตราแห่ออกไปทรงผนวช ณ วัดเดิม แล้วเสด็จมาอยู่ ณ วัดประดู่ ”
ต่อมาเมื่อปีวอก พ.ศ.2307 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงสละราชสมบัติอีกเป็นครั้งที่สอง ไปผนวช ณ วัดโพธิ์ทอง ตำบลคำหยาด แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ( ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ) แล้วเสด็จกลับมาอยู่ วัดประดู่โรงธรรม อีก จนถึงปี พ.ศ.2310 จึงเสด็จเข้าไปประทับ ณ วัดราชประดิษฐานจนกระทั่งเสียกรุงฯ แล้วถูกพม่าทูลเชิญเสด็จไปยังเมืองอังวะด้วย
สำหรับ วัดประดู่โรงธรรม ก็คงจะตกเป็นวัดร้างไปชั่วขณะ ในปี พ.ศ.2310 หรือก่อนหน้านั้น เพราะข้าศึกยกกองทัพเข้าล้อมกรุงฯ ประชาชนต้องพากันอพยพหนีภัยสงคราม แม้แต่พระสงฆ์ก็คงจะอยู่ไม่ได้ แต่สันนิษฐานว่าคงจะเป็นวัดร้างอยู่ไม่สู้นานนัก เพราะปรากฏต่อมาว่า ในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยได้แล้ว มีพระบรมราชโองการให้สืบเสาะหาพระสงฆ์มาจัดการพระศาสนา พระศรีภูมริปรีชา ได้อาราธนา พระอาจารย์ดี จาก วัดประดู่โรงธรรม ลงมายังกรุงธนบุรี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ.2312 แล้วโปรดฯให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช ( นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกในสมัยกรุงธนบุรี ) จากหลักฐานดังกล่าวมา พอจะสันนิษฐานได้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรี วัดประดู่โรงธรรม ยังมีพระสงฆ์จำพรรษาต่อมาอีก
ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่ปรากฏปี พ.ศ. ได้มีพระเถระรูปหนึ่ง เรียกกันว่า หลวงพ่อรอด หรือ หลวงพ่อรอดเสือ เป็นผู้ดำเนินการสร้าง วัดประดู่โรงธรรม ขึ้นมาใหม่ ให้เป็นที่มีหลักฐานมั่นคง สำหรับพระสงฆ์อยู่จำพรรษาสืบต่อมาจนบัดนี้ และก็เป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อมี วัดประดู่โรงธรรม เกิดใหม่ขึ้น วัดประดู่ฯ เก่า ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสมจึงหมดสภาพเป็นวัดโดยปริยาย ในที่สุดก็เหลือเพียงแต่ชื่อและซากโบราณสถาน ดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ส่วนวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นั้น ก็ให้ชื่อว่า “ วัดประดู่โรงธรรม ” ทั้งนี้โดยอาศัยชื่อเดิมของวัดประดู่โรงธรรม ( วัดประดู่ เก่า ) นั่นเอง และท่านได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดเป็นองค์แรก
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง วัดประดู่ทรงธรรม ได้มีเจ้าอาวาสปกครองติดต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย ทั้งปรากฏว่าเจ้าอาวาสแต่ละองค์ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณธรรมพิเศษ เป็นที่เคารพนับถือของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดทั้งประชาชนเป็นจำนวนมาก ในด้านการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ก็ปรากฏว่า ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์กันตลอดมาทุกยุคทุกสมัย จนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน กล่าวคือ
ในยุคของ หลวงพ่อรอด ซึ่งตามประวัติว่า ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดเป็นองค์แรก ได้ก่อสร้างเสนาสนะกุฏิสงฆ์ เป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ พร้อมทั้งสร้างอุโบสถขึ้นก่อน
ต่อมาในยุค พระอุปัชฌาย์ม่วง ( หลวงพ่อม่วง ) ได้สร้างศาลาการเปรียญ ( เดิมเรียกว่า ศาลาดิน ) และกุฏิสงฆ์เพิ่มขึ้นมาอีก พร้อมทั้งขุดสระน้ำสำหรับพระสงฆ์ใช้สอย บริโภคข้างอุโบสถ 1 ลูก ก่อเจดีย์ 1 องค์ และปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ส่วนวิหารนั้นสร้างใหม่เมื่อ พ.ศ.2405 ในรัชกาลที่ 4 โดยมีท่าน พระพุทธสร ( เข้าใจว่าจะเป็นนามฉายาของพระอุปัชฌาย์ม่วง เจ้าอาวาสในยุคนั้น ) และ กรมพิทักษ์เทเวศร์ ( พระนามเดิมพระองค์เจ้าชายกุญชร ต้นสกุล กุญชร ) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พร้อมด้วยประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้าง
ในยุค พระอุปัชฌาย์ศรี ( หลวงพ่อศรี ) สุวณฺณโชติ ได้จัดการสร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น กุฏิสงฆ์ เป็นต้น
ยุค พระวิสุทธาจารย์เถระ ( เลื่อง สีลวฑฺฒโน ) ได้จัดการสร้างศาลาหน้าศาลาการเปรียญทางด้านทิศตะวันออก 1 หลัง ก่อเจดีย์บรรจุอัฐิเจ้าอาวาสในบริเวณอุโบสถ 1 องค์ สร้างสะพานไม้สักยาวตั้งแต่ท่าน้ำหน้าวัดด้านทิศตะวันตกจนถึงบริเวณวัด ยาวประมาณ 14 เส้น และสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกหลายหลัง นอกจากนี้ยังได้จัดการขุดลอกสระซ่อมศาลาการเปรียญ ซ่อมสะพาน เปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาอุโบสถใหม่ ตลอดทั้งจัดระเบียบกุฏิสงฆ์ให้เป็นหมวดหมู่
ในยุค อุปัชฌาย์เหม็ง ( หลวงพ่อเหม็ง ) ติสฺสปญฺโญ ได้สร้างหอปริยัติธรรม 1 หลัง และซ่อมศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ เปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาอุโบสถอีกครั้งหนึ่ง ในยุคนี้ได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนชั้นประถมศึกษา ( โรงเรียนวัดประดู่ทรงธรรม ) ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482 โดยความร่วมมือของ พระอาจารย์บัว สีลโสภโณ ( พระครูไพจิตรวิหารกาล อดีตเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช ) ได้บริจาคเงินสร้างโรงเรียนเป็นเงิน 452 บาท ทางราชการได้ขนานนามโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียน วัดประดู่ทรงธรรม “ จียะพันธ์บำรุง ”
ถึงยุค พระครูสาธุกิจจการี ( ชม อโสโก ) ได้จัดการสร้างและปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุหลายอย่าง เช่น สร้างสะพานยาวสายบ้านกระมัง และซ่อมกุฏิด้านหลังหอไตร เป็นต้น
อนึ่ง ในยุคนี้ปรากฏว่า วัดนางคำ วัดนี้ ในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า “ วัดนาง ” และว่าเป็นวัด ( พระอารามหลวง ) วัดหนึ่งในสมัยกรุงศรี อยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ทรงปฏิสังขรณ์ ซึ่งอยู่ริมคลองทรายในท้องที่ตำบลหัวรอ อำเภอ พระนครศรีอยุธยา และอยู่ทางทิศตะวันตกของ วัดประดู่ทรงธรรม ประมาณ 1 กม. ทรุดโทรมร่วงโรยลง ไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ทางราชการกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศให้ยุบรวมเข้ากับ วัดประดู่ทรงธรรม ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2486 เป็นต้นไป
ในยุคของ พระอธิการทอง อุตฺตโม เป็นเจ้าอาวาส ไม่ปรากฏว่ามีการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์แต่อย่างใด แต่ได้เป็นผู้จัดการสร้างรูปปั้นของอดีตเจ้าอาวาส องค์ที่ 1 ถึงองค์ที่ 6 ขนาดหน้าตัก 8 นิ้ว เท่ากันทุกองค์ขึ้น โดย นายวิบูลย์ ( ทองดี ) มีชูทรัพย์ เป็นผู้ออกแบบ ครูเพี้ยน โรงเรียนการช่าง พระนครศรีอยุธยา เป็นช่างปั้น เสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ.2489 ต่อมาพระอธิการทองก็ลาสิกขาไป
ในยุค พระอธิการอู๋ ( หลวงพ่ออู๋ ) ธมฺมวิโรจโน เป็นเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดหลายอย่าง เช่น บูรณะพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ สร้างกุฏิขึ้นอีก 2 หลัง ในยุคนี้มี พระบุญนาค สีลสํวโร ได้เป็นหัวหน้าชักชวนท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ 1 ถัง สิ้นเงิน 30,000 บาท สร้างถนนคอนกรีตภายในบริเวณกุฏิ 4 สาย สร้างสะพานคอนกรีตข้ามคลอง 1 สะพาน สร้างสะพานคอนกรีตแทนสะพานไม้สักของเก่าที่ชำรุด 2 ตอน คือ สะพานท่าน้ำถึงทางรถไฟสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ตอน จากศาลาพักร้อนหลังที่ 3 ถึงเชิงสะพานคอนกรีต 1 ตอน และบูรณะกุฏิหลังใหญ่ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของอดีตเจ้าอาวาส 1 หลัง นอกจากนี้ยังได้ทำการติดตั้งเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าเข้าวัดด้วย
สำหรับยุคของ “ หลวงพ่อบุญนาค สีลสํวโร ” ได้จัดการถมถนนดินลูกรังจากถนนเข้าสู่วัดอโยธยา ( วัดเดิม ) ทางหน้าวัดด้านตะวันออกผ่านบริเวณหลังกุฏิด้านทิศใต้ ยาวประมาณ 1 กม. 1 สาย และดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ในวงเงิน 500,000 บาท
ในยุคก่อนๆ มา เข้าใจว่าพระสงฆ์ก็คงจะได้ศึกษาพระธรรมวินัยตามประเพณี แต่ส่วนใหญ่มุ่งไปในทางศึกษาวิปัสสนาธุระเป็นสำคัญ จนถึงยุค พระวิสุทธาจารย์เถระ ( เลื่อง สีลวฑฺโน ) เป็นเจ้าอาวาส ปรากฏว่าทางการคณะสงฆ์เพิ่งริเริ่มวางรากฐานการศึกษาพระปริยัติธรรม เฉพาะในหัวเมืองขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2457 การศึกษาเล่าเรียนขณะนั้นยังไม่สู้แพร่หลาย แต่ทาง วัดประดู่ทรงธรรม ก็ได้พยายามตั้งสำนักเรียนขึ้นจนเป็นที่ปรากฏว่า มีพระภิกษุ-สามเณรเข้าสอบนักธรรมในสนามหลวง ใน พ.ศ. ต่อๆ มาได้หลายรูป และการศึกษาพระปริยัติธรรมได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ มีพระภิกษุ-สามเณรสนใจศึกษาเล่าเรียนกันตลอดมาจนทุกวันนี้ สำหรับวัดนี้มีการห่มผ้าแบบเก่าคือแบบมหานิกายเดิม ถ้าอยู่ภายในวัดห่มจีวรเปิดไหล่ขวา พาดสังฆาฏิคาดประคดอก ถ้ามีกิจนอกวัดห่มคลุมปิดไหล่ซ้าย หรือที่เรียกกันว่า “ ม้วนซ้ายชายแหวก ” สามเณรห่มจีบเปิดไหล่ขวาปิดไหล่ซ้ายคาดประคดอก ระเบียบนี้ถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน แม้ทางการจะมีการปฏิวัติห่มผ้าครั้งใหญ่อยู่คราวหนึ่ง แต่คณะสงฆ์ วัดประดู่ทรงธรรม ก็มิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ยังคงรักษาจารีตเดิมอยู่ตลอดมา และถือเป็นระเบียบปฏิบัติโดยเคร่งครัดอีกด้วย ส่วนขนบธรรมเนียม การประพฤติปฏิบัติแลการทำศาสนกิจมีอุโบสถสังฆกรรม เป็นต้น ก็ได้ดำเนินไปตามวินัยบัญญัติและระเบียบของคณะสงฆ์ทุกประการ
เนื่องจาก วัดประดู่ทรงธรรม เป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีวัดหนึ่ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ปรากฏมีพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดนี้หลายพระองค์ อาทิเช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ( ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมสมมตอมรพันธ์ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ เป็นต้น และปรากฏว่า เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดนี้ครั้งหนึ่ง การเสด็จมาครั้งนี้มีปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุโหร ของ จมื่นเก่งศิลป ( หรุ่น ) จากประชุมพงศาวดารภาคที่ 8 ว่า
“ วันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 กฐิน วัดประดู่... ”
สำหรับกรมพระพิทักษ์เทเวศร์นั้น ว่าได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล บริจาคเงินสร้างวิหารร่วมกับท่านพระพุทธศร ( เข้าใจว่าจะเป็นนามฉายาของเจ้าอาวาส ) และประชาชนเมื่อ พ.ศ.2405
ครั้นต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 วัดนี้เป็นที่สถิตของพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ และเจ้าคณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ พระวิสุทธาจารย์เถระ สังฆปาโมกข์ ( เลื่อง สีลวฑฺโน ) วัดประดู่ทรงธรรม จึงมีความสำคัญในวงการคณะสงฆ์ยิ่งขึ้น แม้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อครั้งเสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ในมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ.2456 ก็เสด็จมาทอดพระเนตรวัดนี้ ดังปรากฏอยู่ในระยะทางเสด็จตอนหนึ่งว่า
“ วันที่ 25 ธันวาคม ฯลฯ เวลา 2 โมงเช้า 40 นาที เสด็จโดยเรือยนต์ของท่านสมุหเทศาภิบาล ( พระยาโบราณราชธานินทร์ ) มีเรือไฟทหารตามเสด็จ 1 ลำ ล่องลงมาราว 7 นาทีถึงท่า วัดประดู่ทรงธรรม เสด็จขึ้นทรงพระดำเนินไปตามสะพาน เมื่อเสด็จถึงพระสงฆ์ออกมารับเสด็จที่ประตูวัด มี พระครูสุทธธรรมสมาจาร พระวิสุทธาจารยเถระ ( เลื่อง สีลวฑฺโน ) เจ้าอาวาสเป็นหัวหน้า แล้วทอดพระเนตรสถานที่ในวัดนั้น นมัสการพระในโบสถ์และในวิหาร แล้วเสด็จทอดพระเนตรกุฏิประทานของแจกแก่ชาวบ้าน ประทานสายสิญจน์ผูกข้อมือเด็กแล้วเสด็จกลับ... ”
อนึ่ง ภูมิสถานที่ตั้ง วัดประดู่ทรงธรรม นี้ มีลำคลองผ่านบริเวณกุฏิด้านทิศตะวันตกและศาลาการเปรียญอยู่คลองหนึ่ง เรียกกันว่า “ คลอง วัดประดู่ ” ปัจจุบันตื้นเขินเสียมากแล้ว สมัยก่อนคลองนี้ใช้เป็นที่สัญจรไปมาในฤดูน้ำได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาส พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2414 ทางชลมารค เพื่อทอดพระเนตรวัดต่างๆ เช่น วัดกุฎีดาว วัดมเหยงค์ เข้ายังลำคลอง วัดประดู่ทรงธรรม นี้
วัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา นับเป็นสำนักเรียนทางวิทยาคมอันโด่งดังมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรี อยุธยา เกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าพุทธาคมล้วนเคยผ่านสำนักนี้มาทั้งสิ้น หรือไม่ก็ได้รับอิทธิพลทางตำรับวิทยาคมมาจากสำนักแห่งนี้ “ หลวงพ่อบุญนาค ” อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 9 เป็นผู้สืบทอดพุทธาคมที่มีเรื่องราวน่าสนใจอย่างยิ่ง
วัดประดู่ทรงธรรม เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งในด้าน ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และการศึกษาวิชาว่าด้วยศิลป์ 20 ประการ รวมทั้งถาวรวัตถุต่างๆ ด้านประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานว่าอดีตเจ้าอาวาส วัดประดู่ทรงธรรม เป็นผู้มีคุณธรรมพิเศษในการทำพิธีลงเครื่องตามตำราพิชัยสงครามทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ ประกอบพิธีที่วัดตูมอันเป็นวัดสำหรับลงเครื่องพิชัยสงครามสืบมาแต่ครั้งกรุงศรี อยุธยา ในส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ยังได้ทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์ วัดประดู่ทรงธรรม ด้วย เช่น
![]() |
รูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อรอด (เสือ) รุ่น 1 โลหะรมดำ พ.ศ.2515 |
วันที่ 27 ตุลาคม 2451 วันนี้ได้นิมนต์พระเลื่องมาลงเครื่องตามแบบพระอาจารย์สี ลงพระแสงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทำพิธีชุบที่วัดตูม
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อาราธนาหลวงพ่อเลื่อง ลงเลขยันต์และอักขระ ธงกระบี่ธุช พระครุฑพ่าห์ ตามแบบของเดิมทำพิธีชุบที่วัดตูม ต่อเนื่องลงตะกรุดพิสมร เป็นประจำทุกปี
วัดประดู่ทรงธรรม นี้เดิมชื่อ “ วัดประดู่ ” หรือ “ วัดประดู่โรงธรรม ” เป็นวัดโบราณ ในสมัยกรุงศรี อยุธยา ในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ กล่าวว่าเป็นพระอารามหลวงชื่อ “ วัดอัศนาวาศน์วิหาร ” แต่จะสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรี อยุธยา กล่าวออกชื่อ วัดประดู่ หรือ วัดประดู่โรงธรรม เป็นครั้งแรก ในสมัย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เมื่อปี พ.ศ.2163 มีความว่า
![]() |
รูปหล่อหลวงพ่อรอด (หรือ หลวงพ่อเสือ) อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดประดู่ฯ ในสมัยกรุง รัตนโกสินทร์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าเจดีย์บรรจุอัฐิของท่าน |
ในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวความต่อไปอีกว่า
เวลานั้น พวกญี่ปุ่นเข้ามาค้าขายอยู่ที่กรุงศรี อยุธยา มีความโกรธแค้นว่าพระพิมลธรรมเป็นขบถ ข้าราชการยังพากันถวายราชสมบัติไม่จำกัดเสีย พวกญี่ปุ่นประมาณ 500 คน จึงพากันเข้าไปในพระราชวัง หมายจะทำร้ายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เมื่อเสด็จออกบอกพระปริยัติธรรมพระภิกษุ สามเณร ณ พระที่นั่งจอมทอง แต่พระสงฆ์วัดประดู่โรงธรรม 8 รูป พาพระองค์หนีรอดไปได้ พอพระมหาอำมาตย์คุมพวกเจ้าหน้าที่เข้าไปถึง จึงไล่ฆ่าฟันพวกญี่ปุ่นล้มตายแตกหนีลงเรือแล่นออกทะเลไป แต่นั่นพวกญี่ปุ่นก็มิได้มาค้าขายที่อยุธยาอีก และว่าครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงตั้งพระมหาอำมาตย์ผู้มีความชอบให้เป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ในที่นี้ ต่อมาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าปราสาททอง ในรัชกาลหลัง
![]() |
พระกริ่งวัดประดู่ฯ สร้างโดยหลวงพ่อเลื่อง (พระวิสุทธาจารย์เถร) ซึ่งนัยว่าเป็นการล้อ หรือเลียนแบบพระกริ่งคลองตะเคียน |
“ ...แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการ ให้วิเสทแต่งกัปบียะจังหันถวายพระสงฆ์ วัดประดู่ทรงธรรม เป็นนิจอัตรา ”
จากหลักฐานดังกล่าวมา ถ้าหากจะนับอายุของ วัดประดู่ทรงธรรม ตั้งแต่ พ.ศ.2163 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ( พ.ศ.2559 ) ก็เป็นเวลานานถึง 396 ปีเศษ แสดงให้เห็นถึงอายุขัยอันยาวนาน และความเก่าแก่ของวัดเป็นอย่างดี
อนึ่ง เหตุที่ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ วัดประดู่ทรงธรรม นั้น ” ก็เนื่องจากเดิมทีเดียวเป็นสองวัดมีอาณาเขตติดต่อกันคือ วัดประดู่ วัดหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือ วัดโรงธรรมวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้และในสมัยกรุงศรี อยุธยา นั้นเอง ได้รวมวัดทั้งสองนี้เข้าเป็นวัดเดียวกัน เรียกว่า “ วัดประดู่โรงธรรม ” ซึ่งชื่อของวัดนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ ( พร เตชะคุปต์ ) ได้ให้ความเห็นว่า
ความจริง วัดประดู่ เป็นวัด 1 วัดโรงธรรมอีกวัด 1 แต่ วัดประดู่ ในกรุงเก่ามีหลายวัดด้วยกัน ครั้นจะเรียกแต่ วัดประดู่ เฉยๆ ก็เกรงว่าจะไม่ตรงกับ วัดประดู่ ที่อยู่ข้างวัดโรงธรรมจึงเรียกควบกันไปว่า “ วัดประดู่โรงธรรม ”
ตามคำบอกเล่าของ พระอธิการบุญนาค สีลสํวโร อดีตเจ้าอาวาส วัดประดู่ทรงธรรม และท่านผู้รู้อีกหลายท่าน มีข้อความตรงกันว่า
![]() |
เหรียญเสมา หลวงพ่อเลื่อง กะไหล่ทอง
พ.ศ.2507 (สร้างโดย หลวงพ่อบุญนาค)
|
![]() |
เหรียญอาจารย์อู๋ ธมฺมวิโรจโน
ครบรอบ 82 ปี 2515
|
ครั้นเมื่อทางราชการตัดทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่านใกล้ๆ กับบริเวณวัดนี้และปรากฏว่า ณ บริเวณที่ตั้งแต่สถานีรถไฟ อยุธยา ขึ้นไปจนถึงลำคลองบ้านม้า เป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนมาก การก่อสร้างทางรถไฟบริวณพื้นที่ดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องใช้ดินเป็นจำนวนมาก นายช่างชาวฝรั่งเศสผู้รับเหมา ได้ใช้ดินพื้นที่บริเวณใกล้เคียง รวมทั้งดินของ วัดประดู่ เก่า พร้อมด้วยอิฐหักกากปูนมาถมทำทางรถไฟ และต่อมาภายหลังก็ถูกพวกราษฎรบุกเบิกที่ดินปลูกบ้านเรือนและทำพืชไร่อีก วัดประดู่ เก่า และวัดโรงธรรม จึงสิ้นซากไป ทุกวันนี้จึงเหลืออยู่แต่เพียง วัดประดู่ เก่าวัดเดียวเท่านั้น ส่วนวัดโรงธรรมนั้นในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกเพี้ยนไปเป็น “ วัดโรงทาน ” ว่าเป็นวัดหลวง ( พระอารามหลวง ) วัดหนึ่งในสมัยกรุงศรี อยุธยา และว่า สมเด็จเจ้าอุทุมพร ( กรมขุนพรพินิต หรือ ขุนหลวงหาวัด ) ทรงสร้าง ปัจจุบันไม่มีซากเหลืออยู่ และไม่ปรากฏภูมิสถานที่ตั้งของวัด หรืออาจเรียกชื่อปัจจุบันเป็นอย่างอื่นอีกไม่ทราบ ซึ่งควรจะได้สืบสาวเรื่องราวกันต่อไป วัดประดู่ เก่าก็ดี วัดโรงธรรมก็ดี เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่วัดเมืองเก่าคือเมืองอโยธยา สันนิษฐานว่า คงจะเป็นวัดขนาดย่อม สร้างในที่อันมีกำหนดว่าเป็นอรัญญิก ( คือห่างไกลจากเมืองพอพระสงฆ์เข้ามาบิณฑบาตถึง ) เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี และในบริเวณใกล้เคียง ก็มีวัดอรัญวาสีอีกหลายวัด เช่น วัดเดิม หรือ วัดอโยธยา เป็นต้น
![]() |
พระประธานในอุโบสถ วัดประดู่ทรงธรรม |
![]() |
ภาพอุโบสถวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งได้รับการ ปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์หลายครั้ง |
พระญาณไตรโลก อยู่วัดโรงธรรม เป็นคณะรอง อรัญวาสี 1
พระอุบาลี อยู่วัดกุฏ อรัญวาสี 1
พระญาณโพธิ อยู่วัดเจ้ามอญ อรัญวาสี 1
พระธรรมโกษา อยู่ วัดประดู่ อรัญวาสี 1
พระเทพมุณี อยู่วัดกุฎีดาว อรัญวาสี 1
พระเทพโมลี อยู่วัดสมณโกฏ อรัญวาสี 1
พระธรรมกิต อยู่วัดมเหยงค์ อรัญวาสี 1
ในสมัยกรุงศรี อยุธยา วัดประดู่โรงธรรม ได้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ( กรมขุนพรพินิต หรือขุนหลวงหาวัด หรือขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม ) เมื่อทรงผนวชถึงสองครั้งด้วย คือ
เมื่อปีขาล พ.ศ.2301 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงสละราชสมบัติแล้วเสด็จออกไปทรงผนวชที่วัดอโยธยา (วัดเดิม) แล้วเสด็จมาประทับ ณ วัดประดู่โรงธรรม จนกระทั่งลาผนวชเมื่อ พ.ศ.2302 การที่ทรงผนวชครั้งนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ตอนหนึ่งว่า
![]() |
เหรียญรูปไข่ อดีตเจ้าอาวาส 6 องค์ ทองแดงกะไหล่ทอง พ.ศ.2507 |
![]() |
เหรียญรูปไข่ อดีตเจ้าอาวาส 6 องค์ อัลปาก้า พ.ศ.2515 |
ต่อมาเมื่อปีวอก พ.ศ.2307 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงสละราชสมบัติอีกเป็นครั้งที่สอง ไปผนวช ณ วัดโพธิ์ทอง ตำบลคำหยาด แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ( ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ) แล้วเสด็จกลับมาอยู่ วัดประดู่โรงธรรม อีก จนถึงปี พ.ศ.2310 จึงเสด็จเข้าไปประทับ ณ วัดราชประดิษฐานจนกระทั่งเสียกรุงฯ แล้วถูกพม่าทูลเชิญเสด็จไปยังเมืองอังวะด้วย
สำหรับ วัดประดู่โรงธรรม ก็คงจะตกเป็นวัดร้างไปชั่วขณะ ในปี พ.ศ.2310 หรือก่อนหน้านั้น เพราะข้าศึกยกกองทัพเข้าล้อมกรุงฯ ประชาชนต้องพากันอพยพหนีภัยสงคราม แม้แต่พระสงฆ์ก็คงจะอยู่ไม่ได้ แต่สันนิษฐานว่าคงจะเป็นวัดร้างอยู่ไม่สู้นานนัก เพราะปรากฏต่อมาว่า ในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยได้แล้ว มีพระบรมราชโองการให้สืบเสาะหาพระสงฆ์มาจัดการพระศาสนา พระศรีภูมริปรีชา ได้อาราธนา พระอาจารย์ดี จาก วัดประดู่โรงธรรม ลงมายังกรุงธนบุรี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ.2312 แล้วโปรดฯให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช ( นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกในสมัยกรุงธนบุรี ) จากหลักฐานดังกล่าวมา พอจะสันนิษฐานได้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรี วัดประดู่โรงธรรม ยังมีพระสงฆ์จำพรรษาต่อมาอีก
![]() |
รูปหล่อจำลองอดีตเจ้าอาวาส วัดประดู่ทรงธรรม 8 องค์ |
![]() |
อนุสาวรีย์หลวงพ่อรอด (เสือ) |
![]() |
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงพ่อบุญนาคครึ่งองค์ พ.ศ.2520 |
ในยุคของ หลวงพ่อรอด ซึ่งตามประวัติว่า ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดเป็นองค์แรก ได้ก่อสร้างเสนาสนะกุฏิสงฆ์ เป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ พร้อมทั้งสร้างอุโบสถขึ้นก่อน
ต่อมาในยุค พระอุปัชฌาย์ม่วง ( หลวงพ่อม่วง ) ได้สร้างศาลาการเปรียญ ( เดิมเรียกว่า ศาลาดิน ) และกุฏิสงฆ์เพิ่มขึ้นมาอีก พร้อมทั้งขุดสระน้ำสำหรับพระสงฆ์ใช้สอย บริโภคข้างอุโบสถ 1 ลูก ก่อเจดีย์ 1 องค์ และปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ส่วนวิหารนั้นสร้างใหม่เมื่อ พ.ศ.2405 ในรัชกาลที่ 4 โดยมีท่าน พระพุทธสร ( เข้าใจว่าจะเป็นนามฉายาของพระอุปัชฌาย์ม่วง เจ้าอาวาสในยุคนั้น ) และ กรมพิทักษ์เทเวศร์ ( พระนามเดิมพระองค์เจ้าชายกุญชร ต้นสกุล กุญชร ) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พร้อมด้วยประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้าง
ในยุค พระอุปัชฌาย์ศรี ( หลวงพ่อศรี ) สุวณฺณโชติ ได้จัดการสร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น กุฏิสงฆ์ เป็นต้น
ยุค พระวิสุทธาจารย์เถระ ( เลื่อง สีลวฑฺฒโน ) ได้จัดการสร้างศาลาหน้าศาลาการเปรียญทางด้านทิศตะวันออก 1 หลัง ก่อเจดีย์บรรจุอัฐิเจ้าอาวาสในบริเวณอุโบสถ 1 องค์ สร้างสะพานไม้สักยาวตั้งแต่ท่าน้ำหน้าวัดด้านทิศตะวันตกจนถึงบริเวณวัด ยาวประมาณ 14 เส้น และสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกหลายหลัง นอกจากนี้ยังได้จัดการขุดลอกสระซ่อมศาลาการเปรียญ ซ่อมสะพาน เปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาอุโบสถใหม่ ตลอดทั้งจัดระเบียบกุฏิสงฆ์ให้เป็นหมวดหมู่
![]() |
พระอุปัชฌาย์ศรี สุวณฺณโชติ ฉายร่วมกับท่านเจ้าคุณเลื่อง |
ถึงยุค พระครูสาธุกิจจการี ( ชม อโสโก ) ได้จัดการสร้างและปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุหลายอย่าง เช่น สร้างสะพานยาวสายบ้านกระมัง และซ่อมกุฏิด้านหลังหอไตร เป็นต้น
![]() |
หลวงพ่อเลื่อง วัดประดู่ทรงธรรม
ถ่ายสมัยเป็นพระครูสุทธธรรมสมาจาร
|
ในยุคของ พระอธิการทอง อุตฺตโม เป็นเจ้าอาวาส ไม่ปรากฏว่ามีการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์แต่อย่างใด แต่ได้เป็นผู้จัดการสร้างรูปปั้นของอดีตเจ้าอาวาส องค์ที่ 1 ถึงองค์ที่ 6 ขนาดหน้าตัก 8 นิ้ว เท่ากันทุกองค์ขึ้น โดย นายวิบูลย์ ( ทองดี ) มีชูทรัพย์ เป็นผู้ออกแบบ ครูเพี้ยน โรงเรียนการช่าง พระนครศรีอยุธยา เป็นช่างปั้น เสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ.2489 ต่อมาพระอธิการทองก็ลาสิกขาไป
ในยุค พระอธิการอู๋ ( หลวงพ่ออู๋ ) ธมฺมวิโรจโน เป็นเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดหลายอย่าง เช่น บูรณะพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ สร้างกุฏิขึ้นอีก 2 หลัง ในยุคนี้มี พระบุญนาค สีลสํวโร ได้เป็นหัวหน้าชักชวนท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ 1 ถัง สิ้นเงิน 30,000 บาท สร้างถนนคอนกรีตภายในบริเวณกุฏิ 4 สาย สร้างสะพานคอนกรีตข้ามคลอง 1 สะพาน สร้างสะพานคอนกรีตแทนสะพานไม้สักของเก่าที่ชำรุด 2 ตอน คือ สะพานท่าน้ำถึงทางรถไฟสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ตอน จากศาลาพักร้อนหลังที่ 3 ถึงเชิงสะพานคอนกรีต 1 ตอน และบูรณะกุฏิหลังใหญ่ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของอดีตเจ้าอาวาส 1 หลัง นอกจากนี้ยังได้ทำการติดตั้งเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าเข้าวัดด้วย
สำหรับยุคของ “ หลวงพ่อบุญนาค สีลสํวโร ” ได้จัดการถมถนนดินลูกรังจากถนนเข้าสู่วัดอโยธยา ( วัดเดิม ) ทางหน้าวัดด้านตะวันออกผ่านบริเวณหลังกุฏิด้านทิศใต้ ยาวประมาณ 1 กม. 1 สาย และดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ในวงเงิน 500,000 บาท
![]() |
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงฉายร่วมกับพระสังฆาธิการ เมื่อคราวเสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์มณฑลกรุงเก่า พ.ศ.2456 |
เนื่องจาก วัดประดู่ทรงธรรม เป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีวัดหนึ่ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ปรากฏมีพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดนี้หลายพระองค์ อาทิเช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ( ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมสมมตอมรพันธ์ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ เป็นต้น และปรากฏว่า เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดนี้ครั้งหนึ่ง การเสด็จมาครั้งนี้มีปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุโหร ของ จมื่นเก่งศิลป ( หรุ่น ) จากประชุมพงศาวดารภาคที่ 8 ว่า
“ วันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 กฐิน วัดประดู่... ”
สำหรับกรมพระพิทักษ์เทเวศร์นั้น ว่าได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล บริจาคเงินสร้างวิหารร่วมกับท่านพระพุทธศร ( เข้าใจว่าจะเป็นนามฉายาของเจ้าอาวาส ) และประชาชนเมื่อ พ.ศ.2405
![]() |
หอไตรวัดประดู่ทรงธรรม |
“ วันที่ 25 ธันวาคม ฯลฯ เวลา 2 โมงเช้า 40 นาที เสด็จโดยเรือยนต์ของท่านสมุหเทศาภิบาล ( พระยาโบราณราชธานินทร์ ) มีเรือไฟทหารตามเสด็จ 1 ลำ ล่องลงมาราว 7 นาทีถึงท่า วัดประดู่ทรงธรรม เสด็จขึ้นทรงพระดำเนินไปตามสะพาน เมื่อเสด็จถึงพระสงฆ์ออกมารับเสด็จที่ประตูวัด มี พระครูสุทธธรรมสมาจาร พระวิสุทธาจารยเถระ ( เลื่อง สีลวฑฺโน ) เจ้าอาวาสเป็นหัวหน้า แล้วทอดพระเนตรสถานที่ในวัดนั้น นมัสการพระในโบสถ์และในวิหาร แล้วเสด็จทอดพระเนตรกุฏิประทานของแจกแก่ชาวบ้าน ประทานสายสิญจน์ผูกข้อมือเด็กแล้วเสด็จกลับ... ”
อนึ่ง ภูมิสถานที่ตั้ง วัดประดู่ทรงธรรม นี้ มีลำคลองผ่านบริเวณกุฏิด้านทิศตะวันตกและศาลาการเปรียญอยู่คลองหนึ่ง เรียกกันว่า “ คลอง วัดประดู่ ” ปัจจุบันตื้นเขินเสียมากแล้ว สมัยก่อนคลองนี้ใช้เป็นที่สัญจรไปมาในฤดูน้ำได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาส พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2414 ทางชลมารค เพื่อทอดพระเนตรวัดต่างๆ เช่น วัดกุฎีดาว วัดมเหยงค์ เข้ายังลำคลอง วัดประดู่ทรงธรรม นี้
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1200 หลวงพ่อบุญนาค สีลสํวโร วัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา ปักษ์แรก เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ราคาปก 60 บาท )