ภาพและเรื่องโดย..พรหม พิษณุ
วัดสันติกาวาส เป็นวัดที่เพิ่งสร้างขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ จะเรียกได้ว่ามาเป็นวัดจริงๆ ก็สมัย พระครูสถิตวีรธรรม หรือที่ชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วไปเรียกท่านว่า “ หลวงปู่รอด ฐิตวิริโย ” เป็นเจ้าอาวาสนี่เอง
ตามประวัติเล่าว่า...สมัยหนึ่งบริเวณอันเป็นสถานที่ตั้ง วัดสันติกาวาส ในปัจจุบันนี้ แต่เดิมเป็นป่ารกร้างเหลือเกิน มีเสือโคร่งมาเดินเพ่นพ่านให้เห็นอยู่บ่อยๆ แต่ก็เป็นสถานที่สงบเงียบ เหมาะที่จะนั่งกรรมฐาน เพราะยังมีหมู่บ้านของชาวบ้านอยู่ไม่ห่าง ดังนั้นจึงมักมีพระภิกษุธุดงค์ผ่านมาแล้ว นิยมปักกลดพักแรมอยู่บ่อยๆ บางรูปอยู่วัดสองวันก็จากไป หลายรูปปักแค่คืนเดียวก็เลยผ่าน
จนกระทั่งครั้งหนึ่งมีพระภิกษุเดินธุดงค์มาจากต่างถิ่น มาปักกลดอยู่ตรงบริเวณนี้เพราะใกล้แม่น้ำ และอยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้านเป็นที่สงบดี ท่านจึงปักกลดอยู่นานหลายวัน
เรื่องพระภิกษุธุดงค์มาปักกลดดังกล่าวทราบถึงชาวบ้านว่า ท่านมาค้างแรมหลายคืนแล้ว ก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใส นำอาหารบิณฑบาตมาถวายและนิมนต์ให้ท่านพักอยู่นานๆ ท่านก็เห็นด้วยรับปากชาวบ้าน ทำให้บรรดาชาวบ้านที่ลำบากในการเดินทางข้ามฟากไปทำบุญต่างก็ปลื้มใจ พากันสร้างที่พักชั่วคราวให้พระภิกษุธุดงค์รูปนั้น เพราะหวั่นว่าบริเวณดังกล่าวมีเสือลายพาดกลอนเยอะกลัวจะเป็นอันตราย
เมื่อชาวบ้านสร้างที่พักให้ พระภิกษุธุดงค์รูปนั้นก็เลยอยู่ที่นี่ มาทราบภายหลังชื่อ พระอาจารย์คำ นามฉายาจำไม่ได้แล้ว ท่านอยู่จำพรรษาที่พักสงฆ์ซึ่งชาวบ้านช่วยกันสร้างให้มาหลายปี เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านไม่น้อย เพราะแต่ก่อนลำบากเนื่องจากจะไปทำบุญแต่ละครั้งต้องว่าเรือจ้างข้ามฟากไปทำบุญที่วัดวงฆ้อง ไปทำบุญวัดหางไหล แต่ความสะดวกสบายนั้นก็มาสิ้นสุดลงเมื่อพระอาจารย์คำท่านหมดความเพียรลาสิกขาออกไปมีครอบครัว
ต่อมาก็มีพระธุดงค์อีกรูปหนึ่งชื่อ พระอาจารย์หัด ( ไม่ทราบฉายา ) เดินธุดงค์มาจากไหนไม่ทราบ ท่านมาเห็นสถานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมก็อยู่จำพรรษาที่นี่หนึ่งพรรษาได้แล้วก็จากไปอีก
รูปที่ 3 พระอาจารย์หงวน หรือ หลวงพ่อหงวน ท่านผู้นี้มาอยู่นานพอสมควร จนชาวบ้านคิดว่าต่อไปท่านคงจะตั้งเป็นสำนักสงฆ์ได้ เนื่องจากเมื่อฤดูเข้าพรรษาจะมีลูกหลานชาวบ้านบวชอยู่กับหลวงพ่อหงวนทุกปี แต่แล้วท่านก็ได้รับอาราธนาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองมะเกลือ ปล่อยให้สถานที่แห่งนี้ว่างจากพระภิกษุอีกครั้ง
จากนั้นสภาพเดิมๆ ของบริเวณแห่งนี้ก็ไม่ได้มีพระภิกษุมาพักจำพรรษาเป็นกิจจะลักษณะแต่อย่างใด รูปนี้มา รูปนั้นจาก ผลัดเปลี่ยนกันอยู่อย่างนี้
สภาพของสถานที่ปักกลดของพระธุดงค์แห่งนี้มีพระภิกษุเวียนมาพักกันไม่นานก็จากอยู่อย่างที่กล่าวมาแล้ว จนกระทั่งมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งชื่อ “ พระภิกษุรอด ฐิตวิริโย ” เป็นลูกหลานชาวบ้านหนองตมนี้ บวชมาสองสามพรรษาแล้ว ได้เห็นเจตนารมณ์ของชาวบ้านว่า อยากจะให้บริเวณดังกล่าวสร้างขึ้นมาเป็นวัด มีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร จำพรรษาซะที ตอนนั้น พระภิกษุรอด ยังไปเรียนนักธรรมที่สำนักเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุทัยธานี
หากจะให้วัดมีพระภิกษุ-สามเณรพักจำพรรษาจะต้องมีพระภิกษุที่มีความรู้เป็นผู้นำ จะต้องสร้างวัดเป็นสถานศึกษาเพื่อให้ลูกหลานชาวบ้านได้เข้ามาบวชเรียนพระธรรมวินัย หากต่างรูปต่างอยู่ไม่นานก็ต้องจากไปปล่อยให้สถานที่แห่งนี้รกร้างเหมือนเก่า
พระภิกษุรอด คิดได้ดังนั้นจึงเดินทางกลับไปที่สำนักเรียนของท่านที่จังหวัดอุทัยธานีอีกครั้ง พร้อมกับปรารภเรื่องนี้กับพระภิกษุรูปหนึ่ง ชี้แจงถึงความจำเป็นที่จะต้องมีพระภิกษุที่มีความรู้ทางธรรม เก่งด้านปริยัติ
“ ผมเองจบนักธรรมชั้นเอกแล้ว ” พระภิกษุต่างถิ่นรูปนั้นกล่าวขึ้น
“ งั้นผมขอนิมนต์หลวงพี่ช่วยสงเคราะห์ที ไปเป็นครูสอนนักธรรมให้หน่อย ”
พระภิกษุรอด คิดคาดการณ์เอาไว้ว่าจะสร้างวัดก็ต้องสร้างคนก่อน คือนำพระภิกษุมีความรู้ภูมิธรรมทางปริยัติเข้ามาเป็นครูสอน ไม่นานลูกหลานชาวบ้านก็คงจะบวชเข้ามาเรียนหนังสือเอง ต่อไปก็จะมีพระ-เณรอยู่จำพรรษาตลอด
พระภิกษุต่างถิ่นกล่าวว่าอยากดูสถานที่ที่เล่าให้ฟัง พระภิกษุรอด นำพาพระภิกษุรูปนั้นมายังสถานที่ดังกล่าว พระภิกษุต่างถิ่นเห็นสถานที่แล้วก็ออกปากยอมรับว่า มันกันดารเหลือเกิน ดูสิมีกุฏิเก่าๆ ตั้งอยู่กลางป่า หวั่นว่าวันดีคืนร้ายมีเสือลายพาดกลอนมาคาบพระ-เณรไปกินจะทำยังไง เพราะเสือยังมีให้เห็นเดินเพ่นพ่านอยู่ในสมัยนั้น
“ หลวงพี่กลัวเสือหรือ ” พระภิกษุรอดถามขึ้น
“ก็มันน่ากลัวไหมล่ะ ดูสิป่ารกร้างเหลือเกิน ”
“ แต่ผมกลับเห็นว่ามันเงียบสงัดมีความสงบเหมาะสำหรับจะสร้างเป็นที่พักสงฆ์ปฏิบัติธรรม อีกทั้งจะได้สงเคราะห์ชาวบ้านฝั่งซ้ายให้ไม่ต้องลำบาก เวลาจะทำบุญไม่ต้องจ้างเรือข้ามฟากไปฝั่งโน้น ”
“ หากมันไม่รกรื้อจนน่าหวาดกลัวนักก็น่าจะดี ”
“ หากหลวงพี่ประสงค์ผมจะจัดการให้ ขอเวลาสักหน่อย ”
การสนทนาระหว่าง พระภิกษุรอด กับพระต่างถิ่นนักธรรมเอกจบลงด้วยการที่ พระภิกษุรอด อาสาจะปรับพื้นที่ให้ดูไม่น่ากลัว โดยพระภิกษุต่างถิ่นรูปนั้นเดินทางกลับอุทัยธานีไปก่อน ปล่อยให้ พระภิกษุรอด พักอยู่ที่สถานที่ซึ่งจะสร้างเป็นที่พักสงฆ์
เวลาผ่านไปไม่ถึงสิบห้าวัน พระภิกษุรอด ก็เดินทางกลับไปที่สำนักเรียนในจังหวัดอุทัยแจ้งความคืบหน้าว่า บัดนี้สถานที่พร้อมแล้ว พระภิกษุต่างถิ่นจึงเดินทางมาพร้อมกับพระภิกษุ-สามเณรนักศึกษานักธรรมทั้งหมดประมาณ 30 รูป เป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านฝั่งหนองตมได้เห็นพระภิกษุ-สามเณรจำนวนมากมายขนาดนี้ และที่สำคัญคือ แม้บริเวณดังกล่าวชาวบ้านจะช่วยกันแผ้วถางต้นไม้จนโล่งไม่น่ากลัว แต่กุฏิที่พักมีเพียงหลังเดียวจะทำยังไง พระ-เณรส่วนใหญ่ก็ยังหวั่นกลัวกับเสือลายพาดกลอนที่มักจะมาเดิ่นเพ่นพ่านให้เห็นอยู่ บางรูปถึงกับถอดใจ
“ ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวผมจำวัดเป็นด่านแรก หากว่าเสือมันจะกัดพระ เณร ก็จะต้องเจอผมเป็นรูปแรกเอง ”
พระภิกษุรอดใจเด็ด นำมุ้งไปกางกันเหลือบยุงอยู่ห่างจากกลุ่มพระภิกษุ-สามเณรรูปอื่นๆ ที่จำวัดใกล้ๆ กัน ที่ พระภิกษุรอด ทำเช่นนั้นก็เพื่อให้พระ-เณรรูปอื่นๆ ได้อุ่นใจว่า หากเสือมันมาตอนกลางคืนก็จะต้องเจอพระภิกษุรอดก่อนใคร
พระภิกษุรอด จำวัดอย่างนั้นมานานหลายคืนติดต่อกัน ก็ยังไม่เคยปรากฏว่าจะมีเสือที่ไหนมารบกวน มันยังคงแอบเข้าไปขโมยหมูชาวบ้านไปกินอยู่ดี บางทีได้ยินมันคำรามตามประสา บางครั้งยังเห็นมันเดินผ่านเข้ามาบริเวณที่พักพระ-เณรอยู่เลย ชณะที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างที่พักสงฆ์ขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งมีที่พักของพระ-เณรสมควรแล้วนั่นแหละ พระภิกษุรอด จึงไม่ได้จำวัดที่พื้นดิน
เสือมันกลัวท่าน รอด ...พระภิกษุสหธรรมิกบางรูปกล่าวชมเชยหรือสัพยอกไปอย่างนั้นไม่ทราบได้ แต่ก็มีคนพูดตามว่า พระภิกษุรอด ดุยังกะเสือ พวกเสือลายพาดกลอนมันหรือจะกล้า แม้แต่คนที่เป็นนักเลงยังเกรงหัวหด
พรรษาแรกที่มีพระภิกษุ-สามเณรจำพรรษาในที่พักสงฆ์ และเนื่องจากบริเวณที่ตั้งสำนักสงฆ์เป็นที่สงบเงียบจึงเรียกเป็นชื่อปนบาลีว่า สำนักสงฆ์สันติกาวาส มีความหมายว่าสถานที่พักอันสงบสงัดนั่นเอง
สองปีต่อมาพระภิกษุต่างถิ่นที่มารับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมรูปนั้นท่านหมดความเพียรลาสิกขาออกไป พระภิกษุรอด ในฐานะที่มีความรู้และพรรษาสูงจึงกลายเป็นพระผู้นำ คือเป็นทั้งครูและนักเรียนด้วยกัน
จากนั้นมา สำนักสงฆ์สันติกาวาส ก็ได้ถูกยกฐานะขึ้นมาเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย และใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ วัดสันติกาวาส ” โดยมี พระภิกษุรอด ฐิตวิริโย เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้จากการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการของคณะสงฆ์ มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ กลายเป็นวัดที่มีความเจริญสมกับเป็นลานนาบุญของชาวบ้านอย่างที่เห็น
หลวงปู่ของชาวบ้าน พระเกจิอาจารย์ของคนทั่วไป
นามตามสมณศักดิ์ที่ “ พระครูสถิตวีรธรรม ” ชาวบ้านย่าน จังหวัดพิษณุโลก อาจจะไม่คุ้นเคยนัก นอกจากศิษย์ผู้ใกล้ชิดและพุทธศาสนิกชนใกล้เคียง อีกทั้งนามตามสมณศักดิ์นั้นเป็นสิ่งที่จดจำลำบาก ไม่ง่ายเหมือนกับชื่อแบบไทยอันเป็นนามเดิมของท่าน ชาวบ้านทั่วไปและคนที่เคารพนับถือทั้งหลายจึงนิยมเรียกท่านด้วยความเคารพเทิดทูนเสมอหนึ่งท่านเป็นญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดฝ่ายบิดาของผู้เรียกว่า “ หลวงปู่รอด ” วัดสันติกาวาส อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
พระครูสถิตวีรธรรม หรือ หลวงปู่รอด ฐิตวิริโย หลวงปู่ของพวกเรา คือพระเถระที่มีอายุพรรษาสูงรูปหนึ่ง เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติงดงาม เต็มเปลี่ยมด้วยเมตตาธรรม ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนตามสมควรแก่พระธรรมวินัย
พลังแห่งความเมตตาของหลวงปู่ทำให้ผู้ที่เดือดร้อนจากที่ต่างๆ เดินทางมาหาท่านอยู่เนืองนิตย์ หลวงปู่ไม่เคยบ่น ไม่เคยบิดพลิ้ว ทราบว่าศรัทธาญาติโยมเดินทางมาจากสถานที่ห่างไกล แม้บางคราวหลวงปู่จะอาพาธท่านลุกไหวก็จะลุกมาสนทนาด้วย ถามสุขทุกข์ พอจะยื่นมือช่วยเหลืออะไรเข้าได้ท่านก็จะไม่นิ่งนอนใจ หลวงปู่คือผู้ให้อย่างสมบูรณ์
ท่านไม่ได้สอนคนเพียงการขึ้นธรรมาสน์แล้วเทศนา หากแต่ท่านกระทำให้เป็นแบบอย่างเสมอหนึ่งแม่พิมพ์อันสวยงามและล้ำค่าที่สุด เพราะไม่เคยเลือกที่รักมักที่ชัง ใครไปกราบไหว้หลวงปู่รอดก็จะต้อนรับเสมอเหมือนกันหมด ดังนั้นท่านจึงเป็นหลวงพ่อ เป็นหลวงปู่ เสมือนหนึ่งเป็นญาติของทุกคน อย่าว่าแต่คนทั่วไปเลย แม้แต่สมัยก่อนบรรดาพวกที่ทำตัวเป็นโจรที่เขาเรียกกันว่า “ ไอ้เสือ ” ก็ยังได้รับการช่วยเหลือจากท่าน
นักเลงระดับ “ เสือ ” ยุคก่อนหลายรายเข้ามอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่บ้านเมืองด้วยมีหลวงปู่ของเรานี่แหละเป็นผู้ช่วย หลวงปู่เคยพูดเสมอว่า “ คนเราเกิดมาไม่ทำเลวไปซะทุกอย่าง ” นั่นคือหลักการ การให้ “ อภัย ” แก่คนอันเป็นหลักเมตตาชั้นสูง ไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจใดๆ คนดีท่านก็ยกย่องคนทำชั่วหลวงปู่ก็ให้โอกาสเพื่อให้เขากลับตัวกลับใจเป็นคนดี ท่านจึงไม่ต่างไปจากร่มไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขาให้คนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นได้ในยุคนั้น กระทั่งถึงปัจจุบัน ด้วยศีลาจารวัตรนั่นคือ หลวงปู่รอด คือยอดพระนักปฏิบัติ เคร่งครัดในหลักคำสอน อยู่ในกรอบแห่งพระธรรมวินัย จึงเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทุกคนที่มีโอกาสได้พบกับท่าน ตลอดกาลพรรษาอันยาวนานนับได้ 62 พรรษา อายุของหลวงปู่ครบ 7 รอบ 84 ปี ในต้นปี 2548 นี้ บรรดาศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถือในหลวงปู่จึงพร้อมใจกันจัดงานทำบุญถวายแก่ท่าน เสมือนหนึ่งการได้แสดงกตัญญูกตเวที
การนำกิตติคุณ ชีวประวัติ สมณวัตรของหลวงปู่มาเผยแพร่เพื่อเป็นอนุสติแก่บรรดาศิษยานุศิษย์คือสิ่งที่คณะศิษย์ประสงค์ จึงกราบนมัสการขออนุญาตจากท่าน ซึ่งประวัติที่จะนำมาบันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ได้มาจากการสอบถามจากบรรดาศิษย์เก่า-ใหม่ที่มีโอกาสรับทราบจากปากคำของหลวงปู่เล่ามา จากคนเฒ่าคนแก่ที่มีอายุจดจำได้ และจากการเล่าของหลวงปู่เอง
อาจจะไม่ละเอียดแต่ก็จะพยายามที่สุด เพื่อเป็นสิ่งตอบแทนแก่บรรดาผู้ที่มาร่วมงานแสดงมุทิตาสักการะโดยจะเรียงลำดับจากเหตุการณ์ต่างๆ จวบจนถึงสิ่งหนึ่งที่ศิษยานุศิษย์รู้จักกันดีคือ เรื่องวัตถุมงคลอันเข้มขลังของหลวงปู่ ถือเป็นภาคผนวก สนองความประสงค์ของหมู่ศิษย์ที่นิยมวัตถุมงคลของท่าน
ท่านพระครูสถิตวีรธรรม หรือ หลวงปู่รอด ฐิตวิริโย ท่านถือกำเนิดเกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ตรงกับวันที่ 4 มกราคม 2464 ที่บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 3 ตำบลตลุกเทียม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยเป็นบุตรคนที่ 2 ของ นายเพชร นางบุญมา นามสกุล แจ่มจุ้ย มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน 6 คน ดังนี้
1. นางบุญสืบ ( ใช้นามสกุลสามี เสียชีวิตแล้ว )
2. หลวงปู่รอด ฐิตวิริโย
3. นายประเสริฐ แจ่มจุ้ย ปัจจุบันย้ายครอบครัวไปอยู่ที่บ้านบุ่ง
4. นายอุดม แจ่มจุ้ย ( เสียชีวิตแล้ว )
5. นายบรรพต แจ่มจุ้ย ( เสียชีวิตแล้ว )
6. นายสงัด แจ่มจุ้ย ( เสียชีวิตแล้ว )
ชีวิตในช่วงปฐมวัยของ หลวงปู่รอด ก็คงจะไม่แตกต่างไปจากลูกหลานชาวบ้านที่มีอาชีพเป็นเกษตรกรมีการทำนาเป็นหลักโดยทั่วไป ผิดแต่ว่าครอบครัวของหลวงปู่นั้น โยมบิดา-มารดาของท่านมีลูกหลายคน เหมือนกับคนสมัยเก่าทั่วไป กอปรกับหลวงปู่รอดเป็นลูกคนที่สอง แต่เพราะคนแรกเป็นลูกผู้หญิง คนยุคนั้นถือว่ามีลูกชายเป็นคนหัวปีถึงจะดี เพราะจะได้ช่วยพ่อ-แม่ทำงาน ดังนั้นแม้ว่าหลวงปู่รอดจะเป็นลูกที่สองของครอบครัว แต่นับว่าท่านเป็นลูกชายคนแรกของพี่น้องร่วมมารดา-บิดาเดียวกัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ภาระต่างๆ ของครอบครัวจะตกอยู่ที่ลูกชายคนนี้ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้เมื่อหลวงปู่เติบโตพอจะช่วยเหลือการงานใดๆ ให้กับพ่อ-แม่ ท่านจึงต้องช่วยพี่สาวช่วยดูแลน้องๆ ที่เกิดตามมา ส่วนงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงควายหรือสิ่งที่พอจะยื่นมือเข้าช่วยได้ก็หาได้นิ่งดูดายไม่
ถึงกระนั้นก็เถอะ โยมพ่อ-แม่ของท่านก็เห็นความสำคัญของการศึกษา เด็กชายรอดในสมัยนั้นได้เข้าโรงเรียนตามสภาพที่น่าจะเป็น การเรียนรู้ของท่านก็ไม่ถึงกับดีเด่น สมองความจำได้ต่างไปจากบรรดาลูกหลานชาวบ้านในรุ่นเดียวกัน สามารถอ่านออกเขียนได้แล้วก็ออกมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพต่อไป จะเรียกได้ว่าครอบครัวของโยมผู้ให้กำเนิดของหลวงปู่นั้นลำบากไม่น้อย ต้องย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินอยู่ต่างถิ่นบ่อยๆ อาจจะเป็นเพราะฝ่ายญาติของบิดา-มารดามีไม่น้อย ใครเห็นว่าที่ไหนอุดมสมบูรณ์ดีก็แนะนำ โยมบิดาของท่านก็พาย้ายถิ่นไปทำมาหากินถึงเมืองสุโขทัย
ชีวิตของเด็กผู้ชายคนหนึ่งแกร่งขึ้นเพราะสาเหตุดังกล่าวนี้ ไปถิ่นไหนตนเองก็มักจะเป็นคนแปลกหน้าเสมอ บางทีก็มักจะเจอ “ เจ้าถิ่น ” หมิ่นเหม่ หาว่าวางกล้าม นั่นแหละคือสิ่งที่ทำให้อายุวัยของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ชื่อว่า “ นายรอด ” แข็งแกร่ง และเต็มไปด้วยความเข้มข้น
ไม่ใช่นิสัยนักเลง แต่ไม่ชอบที่จะก้มหัวให้กับคนให้เขาข่มเหงได้ง่าย “ เกิดเป็นชายก็ต้องเป็นชาย ” คือคติอย่างหนึ่งของ นายรอด สมัยนั้น ความสัตย์จริงคือสิ่งทีจะจรรโลงให้ชีวิตอยู่ได้ เมื่อเจอคนพาลจะทำเป็นคนทองไม่รู้ร้อนมันก็กระไรอยู่ แต่เมื่อจะมีเรื่องกับนายรอดจะไม่ใช่เป็นฝ่ายที่เริ่มก่อน เพราะเกลียดการมีเรื่องกับใคร “ กูชกมึงกูก็เจ็บมือเปล่า ดังนั้นมึงก็อย่าชกกู ” เข้าข่ายถือคติอย่างนี้ นายรอด จึงยืนหยัดอยู่ได้กับเพื่อนที่ “ ไม่ทำลายเพื่อน ” แต่หากเจอประเภทนักเลงสถุล นายรอด ไม่ยอมให้มันเดินเชิดหน้าหรอกเล่นมันหมอบกระแตเป็นบทสั่งสอน คนพาลไม่รู้จักพระธรรมในใบลานฉันใด คนเลวก็ไม่รู้จักเหตุผลที่จะชี้แจงให้มันกระจ่างแจ้งฉันนั้น
นายรอด จึงเติบโตมาท่ามกลางบรรดานักเลงทั้งหลาย แต่ไม่ได้ทำตัวเป็นนักเลง เพราะเกลียดการข่มเหงคนอ่อนแอกว่า ตามนิสัยของ นายรอด สมัยนั้นไม่เคยประพฤติตนเกเร เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่เคยสูบ แต่อยู่ท่ามกลางนักเลงที่เป็น “ นักเลงจริงๆ ” ไม่ใช่นักเลงตอนมีพวกมากลากไป
ตอนเป็นหนุ่มรุ่นๆ ได้รับฉายาจากพวกนักเลงว่า “ ไอ้ รอด คนจริง ” ทำไมเขาถึงได้ฉายาอย่างนั้น เพราะมีเรื่องชกต่อยกันบ่อยๆ นายรอด ไม่เคยก่อเรื่องใครก่อน แต่ใครอย่ามาทำหากเขาไม่ผิด เจ็บหนึ่งต้องคืนเป็นสองเท่า เป็นที่รู้จักของนักเลงรุ่นนั้นพอสมควร แม้ว่าอายุยังน้อย เคยถูกชักชวนให้เป็น “ เสือ ” เพราะเห็นว่าเป็นคนใจเด็ด แต่ก็ปฏิเสธสิ้นเชิง “ ปล้นจี้ทรัพย์คนอื่นคือคนหมดปัญญาหากิน ” ดังนั้นในชีวิตท่ามกลางหมู่นักเลงที่บางรายเขาเรียกชื่อนำหน้าอย่างน่าหวาดผวาว่า...“ ไอ้เสือ ” แต่ไม่เคยทำผิดกฎหมายบ้านเมือง หนำซ้ำหากทราบว่า คนที่รู้จักจะไปก่อเหตุปล้นชิง นายรอด ก็จะห้ามไว้ว่า “ อย่าทำ ” พวกเขาเหล่านั้นก็ต้องเชื่อ และไม่กล้า หากจะทำก็ไม่ต้องมาบอกให้รู้
วัดสันติกาวาส เป็นวัดที่เพิ่งสร้างขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ จะเรียกได้ว่ามาเป็นวัดจริงๆ ก็สมัย พระครูสถิตวีรธรรม หรือที่ชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วไปเรียกท่านว่า “ หลวงปู่รอด ฐิตวิริโย ” เป็นเจ้าอาวาสนี่เอง
ตามประวัติเล่าว่า...สมัยหนึ่งบริเวณอันเป็นสถานที่ตั้ง วัดสันติกาวาส ในปัจจุบันนี้ แต่เดิมเป็นป่ารกร้างเหลือเกิน มีเสือโคร่งมาเดินเพ่นพ่านให้เห็นอยู่บ่อยๆ แต่ก็เป็นสถานที่สงบเงียบ เหมาะที่จะนั่งกรรมฐาน เพราะยังมีหมู่บ้านของชาวบ้านอยู่ไม่ห่าง ดังนั้นจึงมักมีพระภิกษุธุดงค์ผ่านมาแล้ว นิยมปักกลดพักแรมอยู่บ่อยๆ บางรูปอยู่วัดสองวันก็จากไป หลายรูปปักแค่คืนเดียวก็เลยผ่าน
จนกระทั่งครั้งหนึ่งมีพระภิกษุเดินธุดงค์มาจากต่างถิ่น มาปักกลดอยู่ตรงบริเวณนี้เพราะใกล้แม่น้ำ และอยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้านเป็นที่สงบดี ท่านจึงปักกลดอยู่นานหลายวัน
![]() |
พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์สะดุ้งกลับ รุ่นแรก ฉลองอายุครบ 7 รอบ 84 ปี เนื้อพิเศษ ฝังตะกรุด 3 ดอก ทอง-เงิน-ทองแดง เส้นเกศาหลวงปู่รอด |
เมื่อชาวบ้านสร้างที่พักให้ พระภิกษุธุดงค์รูปนั้นก็เลยอยู่ที่นี่ มาทราบภายหลังชื่อ พระอาจารย์คำ นามฉายาจำไม่ได้แล้ว ท่านอยู่จำพรรษาที่พักสงฆ์ซึ่งชาวบ้านช่วยกันสร้างให้มาหลายปี เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านไม่น้อย เพราะแต่ก่อนลำบากเนื่องจากจะไปทำบุญแต่ละครั้งต้องว่าเรือจ้างข้ามฟากไปทำบุญที่วัดวงฆ้อง ไปทำบุญวัดหางไหล แต่ความสะดวกสบายนั้นก็มาสิ้นสุดลงเมื่อพระอาจารย์คำท่านหมดความเพียรลาสิกขาออกไปมีครอบครัว
ต่อมาก็มีพระธุดงค์อีกรูปหนึ่งชื่อ พระอาจารย์หัด ( ไม่ทราบฉายา ) เดินธุดงค์มาจากไหนไม่ทราบ ท่านมาเห็นสถานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมก็อยู่จำพรรษาที่นี่หนึ่งพรรษาได้แล้วก็จากไปอีก
รูปที่ 3 พระอาจารย์หงวน หรือ หลวงพ่อหงวน ท่านผู้นี้มาอยู่นานพอสมควร จนชาวบ้านคิดว่าต่อไปท่านคงจะตั้งเป็นสำนักสงฆ์ได้ เนื่องจากเมื่อฤดูเข้าพรรษาจะมีลูกหลานชาวบ้านบวชอยู่กับหลวงพ่อหงวนทุกปี แต่แล้วท่านก็ได้รับอาราธนาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองมะเกลือ ปล่อยให้สถานที่แห่งนี้ว่างจากพระภิกษุอีกครั้ง
จากนั้นสภาพเดิมๆ ของบริเวณแห่งนี้ก็ไม่ได้มีพระภิกษุมาพักจำพรรษาเป็นกิจจะลักษณะแต่อย่างใด รูปนี้มา รูปนั้นจาก ผลัดเปลี่ยนกันอยู่อย่างนี้
![]() |
พระสมเด็จปรกโพธิ์สะดุ้งกลับ เท-หล่อโบราณ รุ่นแรก เนื้อนวโลหะ แจกผู้ร่วมมุทิตาจิต ฉลองอายุครบ 7 รอบ 84 ปี (4 ม.ค. 48) สร้าง 108 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด 3 ตัว |
หากจะให้วัดมีพระภิกษุ-สามเณรพักจำพรรษาจะต้องมีพระภิกษุที่มีความรู้เป็นผู้นำ จะต้องสร้างวัดเป็นสถานศึกษาเพื่อให้ลูกหลานชาวบ้านได้เข้ามาบวชเรียนพระธรรมวินัย หากต่างรูปต่างอยู่ไม่นานก็ต้องจากไปปล่อยให้สถานที่แห่งนี้รกร้างเหมือนเก่า
พระภิกษุรอด คิดได้ดังนั้นจึงเดินทางกลับไปที่สำนักเรียนของท่านที่จังหวัดอุทัยธานีอีกครั้ง พร้อมกับปรารภเรื่องนี้กับพระภิกษุรูปหนึ่ง ชี้แจงถึงความจำเป็นที่จะต้องมีพระภิกษุที่มีความรู้ทางธรรม เก่งด้านปริยัติ
“ ผมเองจบนักธรรมชั้นเอกแล้ว ” พระภิกษุต่างถิ่นรูปนั้นกล่าวขึ้น
“ งั้นผมขอนิมนต์หลวงพี่ช่วยสงเคราะห์ที ไปเป็นครูสอนนักธรรมให้หน่อย ”
![]() |
หลวงปู่รอด ฐิตวิริโย (พระครูสถิตวีรธรรม) |
พระภิกษุต่างถิ่นกล่าวว่าอยากดูสถานที่ที่เล่าให้ฟัง พระภิกษุรอด นำพาพระภิกษุรูปนั้นมายังสถานที่ดังกล่าว พระภิกษุต่างถิ่นเห็นสถานที่แล้วก็ออกปากยอมรับว่า มันกันดารเหลือเกิน ดูสิมีกุฏิเก่าๆ ตั้งอยู่กลางป่า หวั่นว่าวันดีคืนร้ายมีเสือลายพาดกลอนมาคาบพระ-เณรไปกินจะทำยังไง เพราะเสือยังมีให้เห็นเดินเพ่นพ่านอยู่ในสมัยนั้น
“ หลวงพี่กลัวเสือหรือ ” พระภิกษุรอดถามขึ้น
“ก็มันน่ากลัวไหมล่ะ ดูสิป่ารกร้างเหลือเกิน ”
“ แต่ผมกลับเห็นว่ามันเงียบสงัดมีความสงบเหมาะสำหรับจะสร้างเป็นที่พักสงฆ์ปฏิบัติธรรม อีกทั้งจะได้สงเคราะห์ชาวบ้านฝั่งซ้ายให้ไม่ต้องลำบาก เวลาจะทำบุญไม่ต้องจ้างเรือข้ามฟากไปฝั่งโน้น ”
“ หากมันไม่รกรื้อจนน่าหวาดกลัวนักก็น่าจะดี ”
“ หากหลวงพี่ประสงค์ผมจะจัดการให้ ขอเวลาสักหน่อย ”
การสนทนาระหว่าง พระภิกษุรอด กับพระต่างถิ่นนักธรรมเอกจบลงด้วยการที่ พระภิกษุรอด อาสาจะปรับพื้นที่ให้ดูไม่น่ากลัว โดยพระภิกษุต่างถิ่นรูปนั้นเดินทางกลับอุทัยธานีไปก่อน ปล่อยให้ พระภิกษุรอด พักอยู่ที่สถานที่ซึ่งจะสร้างเป็นที่พักสงฆ์
เวลาผ่านไปไม่ถึงสิบห้าวัน พระภิกษุรอด ก็เดินทางกลับไปที่สำนักเรียนในจังหวัดอุทัยแจ้งความคืบหน้าว่า บัดนี้สถานที่พร้อมแล้ว พระภิกษุต่างถิ่นจึงเดินทางมาพร้อมกับพระภิกษุ-สามเณรนักศึกษานักธรรมทั้งหมดประมาณ 30 รูป เป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านฝั่งหนองตมได้เห็นพระภิกษุ-สามเณรจำนวนมากมายขนาดนี้ และที่สำคัญคือ แม้บริเวณดังกล่าวชาวบ้านจะช่วยกันแผ้วถางต้นไม้จนโล่งไม่น่ากลัว แต่กุฏิที่พักมีเพียงหลังเดียวจะทำยังไง พระ-เณรส่วนใหญ่ก็ยังหวั่นกลัวกับเสือลายพาดกลอนที่มักจะมาเดิ่นเพ่นพ่านให้เห็นอยู่ บางรูปถึงกับถอดใจ
“ ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวผมจำวัดเป็นด่านแรก หากว่าเสือมันจะกัดพระ เณร ก็จะต้องเจอผมเป็นรูปแรกเอง ”
พระภิกษุรอดใจเด็ด นำมุ้งไปกางกันเหลือบยุงอยู่ห่างจากกลุ่มพระภิกษุ-สามเณรรูปอื่นๆ ที่จำวัดใกล้ๆ กัน ที่ พระภิกษุรอด ทำเช่นนั้นก็เพื่อให้พระ-เณรรูปอื่นๆ ได้อุ่นใจว่า หากเสือมันมาตอนกลางคืนก็จะต้องเจอพระภิกษุรอดก่อนใคร
![]() |
เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์ รุ่นแรก เนื้อทองแดง |
เสือมันกลัวท่าน รอด ...พระภิกษุสหธรรมิกบางรูปกล่าวชมเชยหรือสัพยอกไปอย่างนั้นไม่ทราบได้ แต่ก็มีคนพูดตามว่า พระภิกษุรอด ดุยังกะเสือ พวกเสือลายพาดกลอนมันหรือจะกล้า แม้แต่คนที่เป็นนักเลงยังเกรงหัวหด
พรรษาแรกที่มีพระภิกษุ-สามเณรจำพรรษาในที่พักสงฆ์ และเนื่องจากบริเวณที่ตั้งสำนักสงฆ์เป็นที่สงบเงียบจึงเรียกเป็นชื่อปนบาลีว่า สำนักสงฆ์สันติกาวาส มีความหมายว่าสถานที่พักอันสงบสงัดนั่นเอง
สองปีต่อมาพระภิกษุต่างถิ่นที่มารับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมรูปนั้นท่านหมดความเพียรลาสิกขาออกไป พระภิกษุรอด ในฐานะที่มีความรู้และพรรษาสูงจึงกลายเป็นพระผู้นำ คือเป็นทั้งครูและนักเรียนด้วยกัน
จากนั้นมา สำนักสงฆ์สันติกาวาส ก็ได้ถูกยกฐานะขึ้นมาเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย และใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ วัดสันติกาวาส ” โดยมี พระภิกษุรอด ฐิตวิริโย เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้จากการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการของคณะสงฆ์ มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ กลายเป็นวัดที่มีความเจริญสมกับเป็นลานนาบุญของชาวบ้านอย่างที่เห็น
![]() |
รูปเหมือนฉีด รุ่นแรก เนื้อทองเหลือง |
นามตามสมณศักดิ์ที่ “ พระครูสถิตวีรธรรม ” ชาวบ้านย่าน จังหวัดพิษณุโลก อาจจะไม่คุ้นเคยนัก นอกจากศิษย์ผู้ใกล้ชิดและพุทธศาสนิกชนใกล้เคียง อีกทั้งนามตามสมณศักดิ์นั้นเป็นสิ่งที่จดจำลำบาก ไม่ง่ายเหมือนกับชื่อแบบไทยอันเป็นนามเดิมของท่าน ชาวบ้านทั่วไปและคนที่เคารพนับถือทั้งหลายจึงนิยมเรียกท่านด้วยความเคารพเทิดทูนเสมอหนึ่งท่านเป็นญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดฝ่ายบิดาของผู้เรียกว่า “ หลวงปู่รอด ” วัดสันติกาวาส อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
พระครูสถิตวีรธรรม หรือ หลวงปู่รอด ฐิตวิริโย หลวงปู่ของพวกเรา คือพระเถระที่มีอายุพรรษาสูงรูปหนึ่ง เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติงดงาม เต็มเปลี่ยมด้วยเมตตาธรรม ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนตามสมควรแก่พระธรรมวินัย
พลังแห่งความเมตตาของหลวงปู่ทำให้ผู้ที่เดือดร้อนจากที่ต่างๆ เดินทางมาหาท่านอยู่เนืองนิตย์ หลวงปู่ไม่เคยบ่น ไม่เคยบิดพลิ้ว ทราบว่าศรัทธาญาติโยมเดินทางมาจากสถานที่ห่างไกล แม้บางคราวหลวงปู่จะอาพาธท่านลุกไหวก็จะลุกมาสนทนาด้วย ถามสุขทุกข์ พอจะยื่นมือช่วยเหลืออะไรเข้าได้ท่านก็จะไม่นิ่งนอนใจ หลวงปู่คือผู้ให้อย่างสมบูรณ์
ท่านไม่ได้สอนคนเพียงการขึ้นธรรมาสน์แล้วเทศนา หากแต่ท่านกระทำให้เป็นแบบอย่างเสมอหนึ่งแม่พิมพ์อันสวยงามและล้ำค่าที่สุด เพราะไม่เคยเลือกที่รักมักที่ชัง ใครไปกราบไหว้หลวงปู่รอดก็จะต้อนรับเสมอเหมือนกันหมด ดังนั้นท่านจึงเป็นหลวงพ่อ เป็นหลวงปู่ เสมือนหนึ่งเป็นญาติของทุกคน อย่าว่าแต่คนทั่วไปเลย แม้แต่สมัยก่อนบรรดาพวกที่ทำตัวเป็นโจรที่เขาเรียกกันว่า “ ไอ้เสือ ” ก็ยังได้รับการช่วยเหลือจากท่าน
นักเลงระดับ “ เสือ ” ยุคก่อนหลายรายเข้ามอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่บ้านเมืองด้วยมีหลวงปู่ของเรานี่แหละเป็นผู้ช่วย หลวงปู่เคยพูดเสมอว่า “ คนเราเกิดมาไม่ทำเลวไปซะทุกอย่าง ” นั่นคือหลักการ การให้ “ อภัย ” แก่คนอันเป็นหลักเมตตาชั้นสูง ไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจใดๆ คนดีท่านก็ยกย่องคนทำชั่วหลวงปู่ก็ให้โอกาสเพื่อให้เขากลับตัวกลับใจเป็นคนดี ท่านจึงไม่ต่างไปจากร่มไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขาให้คนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นได้ในยุคนั้น กระทั่งถึงปัจจุบัน ด้วยศีลาจารวัตรนั่นคือ หลวงปู่รอด คือยอดพระนักปฏิบัติ เคร่งครัดในหลักคำสอน อยู่ในกรอบแห่งพระธรรมวินัย จึงเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทุกคนที่มีโอกาสได้พบกับท่าน ตลอดกาลพรรษาอันยาวนานนับได้ 62 พรรษา อายุของหลวงปู่ครบ 7 รอบ 84 ปี ในต้นปี 2548 นี้ บรรดาศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถือในหลวงปู่จึงพร้อมใจกันจัดงานทำบุญถวายแก่ท่าน เสมือนหนึ่งการได้แสดงกตัญญูกตเวที
![]() |
อุโบสถวัดสันติกาวาส อันร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ด้านหน้าของอุโบสถจะมีพระพุทธปางห้ามญาติประดิษฐานอยู่ |
อาจจะไม่ละเอียดแต่ก็จะพยายามที่สุด เพื่อเป็นสิ่งตอบแทนแก่บรรดาผู้ที่มาร่วมงานแสดงมุทิตาสักการะโดยจะเรียงลำดับจากเหตุการณ์ต่างๆ จวบจนถึงสิ่งหนึ่งที่ศิษยานุศิษย์รู้จักกันดีคือ เรื่องวัตถุมงคลอันเข้มขลังของหลวงปู่ ถือเป็นภาคผนวก สนองความประสงค์ของหมู่ศิษย์ที่นิยมวัตถุมงคลของท่าน
ท่านพระครูสถิตวีรธรรม หรือ หลวงปู่รอด ฐิตวิริโย ท่านถือกำเนิดเกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ตรงกับวันที่ 4 มกราคม 2464 ที่บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 3 ตำบลตลุกเทียม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยเป็นบุตรคนที่ 2 ของ นายเพชร นางบุญมา นามสกุล แจ่มจุ้ย มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน 6 คน ดังนี้
1. นางบุญสืบ ( ใช้นามสกุลสามี เสียชีวิตแล้ว )
2. หลวงปู่รอด ฐิตวิริโย
3. นายประเสริฐ แจ่มจุ้ย ปัจจุบันย้ายครอบครัวไปอยู่ที่บ้านบุ่ง
4. นายอุดม แจ่มจุ้ย ( เสียชีวิตแล้ว )
5. นายบรรพต แจ่มจุ้ย ( เสียชีวิตแล้ว )
6. นายสงัด แจ่มจุ้ย ( เสียชีวิตแล้ว )
ชีวิตในช่วงปฐมวัยของ หลวงปู่รอด ก็คงจะไม่แตกต่างไปจากลูกหลานชาวบ้านที่มีอาชีพเป็นเกษตรกรมีการทำนาเป็นหลักโดยทั่วไป ผิดแต่ว่าครอบครัวของหลวงปู่นั้น โยมบิดา-มารดาของท่านมีลูกหลายคน เหมือนกับคนสมัยเก่าทั่วไป กอปรกับหลวงปู่รอดเป็นลูกคนที่สอง แต่เพราะคนแรกเป็นลูกผู้หญิง คนยุคนั้นถือว่ามีลูกชายเป็นคนหัวปีถึงจะดี เพราะจะได้ช่วยพ่อ-แม่ทำงาน ดังนั้นแม้ว่าหลวงปู่รอดจะเป็นลูกที่สองของครอบครัว แต่นับว่าท่านเป็นลูกชายคนแรกของพี่น้องร่วมมารดา-บิดาเดียวกัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ภาระต่างๆ ของครอบครัวจะตกอยู่ที่ลูกชายคนนี้ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้เมื่อหลวงปู่เติบโตพอจะช่วยเหลือการงานใดๆ ให้กับพ่อ-แม่ ท่านจึงต้องช่วยพี่สาวช่วยดูแลน้องๆ ที่เกิดตามมา ส่วนงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงควายหรือสิ่งที่พอจะยื่นมือเข้าช่วยได้ก็หาได้นิ่งดูดายไม่
![]() |
พระปิดตามหานิยม พิมพ์แข้งซ้อน (ใหญ่) กะด้วยไม้มะยมตายพราย ด้านหน้าตอกโค้ด 1 ตัว ด้านหลังตอกโค้ด 2 ตัว ก้นบรรจุมวลสารผงมงคล 7 อังคาร 7 เสาร์ ตะกรุดนะครอบจักรวาล -เส้นเกศาหลวงปู่รอด |
ชีวิตของเด็กผู้ชายคนหนึ่งแกร่งขึ้นเพราะสาเหตุดังกล่าวนี้ ไปถิ่นไหนตนเองก็มักจะเป็นคนแปลกหน้าเสมอ บางทีก็มักจะเจอ “ เจ้าถิ่น ” หมิ่นเหม่ หาว่าวางกล้าม นั่นแหละคือสิ่งที่ทำให้อายุวัยของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ชื่อว่า “ นายรอด ” แข็งแกร่ง และเต็มไปด้วยความเข้มข้น
ไม่ใช่นิสัยนักเลง แต่ไม่ชอบที่จะก้มหัวให้กับคนให้เขาข่มเหงได้ง่าย “ เกิดเป็นชายก็ต้องเป็นชาย ” คือคติอย่างหนึ่งของ นายรอด สมัยนั้น ความสัตย์จริงคือสิ่งทีจะจรรโลงให้ชีวิตอยู่ได้ เมื่อเจอคนพาลจะทำเป็นคนทองไม่รู้ร้อนมันก็กระไรอยู่ แต่เมื่อจะมีเรื่องกับนายรอดจะไม่ใช่เป็นฝ่ายที่เริ่มก่อน เพราะเกลียดการมีเรื่องกับใคร “ กูชกมึงกูก็เจ็บมือเปล่า ดังนั้นมึงก็อย่าชกกู ” เข้าข่ายถือคติอย่างนี้ นายรอด จึงยืนหยัดอยู่ได้กับเพื่อนที่ “ ไม่ทำลายเพื่อน ” แต่หากเจอประเภทนักเลงสถุล นายรอด ไม่ยอมให้มันเดินเชิดหน้าหรอกเล่นมันหมอบกระแตเป็นบทสั่งสอน คนพาลไม่รู้จักพระธรรมในใบลานฉันใด คนเลวก็ไม่รู้จักเหตุผลที่จะชี้แจงให้มันกระจ่างแจ้งฉันนั้น
นายรอด จึงเติบโตมาท่ามกลางบรรดานักเลงทั้งหลาย แต่ไม่ได้ทำตัวเป็นนักเลง เพราะเกลียดการข่มเหงคนอ่อนแอกว่า ตามนิสัยของ นายรอด สมัยนั้นไม่เคยประพฤติตนเกเร เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่เคยสูบ แต่อยู่ท่ามกลางนักเลงที่เป็น “ นักเลงจริงๆ ” ไม่ใช่นักเลงตอนมีพวกมากลากไป
ตอนเป็นหนุ่มรุ่นๆ ได้รับฉายาจากพวกนักเลงว่า “ ไอ้ รอด คนจริง ” ทำไมเขาถึงได้ฉายาอย่างนั้น เพราะมีเรื่องชกต่อยกันบ่อยๆ นายรอด ไม่เคยก่อเรื่องใครก่อน แต่ใครอย่ามาทำหากเขาไม่ผิด เจ็บหนึ่งต้องคืนเป็นสองเท่า เป็นที่รู้จักของนักเลงรุ่นนั้นพอสมควร แม้ว่าอายุยังน้อย เคยถูกชักชวนให้เป็น “ เสือ ” เพราะเห็นว่าเป็นคนใจเด็ด แต่ก็ปฏิเสธสิ้นเชิง “ ปล้นจี้ทรัพย์คนอื่นคือคนหมดปัญญาหากิน ” ดังนั้นในชีวิตท่ามกลางหมู่นักเลงที่บางรายเขาเรียกชื่อนำหน้าอย่างน่าหวาดผวาว่า...“ ไอ้เสือ ” แต่ไม่เคยทำผิดกฎหมายบ้านเมือง หนำซ้ำหากทราบว่า คนที่รู้จักจะไปก่อเหตุปล้นชิง นายรอด ก็จะห้ามไว้ว่า “ อย่าทำ ” พวกเขาเหล่านั้นก็ต้องเชื่อ และไม่กล้า หากจะทำก็ไม่ต้องมาบอกให้รู้
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1228 หลวงพ่อรอด วัดสันติกาวาส อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลกเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ราคาปก 70 บาท )