ภาพและเรื่องโดย ลายทอง คงคาพยนต์
“ หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ ” เกจิอาจารย์ขลังอีกองค์หนึ่งของเมือง นครสวรรค์ เป็นพระเถระผู้ทรงไว้ด้วยศีลาจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม ฝึกฝนจิตจนมีพลังกล้าแข็ง เรียนรู้เจนจบทางด้านพุทธาคมอย่างเอกอุ เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันกับ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ขนาดหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นิมนต์ให้ไปร่วมงานด้วยบ่อยครั้ง นอกจากนั้นท่านเดินทางไปศึกษาพุทธาคมกับเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าในสมัยนั้นอีกมากมาย มงคลวัตถุของท่านจึงมีพุทธคุณ มีประสบการณ์ เป็นที่ศรัทธาของสานุศิษย์และชาวนครสวรรค์ทั่วไป
ประวัติของ หลวงพ่อฮวด กัณฑโว วัดหัวถนนใต้ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ จากหนังสือรำลึกในงานบรรจุสังขารของหลวงพ่อในจตุรมุขพิมานฯ ซึ่ง คุณชลการ รัตนธีรเดช ได้บันทึกไว้มีดังนี้
ประวัติวัด วัดหัวถนนใต้ สร้างขึ้นเมื่อไร ใครเป็นคนสร้าง ไม่มีหลักฐานอันใดจารึกไว้ ตอนแรกเป็นเพียงสำนักสงฆ์ มีอาสนะสงฆ์ 3-4 หลังเท่านั้น สำหรับการใช้ชื่อวัดนั้น เดิมในบริเวณนั้นมีถนนโบราณใหญ่ตัดไปทางลำธารทางใต้ อันถนนนี้ใช้เป็นทางสำหรับไปตักน้ำที่ในลำธาร เมื่อในบริเวณนี้ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์และได้รับการบูรณะจนกระทั่งเป็นวัดแล้ว ก็เลยใช้ชื่อวัดว่า “ วัดหัวถนนใต้ ” วัดนี้มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 25 ไร่ ทิศเหนือจรดกับบริเวณที่นาของเอกชน ทิศตะวันออกจรดหมู่บ้าน ทิศตะวันตกจรดหมู่บ้าน ทิศใต้จรดหมู่บ้านและทางหลวง
สำหรับการเดินทางไปที่วัดนั้น เมื่อท่านเดินทางจากกรุงเทพฯไปถึงนครสวรรค์แล้ว ในบริเวณบริษัทขนส่งจะมีรถเพื่อเข้าไป อำเภอท่าตะโก ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง นครสวรรค์ ประมาณ 42 กม. ก่อนจะถึงอำเภอท่าตะโกประมาณ 3 กม. ทางด้านซ้ายมือจะมีทางสำหรับเข้า วัดหัวถนนใต้ วัดจะอยู่ลึกเข้าไป 200 ม. ก็จะถึง เมื่อท่านเดินทางไปถึงแล้วจะพบกับความร่มเย็นของป่าไม้ที่ล้อมรอบร่มรื่นสงบเงียบ เป็นสถานที่เหมาะที่จะหาความสงบทางใจ เหมาะแก่การพักผ่อนแบบธรรมชาติที่ปราศจากสิ่งวุ่นวายทั้งหลาย
ลำดับเจ้าอาวาส เป็นที่น่าเสียดายว่า ไม่มีใคร หรือหลักฐานอันใดบันทึกเอาไว้ว่า มีเจ้าอาวาสกี่องค์แล้วที่ได้ปกครอง วัดหัวถนนใต้ แต่จากการสอบถามหลวงพ่อองค์ปัจจุบัน ได้มีเจ้าอาวาสปกครองวัดนี้มีดังนี้
1. หลวงพ่อจ้อย
2. หลวงพ่อวงษ์
3. หลวงพ่อนัน
4. พระครูนิยุตธรรมประวิตร ( หลวงพ่อฮวด )
5. พระปลัดพริ้ง จักกะวโร ( เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน )
การพัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อ หลวงพ่อฮวด มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัดนี้ สภาพของวัดตกอยู่ในความชำรุดทรุดโทรม ท่านได้ทุ่มเทสติปัญญา กำลังกายกำลังใจในการก่อสร้าง วัดหัวถนนใต้ เจริญถาวร ท่านได้ก่อสร้างในวัดของท่านและแม้แต่ตำบลอื่นๆ ที่มาขอร้องให้ท่านช่วยเหลือท่านก็ไม่ปฏิเสธใครเลย ท่านได้แสดงความสามารถให้ปรากฏว่าท่านเป็นนักพัฒนาอย่างยอดเยี่ยม ทั้งในด้านก่อสร้าง การบริหารกิจของสงฆ์ ตลอดจนการส่งเสริมการศึกษาของกุลบุตร-กุลธิดา ท่านได้ก่อสร้างสิ่งแรกอันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งของพระภิกษุ-สามเณรนั้นก็คือ ท่านได้สร้างกุฏิจากของเก่ามี 2-3 หลังที่ชำรุดทรุดโทรมเสียใหม่ เพิ่มเติมขึ้นเป็น 7-8 หลัง และในปี 2509 ได้สร้างกุฏิ 2 ชั้น กว้าง 6 วา ยาว 10 วา เป็นราคาถึง 250,000 บาท ในปี พ.ศ.2511 สร้างศาลาการเปรียญด้วยไม้เนื้อแข็ง มุงกระเบื้องลูกฟูก กว้าง 6 วา ยาว 12 วา 2 ศอก นอกจากนั้นท่านได้สร้างหอฉัน หอระฆัง พระอุโบสถ จนถึงปี พ.ศ.2512 ได้ซ่อมแซมหอสวดมนต์ของเก่าที่ท่านได้สร้างขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเปลี่ยนพื้นใหม่ ตีฝา และติดบานประตู-หน้าต่างใหม่ ปี 2514 ก็เริ่มบูรณะเสียใหม่ให้สมบูรณ์ครบถ้วน แล้วหันมาสร้างถังน้ำฝนเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ โดยเทคอนกรีตสูงด้านละ 2 เมตร พร้อมทั้งก่อฐานสูง 6 เมตร นอกจากนี้ท่านได้ขุดสระและบ่อน้ำขึ้น เพื่อได้เป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงได้ใช้น้ำ
เมื่อท่านบูรณปฏิสังขรณ์วัดของท่านให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ยังได้ช่วยเหลือวัดที่อยู่ในตำบลอื่นๆ อีก เช่นในปี พ.ศ.2509 เป็นประธานในการสร้างศาลาวัดหนองหลวง ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ในปีเดียวกันได้เป็นที่ปรึกษาสร้างศาลาวัดเขาค้างคาว ปี 2511-2512 เป็นประธานที่ปรึกษาวัดเขาวง อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์ ปี 2513 เป็นที่ปรึกษาการสร้างสำนักสงฆ์บ้านเขาขาด อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ นอกจากท่านจะได้ทุ่มเททางด้านบูรณะวัดแล้ว ท่านยังได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษาทั้งของภิกษุ-สามเณร และกุลบุตร-กุลธิดาในละแวกนั้น ได้เปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม และพระธรรมวินัย ท่านได้จัดหาครูที่มีความรู้ความสามารถในพระธรรมวินัยบาลีสันสกฤตมาเป็นครูสอนพระภิกษุ-สามเณรที่วัด ปี พ.ศ.2502 สร้าง “ โรงเรียนประชาบาลนิยุกต์ประชาสรรค์ ” แบบครึ่งตึกครึ่งไม้ มีมุขทั้งสองด้าน มีห้องเรียน 6 ห้อง กว้าง 8.50 ม. ยาว 30 ม. และ ปี 2504 ท่านก็ได้สร้างโรงเรียนเพิ่มเติมขึ้นอีกหนึ่งหลัง กว้าง 8.50 ม. ยาว 33 ม. มีห้องเรียน 8 ห้อง ปี 2510 สร้างถังน้ำให้โรงเรียน 2 ถัง เพื่อให้เด็กได้มีน้ำดื่มน้ำใช้
นอกจากนี้ท่านยังได้ให้ทุนแก่เด็กนักเรียนดีแต่ยากจน ให้ที่พักให้การเลี้ยงดู นอกจากนี้แล้วท่านยังได้บำเพ็ญประโยชน์เกี่ยวกับชาวบ้านอีก ใน ปี 2505 ได้นำประชาชนสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน ปี 2506 สร้างถนนเข้าวัดกว้าง 7 ม. ยาว 550 เมตร ปี 2507 สร้างเขื่อนกั้นน้ำเพื่อความสะดวกสบายในการทำการเกษตรกรรม กว้าง 9 เมตร ยาว 10 ม. สูง 2 ม. ปี 2513 สร้างศาลาพักผู้โดยสารรถประจำทางด้วยไม้เนื้อแข็งและเทคอนกรีต นอกจากนั้นท่านยังเป็นกำลังสำคัญในการจัดหากระแสไฟฟ้าเข้ามาให้ชาวบ้านในละแวกนั้นทั้ง 3 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านหัวถนนเหนือ หัวถนนใต้ และหมู่บ้านหัวถนนกลาง จัดวางท่อประปาทั่ววัด และโรงเรียน จัดให้ประชาชนทั่วไปลอกบ่อน้ำและสระน้ำที่ท่านได้สร้างไว้เพื่อจะใช้ในหน้าแล้ง ท่านได้บูรณะและพัฒนาในหมู่บ้านของท่านจนได้รับการยกย่องจากทางราชการให้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่ 1 ในเขต 6 และที่ 2 ในภาคเหนือ นี่ก็เป็นเครื่องยันยันว่าท่านเป็นเจ้าพ่อพัฒนาแห่งเทือกเขากะลาได้เป็นอย่างดี
ในช่วงปัจฉิมวัยท่านได้จัดสร้างศาลาการเปรียญเป็นตึกขนาดใหญ่ที่สุดใน อำเภอท่าตะโก จัดสร้างกุฏิหลังใหม่อีก 2 หลัง เพื่อให้พระภิกษุ-สามเณรได้อาศัยจำพรรษา จัดสร้างหอระฆัง 2 หอขึ้นที่หน้าศาลาการเปรียญ แม้บั้นปลายชีวิตในขณะที่ท่านเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลหลายครั้ง ท่านก็ยังอุตส่าห์รับเป็นประธานในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยขนาด 30 เตียง ให้กับโรงพยาบาลประจำ อำเภอท่าตะโก และสามารถก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อยด้วยทุนทรัพย์ค่าก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาท
ในปี 2466 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดพนมรอก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ได้รับฉายาว่า “ กณฑโว ” โดยมี เจ้าคุณนิพัทธรรมจารย์ วัดพนมรอก เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่กับพระอุปัชฌาย์เป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อปรนนิบัติรับใช้พร้อมทั้งเล่าเรียนพระธรรมวินัยพระปริยัติธรรม และวิทยาคมจากพระอุปัชฌาย์จนหมดสิ้น จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดหัวถนนใต้ ตลอดมา นอกจากนี้ท่านยังได้เดินทางไปขอศึกษาวิทยาคมจาก หลวงพ่อสุข วัดสระโบสถ์ ต.ดอนคำ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ และยังได้รับตำราใบลานของ “ หลวงพ่อเฒ่า แห่งวัดหนองโพ ” ซึ่งเป็นอาจารย์ของ หลวงพ่อเดิม โดยได้รับคำชี้แนะอย่างใกล้ชิดจากหลวงพ่อเดิม เล่ากันว่าในสมัยนั้น เมื่อหลวงพ่อเดิมได้รับกิจนิมนต์ไปยังที่ใดก็มักจะชวน หลวงพ่อฮวด ร่วมเดินทางไปด้วยเสมอ จึงนับได้ว่าพระเดชพระคุณ หลวงพ่อฮวด เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับหลวงพ่อเดิม และยังได้ขอศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อเดิมอีกด้วย เพียงแต่พรรษาอ่อนกว่ากันเท่านั้น ซึ่งพระเดชพระคุณ หลวงพ่อฮวด ก็มิได้หยุดการเสาะแสวงหาอาจารย์ที่เก่งๆ เพื่อขอถ่ายทอดคาถาอาคมแต่อย่างใด เมื่อมีโอกาสท่านจะหาเวลาไปศึกษาวิทยาคมจาก หลวงพ่อพุฒ จ.อ่างทอง หลวงพ่อนอ จ.อยุธยา ซึ่งหลวงพ่อแต่ละองค์ก็จะเก่งกันไปคนละด้าน
สมณศักดิ์ ปี พ.ศ.2471-2518 ร่วมเป็นกรรมการควบคุมการสอบนักธรรม พ.ศ.2472 ท่านสอบได้นักธรรมโทและได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมที่ใบฎีกา พ.ศ.2474 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลหัวถนน พ.ศ.2488 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นฐานานุกรมที่ปลัด พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบประโยคนักธรรม และเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี “ พระครูนิยุตธรรมประวิตร ” และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2531 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นโท
ศีลาจารวัตร พระเดชพระคุณ หลวงพ่อฮวด ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง เปี่ยมด้วยเมตตา มีความสมถะมักน้อยและถ่อมตน มีความขยันหมั่นเพียรในวัตรปฏิบัติและภารกิจทางพระศาสนาเป็นยิ่งนัก หลวงพ่อมักจะสั่งสอนคนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และให้พอใจในสิ่งที่ตนมีและดำรงอยู่ ละเว้นบาปและความชั่วทุกชนิด
นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาอีกด้วย โดยที่มองเห็นความสำคัญของการศึกษาทั้งของพระภิกษุ-สามเณร และกุลบุตร-กุลธิดา จึงได้เปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยขึ้น พร้อมทั้งจัดหาครูที่มีความรู้ความสามารถในพระธรรมวินัยบาลีสันสกฤตมาอบรมสั่งสอน อีกทั้งยังจัดสร้าง โรงเรียนประชาบาลนิยุตประชาสรรค์ ในบริเวณวัดให้เด็กๆ ได้เล่าเรียน พร้อมทั้งให้ทุนแก่เด็กที่เรียนดีแต่ยากจน ตลอดจนการเลี้ยงดูและที่พักอาศัยไปจนกว่าจะเรียนจบ พระเดชพระคุณหลวงพ่อมักกล่าวเสมอว่า “ ควรจะสร้างคน ก่อนที่จะสร้างวัตถุ ” เป็นปริศนาธรรมให้ขบคิดมาจนทุกวันนี้ เพราะในขณะที่ท่านสร้างโรงเรียนนั้นสภาพกุฏิที่ท่านใช้จำพรรษา โบสถ์ ศาลา หอฉัน ล้วนอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมต้องบูรณะซ่อมแซมเป็นการด่วน แต่ท่านก็ยังมีความประสงค์จะให้สร้างโรงเรียนก่อน ไม่เพียงแค่นั้น ท่านยังได้ชักชวนชาวบ้านจัดสร้างถนน สร้างเขื่อนกั้นน้ำ เพื่อความสะดวกในการเดินทางและการเกษตร จัดหาไฟฟ้า ประปา มาให้ชาวบ้านได้ใช้สอย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนให้ดีขึ้น แม้ครั้งสุดท้ายก่อนที่ท่านจะละสังขารจากไป ท่านยังได้รับเป็นประธานจัดสร้างตึกผู้ป่วยขนาด 30 เตียง พร้อมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วยให้แก่โรงพยาบาลท่าตะโกอีกด้วย
ปัจฉิมวัย ในระหว่างปี พ.ศ.2515-2535 พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ทุ่มเทสติกำลังความสามารถให้กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยการ่วมพัฒนาบูรณะวัดวาอารามต่างๆ ที่ขอพึ่งบารมี โดยรับนิมนต์ไปทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศที่มีพิธีพุทธาภิเษก เพื่อหาจตุปัจจัยในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมศาสนสถานจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีหลายแห่ง ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าวที่ชื่อเสียงบารมีของพระเดชพระคุณหลวงพ่อขจรขจายไปทั่วสารทิศ ก็มีหนังสือที่เกี่ยวกับพระเครื่องบ้าง บุคคลบางกลุ่มบางจำพวกบ้าง ได้มาขอประวัติตลอดจนการจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดหัวถนนใต้ที่ผ่านมาไปลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งเสนอตัวขอจัดสร้างวัตถุมงคลถวาย โดยขอแบ่งผลประโยชน์ด้วย ก็ถูกปฏิเสธจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อฮวด บางรายถึงกับถูกไล่ลงจากกุฏิแทบไม่ทัน และหลวงพ่อเคยบอกกับศิษย์ที่ใกล้ชิดว่า
“ ไม่อยากดัง เพราะทองก็คือทอง ถึงเวลาคนจะเห็นคุณค่าเอง ไม่จำเป็นต้องไปป่าวประกาศโฆษณา ”
ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยเห็นหรือรู้จักกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อฮวด รวมทั้งวัตถุมงคลของท่านตามหนังสือพระเครื่องทั่วไป นอกจากคนใกล้ชิดหรือผู้ที่เสาะแสวงหาพระอริยสงฆ์เพื่อการกราบไหว้บูชา เปรียบเสมือนหนึ่งการหาช้างเผือก ย่อมต้องไปหาในป่าเท่านั้น
พระเดชพระคุณหลวงพ่อฮวดก็เฉกเช่นกับปุถุชนทั่วไป ที่ต้องผจญกับวัฏสงสาร คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อสังขารที่ต้องตรากตรำกับงานหนักก็ย่อมเจ็บป่วยเป็นธรรมดา จนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลถึง 2 ครั้งใหญ่ๆ ซึ่งทุกครั้งก็อาการหนัก หมอถึงกับบอกว่า เข้ามาแล้วคงหมดโอกาสที่จะกลับออกไป ขอให้ลูกศิษย์ลูกหาเตรียมทำใจได้เลย แต่ก็แปลกที่คนแก่อายุ 80 กว่าปี เข้ารับการผ่าตัดแล้วออกไปปฏิบัติกิจทางสงฆ์ได้อีกหลายปี แม้ครั้งสุดท้ายก็ยังกลับไปจำพรรษาที่วัดของท่านได้อีกหลายเดือน
จนถึงวันพุธที่ 26 สิงหาคม 2535 เวลา 08.47 น. พระเดชพระคุณหลวงพ่อฮวดจึงได้จากพวกเราไปอย่างสงบ สิริอายุ 89 ปี พรรษาที่ 68 ทิ้งไว้แต่ความดีงามให้ศิษยานุศิษย์ได้ยึดถือเป็นแนวทางในทางดำรงชีวิตต่อไป
อัศจรรย์ในบุญญาบารมี เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อฮวดถึงแก่มรณกาลแล้ว คณะศิษยานุศิษย์จึงได้จัดพิธีสรงน้ำศพขึ้นที่วัดในเวลาประมาณ 16.30 น. และเมื่อเริ่มสรงน้ำศพก็ปรากฏว่า ฝนได้โปรยปรายลงมาทั้งๆ ที่มีแดดอยู่ ยังความอัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็นเป็นยิ่งนัก คณะศิษยานุศิษย์ได้บรรจุร่างของท่านลงในโลงแก้วเพื่อให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา และจัดสวดพระอภิธรรมถวายท่านใน 100 วันแรก ซึ่งในระหว่างนี้ปรากฏว่าผู้คนที่แวะไปกราบไหว้ต่างก็มีโชคดี ลาภจากเลขอายุและพรรษาอย่างทั่วหน้า ยิ่งกว่านั้นสภาพสังขารของท่านดุจดั่งคนนอนหลับธรรมดาไม่มีการเน่าเปื่อย ทั้งๆ ที่มิได้ฉีดยา หรือปิดฝาโลงด้วยสุญญากาศแต่อย่างใด แถมเส้นเกศายังค่อยๆ งอกยาวขึ้นอีกด้วย คณะศิษยานุศิษย์จึงมีมติให้จัดสร้างพระวิหารถวายท่าน เพื่อเป็นที่ตั้งศพและที่สิงสถิตดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ พร้อมเครื่องอัฐบริขารของท่านไว้ให้ศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไปสักการะกราบไหว้บูชาสืบไป
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
“ หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ ” เกจิอาจารย์ขลังอีกองค์หนึ่งของเมือง นครสวรรค์ เป็นพระเถระผู้ทรงไว้ด้วยศีลาจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม ฝึกฝนจิตจนมีพลังกล้าแข็ง เรียนรู้เจนจบทางด้านพุทธาคมอย่างเอกอุ เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันกับ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ขนาดหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นิมนต์ให้ไปร่วมงานด้วยบ่อยครั้ง นอกจากนั้นท่านเดินทางไปศึกษาพุทธาคมกับเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าในสมัยนั้นอีกมากมาย มงคลวัตถุของท่านจึงมีพุทธคุณ มีประสบการณ์ เป็นที่ศรัทธาของสานุศิษย์และชาวนครสวรรค์ทั่วไป
ประวัติของ หลวงพ่อฮวด กัณฑโว วัดหัวถนนใต้ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ จากหนังสือรำลึกในงานบรรจุสังขารของหลวงพ่อในจตุรมุขพิมานฯ ซึ่ง คุณชลการ รัตนธีรเดช ได้บันทึกไว้มีดังนี้
![]() |
เหรียญรุ่น 1 สร้างปี 2507 |
สำหรับการเดินทางไปที่วัดนั้น เมื่อท่านเดินทางจากกรุงเทพฯไปถึงนครสวรรค์แล้ว ในบริเวณบริษัทขนส่งจะมีรถเพื่อเข้าไป อำเภอท่าตะโก ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง นครสวรรค์ ประมาณ 42 กม. ก่อนจะถึงอำเภอท่าตะโกประมาณ 3 กม. ทางด้านซ้ายมือจะมีทางสำหรับเข้า วัดหัวถนนใต้ วัดจะอยู่ลึกเข้าไป 200 ม. ก็จะถึง เมื่อท่านเดินทางไปถึงแล้วจะพบกับความร่มเย็นของป่าไม้ที่ล้อมรอบร่มรื่นสงบเงียบ เป็นสถานที่เหมาะที่จะหาความสงบทางใจ เหมาะแก่การพักผ่อนแบบธรรมชาติที่ปราศจากสิ่งวุ่นวายทั้งหลาย
ลำดับเจ้าอาวาส เป็นที่น่าเสียดายว่า ไม่มีใคร หรือหลักฐานอันใดบันทึกเอาไว้ว่า มีเจ้าอาวาสกี่องค์แล้วที่ได้ปกครอง วัดหัวถนนใต้ แต่จากการสอบถามหลวงพ่อองค์ปัจจุบัน ได้มีเจ้าอาวาสปกครองวัดนี้มีดังนี้
1. หลวงพ่อจ้อย
2. หลวงพ่อวงษ์
3. หลวงพ่อนัน
4. พระครูนิยุตธรรมประวิตร ( หลวงพ่อฮวด )
5. พระปลัดพริ้ง จักกะวโร ( เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน )
![]() |
รูปหล่อโบราณรุ่นแรก สร้างปี 2514 |
เมื่อท่านบูรณปฏิสังขรณ์วัดของท่านให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ยังได้ช่วยเหลือวัดที่อยู่ในตำบลอื่นๆ อีก เช่นในปี พ.ศ.2509 เป็นประธานในการสร้างศาลาวัดหนองหลวง ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ในปีเดียวกันได้เป็นที่ปรึกษาสร้างศาลาวัดเขาค้างคาว ปี 2511-2512 เป็นประธานที่ปรึกษาวัดเขาวง อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์ ปี 2513 เป็นที่ปรึกษาการสร้างสำนักสงฆ์บ้านเขาขาด อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ นอกจากท่านจะได้ทุ่มเททางด้านบูรณะวัดแล้ว ท่านยังได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษาทั้งของภิกษุ-สามเณร และกุลบุตร-กุลธิดาในละแวกนั้น ได้เปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม และพระธรรมวินัย ท่านได้จัดหาครูที่มีความรู้ความสามารถในพระธรรมวินัยบาลีสันสกฤตมาเป็นครูสอนพระภิกษุ-สามเณรที่วัด ปี พ.ศ.2502 สร้าง “ โรงเรียนประชาบาลนิยุกต์ประชาสรรค์ ” แบบครึ่งตึกครึ่งไม้ มีมุขทั้งสองด้าน มีห้องเรียน 6 ห้อง กว้าง 8.50 ม. ยาว 30 ม. และ ปี 2504 ท่านก็ได้สร้างโรงเรียนเพิ่มเติมขึ้นอีกหนึ่งหลัง กว้าง 8.50 ม. ยาว 33 ม. มีห้องเรียน 8 ห้อง ปี 2510 สร้างถังน้ำให้โรงเรียน 2 ถัง เพื่อให้เด็กได้มีน้ำดื่มน้ำใช้
![]() |
จตุรมุขทิพย์พิมาน แดนสถานสิงสถิต ที่บรรจุสังขารพระเดชพระคุณ หลวงพ่อฮวด กัณฑโว เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ ได้กราบไหว้บูชาชั่วนิรันดร์ |
ในช่วงปัจฉิมวัยท่านได้จัดสร้างศาลาการเปรียญเป็นตึกขนาดใหญ่ที่สุดใน อำเภอท่าตะโก จัดสร้างกุฏิหลังใหม่อีก 2 หลัง เพื่อให้พระภิกษุ-สามเณรได้อาศัยจำพรรษา จัดสร้างหอระฆัง 2 หอขึ้นที่หน้าศาลาการเปรียญ แม้บั้นปลายชีวิตในขณะที่ท่านเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลหลายครั้ง ท่านก็ยังอุตส่าห์รับเป็นประธานในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยขนาด 30 เตียง ให้กับโรงพยาบาลประจำ อำเภอท่าตะโก และสามารถก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อยด้วยทุนทรัพย์ค่าก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาท
ประวัติพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระครูนิยุตธรรมประวิตร ( หลวงพ่อฮวด กัณฑโว )
ชาติกำเนิดพระเดชพระคุณ หลวงพ่อฮวด เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2447 ปีมะโรง เดิมมีชื่อว่า “ ฮวด ” โยมบิดาชื่อ “ สา ” โยมมารดาชื่อ “ มี ” มีพี่น้อง 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน หลวงพ่อเป็นคนโต นามสกุลเดิมว่า “ พงษ์ทอง ” เกิดที่หมู่ 4 ต.ดอนหวาย อ.ทับทัน จ.อุทัยธานี โยมบิดา-มารดามีอาชีพในทางกสิกรรม![]() |
รูปหล่อโบราณรุ่นแรก สร้างปี 2514 |
สมณศักดิ์ ปี พ.ศ.2471-2518 ร่วมเป็นกรรมการควบคุมการสอบนักธรรม พ.ศ.2472 ท่านสอบได้นักธรรมโทและได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมที่ใบฎีกา พ.ศ.2474 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลหัวถนน พ.ศ.2488 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นฐานานุกรมที่ปลัด พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบประโยคนักธรรม และเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี “ พระครูนิยุตธรรมประวิตร ” และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2531 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นโท
ศีลาจารวัตร พระเดชพระคุณ หลวงพ่อฮวด ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง เปี่ยมด้วยเมตตา มีความสมถะมักน้อยและถ่อมตน มีความขยันหมั่นเพียรในวัตรปฏิบัติและภารกิจทางพระศาสนาเป็นยิ่งนัก หลวงพ่อมักจะสั่งสอนคนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และให้พอใจในสิ่งที่ตนมีและดำรงอยู่ ละเว้นบาปและความชั่วทุกชนิด
![]() |
เหรียญรุ่น 2 สร้างปี 2514 |
ปัจฉิมวัย ในระหว่างปี พ.ศ.2515-2535 พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ทุ่มเทสติกำลังความสามารถให้กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยการ่วมพัฒนาบูรณะวัดวาอารามต่างๆ ที่ขอพึ่งบารมี โดยรับนิมนต์ไปทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศที่มีพิธีพุทธาภิเษก เพื่อหาจตุปัจจัยในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมศาสนสถานจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีหลายแห่ง ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าวที่ชื่อเสียงบารมีของพระเดชพระคุณหลวงพ่อขจรขจายไปทั่วสารทิศ ก็มีหนังสือที่เกี่ยวกับพระเครื่องบ้าง บุคคลบางกลุ่มบางจำพวกบ้าง ได้มาขอประวัติตลอดจนการจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดหัวถนนใต้ที่ผ่านมาไปลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งเสนอตัวขอจัดสร้างวัตถุมงคลถวาย โดยขอแบ่งผลประโยชน์ด้วย ก็ถูกปฏิเสธจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อฮวด บางรายถึงกับถูกไล่ลงจากกุฏิแทบไม่ทัน และหลวงพ่อเคยบอกกับศิษย์ที่ใกล้ชิดว่า
“ ไม่อยากดัง เพราะทองก็คือทอง ถึงเวลาคนจะเห็นคุณค่าเอง ไม่จำเป็นต้องไปป่าวประกาศโฆษณา ”
ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยเห็นหรือรู้จักกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อฮวด รวมทั้งวัตถุมงคลของท่านตามหนังสือพระเครื่องทั่วไป นอกจากคนใกล้ชิดหรือผู้ที่เสาะแสวงหาพระอริยสงฆ์เพื่อการกราบไหว้บูชา เปรียบเสมือนหนึ่งการหาช้างเผือก ย่อมต้องไปหาในป่าเท่านั้น
![]() |
ตึกที่พักจำพรรษาในช่วงปัจฉิมวัยของหลวงปู่ฮวด |
จนถึงวันพุธที่ 26 สิงหาคม 2535 เวลา 08.47 น. พระเดชพระคุณหลวงพ่อฮวดจึงได้จากพวกเราไปอย่างสงบ สิริอายุ 89 ปี พรรษาที่ 68 ทิ้งไว้แต่ความดีงามให้ศิษยานุศิษย์ได้ยึดถือเป็นแนวทางในทางดำรงชีวิตต่อไป
อัศจรรย์ในบุญญาบารมี เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อฮวดถึงแก่มรณกาลแล้ว คณะศิษยานุศิษย์จึงได้จัดพิธีสรงน้ำศพขึ้นที่วัดในเวลาประมาณ 16.30 น. และเมื่อเริ่มสรงน้ำศพก็ปรากฏว่า ฝนได้โปรยปรายลงมาทั้งๆ ที่มีแดดอยู่ ยังความอัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็นเป็นยิ่งนัก คณะศิษยานุศิษย์ได้บรรจุร่างของท่านลงในโลงแก้วเพื่อให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา และจัดสวดพระอภิธรรมถวายท่านใน 100 วันแรก ซึ่งในระหว่างนี้ปรากฏว่าผู้คนที่แวะไปกราบไหว้ต่างก็มีโชคดี ลาภจากเลขอายุและพรรษาอย่างทั่วหน้า ยิ่งกว่านั้นสภาพสังขารของท่านดุจดั่งคนนอนหลับธรรมดาไม่มีการเน่าเปื่อย ทั้งๆ ที่มิได้ฉีดยา หรือปิดฝาโลงด้วยสุญญากาศแต่อย่างใด แถมเส้นเกศายังค่อยๆ งอกยาวขึ้นอีกด้วย คณะศิษยานุศิษย์จึงมีมติให้จัดสร้างพระวิหารถวายท่าน เพื่อเป็นที่ตั้งศพและที่สิงสถิตดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ พร้อมเครื่องอัฐบริขารของท่านไว้ให้ศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไปสักการะกราบไหว้บูชาสืบไป
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1204 หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ปักษ์แรก เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ราคาปก 60 บาท )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้