ภาพและเรื่องโดย ทวน ทวาราวดี
วัดโมลีโลกยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2 หลังพระราชวังเดิมครั้งกรุงธนบุรี ริมคลองบางกอกใหญ่ ( คลองบางหลวง ) ฝั่งเหนือ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพ มหานคร
วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อพุทธศักราชเท่าใด และใครเป็นผู้สร้าง มีชื่อเรียกทั่วไปว่า “ วัดท้ายตลาด ” มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน เนื่องจากตั้งอยู่ต่อจากตลาดเมืองกรุงธนบุรี คำว่า ตลาดเมืองธนบุรี นั้น ผู้เขียนสันนิษฐานว่า เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ตัดเป็นเส้นตรงอย่างเช่นทุกวันนี้ ช่วงระหว่างปากคลองตลาดบางกอกน้อย บริเวณโรงพยาบาลศิริราชถึงบริเวณท่าเตียนนั้นเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ขุดขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 13 ( พ.ศ.2077-2089 ) แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสัญจรทางน้ำ การสงคราม การค้าขายทั้งในและนอกราชอาณาจักร เป็นต้น
สำหรับแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมในช่วงบางกอกนั้นเป็นสายที่คดเคี้ยว เมื่อไหลเข้าสู่บางกอกจะไหลวกเข้าสู่คลองบางกอกน้อยเชื่อมต่อคลองบางกอกใหญ่ ไหลมาออกที่ปากน้ำบริเวณหน้าวัดท้ายตลาดกับบริเวณข้างวัดกัลยาณมิตร ทำให้เสียเวลาในการเดินทางเรือ จึงโปรดฯให้ขุดคลองลัดบางกอกดังที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งบริเวณเหล่านี้ในสมัยนั้นเป็นตลาดน้ำขนาดใหญ่ ที่มีเรือสินค้าทุกประเภทจอดเรียงรายเพื่อค้าขายสินค้าทุกชนิดเต็มไปหมด ซึ่งได้แก่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และปากคลองตลาดทุกวันนี้ วัดนี้จึงเรียกว่า “ วัดท้ายตลาด ” พระอารามนี้มีความสำคัญต่อประเทศชาติและพระราชวงศ์อย่างยิ่ง
หลังสถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเป็นราชธานีแห่งใหม่ของสยามประเทศแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเห็นว่าบริเวณเขตพระราชวังมีความคับแคบ เนื่องจากมีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน จึงทรงรวมเขตพื้นที่ของวัดทั้ง 2 คือ วัดท้ายตลาด กับ วัดแจ้ง ( วัดอรุณราชวราราม ) เข้าเป็นเขตพระราชวัง จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำตลอดสมัยกรุงธนบุรี วัดท้ายตลาด และวัดแจ้งจึงนับเป็นพระอารามในเขตพระราชวังเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับที่ตั้งของกรุงธนบุรี คือ พระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน โปรดฯให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามและสร้างเสนาสนะสงฆ์ขึ้นใหม่ จึงนับได้ว่า วัดนี้เป็นพระอารามหลวงมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1
ในการนี้โปรดฯให้สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี หรือ สมเด็จกรมพระอมริน ทรามาตย์ ( นาก ) พระอัครมเหสีสร้างพระอุโบสถขนาดกลาง ทรงไทยยุคต้นกรุงรัตน โกสินทร์ มีลักษณะวิจิตรงดงาม เมื่อสร้างและบูรณะเสนาสนะเสร็จแล้ว โปรดฯให้พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาทั้ง วัดท้ายตลาด และวัดแจ้ง ทรงตั้ง พระมหาศรี เปรียญเอก วัดราชสิทธาราม ( วัดพลับ ) เป็น พระเทพโมลี พร้อมคณะพระอันดับมาครอง วัดท้ายตลาด นับเป็นปฐมเจ้าอาวาสในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังท่านได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ และทรงตั้งให้พระปลัด สมเด็จพระสังฆราช ( ศรี ) วัดบางหว้าใหญ่ ( วัดระฆังโฆสิตาราม ) เป็น พระโพธิวงศาจารย์ ให้ พระครูเมธังกร วัดบางหว้าใหญ่ เป็น พระศรีสมโพธิ โปรดฯให้พระราชาคณะทั้งสองมาครองวัดแจ้ง
สมัยรัชกาลที่ 2 ทรงขนานนามวัดใหม่ว่า “ วัดพุทไธสวรรย์ ” หรือ “ วัดพุทไธสวรร ยาวาศวรวิหาร ” ทรงเจริญพระราชศรัทธาในอดีตเจ้าอาวาสวัดนี้คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ขุน ) เนื่องจากสมัยนั้นสถานศึกษาวิชาการอยู่ตามวัด โปรดฯให้พระราชโอรสหลายพระองค์เสด็จมาทรงพระอักษรกับเจ้าประคุณสมเด็จรูปนี้ ทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น นอกจากนั้น เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ขุน ) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพุทธโฆษาจารย์ ได้เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อผนวชอีกด้วย ดังบันทึกไว้ในพงศาวดารว่า
“พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พระญาณสังวรเถร ( สุก ) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์ ( ขุน ) วัดโมลีโลกยาราม เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ”
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอารามให้บริบูรณ์งดงามยิ่งขึ้นกว่าเก่า สิ้นพระราชทรัพย์ห้าร้อยเก้าสิบหกชั่งแปดตำลึง ทรงขนานนามวัดใหม่ว่า “ วัดโมลีโลกย์สุธารามอาวาศวรวิหาร พระอารามหลวง ” เรียกสั้นๆ ว่า “ วัดโมลีโลกย์ สุธาราม ” ซึ่งต่อมาเรียกว่า วัดโมลีโลกยาราม
ในรัชกาลนี้ทรงพระราชทานสถาปนา พระพุทธโฆษาจารย์ ( ขุน ) ผู้เป็นพระอาจารย์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะที่ “ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ” และถึงมรณภาพในรัชกาลนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้หล่อรูป สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ขุน ) คราวเดียวกับหล่อรูปของ พระญาณสังวรเถร ( สุก ) ซึ่งต่อมาได้รับพระ ราชทานสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ผู้เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ไว้ในหอพระเจ้า ( หอสมเด็จวัดโมลีโลกย์ ) เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2386 เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาเวลาเสด็จมาทอดผ้าพระกฐิน
มีประวัติเนื่องในพระราชวงศ์อีกอย่างหนึ่ง เมื่อรัชกาลที่ 3 ครองราชสมบัติแล้ว สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี หรือ กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง ( เจ้าฟ้าบุญรอด พ.ศ.2310-2379 ) พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 2 จึงเสด็จออกไปประทับอยู่กับ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระ องค์น้อยที่พระราชวังเดิม เมื่อรื้อตำหนักไม้ในพระบรมมหาราชวังเปลี่ยนสร้างเป็นพระตำหนักตึก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้รื้อพระตำหนักแดง ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีพระองค์นั้นเคยประทับไปสร้างถวายที่พระราชวังเดิมทั้งหมู่ ครั้นสมเด็จพระราชินีพระองค์นั้นสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้รื้อพระตำหนักแดงที่พระราชมารดาเสด็จประทับไปสร้างถวายเป็นกุฏิเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกย์
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่า พระตำหนักแดงหลังนั้นควรจะอยู่ที่วัดเขมาภิรตาราม เนื่องจากเป็นวัดที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีพระราชมารดาของพระองค์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ จึงโปรดฯให้กระทำผาติกรรมย้ายพระตำหนักแดงหลังนั้นไปสร้างเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม และทรงสร้างกุฏิตึกพระราชทานเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกย์ แทนพระตำหนักแดง ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ทั้ง 2 แห่ง นอกจากนั้นได้ทรงปฏิสังขรณ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ และปูชนียวัตถุอื่นๆ ใน วัดโมลีโลกย์ ตลอดทั้งพระอารามอีกครั้งหนึ่ง ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ พระองค์ได้ทรงบูรณะพระอุโบสถโดยพระราชทานตราไอยราพรต ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดินสมัยนั้นประดิษฐานไว้ที่หน้าบันพระอุโบสถด้วย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะหอพระไตรปิฎก ตรงกับสมัย พระธรรมเจดีย์ (อยู่) เป็นเจ้าอาวาส และเสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐิน พ.ศ.2418
การบูรณปฏิสังขรณ์นอกจากที่กล่าวมาแล้วในยุคก่อน ก็น่าจะมีเจ้าอาวาสหรือผู้หนึ่งผู้ใดได้ปฏิสังขรณ์บ้าง แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏ เพิ่งมาปรากฏในยุค พระสนิทสมณคุณ ( เงิน ) อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 8 ได้จัดการปฏิสังขรณ์เสนาสนะให้ดีขึ้นหลายแห่ง แต่ยังไม่ทันสมบูรณ์ก็ถึงมรณภาพ ครั้งถึงยุค พระประสิทธิคุณ ( จ้อย ) อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 9 ก็ได้มีการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุสำคัญขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น เสนาสนะสงฆ์ พระประธาน ถนนหน้าวัด เป็นต้น พระรัตนมุนี อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 11 ได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเพื่อขยายงานการศาสนศึกษา และเสนาสนะสงฆ์ อีกทั้งบูรณะพระอุโบสถ ในยุคของ พระพรหมกวี (วรวิทย์) อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 12 โดยเฉพาะเสนาสนะสงฆ์ เขตพุทธาวาส เพื่อรองรับพระภิกษุ-สามเณรที่เข้ามาอยู่เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมมากขึ้น และริเริ่มการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ “ อาคารโมลีปริยัตยากร ” เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติและบำเพ็ญกุศล แต่ยังไม่แล้วเสร็จก็มรณภาพ
ต่อมา พระราชปริยัติโมลี เจ้าอาวาสลำดับที่ 13 ได้บูรณะพระอารามเพิ่มเติม คือ หอพระไตรปิฎกรัชกาลที่ 3 ก่อสร้างอาคารโมลีปริยัตยากรเฉลิมพระเกียรติ และมีโครงการสร้างอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม บูรณะกุฏิเจ้าอาวาส ที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างถวายอดีตเจ้าอาวาส หอระฆัง เขตพุทธาวาส และปรับภูมิทัศน์ทั้งพระอาราม
ลำดับเจ้าอาวาส
เจ้าอาวาสพระอารามนี้ เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยายังไม่สามารถสืบค้นได้ เมื่อถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้มีเจ้าอาวาสครองวัดจำนวน 12 รูป มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. สมเด็จพระราชาคณะ 2 รูป
2. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ( รองสมเด็จพระราชาคณะ ) 2 รูป
3. พระราชาคณะชั้นธรรม 2 รูป
4. พระราชาคณะชั้นเทพ 1 รูป
5. พระราชาคณะชั้นสามัญ 6 รูป
6. พระครูสัญญาบัตร 1 รูป
7. มีพิเศษอีก 1 รูป คือ พระราชานุพัทธมุนี ( ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 6 ที่ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” เมื่อไปครองวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 8
มีรายนามและประวัติย่อพอสืบค้นได้ ดังนี้
1. พระพุทธโฆษาจารย์ ( ศรีเปรียญเอก ) 28 ปี, พ.ศ.2325-2352 )
ชาติภูมิไม่ปรากฏ เดิมพระมหาศรี เปรียญเอก อยู่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม ) ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในฝ่ายวิปัสสนามาแต่เดิม เมื่อรัชกาลที่ 1 โปรดฯให้พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฉิม กรมหลวงอิศรสุนทร ( รัชกาลที่ 2 ) ทรงบูรณะ วัดท้ายตลาด ( วัดโมลีโลกยาราม ) แล้ว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระเทพโมลี ” แล้วโปรดฯให้ย้ายมาครองพระอารามนี้ ภายหลังได้พระราชทานสถาปนาเป็นที่ “ พระพุทธโฆษาจารย์ ”
2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ขุน ) ( 22 ปี, พ.ศ.2353-2374 )
ชาติภูมิไม่ปรากฏ ลำดับสมณศักดิ์แต่เดิมไม่ทราบได้ ทราบแต่ว่าได้รับสถาปนาเป็นที่ “ พระพุทธโฆษาจารย์ ” ในสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมารัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ” เพราะเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรในเบื้องต้นแด่พระเจ้าแผ่นดินถึง 2 รัชกาล คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวช กอปรทั้งเจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทุกด้าน และมีปฏิปทาเป็นที่น่าเลื่อมใสของพระเจ้าแผ่นดินและประชาชนทั้งปวง ดังนั้น เมื่อมรณภาพแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้หล่อรูปไว้ในหอพระเจ้า ( หอสมเด็จ ) เสมอกันกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร ( สุก ) ซึ่งเป็นพระอุปัธยาจารย์ เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาเวลาเสด็จพระราชดำเนินถวาย
ผ้าพระกฐิน
3. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ฉิม ป.ธ.9 ) ( 19 ปี, พ.ศ.2375-2393 )
ชาติภูมิเป็นชาวบ้านบางจาน จังหวัดเพชรบุรี เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ วันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ปีเถาะ จุลศักราช 1145 ตรงกับพุทธศักราช 2326 อุปสมบทที่จังหวัดเพชรบุรี แล้วมาเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ พระนคร ถึงรัชกาลที่ 2 สอบได้เปรียญ 9 ประโยค ได้รับพระราชทานตั้งเป็นพระราชาคณะที่ “ พระรัตนมุนี ” อยู่วัดพระเชตุพนฯ ถึงรัชกาลที่ 3 เมื่อปีจอ พ.ศ.2369 ได้รับการทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระเทพโมลี ” ต่อมาถึงปีมะโรง พ.ศ.2375 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 11 ค่ำ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นที่ “ พระพุทธโฆษาจารย์ ” แล้วโปรดฯให้อาราธนามาครองวัดโมลีโลกย์
4. พระธรรมไตรโลก ( รอด ป.ธ.4 ) ( 16 ปี, พ.ศ.2394-2409 )
ประวัติเดิมไม่สามารถจะสืบได้ ปรากฏแต่ว่า เมื่อในรัชกาลที่ 3 เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระกระวีวงศ์ ” อยู่วัดโมลีโลกย์สุธาราม ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระเทพกระวี ” ถึงรัชกาลที่ 4 เมื่อปีกุน พ.ศ.2394 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “ พระธรรมไตรโลก ” ซึ่งเป็นปีที่พระพุทธโฆษาจารย์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ท่านครอง วัดโมลีโลกย์ ต่อจากเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ผู้เป็นพระอาจารย์สอนบาลี และต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดฯให้ไปครองวัดมหาธาตุ ท่านถึงมรณภาพในรัชกาลที่ 4 เมื่อราวปีขาล พ.ศ.2409
5. พระธรรมเจดีย์ ( อยู่ ป.ธ.4 ) ( 20 ปี, พ.ศ.2410-2429 )
เกิดในรัชกาลที่ 2 เมื่อปีกุน จุลศักราช 1177 ตรงกับพุทธศักราช 2358 ชาติภูมิเป็นชาวเมืองแกลง จังหวัดระยอง สมัยรัชกาลที่ 3 อุปสมบทแล้วได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมในพระนคร ในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ฉิม ) วัดโมลีโลกย์ และได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้เปรียญ 4 ประโยค เป็นพระสงฆ์ที่เก่งภาษาบาลีมากรูปหนึ่ง เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัว เป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จรูปหนึ่ง
มีคำเล่ากันว่า เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ 3 เปรียญที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดปรานมากมี 4 รูปด้วยกัน เรียกนามเป็นคำคล้องจองกันว่า “ ชา ชู อยู่ เย็น ”
พระมหาชา เป็นเปรียญ 8 ประโยค อยู่วัดมหาธาตุลาสิกขาออกมารับราชการ ในรัชกาลที่ 4 ได้เป็นนายหัสบำเรอหุ้มแพร ถึงรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ คือ หลวงศรีสังขกร พระพิพากษานานาประเทศกิจ พระยาจ่าแสนบดี และพระยาพฤฒาธิบดี ในกระทรวงมหาดไทย
พระมหาชู เป็นเปรียญ 8 ประโยค อยู่ วัดโมลีโลกย์ ได้เป็นพระราชาคณะที่ “ พระนิกรมมุนี ” แล้วไปอยู่วัดนาคกลาง ลาสิกขาออกมารับราชการในรัชกาลที่ 4 ได้เป็นหลวงราชาภิรมย์ในกรมราชบัณฑิต ชำนาญเทศน์มหาชาติมากหาผู้เสมอมิได้ โปรดฯให้เป็นพระอาจารย์หัดพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวถวายเทศน์มหาชาติเมื่อทรงผนวชเป็นสามเณร ต่อมาก็ได้หัดพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์อื่นอีกหลายพระองค์ ในรัชกาลที่ 5 โปรดฯให้เป็นตำแหน่งหลวงอัธยา ในกรมลูกขุน ณ ศาลหลวง แล้วได้เลื่อนเป็นพระราชครูพิราม
พระมหาเย็น เป็นเปรียญ 8 ประโยค อยู่วัดมหาธาตุ ลาสิกขาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เป็นจางวางในสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 โปรดฯให้เป็นหลวงอัธยา แล้วได้เลื่อนเป็นหลวงเทพราชธาดาในกรมลูกขุน ณ ศาลหลวง
ส่วน พระมหาอยู่ นั้น เมื่อรัชกาลที่ 4 โปรดฯพระราชทานสถาปนาให้พระพุทธโฆษาจารย์ ( ฉิม ) เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ไปครองวัดมหาธาตุ ก็ตามไปอยู่ด้วยจนเจ้าประคุณสมเด็จมรณภาพแล้ว จึงกลับมาอยู่ วัดโมลีโลกย์ ต่อมาได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “ พระอมรเมธาจารย์ ” เมื่อปีฉลู พ.ศ.2408 และโปรดฯให้อาราธนาไปครองวัดนาคกลาง ต่อมาถึงปีเถาะ พ.ศ.2410 เจ้าอาวาส วัดโมลีโลกย์ ว่างลง ( พระธรรมไตรโลก ( รอด ) มรณภาพ ) จึงโปรดฯให้อาราธนากลับไปครองวัดโมลีโลกย์ถึงรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระเทพมุนี ” เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2422 แล้วโปรดฯให้เลื่อนเป็น “ พระธรรมเจดีย์ ” เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2424 ถึงมรณภาพด้วยอหิวาตกโรครัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 2 ค่ำ อัฐศก เวลาบ่ายสี่โมงเศษ ปีจอ พ.ศ.2429 สิริรวมอายุ 72 ปี
6. พระราชานุพัทธมุนี ( ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร, ป.5 ) ( 7 ปี, พ.ศ.2430-2436 )
เป็นบุตรหม่อมเจ้าถึกในสมเด็จพระประพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เกิดที่บ้านบางอ้อ จังหวัดนครนายก เพราะบิดาไปตั้งบ้านเรือนอยู่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช 1219 ตรงกับพุทธศักราช 2400 ได้ย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพฯกับบิดาแต่ยังเยาว์วัย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักบิดา แล้วเริ่มเรียนภาษาบาลีในสำนักอาจารย์จีน พออายุได้ 7 ขวบ บิดาพาไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( ทัต ) แต่ยังเป็นเปรียญอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม ( วัดบางหว้าใหญ่ ) ได้เรียนพระปริยัติธรรมในสำนักหม่อมเจ้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( ทัต ) และ พระ อมรเมธาจารย์ ( เกษ ) แต่เมื่อยังเป็นเปรียญ หม่อมเจ้าชุมแสง ผู้เป็นลุง และ พระโหราธิบดี ( ชุม ) ทั้ง 4 นี้เป็นพื้น นอกจากนั้นได้เรียนกับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) บ้าง สมเด็จพระวันรัต ( แดง ) บ้าง และอาจารย์อื่นๆ อีกมากมาย
สมัยรัชกาลที่ 5 ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2413 ในปีนั้นเอง สามเณรเจริญเข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค แต่อายุ 14 ปี ถึงปีชวด พ.ศ.2419 ยังเป็นสามเณร ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 2 ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แปลได้อีกประโยค 1 รวมเป็น 4 ประโยค
ถึงปีขาล พ.ศ.2412 อายุครบอุปสมบท ทรงพระกรุณาโปรดฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีหม่อมเจ้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( ทัต ) เมื่อยังดำรงสมณศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้ฉายาว่า ญาณฉนฺโท ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมาอีกครั้งหนึ่งที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นครั้งที่ 3 เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2425 แปลได้อีก 1 ประโยค รวมเป็นเปรียญ 5 ประโยค
ถึงปีกุน พ.ศ.2430 เมื่อวันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ได้รับพระราชทานตั้งเป็นพระราชาคณะ มีพระราชทินนามเป็นพิเศษว่า “ พระราชานุพัทธมุนี ” โปรดฯให้อาราธนาไปครอง วัดโมลีโลกย์ เดิมได้รับพระราชทานตาลปัตรแฉกหักทองขวางอย่างพระราชาคณะสามัญ ต่อมาถึงปีมะโรง พ.ศ.2436 เมื่อหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมเจดีย์ไปครองวัดพระเชตุพนฯแล้ว จึงโปรดฯให้อาราธนากลับมาครองวัดระฆังโฆสิตาราม พระราชทานตาลปัตรพื้นแพรปักเลื่อมอย่างตาลปัตรหม่อมเจ้า ซึ่งหม่อมเจ้าพระพุทธุป บาทปิลันทน์ทรงครองอยู่ก่อนนั้นให้ถือเป็นเกียรติยศต่อมา อีกทั้งพระราชทานนิตยภัตเพิ่มขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพด้วย ในปีมะแม พ.ศ.2438 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระเทพเมธี ” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ร.ศ.114 ต่อมาในปีขาล พ.ศ.2445 ทรงพระกรุณาโปรดฯให้เลื่อนเป็น “ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ” เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ร.ศ.121
สมัยรัชกาลที่ 6 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เจ้าคณะรองชั้นสุพรรณบัฏที่ “ พระพิมลธรรม ” เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีจอ พ.ศ.2453 โดยทรงพระราชดำริว่า พระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นเชื้อพระราชวงศ์ ได้ผนวชในพระพุทธศาสนามาหลายพรรษากาล มีความแตกฉานในพระปริยัติธรรม สอบไล่ได้เป็นเปรียญตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ครั้นเมื่ออายุครบกำหนดที่ควรจะอุปสมบทแล้ว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อุปสมบทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วได้เข้าแปลประโยคอีกครั้ง 1 มั่นคงในสมณปฏิบัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้เป็นพระราชาคณะที่ พระราชานุพัทธมุนี แล้วโปรดฯให้ไปครอง วัดโมลีโลกย์ 7 พรรษา จนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังฯว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดฯให้ย้ายมาครองวัดระฆังฯซึ่งเป็นที่สถิตเดิม พระราชทานพัดแฉกพื้นแพร ภายหลังได้เลื่อนตำแหน่งชั้นเทพและชั้นธรรมตามลำดับ นับว่าได้ทรงพระเมตตามาก พระธรรมไตรโลกาจารย์เป็นผู้ชำนาญทางเทศนา มีโวหารกังวานดีเป็นที่น่าฟัง ทั้งมีเสียงอันดี ขัดตำนานอ่านประกาศไพเราะน่านิยม เมื่อได้รับพระราชทานอาราธนาบัตรเป็นเจ้าคณะมณฑลตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ก็ได้ปฏิบัติจัดการตามตำแหน่งหน้าที่เรียบร้อยสม่ำเสมอ นับว่าได้กระทำคุณประโยชน์ในทางทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและการศึกษา อีกทั้งได้เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์กุลบุตรเป็นอันมาก เป็นที่นิยมนับถือแห่งศาสนิกชนบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต อนึ่ง เป็นราชวงศ์ผู้ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่อันมีน้อยตัวหาได้ยาก จึงสมควรเพิ่มสมณศักดิ์ให้สูงยิ่งขึ้น จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อน พระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าคณะรอง
7. พระวิเชียรธรรมคุณาธาร ( โสตถิ์ หรือ สด ป.3 ) ( 17 ปี, พ.ศ.2437-2453 )
ชาติภูมิไม่ปรากฏ มรณภาพในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 30 กันยายน รัตน โกสินทร์ศก 129
8. พระสนิทสมณคุณ ( เงิน ธมฺมปญฺโญ ) ( 10 ปี, พ.ศ.2454-2463 )
ชาติภูมิอยู่จังหวัด พระตะบอง ซึ่งจังหวัดนี้แต่เดิมอยู่ในความปกครองของประเทศสยาม เกิดวันจันทร์ เดือน 3 แรม 7 ค่ำ ปีชวด พ.ศ.2395 บิดาชื่อ อินทร์ มารดาชื่อ อิ่ม อุปสมบทที่วัดนะรา พระธรรมวงศาจารย์ (คุง) เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้วมาศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระธรรมเจดีย์ ( ทอง ) วัดอรุณราชวราราม และในสำนัก พระยาธรรมปรีชา ( ทิม ), หลวงราชาภิรมย์ ( ต่าย ) และ อาจารย์คง ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้งหนึ่ง แต่สอบตกประโยค 3
ต่อมาถึง พ.ศ.2434 ร.ศ.110 ในรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “ พระครูปัญญาคธาวุธ ” และโปรดฯให้เป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองพระตะบอง ถึง พ.ศ.2440 พระราชทานสมณศักดิ์เลื่อนขึ้นเป็นพระ
ราชาคณะในราชทินนามที่ พระปัญญาคธาวุธ พ.ศ.2443 โปรดฯให้เปลี่ยนราชทินนามเป็น “ พระสนิทสมณคุณ ” และโปรดฯให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลบูรพาถึง พ.ศ.2450 ร.ศ.126 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง จังหวัดพระตะบองตกไปอยู่ในความปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศส พระสนิทสมณคุณ จึงกลับเข้ามาอยู่วัดพระเชตุพนฯ จังหวัดพระนคร ระหว่างนี้ได้พระราชทานนิตยภัตเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 21 บาท ถึงปีจอ พ.ศ.2454 สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดฯให้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกย์ ครองวัด ตั้งแต่ พ.ศ.2454-พ.ศ.2463
พระสนิทสมณคุณ ( เงิน ) มรณภาพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2463 ปีวอก สิริรวมอายุ 68 ปี ท่านได้สร้างพระนาคปรกใบมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุมงคลชั้นยอดเป็นที่นิยม ด้วยอาคมเข้มขลังจนเลื่องลือตราบจนปัจจุบัน
9. พระประสิทธิศีลคุณ ( จ้อย ป.4 ) ( 28 ปี, พ.ศ.2464-2492 )
เกิดในรัชกาลที่ 5 ณ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน พ.ศ.2418 ร.ศ.94 ที่ตำบลบ้านบุญลือ อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ บิดาชื่อ หร่าย มารดาชื่อ เต่า อุปสมบทที่ วัดขวิด อำเภอน้ำซึม จังหวัดอุทัยธานี พระครูธรรมวินิจฉัน ( นุ่น ) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วมาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักวัดมหาธาตุ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเปรียญ 4 ประโยค ถึง พ.ศ.2457 ในรัชกาลที่ 6 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “ พระประสิทธิศีลคุณ ” ภายหลังโปรดให้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกยาราม ตั้งแต่ พ.ศ.2457 ( บางแห่งว่า พ.ศ.2463 ) ถึง พ.ศ.2492
10. พระครูสังวรโมลี ( ชาลี อุตฺตโร ป.ธ.3 ) ( 22 ปี, พ.ศ.2493-251 )
เกิดในรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2457 ที่อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ ภู มารดาชื่อ เหม เป็นเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกยาราม เมื่อ พ.ศ.2493 ( บางแห่งว่า พ.ศ.2484 ) ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2514
11. พระรัตนมุนี ( โสม ปญฺญาวุฑฺโฒ ป.ธ.7 ) ( 25 ปี, พ.ศ.2515-2539 )
เกิดเมื่อปี พ.ศ.2466 ณ บ้านขามป้อม อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มารดาชื่อ สงค์ อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2489 ที่บ้านขามป้อม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกยาราม เมื่อปี พ.ศ.2515 และเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2517
พระรัตนมุนี เป็นเจ้าสำนักเรียนรูปแรกของสำนักเรียน วัดโมลีโลกยาราม ท่านได้อุตสาหะจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมจนมีผู้สอบบาลี นักธรรม ได้มากพอสมควร จนได้รับแต่งตั้งเป็นสำนักเรียนในปีพุทธศักราช 2534 จากนั้นท่านก็ได้จัดการเรียนการสอนอย่างเข้มแข็งมาตามลำดับจนมีผู้สอบได้ทุกๆ ปี แม้ไม่มากนักก็ตาม ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะสงฆ์หลายอย่างเพียงพอแก่การรองรับพระภิกษุ สามเณร ในยุคนั้น
12. พระพรหมกวี ( วรวิทย์ คงฺค ปญฺโญ ป.ธ.8 ) ( 15 ปี, พ.ศ.2540-2554 )
เกิดเมื่อปีระกา ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2476 เป็นบุตรของ นายคำมา ธรรมวรางกูร และ นางคำ ธรรมวรางกูร ณ บ้านหนองบัว หมู่ที่ 9 ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2496 ณ วัดอินทรแบก อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี พระวิสุทธิธรรมาจารย์ ( ทรัพย์ ) วัดใหม่กรงทอง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
13. พระเทพปริยัติโมลี ( สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.9 ) ( พ.ศ.2555-ปัจจุบัน )
สถานะเดิมชื่อ สุทัศน์ นามสกุล ไชยะภา เกิดเมื่อปีกุน ตรงกับวันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2514 เป็นบุตรของ นายสา ไชยะภา และ นางจันทร์ ไชยะภา ณ บ้านเลขที่ 152 หมู่ที่ 5 บ้านราษฎร์นิยม ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ บรรพชาครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2527 หลังจากจบประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมี พระครูวิบูลวุฒิคุณ ( ฉลัน ) อดีตเจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวงและรองเจ้าคณะอำเภอนางรอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านจึงเข้าศึกษานักธรรมตรีที่สำนักศาสนศึกษาแห่งนี้ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อนักธรรมโท-เอก และบาลี ณ วัดกลาง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การปกครองของ พระครูพิทักษ์ชินวงศ์ เจ้าคณะอำเภอนางรอง เมื่อประโยค ป.ธ.4 แล้ว พระครูพิทักษ์ชินวงศ์จึงนำมาฝาก พระราชเมธี (วรวิทย์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ รองเจ้าคณะภาค 10 และเจ้าคณะ 8 ขณะนั้น เพื่อเข้าศึกษาต่อ ท่านก็ได้ศึกษาชั้นประโยค ป.ธ.5 ถึง ป.ธ.9 โดยไม่สอบตกเลย
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์พระสังกัจจายน์ |
วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อพุทธศักราชเท่าใด และใครเป็นผู้สร้าง มีชื่อเรียกทั่วไปว่า “ วัดท้ายตลาด ” มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน เนื่องจากตั้งอยู่ต่อจากตลาดเมืองกรุงธนบุรี คำว่า ตลาดเมืองธนบุรี นั้น ผู้เขียนสันนิษฐานว่า เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ตัดเป็นเส้นตรงอย่างเช่นทุกวันนี้ ช่วงระหว่างปากคลองตลาดบางกอกน้อย บริเวณโรงพยาบาลศิริราชถึงบริเวณท่าเตียนนั้นเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ขุดขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 13 ( พ.ศ.2077-2089 ) แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสัญจรทางน้ำ การสงคราม การค้าขายทั้งในและนอกราชอาณาจักร เป็นต้น
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่
|
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปรกโพธิ์เล็ก |
หลังสถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเป็นราชธานีแห่งใหม่ของสยามประเทศแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเห็นว่าบริเวณเขตพระราชวังมีความคับแคบ เนื่องจากมีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน จึงทรงรวมเขตพื้นที่ของวัดทั้ง 2 คือ วัดท้ายตลาด กับ วัดแจ้ง ( วัดอรุณราชวราราม ) เข้าเป็นเขตพระราชวัง จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำตลอดสมัยกรุงธนบุรี วัดท้ายตลาด และวัดแจ้งจึงนับเป็นพระอารามในเขตพระราชวังเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในการนี้โปรดฯให้สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี หรือ สมเด็จกรมพระอมริน ทรามาตย์ ( นาก ) พระอัครมเหสีสร้างพระอุโบสถขนาดกลาง ทรงไทยยุคต้นกรุงรัตน โกสินทร์ มีลักษณะวิจิตรงดงาม เมื่อสร้างและบูรณะเสนาสนะเสร็จแล้ว โปรดฯให้พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาทั้ง วัดท้ายตลาด และวัดแจ้ง ทรงตั้ง พระมหาศรี เปรียญเอก วัดราชสิทธาราม ( วัดพลับ ) เป็น พระเทพโมลี พร้อมคณะพระอันดับมาครอง วัดท้ายตลาด นับเป็นปฐมเจ้าอาวาสในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังท่านได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ และทรงตั้งให้พระปลัด สมเด็จพระสังฆราช ( ศรี ) วัดบางหว้าใหญ่ ( วัดระฆังโฆสิตาราม ) เป็น พระโพธิวงศาจารย์ ให้ พระครูเมธังกร วัดบางหว้าใหญ่ เป็น พระศรีสมโพธิ โปรดฯให้พระราชาคณะทั้งสองมาครองวัดแจ้ง
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์สมาธิ บัวสองชั้น |
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์สมาธิกนกข้าง |
“พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พระญาณสังวรเถร ( สุก ) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์ ( ขุน ) วัดโมลีโลกยาราม เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ”
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอารามให้บริบูรณ์งดงามยิ่งขึ้นกว่าเก่า สิ้นพระราชทรัพย์ห้าร้อยเก้าสิบหกชั่งแปดตำลึง ทรงขนานนามวัดใหม่ว่า “ วัดโมลีโลกย์สุธารามอาวาศวรวิหาร พระอารามหลวง ” เรียกสั้นๆ ว่า “ วัดโมลีโลกย์ สุธาราม ” ซึ่งต่อมาเรียกว่า วัดโมลีโลกยาราม
![]() |
พระปรเมศ ประดิษฐานในพระวิหาร |
มีประวัติเนื่องในพระราชวงศ์อีกอย่างหนึ่ง เมื่อรัชกาลที่ 3 ครองราชสมบัติแล้ว สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี หรือ กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง ( เจ้าฟ้าบุญรอด พ.ศ.2310-2379 ) พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 2 จึงเสด็จออกไปประทับอยู่กับ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระ องค์น้อยที่พระราชวังเดิม เมื่อรื้อตำหนักไม้ในพระบรมมหาราชวังเปลี่ยนสร้างเป็นพระตำหนักตึก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้รื้อพระตำหนักแดง ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีพระองค์นั้นเคยประทับไปสร้างถวายที่พระราชวังเดิมทั้งหมู่ ครั้นสมเด็จพระราชินีพระองค์นั้นสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้รื้อพระตำหนักแดงที่พระราชมารดาเสด็จประทับไปสร้างถวายเป็นกุฏิเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกย์
![]() |
พระประธานในพระอุโบสถ “พระพุทธโมลีโลกนาถ” |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะหอพระไตรปิฎก ตรงกับสมัย พระธรรมเจดีย์ (อยู่) เป็นเจ้าอาวาส และเสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐิน พ.ศ.2418
การบูรณปฏิสังขรณ์นอกจากที่กล่าวมาแล้วในยุคก่อน ก็น่าจะมีเจ้าอาวาสหรือผู้หนึ่งผู้ใดได้ปฏิสังขรณ์บ้าง แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏ เพิ่งมาปรากฏในยุค พระสนิทสมณคุณ ( เงิน ) อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 8 ได้จัดการปฏิสังขรณ์เสนาสนะให้ดีขึ้นหลายแห่ง แต่ยังไม่ทันสมบูรณ์ก็ถึงมรณภาพ ครั้งถึงยุค พระประสิทธิคุณ ( จ้อย ) อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 9 ก็ได้มีการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุสำคัญขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น เสนาสนะสงฆ์ พระประธาน ถนนหน้าวัด เป็นต้น พระรัตนมุนี อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 11 ได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเพื่อขยายงานการศาสนศึกษา และเสนาสนะสงฆ์ อีกทั้งบูรณะพระอุโบสถ ในยุคของ พระพรหมกวี (วรวิทย์) อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 12 โดยเฉพาะเสนาสนะสงฆ์ เขตพุทธาวาส เพื่อรองรับพระภิกษุ-สามเณรที่เข้ามาอยู่เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมมากขึ้น และริเริ่มการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ “ อาคารโมลีปริยัตยากร ” เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติและบำเพ็ญกุศล แต่ยังไม่แล้วเสร็จก็มรณภาพ
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปางนาคปรกใหญ่ |
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์มารวิชัย ข้างเส้นลวด |
ลำดับเจ้าอาวาส
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์มารวิชัย ข้างเม็ด |
1. สมเด็จพระราชาคณะ 2 รูป
2. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ( รองสมเด็จพระราชาคณะ ) 2 รูป
3. พระราชาคณะชั้นธรรม 2 รูป
4. พระราชาคณะชั้นเทพ 1 รูป
5. พระราชาคณะชั้นสามัญ 6 รูป
6. พระครูสัญญาบัตร 1 รูป
7. มีพิเศษอีก 1 รูป คือ พระราชานุพัทธมุนี ( ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 6 ที่ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” เมื่อไปครองวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 8
มีรายนามและประวัติย่อพอสืบค้นได้ ดังนี้
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์สมาธิชะลูด |
ชาติภูมิไม่ปรากฏ เดิมพระมหาศรี เปรียญเอก อยู่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม ) ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในฝ่ายวิปัสสนามาแต่เดิม เมื่อรัชกาลที่ 1 โปรดฯให้พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฉิม กรมหลวงอิศรสุนทร ( รัชกาลที่ 2 ) ทรงบูรณะ วัดท้ายตลาด ( วัดโมลีโลกยาราม ) แล้ว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระเทพโมลี ” แล้วโปรดฯให้ย้ายมาครองพระอารามนี้ ภายหลังได้พระราชทานสถาปนาเป็นที่ “ พระพุทธโฆษาจารย์ ”
2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ขุน ) ( 22 ปี, พ.ศ.2353-2374 )
ชาติภูมิไม่ปรากฏ ลำดับสมณศักดิ์แต่เดิมไม่ทราบได้ ทราบแต่ว่าได้รับสถาปนาเป็นที่ “ พระพุทธโฆษาจารย์ ” ในสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมารัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ” เพราะเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรในเบื้องต้นแด่พระเจ้าแผ่นดินถึง 2 รัชกาล คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวช กอปรทั้งเจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทุกด้าน และมีปฏิปทาเป็นที่น่าเลื่อมใสของพระเจ้าแผ่นดินและประชาชนทั้งปวง ดังนั้น เมื่อมรณภาพแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้หล่อรูปไว้ในหอพระเจ้า ( หอสมเด็จ ) เสมอกันกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร ( สุก ) ซึ่งเป็นพระอุปัธยาจารย์ เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาเวลาเสด็จพระราชดำเนินถวาย
ผ้าพระกฐิน
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์นาคปรกเล็ก |
ชาติภูมิเป็นชาวบ้านบางจาน จังหวัดเพชรบุรี เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ วันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ปีเถาะ จุลศักราช 1145 ตรงกับพุทธศักราช 2326 อุปสมบทที่จังหวัดเพชรบุรี แล้วมาเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ พระนคร ถึงรัชกาลที่ 2 สอบได้เปรียญ 9 ประโยค ได้รับพระราชทานตั้งเป็นพระราชาคณะที่ “ พระรัตนมุนี ” อยู่วัดพระเชตุพนฯ ถึงรัชกาลที่ 3 เมื่อปีจอ พ.ศ.2369 ได้รับการทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระเทพโมลี ” ต่อมาถึงปีมะโรง พ.ศ.2375 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 11 ค่ำ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นที่ “ พระพุทธโฆษาจารย์ ” แล้วโปรดฯให้อาราธนามาครองวัดโมลีโลกย์
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์พระสังกัจจายน์ |
ประวัติเดิมไม่สามารถจะสืบได้ ปรากฏแต่ว่า เมื่อในรัชกาลที่ 3 เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระกระวีวงศ์ ” อยู่วัดโมลีโลกย์สุธาราม ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระเทพกระวี ” ถึงรัชกาลที่ 4 เมื่อปีกุน พ.ศ.2394 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “ พระธรรมไตรโลก ” ซึ่งเป็นปีที่พระพุทธโฆษาจารย์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ท่านครอง วัดโมลีโลกย์ ต่อจากเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ผู้เป็นพระอาจารย์สอนบาลี และต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดฯให้ไปครองวัดมหาธาตุ ท่านถึงมรณภาพในรัชกาลที่ 4 เมื่อราวปีขาล พ.ศ.2409
5. พระธรรมเจดีย์ ( อยู่ ป.ธ.4 ) ( 20 ปี, พ.ศ.2410-2429 )
เกิดในรัชกาลที่ 2 เมื่อปีกุน จุลศักราช 1177 ตรงกับพุทธศักราช 2358 ชาติภูมิเป็นชาวเมืองแกลง จังหวัดระยอง สมัยรัชกาลที่ 3 อุปสมบทแล้วได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมในพระนคร ในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ฉิม ) วัดโมลีโลกย์ และได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้เปรียญ 4 ประโยค เป็นพระสงฆ์ที่เก่งภาษาบาลีมากรูปหนึ่ง เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัว เป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จรูปหนึ่ง
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์สมาธิแหวกม่านข้างเม็ด |
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปิดตาขัดสมาธิราบ |
พระมหาชา เป็นเปรียญ 8 ประโยค อยู่วัดมหาธาตุลาสิกขาออกมารับราชการ ในรัชกาลที่ 4 ได้เป็นนายหัสบำเรอหุ้มแพร ถึงรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ คือ หลวงศรีสังขกร พระพิพากษานานาประเทศกิจ พระยาจ่าแสนบดี และพระยาพฤฒาธิบดี ในกระทรวงมหาดไทย
พระมหาชู เป็นเปรียญ 8 ประโยค อยู่ วัดโมลีโลกย์ ได้เป็นพระราชาคณะที่ “ พระนิกรมมุนี ” แล้วไปอยู่วัดนาคกลาง ลาสิกขาออกมารับราชการในรัชกาลที่ 4 ได้เป็นหลวงราชาภิรมย์ในกรมราชบัณฑิต ชำนาญเทศน์มหาชาติมากหาผู้เสมอมิได้ โปรดฯให้เป็นพระอาจารย์หัดพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวถวายเทศน์มหาชาติเมื่อทรงผนวชเป็นสามเณร ต่อมาก็ได้หัดพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์อื่นอีกหลายพระองค์ ในรัชกาลที่ 5 โปรดฯให้เป็นตำแหน่งหลวงอัธยา ในกรมลูกขุน ณ ศาลหลวง แล้วได้เลื่อนเป็นพระราชครูพิราม
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปางปาลิไลยก์ใหญ่ |
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปางปาลิไลยก์เล็ก |
ส่วน พระมหาอยู่ นั้น เมื่อรัชกาลที่ 4 โปรดฯพระราชทานสถาปนาให้พระพุทธโฆษาจารย์ ( ฉิม ) เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ไปครองวัดมหาธาตุ ก็ตามไปอยู่ด้วยจนเจ้าประคุณสมเด็จมรณภาพแล้ว จึงกลับมาอยู่ วัดโมลีโลกย์ ต่อมาได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “ พระอมรเมธาจารย์ ” เมื่อปีฉลู พ.ศ.2408 และโปรดฯให้อาราธนาไปครองวัดนาคกลาง ต่อมาถึงปีเถาะ พ.ศ.2410 เจ้าอาวาส วัดโมลีโลกย์ ว่างลง ( พระธรรมไตรโลก ( รอด ) มรณภาพ ) จึงโปรดฯให้อาราธนากลับไปครองวัดโมลีโลกย์ถึงรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “ พระเทพมุนี ” เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2422 แล้วโปรดฯให้เลื่อนเป็น “ พระธรรมเจดีย์ ” เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2424 ถึงมรณภาพด้วยอหิวาตกโรครัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 2 ค่ำ อัฐศก เวลาบ่ายสี่โมงเศษ ปีจอ พ.ศ.2429 สิริรวมอายุ 72 ปี
6. พระราชานุพัทธมุนี ( ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร, ป.5 ) ( 7 ปี, พ.ศ.2430-2436 )
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปางถวายเนตร บัวสองชั้น |
สมัยรัชกาลที่ 5 ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2413 ในปีนั้นเอง สามเณรเจริญเข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค แต่อายุ 14 ปี ถึงปีชวด พ.ศ.2419 ยังเป็นสามเณร ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 2 ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แปลได้อีกประโยค 1 รวมเป็น 4 ประโยค
ถึงปีขาล พ.ศ.2412 อายุครบอุปสมบท ทรงพระกรุณาโปรดฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีหม่อมเจ้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( ทัต ) เมื่อยังดำรงสมณศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้ฉายาว่า ญาณฉนฺโท ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมาอีกครั้งหนึ่งที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นครั้งที่ 3 เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2425 แปลได้อีก 1 ประโยค รวมเป็นเปรียญ 5 ประโยค
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์อุ้มบาตร |
![]() |
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปางห้ามสมุทร |
![]() |
รูปปั้นพระสนิทสมณคุณ (เงิน เขมจารี) วัดท้ายตลาด |
ชาติภูมิไม่ปรากฏ มรณภาพในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 30 กันยายน รัตน โกสินทร์ศก 129
8. พระสนิทสมณคุณ ( เงิน ธมฺมปญฺโญ ) ( 10 ปี, พ.ศ.2454-2463 )
ชาติภูมิอยู่จังหวัด พระตะบอง ซึ่งจังหวัดนี้แต่เดิมอยู่ในความปกครองของประเทศสยาม เกิดวันจันทร์ เดือน 3 แรม 7 ค่ำ ปีชวด พ.ศ.2395 บิดาชื่อ อินทร์ มารดาชื่อ อิ่ม อุปสมบทที่วัดนะรา พระธรรมวงศาจารย์ (คุง) เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้วมาศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระธรรมเจดีย์ ( ทอง ) วัดอรุณราชวราราม และในสำนัก พระยาธรรมปรีชา ( ทิม ), หลวงราชาภิรมย์ ( ต่าย ) และ อาจารย์คง ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้งหนึ่ง แต่สอบตกประโยค 3
ต่อมาถึง พ.ศ.2434 ร.ศ.110 ในรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “ พระครูปัญญาคธาวุธ ” และโปรดฯให้เป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองพระตะบอง ถึง พ.ศ.2440 พระราชทานสมณศักดิ์เลื่อนขึ้นเป็นพระ
ราชาคณะในราชทินนามที่ พระปัญญาคธาวุธ พ.ศ.2443 โปรดฯให้เปลี่ยนราชทินนามเป็น “ พระสนิทสมณคุณ ” และโปรดฯให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลบูรพาถึง พ.ศ.2450 ร.ศ.126 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง จังหวัดพระตะบองตกไปอยู่ในความปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศส พระสนิทสมณคุณ จึงกลับเข้ามาอยู่วัดพระเชตุพนฯ จังหวัดพระนคร ระหว่างนี้ได้พระราชทานนิตยภัตเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 21 บาท ถึงปีจอ พ.ศ.2454 สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดฯให้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกย์ ครองวัด ตั้งแต่ พ.ศ.2454-พ.ศ.2463
![]() |
หอระฆังโบราณ |
![]() |
รูปปั้นทหารใต้ฐานเจดีย์ |
9. พระประสิทธิศีลคุณ ( จ้อย ป.4 ) ( 28 ปี, พ.ศ.2464-2492 )
เกิดในรัชกาลที่ 5 ณ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน พ.ศ.2418 ร.ศ.94 ที่ตำบลบ้านบุญลือ อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ บิดาชื่อ หร่าย มารดาชื่อ เต่า อุปสมบทที่ วัดขวิด อำเภอน้ำซึม จังหวัดอุทัยธานี พระครูธรรมวินิจฉัน ( นุ่น ) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วมาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักวัดมหาธาตุ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเปรียญ 4 ประโยค ถึง พ.ศ.2457 ในรัชกาลที่ 6 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “ พระประสิทธิศีลคุณ ” ภายหลังโปรดให้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกยาราม ตั้งแต่ พ.ศ.2457 ( บางแห่งว่า พ.ศ.2463 ) ถึง พ.ศ.2492
10. พระครูสังวรโมลี ( ชาลี อุตฺตโร ป.ธ.3 ) ( 22 ปี, พ.ศ.2493-251 )
เกิดในรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2457 ที่อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ ภู มารดาชื่อ เหม เป็นเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกยาราม เมื่อ พ.ศ.2493 ( บางแห่งว่า พ.ศ.2484 ) ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2514
11. พระรัตนมุนี ( โสม ปญฺญาวุฑฺโฒ ป.ธ.7 ) ( 25 ปี, พ.ศ.2515-2539 )
เกิดเมื่อปี พ.ศ.2466 ณ บ้านขามป้อม อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มารดาชื่อ สงค์ อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2489 ที่บ้านขามป้อม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกยาราม เมื่อปี พ.ศ.2515 และเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2517
![]() |
บริเวณวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) |
12. พระพรหมกวี ( วรวิทย์ คงฺค ปญฺโญ ป.ธ.8 ) ( 15 ปี, พ.ศ.2540-2554 )
เกิดเมื่อปีระกา ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2476 เป็นบุตรของ นายคำมา ธรรมวรางกูร และ นางคำ ธรรมวรางกูร ณ บ้านหนองบัว หมู่ที่ 9 ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2496 ณ วัดอินทรแบก อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี พระวิสุทธิธรรมาจารย์ ( ทรัพย์ ) วัดใหม่กรงทอง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
![]() |
รูปปั้นจีนบริเวณพระวิหาร |
สถานะเดิมชื่อ สุทัศน์ นามสกุล ไชยะภา เกิดเมื่อปีกุน ตรงกับวันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2514 เป็นบุตรของ นายสา ไชยะภา และ นางจันทร์ ไชยะภา ณ บ้านเลขที่ 152 หมู่ที่ 5 บ้านราษฎร์นิยม ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ บรรพชาครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2527 หลังจากจบประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมี พระครูวิบูลวุฒิคุณ ( ฉลัน ) อดีตเจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวงและรองเจ้าคณะอำเภอนางรอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านจึงเข้าศึกษานักธรรมตรีที่สำนักศาสนศึกษาแห่งนี้ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อนักธรรมโท-เอก และบาลี ณ วัดกลาง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การปกครองของ พระครูพิทักษ์ชินวงศ์ เจ้าคณะอำเภอนางรอง เมื่อประโยค ป.ธ.4 แล้ว พระครูพิทักษ์ชินวงศ์จึงนำมาฝาก พระราชเมธี (วรวิทย์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ รองเจ้าคณะภาค 10 และเจ้าคณะ 8 ขณะนั้น เพื่อเข้าศึกษาต่อ ท่านก็ได้ศึกษาชั้นประโยค ป.ธ.5 ถึง ป.ธ.9 โดยไม่สอบตกเลย
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1198 พระเครื่องวัดท้ายตลาด “ วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ” ปักษ์แรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ราคาปก 60 บาท )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้