ภาพและเรื่องโดย อภิวัฒน์ โควินทรานนท์
( 19 ) เนื่องจากพระอุโบสถมีขนาดใหญ่มาก โดยเฉพาะยาวที่สุดถึง 13 ห้อง กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ นอกจากมีซุ้มพัทธสีมา 8 ทิศ 8 ซุ้ม อันเป็นภาคบังคับของพระอุโบสถแล้ว ก็ได้ทำซุ้มประตูทางขึ้นลานประทักษิณอีกด้านละ 2 ประตู 4 ด้านพระอุโบสถ รวม 8 ประตู แล้วยังเหลือที่ว่างอีกมาก จึงได้ทำ เกยโปรยทาน บนกำแพงแก้ว 2 ข้างพระอุโบสถ ระหว่างซุ้มพัทธสีมากับซุ้มประตูด้านละ 4 เกย รวม 8 เกย พระอุโบสถ วัดสุทัศน์ จึงเป็นพระอุโบสถเดียวในประเทศไทยที่มีเกยโปรยทาน และมีมากถึง 8 เกย
( 20 ) พระตรีโลกเชษฐ์ พระประธานพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้าง และเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะองค์ใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ มีพุทธลักษณะพิเศษแบบพระรัชกาลที่ 3 อยู่ประการหนึ่งคือ “ ทรงนุ่งห่มเป็นปริมณฑลถูกต้องตามพระวินัย โดยทรงครองจีวรลดไหล่แนบพระกัจฉะ ( รักแร้ ) ปิดพระถันเบื้องขวามิดชิด ” ซึ่งต่างจากพระพุทธรูปสมัยโบราณทั้งหลาย ตั้งแต่สมัยทวาราวดีถึงสมัยปัจจุบัน ล้วนห่มจีวรลดไหล่ลงมาจนเห็นนมข้างหนึ่ง การห่มจีวรเท่ๆ จนเห็นหัวนมนั้น อาบัติทุกกฎครับ และรับรองว่าพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายไม่มีใครกล้าห่มจีวรแบบนี้ออกจากวัด แล้วเหตุไฉนพระศาสดาจึงครองจีวรอาบัติเสียเองเล่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคงจะทรงตระหนักดังนี้ พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างจึงห่มจีวรเรียบร้อย ( นุ่งห่มเป็นปริมณฑล ) ไม่เห็นนมอย่างพระตรีโลกเชษฐ์ทั้งสิ้น และพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 4 ที่ 5 ทรงสร้างต่างก็ถือคตินี้เช่นกัน
( 21 ) พระศาสดา เคยอยู่ วัดสุทัศน์ ทั้งนี้ในรัชกาลที่ 3 เจ้าอธิการวัดบางอ้อยช้าง ( อยู่ในคลองอ้อมนนท์ ) ได้ไปเชิญพระศาสดาลงมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ( ครั้งยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ ) ทราบว่าได้เชิญพระศาสดาลงมากรุงเทพฯ ก็จะนำพระศาสดาไปเป็นพระประธานวัดประดู่ฉิมพลีที่ตนสร้าง รัชกาลที่ 3 ทรงทราบก็โปรดฯให้เชิญพระศาสดาจะไปวัดสระเกศ เพื่อประดิษฐานในมุขหลังพระวิหารพระอัฏฐารส ซึ่งทรงเชิญลงมาจากวัดวิหารทอง พิษณุโลกเช่นกัน แต่เมื่อสร้างพระวิหารแล้วที่มุขหลังแคบมาก ไม่เหมาะที่จะตั้งพระศาสดา จึงเชิญพระศาสดาไปประดิษฐานไว้หน้าพระตรีโลกเชษฐ์ในพระอุโบสถ วัดสุทัศน์
ครั้นถึงรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาเคยอยู่ด้วยกันกับพระพุทธชินสีห์ บัดนี้พระพุทธชินสีห์มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร พระศาสดาจึงควรจะมาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารด้วยกัน จึงโปรดฯให้สร้างพระวิหารพระศาสดาหลังพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร แล้วเชิญพระศาสดามาประดิษฐานในวัดบวรนิเวศวิหารตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงปัจจุบัน พระศาสดาจึงเคยอยู่ในพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ ในระหว่างรัชกาลที่ 3 ถึง 4 เป็นเวลา 10 ปี 6 เดือน
( 22 ) เมื่อเชิญพระศาสดาไปจาก วัดสุทัศน์ แล้ว รัชกาลที่ 4 โปรดฯให้สร้างพระพุทธรูปชดใช้ 1 องค์ มีพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ มาชุมนุมกันฟังพระธรรม เป็นพระปูนปั้นระบายสีขนาดเท่าคนจริง แถมมีผิวสีตามจริงด้วยคือ มีทั้งผิวขาวและผิวดำ ( แขกขาวและแขกดำ ) และทันสมัยที่สุด พระอสีติมหาสาวกติดป้ายชื่อทุกองค์ โดยมีแผ่นหินอ่อนจารึกพระนามฝังไว้ที่ชายสังฆาฏิ
พระอสีติมหาสาวก 80 องค์ ยังมีอีกชุดหนึ่งในพระอุโบสถวัดเขมาภิรตาราม ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเช่นกัน เหตุผลที่โปรดฯให้สร้างพระอสีติมหาสาวก คงเนื่องจากพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ และวัดเขมาฯ มีขนาดใหญ่มาก มีพื้นที่ในพระอุโบสถเหลือมาก
( 23 ) พระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เป็นพระอุโบสถที่มีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลมากที่สุด มีพุทธาภิเษกปีละหลายๆ ครั้ง ตลอดเวลาเกือบร้อยปี และพระเครื่องที่มีพิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ที่สุด คือ พระ 25 พุทธศตวรรษ ก็พุทธาภิเษกในพระอุโบสถ วัดสุทัศน์
น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่ถวายพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ซึ่งรวบรวมมาจากปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ทุกจังหวัดทั่วประเทศ นำมารวมกันแล้วจึงพุทธาภิเษกอีกครั้งหนึ่งในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม
( 24 ) พระพุทธเสฏฐมุนี พระประธานในศาลาการเปรียญ วัดสุทัศน์ มีที่มาที่แปลกกว่าพระพุทธรูปหล่อโลหะทุกองค์ เพราะรัชกาลที่ 3 โปรดฯให้หล่อจากกลักยาฝิ่น
เรื่องนี้มีข้อสังเกต 4 ประการ คือ
ก. คนไทยรู้จัก RECYCLE ก่อนฝรั่งเสียอีก
ข. การ RECYCLE นี้เป็นการเปลี่ยนจากสิ่งที่ชั่วร้ายเป็นสิ่งที่ประเสริฐ
ค. แสดงว่ายาเสพติดมีมานาน ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ง. การกวาดล้างยาเสพติด ก็มีมานานแล้ว และยังไม่หมดไปจากประเทศไทย
( 25 ) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนอยู่ 16 วัดพระเชตุพนมีพระเจดีย์มากถึง 99 องค์ ( ความจริงต้อง 100 แต่เพราะสร้างขาดอยู่ 1 องค์ ) เมื่อมาสร้าง วัดสุทัศน์ การสร้างเจดีย์ก็ดูไม่มีความหมาย แต่ถ้าไม่สร้างเจดีย์แล้วจะสร้างอะไรดี ในที่สุดก็สร้าง สัตตมหาสถาน แทนเจดีย์ ดังนั้น วัดสุทัศน์ จึงเป็นวัดที่ไม่มีเจดีย์แม้แต่องค์เดียว ตรงกันข้ามกับวัดพระเชตุพนที่มีเจดีย์มากที่สุดคือ 99 องค์ และเมื่อสร้างสัตตมหาสถานแล้ว ก็ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ นับถือเป็นปูชนียสถานสำคัญของ วัดสุทัศน์ ในสมัยโบราณ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วัดสุทัศน์จะเวียนเทียนรอบสัตตมหาสถานแทนพระอุโบสถหรือพระวิหารหลวง จนเมื่อตัดถนนอุณากรรณในรัชกาลที่ 5 ต้องขยับกำแพงวัดด้านทิศตะวันออกมาติดสัตตมหาสถาน จึงไม่สามารถเวียนเทียนรอบสัตตมหาสถานได้อีกต่อไป
( 26 ) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้อาราธนา พระธรรมไตรโลกาจารย์ ( อู่ ป.9 ) จากวัดเกาะแก้วลังการาม ( วัดสัมพันธวงศาราม ) มาเป็นเจ้าอาวาส วัดสุทัศน์ องค์แรก โดยทรงเลื่อนเป็น พระพิมลธรรม เมื่อ สมเด็จพระสังฆราช ( นาค ) สิ้นพระชนม์ ทรงพระราชดำริจะสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช แต่ประจวบเวลาทรงพระประชวรจนเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนับถือเลื่อมใส กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส อย่างยิ่ง จึงทรงสถาปนาให้เป็น สมเด็จพระสังฆราช และทรงเลื่อนพระพิมลธรรมเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งเป็นราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชแต่ไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณองค์เดียวที่ไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช (ตรงกันข้ามกับสมเด็จพระญาณสังวร ที่ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่ไม่ได้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)
( 27 ) สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) พระเป็นเจ้าอาวาส วัดสุทัศน์ รูปเดียวที่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช โดยเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นสามัญชนและเป็นพระมหานิกายในยุคที่สมเด็จพระสังฆราช มักเป็นเจ้าและเป็นพระธรรมยุต
ร.4 องค์ที่ 7 กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ( มหานิกาย วัดพระเชตุพน )
ร.5 องค์ที่ 8 สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (ธรรมยุต วัดบวรนิเวศ )
องค์ที่ 9 สมเด็จพระสังฆราช ( สา ) ( ธรรมยุต วัดราชประดิษฐ์ )
ร.6 องค์ที่ 10 สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส ( ธรรมยุต วัดบวรนิเวศ )
ร.7 องค์ที่ 11 กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( ธรรมยุต วัดราชบพิธฯ )
ร.8 องค์ที่ 12 สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) ( มหานิกาย วัดสุทัศน์ )
ร.9 องค์ที่ 13 กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ( ธรรมยุต วัดบวรนิเวศ )
( 28 ) สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) ทรงเป็นต้นกำเนิด พระกริ่งวัดสุทัศน์ วัดสุทัศน์ มีชื่อเสียงที่สุดเรื่อง พระกริ่ง พูดถึง พระกริ่ง ต้องพูดถึง วัดสุทัศน์ วัดสุทัศน์ เป็นเจ้าตำรับ พระกริ่ง พระกริ่ง ต้องคู่กับ วัดสุทัศน์
ดังนั้น วัดสุทัศน์ ซึ่งมี 15 คณะ จึงไม่มีคณะใดไม่สร้างพระกริ่งในวาระพิเศษต่างๆ เช่น ทำบุญวันเกิด ฉลองสมณศักดิ์ ฉลองกุฏิ ฯลฯ เจ้าคณะ หรือเจ้าคุณใน วัดสุทัศน์ หากแจกพระทั่วไปก็เสียสถาบันหมด ต้องแจก พระกริ่ง เท่านั้น
( 29 ) ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ ) เป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากทรงประสูติในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ดังนั้นจึงเป็นประเพณีที่จะทรงเททองหล่อ พระกริ่ง ในทุกวันเพ็ญ เดือน 12 อันเป็นวันคล้ายวันประสูติ และประเพณีนี้ยังสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง พระเครื่องในวันเพ็ญเดือน 12 ทุกปี การเท พระกริ่ง ในวันเพ็ญเดือน 12 นี้ สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) ทรงมีมติว่า “ คืนวันเพ็ญเดือน 12 คนไทยพร้อมใจกันลอยกระทง ตั้งจิตอธิษฐานถึงสิ่งที่ดีงาม พลังจิตของคนนับล้านๆ คนที่อธิษฐานพร้อมๆ กัน ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 ย่อมเป็นฤกษ์วิเศษเพิ่มความเข้มขลังสุดยอดสำหรับการเทพระกริ่ง ”
( 30 ) ประเพณีของ วัดสุทัศน์ ที่สืบเนื่องมาจากการเท พระกริ่ง และพุทธาภิเษก พระกริ่ง ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 คือพุทธาภิเษกน้ำพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถ เพื่ออาบน้ำพระพุทธมนต์หน้าพระอุโบสถใต้แสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 เรียก พิธีอาบเพ็ญ พิธีนี้มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระสังฆราช ( แพ )
( พิธีอาบเพ็ญ เป็นการอาบน้ำมนต์ไม่ใช่รดน้ำมนต์ เปียกและหนาวทีเดียว มีผู้ไปรออาบเพ็ญนับร้อยทุกปี )
( 31 ) วัดพระเชตุพนมีนักท่องเที่ยวมาชมวัด วันละ 2,000 คน ( เก็บค่าเข้าชมคนละ 100 บาท ได้เงินวันละ 200,000 บาท เดือนละ 6,000,000 บาท ปีละ 72,000,000 บาท ) วัดสุทัศน์ก็มีศิลปะสวยงามสุดยอด แต่ทำยังไงนักท่องเที่ยวก็ไม่มาชม วัดสุทัศน์ ก็เลยหันมาเอาดีทางสวดมนต์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ข้าราชการ กทม. เชิญชวนให้มาสวดมนต์ตอนพักเที่ยงรอบ 1 และตอนเย็นรอบ 1 เมื่อเริ่มต้นในวันแรก มีคนมาร่วมสวดมนต์ไม่ถึงสิบคน แต่ปัจจุบันกิจกรรมสวดมนต์ในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์ มีพุทธศาสนิกชนมาชุมนุมสวดมนต์กันคับคั่งทุกวันคืน
อนึ่ง วัดสุทัศน์ เป็นวัดแรก หรืออย่างน้อยก็เป็นวัดแรกๆ ที่บุกเบิกการสวดมนต์ข้ามปีในวันสิ้นปีขึ้นปีใหม่ จนเป็นกิจกรรมยอดฮิตของวัดต่างๆ ในการทำบุญขึ้นปีใหม่
( 32 ) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 ความเป็นมาในการเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 นั้น เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงเสด็จครองราชสมบัติใน พ.ศ.2477 เมื่อพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ทั้งยังทรงประทับอยู่ต่างประเทศ จนเมื่อ พ.ศ.2481 ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรกตั้งแต่ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
ดังนั้น จึงได้ทรงประกอบพระราชพิธีเป็นพุทธมามกะ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน สมเด็จพระสังฆราชในรัชกาลที่ 8 นี้คือ สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) วัดสุทัศนเทพวราราม ดังนั้นจึงถือว่าสมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) เป็น “ พระอาจารย์ ” ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคตใน พ.ศ.2489 และถวายพระเพลิงใน พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารมาบรรจุที่ฐานชุกชีของพระศรีศากยมุนี โดยถือว่าทรงเป็น “ ศิษย์ วัดสุทัศน์ ”
ทั้งนี้การเป็นวัดประจำรัชกาลนั้น เริ่มมีมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 1, 2, 3 ไปบรรจุไว้ที่ฐานพระประธานพระอุโบสถ ในวัดที่รัชกาลนั้นทรงสร้างและมีความผูกพันเป็นพิเศษ โดย..
1. พระบรมอัฐิรัชกาลที่ 1 สถิต ณ ฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามจึงเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1
2. พระบรมอัฐิรัชกาลที่ 2 สถิต ณ ฐาน พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก พระประธานพระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม วัดอรุณราชวรารามจึงเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2
3. พระบรมอัฐิรัชกาลที่ 3 สถิต ณ ฐาน พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร พระประธานพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม วัดราชโอรสารามจึงเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3
4. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ฐาน พระพุทธสิหังคปฏิมากร พระประธานพระอุโบสถ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4
5. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูหัว ที่ฐาน พระพุทธอังคีรส พระประธานพระอุโบสถ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 และวัดประจำรัชกาลที่ 7
6. วัดบวรนิเวศวิหาร ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ฐาน พระพุทธชินสีห์ พระประธานพระอุโบสถ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6
7. วัดสุทัศนเทพวราราม ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่ฐาน พระศรีศากยมุนี พระประธานพระวิหารหลวง เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8
คุณสมบัติของวัดประจำรัชกาลคือ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ หรือพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลนั้น ดังนั้นจึงยังไม่มีวัดประจำรัชกาลที่ 9
( 33 ) สิ้นปี พ.ศ.2556 ราชอาณาจักรไทยมีวัดอยู่ 37,713 วัด โดยเป็นวัดราษฎร์ 37,413 วัด วัดหลวง ( พระอารามหลวง ) 310 วัด พระอารามหลวงนั้น แบ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี พระอารามหลวงชั้นเอกมี 23 วัด แบ่งเป็น 3 อันดับ คืออันดับ 1, 2, 3 พระอารามหลวงชั้นเอกอันดับ 1 เป็นวัดที่สำคัญที่สุด ในประเทศไทยมี 6 วัด คือ
1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
2. วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
3. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร
4. วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
5. วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
6. วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร
ดังนั้น วัดสุทัศนเทพวราราม จึงเป็นวัดที่สำคัญที่สุด 1 ใน 6 วัด ในประเทศไทย
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..
( 20 ) พระตรีโลกเชษฐ์ พระประธานพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้าง และเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะองค์ใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ มีพุทธลักษณะพิเศษแบบพระรัชกาลที่ 3 อยู่ประการหนึ่งคือ “ ทรงนุ่งห่มเป็นปริมณฑลถูกต้องตามพระวินัย โดยทรงครองจีวรลดไหล่แนบพระกัจฉะ ( รักแร้ ) ปิดพระถันเบื้องขวามิดชิด ” ซึ่งต่างจากพระพุทธรูปสมัยโบราณทั้งหลาย ตั้งแต่สมัยทวาราวดีถึงสมัยปัจจุบัน ล้วนห่มจีวรลดไหล่ลงมาจนเห็นนมข้างหนึ่ง การห่มจีวรเท่ๆ จนเห็นหัวนมนั้น อาบัติทุกกฎครับ และรับรองว่าพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายไม่มีใครกล้าห่มจีวรแบบนี้ออกจากวัด แล้วเหตุไฉนพระศาสดาจึงครองจีวรอาบัติเสียเองเล่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคงจะทรงตระหนักดังนี้ พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างจึงห่มจีวรเรียบร้อย ( นุ่งห่มเป็นปริมณฑล ) ไม่เห็นนมอย่างพระตรีโลกเชษฐ์ทั้งสิ้น และพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 4 ที่ 5 ทรงสร้างต่างก็ถือคตินี้เช่นกัน
( 21 ) พระศาสดา เคยอยู่ วัดสุทัศน์ ทั้งนี้ในรัชกาลที่ 3 เจ้าอธิการวัดบางอ้อยช้าง ( อยู่ในคลองอ้อมนนท์ ) ได้ไปเชิญพระศาสดาลงมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ( ครั้งยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ ) ทราบว่าได้เชิญพระศาสดาลงมากรุงเทพฯ ก็จะนำพระศาสดาไปเป็นพระประธานวัดประดู่ฉิมพลีที่ตนสร้าง รัชกาลที่ 3 ทรงทราบก็โปรดฯให้เชิญพระศาสดาจะไปวัดสระเกศ เพื่อประดิษฐานในมุขหลังพระวิหารพระอัฏฐารส ซึ่งทรงเชิญลงมาจากวัดวิหารทอง พิษณุโลกเช่นกัน แต่เมื่อสร้างพระวิหารแล้วที่มุขหลังแคบมาก ไม่เหมาะที่จะตั้งพระศาสดา จึงเชิญพระศาสดาไปประดิษฐานไว้หน้าพระตรีโลกเชษฐ์ในพระอุโบสถ วัดสุทัศน์
พระตรีโลกเชษฐ์ พระประธานพระอุโบสถวัดสุทัศน์ เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้าง และเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะองค์ใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ |
( 22 ) เมื่อเชิญพระศาสดาไปจาก วัดสุทัศน์ แล้ว รัชกาลที่ 4 โปรดฯให้สร้างพระพุทธรูปชดใช้ 1 องค์ มีพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ มาชุมนุมกันฟังพระธรรม เป็นพระปูนปั้นระบายสีขนาดเท่าคนจริง แถมมีผิวสีตามจริงด้วยคือ มีทั้งผิวขาวและผิวดำ ( แขกขาวและแขกดำ ) และทันสมัยที่สุด พระอสีติมหาสาวกติดป้ายชื่อทุกองค์ โดยมีแผ่นหินอ่อนจารึกพระนามฝังไว้ที่ชายสังฆาฏิ
( 23 ) พระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เป็นพระอุโบสถที่มีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลมากที่สุด มีพุทธาภิเษกปีละหลายๆ ครั้ง ตลอดเวลาเกือบร้อยปี และพระเครื่องที่มีพิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ที่สุด คือ พระ 25 พุทธศตวรรษ ก็พุทธาภิเษกในพระอุโบสถ วัดสุทัศน์
( 24 ) พระพุทธเสฏฐมุนี พระประธานในศาลาการเปรียญ วัดสุทัศน์ มีที่มาที่แปลกกว่าพระพุทธรูปหล่อโลหะทุกองค์ เพราะรัชกาลที่ 3 โปรดฯให้หล่อจากกลักยาฝิ่น
เรื่องนี้มีข้อสังเกต 4 ประการ คือ
ก. คนไทยรู้จัก RECYCLE ก่อนฝรั่งเสียอีก
ข. การ RECYCLE นี้เป็นการเปลี่ยนจากสิ่งที่ชั่วร้ายเป็นสิ่งที่ประเสริฐ
ค. แสดงว่ายาเสพติดมีมานาน ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ง. การกวาดล้างยาเสพติด ก็มีมานานแล้ว และยังไม่หมดไปจากประเทศไทย
( 25 ) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนอยู่ 16 วัดพระเชตุพนมีพระเจดีย์มากถึง 99 องค์ ( ความจริงต้อง 100 แต่เพราะสร้างขาดอยู่ 1 องค์ ) เมื่อมาสร้าง วัดสุทัศน์ การสร้างเจดีย์ก็ดูไม่มีความหมาย แต่ถ้าไม่สร้างเจดีย์แล้วจะสร้างอะไรดี ในที่สุดก็สร้าง สัตตมหาสถาน แทนเจดีย์ ดังนั้น วัดสุทัศน์ จึงเป็นวัดที่ไม่มีเจดีย์แม้แต่องค์เดียว ตรงกันข้ามกับวัดพระเชตุพนที่มีเจดีย์มากที่สุดคือ 99 องค์ และเมื่อสร้างสัตตมหาสถานแล้ว ก็ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ นับถือเป็นปูชนียสถานสำคัญของ วัดสุทัศน์ ในสมัยโบราณ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วัดสุทัศน์จะเวียนเทียนรอบสัตตมหาสถานแทนพระอุโบสถหรือพระวิหารหลวง จนเมื่อตัดถนนอุณากรรณในรัชกาลที่ 5 ต้องขยับกำแพงวัดด้านทิศตะวันออกมาติดสัตตมหาสถาน จึงไม่สามารถเวียนเทียนรอบสัตตมหาสถานได้อีกต่อไป
( 27 ) สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) พระเป็นเจ้าอาวาส วัดสุทัศน์ รูปเดียวที่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช โดยเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นสามัญชนและเป็นพระมหานิกายในยุคที่สมเด็จพระสังฆราช มักเป็นเจ้าและเป็นพระธรรมยุต
ร.4 องค์ที่ 7 กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ( มหานิกาย วัดพระเชตุพน )
ร.5 องค์ที่ 8 สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (ธรรมยุต วัดบวรนิเวศ )
องค์ที่ 9 สมเด็จพระสังฆราช ( สา ) ( ธรรมยุต วัดราชประดิษฐ์ )
ร.6 องค์ที่ 10 สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส ( ธรรมยุต วัดบวรนิเวศ )
ร.7 องค์ที่ 11 กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( ธรรมยุต วัดราชบพิธฯ )
ร.8 องค์ที่ 12 สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) ( มหานิกาย วัดสุทัศน์ )
ร.9 องค์ที่ 13 กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ( ธรรมยุต วัดบวรนิเวศ )
( 28 ) สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) ทรงเป็นต้นกำเนิด พระกริ่งวัดสุทัศน์ วัดสุทัศน์ มีชื่อเสียงที่สุดเรื่อง พระกริ่ง พูดถึง พระกริ่ง ต้องพูดถึง วัดสุทัศน์ วัดสุทัศน์ เป็นเจ้าตำรับ พระกริ่ง พระกริ่ง ต้องคู่กับ วัดสุทัศน์
ดังนั้น วัดสุทัศน์ ซึ่งมี 15 คณะ จึงไม่มีคณะใดไม่สร้างพระกริ่งในวาระพิเศษต่างๆ เช่น ทำบุญวันเกิด ฉลองสมณศักดิ์ ฉลองกุฏิ ฯลฯ เจ้าคณะ หรือเจ้าคุณใน วัดสุทัศน์ หากแจกพระทั่วไปก็เสียสถาบันหมด ต้องแจก พระกริ่ง เท่านั้น
( 29 ) ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ ) เป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากทรงประสูติในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ดังนั้นจึงเป็นประเพณีที่จะทรงเททองหล่อ พระกริ่ง ในทุกวันเพ็ญ เดือน 12 อันเป็นวันคล้ายวันประสูติ และประเพณีนี้ยังสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง พระเครื่องในวันเพ็ญเดือน 12 ทุกปี การเท พระกริ่ง ในวันเพ็ญเดือน 12 นี้ สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) ทรงมีมติว่า “ คืนวันเพ็ญเดือน 12 คนไทยพร้อมใจกันลอยกระทง ตั้งจิตอธิษฐานถึงสิ่งที่ดีงาม พลังจิตของคนนับล้านๆ คนที่อธิษฐานพร้อมๆ กัน ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 ย่อมเป็นฤกษ์วิเศษเพิ่มความเข้มขลังสุดยอดสำหรับการเทพระกริ่ง ”
( 30 ) ประเพณีของ วัดสุทัศน์ ที่สืบเนื่องมาจากการเท พระกริ่ง และพุทธาภิเษก พระกริ่ง ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 คือพุทธาภิเษกน้ำพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถ เพื่ออาบน้ำพระพุทธมนต์หน้าพระอุโบสถใต้แสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 เรียก พิธีอาบเพ็ญ พิธีนี้มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระสังฆราช ( แพ )
( พิธีอาบเพ็ญ เป็นการอาบน้ำมนต์ไม่ใช่รดน้ำมนต์ เปียกและหนาวทีเดียว มีผู้ไปรออาบเพ็ญนับร้อยทุกปี )
อนึ่ง วัดสุทัศน์ เป็นวัดแรก หรืออย่างน้อยก็เป็นวัดแรกๆ ที่บุกเบิกการสวดมนต์ข้ามปีในวันสิ้นปีขึ้นปีใหม่ จนเป็นกิจกรรมยอดฮิตของวัดต่างๆ ในการทำบุญขึ้นปีใหม่
( 32 ) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 ความเป็นมาในการเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 นั้น เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงเสด็จครองราชสมบัติใน พ.ศ.2477 เมื่อพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ทั้งยังทรงประทับอยู่ต่างประเทศ จนเมื่อ พ.ศ.2481 ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรกตั้งแต่ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
ดังนั้น จึงได้ทรงประกอบพระราชพิธีเป็นพุทธมามกะ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน สมเด็จพระสังฆราชในรัชกาลที่ 8 นี้คือ สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) วัดสุทัศนเทพวราราม ดังนั้นจึงถือว่าสมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) เป็น “ พระอาจารย์ ” ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคตใน พ.ศ.2489 และถวายพระเพลิงใน พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารมาบรรจุที่ฐานชุกชีของพระศรีศากยมุนี โดยถือว่าทรงเป็น “ ศิษย์ วัดสุทัศน์ ”
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม |
1. พระบรมอัฐิรัชกาลที่ 1 สถิต ณ ฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามจึงเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1
2. พระบรมอัฐิรัชกาลที่ 2 สถิต ณ ฐาน พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก พระประธานพระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม วัดอรุณราชวรารามจึงเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2
3. พระบรมอัฐิรัชกาลที่ 3 สถิต ณ ฐาน พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร พระประธานพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม วัดราชโอรสารามจึงเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3
4. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ฐาน พระพุทธสิหังคปฏิมากร พระประธานพระอุโบสถ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4
6. วัดบวรนิเวศวิหาร ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ฐาน พระพุทธชินสีห์ พระประธานพระอุโบสถ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6
7. วัดสุทัศนเทพวราราม ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่ฐาน พระศรีศากยมุนี พระประธานพระวิหารหลวง เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8
คุณสมบัติของวัดประจำรัชกาลคือ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ หรือพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลนั้น ดังนั้นจึงยังไม่มีวัดประจำรัชกาลที่ 9
( 33 ) สิ้นปี พ.ศ.2556 ราชอาณาจักรไทยมีวัดอยู่ 37,713 วัด โดยเป็นวัดราษฎร์ 37,413 วัด วัดหลวง ( พระอารามหลวง ) 310 วัด พระอารามหลวงนั้น แบ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี พระอารามหลวงชั้นเอกมี 23 วัด แบ่งเป็น 3 อันดับ คืออันดับ 1, 2, 3 พระอารามหลวงชั้นเอกอันดับ 1 เป็นวัดที่สำคัญที่สุด ในประเทศไทยมี 6 วัด คือ
1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
2. วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
3. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร
4. วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
5. วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
6. วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร
ดังนั้น วัดสุทัศนเทพวราราม จึงเป็นวัดที่สำคัญที่สุด 1 ใน 6 วัด ในประเทศไทย
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1144 เส้นทางแห่งศรัทธาแสวงหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัดแห่งพระกริ่ง วัดสุทัศนเทพวราาม กรุงเทพฯ ตอนที่ 2 ปักษ์แรก เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ราคาปก 60 บาท )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..