หลวงพ่อดอกไม้ พระครูวัตตสารโสภณ วัดดอนเจดีย์ ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

ภาพและเรื่องโดย  สารกาญจน์


พระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้)
วัดดอนเจดีย์ ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน
จ.กาญจนบุรี
มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่าผู้ที่มาเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ต้องผ่านทดสอบการใช้สมาธิพลังจิตเพ่งไส้เทียนให้ขาดกลาง ( แสดงถึงพลังจิตพื้นฐานเข้มแข็ง ) หลวงปู่ยิ้มจึงจักประสิทธิ์ประสาทวิชาชั้นสูงให้ ครั้นเมื่อ หลวงพ่อดอกไม้ ทราบข่าว ที่วัดหนองบัวมีพระเกจิปรมาจารย์ผู้แก่กล้าเกิดศรัทธายิ่งนัก จึงเดินทางถวายตัวเป็นศิษย์และสามารถผ่านการทดสอบ เพ่งไส้เทียนขาด ได้เป็นศิษย์หลวงปู่ยิ้มเล่าเรียนวิชาอาคมชั้นสูง พร้อมปฏิบัติกิจของสงฆ์อยู่วัดหนองบัวถึงขั้นเก่งกล้าสามารถ จนญาติโยมในละแวกเขตวัดหนองบัวยังจำชื่อของ หลวงพ่อดอกไม้ ได้เป็นอย่างดีเมื่อคราวมีใครเอ่ยถาม ก่อนที่หลวงพ่อจะย้ายกลับมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่วัดหนองขาว ต.หนองขาว อ.วังขนาย ( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอท่าม่วง ) จ.กาญจนบุรี

พระผงเสมา รุ่น 1 หลวงพ่อดอกไม้ปลุกเสก
กล่าวถึง หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ อริยสงฆ์แห่งวัดหนองบัวองค์นี้ ท่านออกธุดงค์ศึกษาวิชาไสยเวทจากพระอาจารย์สำนักต่างๆ อาทิเช่น หลวงพ่อปลัดทิม วัดบางลี่น้อย อัมพวา เรียนวิชาโภคทรัพย์, หลวงปู่พ่วง วัดลิงเจน เรียนวิชาทำธงกันอสุนีบาตสายฟ้าและพายุ วิชาหวายลงอักขระ เวลาลงทะเลให้เอาหวายโยนลงน้ำทะเล ตักน้ำในวงหวายน้ำจะจืดทันที และทำลูกอมหมากทุย, หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม อัมพวา เรียนวิชามหาอุด ผ้าเช็ดหน้าทางมหานิยม เชือกคาดเอวกระดูกงู และย่นระยะทาง, หลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ อัมพวา เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณ มีดหมอปราบภูตผีปีศาจ และเชือกคาดเอวตะขาบไฟไส้หนุมาน, หลวงพ่อกลิ่น วัดหนองบัว เรียนวิชาไสยเวทต่างๆ จนวิชาของหลวงปู่ยิ้มแก่กล้าสามารถมาก


 เหรียญล็อกเกตหลวงพ่อดอกไม้
รุ่น 1 จีวรดำ พื้นหลังเรียบ
หลวงพ่อดอกไม้ปลุกเสก
เหรียญล็อกเกตหลวงพ่อดอกไม้
รุ่น 2 จีวรเหลือง 
จากคำบอกเล่าของ ก๋งพ้ง บัวขม เกิดช่วงปี พ.ศ.2425-2524 ผู้ได้ใกล้ชิดกับท่านหลวงปู่ยิ้มกล่าวไว้ว่า หลวงพ่อดอกไม้ เป็นลูกศิษย์ที่เก่งกล้าของหลวงปู่ยิ้มองค์หนึ่ง ในขณะนั้นประจำอยู่วัดหนองขาว  หลวงพ่อดอกไม้ มีความสามารถในวิชาหลายด้าน อาทิเช่น เสกใบมะขามเป็นตัวต่อ ย่นหนทาง เสกควายธนู เดินบนผิวน้ำได้
จากคำบอกเล่าของ ปู่หว่า กลัวผิด ท่านเป็นคนบ้านหนองขาว แต่กำเนิดเกิดช่วงปี พ.ศ.2454 ขณะให้ข้อมูลนั้นอายุ 96 ปี เล่าให้ฟังว่า ขณะที่ปู่หว่าอายุ 10 กว่าปี ได้เป็นลูกศิษย์วัดสมัยท่าน พระครูจริยาภิรัต หรือ อาจารย์ยันต์ เจ้าอาวาสวัดหนองขาวคราวนั้น เล่าให้ฟังเกี่ยวกับ หลวงพ่อดอกไม้ ว่า ท่านเคยแลกเปลี่ยนวิชากับ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ ด้วย เพื่อเสริมสร้างความแก่กล้าวิชา หลวงพ่อดอกไม้ ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดหนองขาวอยู่นานก่อนแล้ว ครั้งนั้นได้มีทายก-ทายิกาจากบ้าน ดอนเจดีย์ มานิมนต์หลวงพ่อให้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสปกครองที่ วัดดอนเจดีย์ หลวงพ่อท่านเองก็ใคร่ครุ่นคิดพิจารณาเห็นว่า วัดดอนเจดีย์ คราวนั้นต้องการพระผู้ปกครองและพัฒนาพระพุทธศาสนา ประกอบกับวัดยังไม่มีศาสนสถานในการประกอบกิจทางสงฆ์อยู่หลายประการ ท่านเองก็มีโยมบิดา-โยมมารดาอยู่เขตวัดนั้นจึงเห็นเป็นการควรตามคำขอ ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดดอนเจดีย์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


เหรียญเสมาหลวงพ่อดอกไม้ หลังยันต์เฑาะ
(หลวงพ่อลำใย, หลวงพ่อนารถ, หลวงพ่อเพิ่ม,
หลวงพ่อห่วง ปลุกเสก) 
สร้างปี 2509
ช่วงที่ หลวงพ่อดอกไม้ ย้ายมาอยู่ วัดดอนเจดีย์ ก่อนหน้านั้นพี่ชายของท่านคือ พระอาจารย์ด้วง ปกครอง วัดดอนเจดีย์ อยู่ก่อนแล้ว และเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างพระอุโบสถ ( หลังเก่า ) ขึ้นแต่ไม่ทันเสร็จ เมื่อ หลวงพ่อดอกไม้ ย้ายมาอยู่ที่ วัดดอนเจดีย์ พี่ชายของท่านก็ได้สึกออกไปประกอบอาชีพในเพศฆราวาสและมีครอบครัว หลวงพ่อดอกไม้ จึงได้สร้างพระอุโบสถต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ในเวลานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าหลวงพ่อท่านเคยศึกษาวิชาอาคมกับ หลวงปู่ยิ้ม และเป็นศิษย์องค์หนึ่งที่หลวงปู่ยิ้มไว้ใจ
พระครูวัตตสารโสภณ เดิมท่านชื่อ ดอกไม้ นามสกุล ราชจำนงค์ ท่านเกิดปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ในปี พ.ศ.2403 ที่บ้านหนองปริก ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาอยู่บ้านหนองขุย ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ( ปัจจุบันบ้านหนองขุยขึ้นอยู่กับตำบลหนองสาหร่าย ) โยมบิดาชื่อ นายลาด ราชจำนงค์ โยมมารดาชื่อ นางเลี้ยง ราชจำนงค์ ท่านมีพี่น้องด้วยกัน 3 คน คือ


เหรียญเสมาหลวงพ่อดอกไม้ หลังยันต์เฑาะ
(หลวงพ่อลำใย, หลวงพ่อนารถ, หลวงพ่อเพิ่ม,
หลวงพ่อห่วง ปลุกเสก) 
สร้างปี 2511
1. นายด้วง ราชจำนงค์
2. นางตั๋ว ราชจำนงค์
3. พระครูวัตตสารโสภณ ( หลวงพ่อดอกไม้  )

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ.2424 ขณะที่ท่านอายุ 21 ปี ได้อุปสมบทตามกุลบุตรชายไทยใต้ร่มพระบวรพุทธศาสนา ได้รับฉายาว่า “ ปทุมรัตโน ” ไม่ทราบว่าพระท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์และอุปสมบทที่วัดใด แต่ที่เล่าสืบต่อกันมา ท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องลือนามของ กาญจนบุรี ดังที่ได้กล่าวมา
ภาพถ่ายใส่กรอบบูชา (สร้างหอระฆังไม้) หลวงพ่อดอกไม้ปลุกเสก
ในปี พ.ศ.2458 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศ ( สมเด็จพระสังฆราช ลำดับองค์ที่ 10 ) ทรงเสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ในมณฑลราชบุรี 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ครั้นเดินทางมายังเมือง กาญจนบุรี ซึ่งมีอาณาเขตกว้างใหญ่ ทรงเห็นคณะสงฆ์ปกครองกันเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีจึงตรัสชม ในการนี้ เจ้าอธิการม่วง ( หลวงพ่อม่วง ) ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบ้านทวนขณะนั้น อายุ 80 ปี อ่านถวายรายงานได้คล่องแคล่ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯพอพระทัยความเอาการเอางาน ทรงโปรดพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร-พัดยศ มีราชทินนามว่า พระครูสิงคีคุณธาดา เลื่อนขึ้นเป็นรองเจ้าคณะ จังหวัดกาญจนบุรี แทนที่ว่างเมื่อคราว พระครูสิงคิบุรคณาจารย์ ( สุด ) มรณภาพลง ในวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2454 จึงทำให้ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบ้านทวนว่างลงตั้งแต่บัดนั้น ( ใช้เวลาตรวจการณ์คณะสงฆ์ทั่วทั้งประเทศ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2454-2460 )


หวายมงคลคาดเอว หลวงพ่อดอกไม้ปลุกเสก
 เชือกมงคลคาดเอว หลวงพ่อดอกไม้ วัดดอนเจดีย์
พิรอดมงคลต้นแขน หลวงพ่อดอกไม้ปลุกเสก
ปี พ.ศ.2460 ( สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ) ขณะที่ท่านมีสมณศักดิ์เป็น พระอธิการดอกไม้ ชาวบ้านพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อ ร่วมกันจัดสร้าง รูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริง ขึ้นคราวที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อเองก็ยินดีเสมือนหยั่งรู้อนาคตว่าหลังวันสิ้นบุญต่อไปภายภาคหน้า รูปหล่อจักเป็นตัวแทนในการพึ่งบุญต่อสานุศิษย์ การสร้างรูปเหมือนครั้งนั้นเริ่มดำเนินการหลังก่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้ว จ้างช่างก่อสร้างสถูปเจดีย์จาก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปหล่อ โดยที่ฐานของรูปหล่อระบุข้อความ อธิการดอกไม้ อายุ 57 ปี พรรษา 36 พ.ศ.2460 ” เพื่อเป็นที่สักการะกราบไหว้ของบุคคลโดยทั่วไป จนกระทั่งปัจจุบันทางวัดได้มีการจัดงานปิดทองรูปเหมือนหลวงพ่อเป็นประจำทุกปี เป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา


รูปปั้นหลวงพ่อดอกไม้
ประตูโบสถ์เก่า มีลายปูนปั้นสวยงาม
เสมาโบสถ์เก่า













ปี พ.ศ.2461 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร-พัดยศ เป็นเจ้าคณะแขวงบ้านทวน ( อำเภอพนมทวน ) มีราชทินนามว่า “ พระครูวัตตสารโสภณ ” รับนิตยภัตเดือนละ 6 บาท โดยตำแหน่งนี้ท่านได้รับต่อจาก ท่านพระครูสิงคีคุณธาดา ( หลวงพ่อม่วง ) วัดบ้านทวน ซึ่งเลื่อนขึ้นไปรับตำแหน่งรองเจ้าคณะ จังหวัดกาญจนบุรี การแต่งตั้งจึงทรงให้ได้สัมผัสชื่อ
ในเมืองกาญจน์ครั้งนั้น ดังนี้
พระสมเด็จ เนื้อผง หลังปั๊มเสมาหลวงพ่อดอกไม้
  • วิสุทธิรังสี ( วัดใต้ ) พระราชาคณะ เจ้าคณะเมือง กาญจนบุรี
  • สิงคีคุณธาดา ( วัดบ้านทวน ) รองเจ้าคณะเมือง กาญจนบุรี
  • จริยาภิรัต ( วัดหนองขาว ) เจ้าคณะแขวงวังขนาย ( ท่าม่วง )
  • ติวัตรวิบูลย์ ( วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ) เจ้าคณะหมวด ( ตำบล )
  • อดุลย์สมณกิจ ( วัดเหนือ ) เจ้าคณะแขวงท่ามะกา
  • นิวิฐสมาจาร ( วัดหนองบัว ) เจ้าคณะแขวงเมือง
  • วัตตสารโสภณ ( วัดดอนเจดีย์ ) เจ้าคณะแขวงบ้านทวน
พระหลวงพ่อดอกไม้ พิมพ์เนื้อผง
งานด้านการปกครอง ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าคณะแขวงบ้านทวน วัดในแขวงเขตปกครองมีการปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัดตามธรรมวินัย ท่านมักออกเยี่ยมเยียนถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกับพระวัดต่างๆ อยู่เสมอ ปัญหาหน้าที่อันใดที่ประสบพบเห็นท่านมักจะให้ความช่วยเหลืออย่างชาญฉลาด เช่น ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2467 วัดทุ่งสมอ ( ชื่อเดิม วัดจันทาราม ) ขาดสมภารผู้ปกครองวัด หลวงพ่อดอกไม้ กับพระครูอดุลย์สมณกิจ ( หลวงพ่อดี ) พร้อมด้วยทายกบ้านทุ่งสมอเห็นพ้องต้องกันร่วมเชิญ พระปลัดหรุง ( รุ่งเช้า ) มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านองค์นี้เก่งงานด้านวินัยปฏิบัติและงานด้านการปกครองสงฆ์อย่างยิ่ง ดังเห็นได้จากการก่อสร้างเสนาสนะหลายอย่างเกิดขึ้นที่วัดทุ่งสมอในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นต้น


รูปหล่อหลวงพ่อดอกไม้
รูปหล่อหลวงพ่อดอกไม้
ในสมัย หลวงพ่อดอกไม้ ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านเป็นที่เคารพรักใคร่ของบุคคลโดยทั่วไป ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านเป็นที่รู้จักเลื่อมใสของบุคคลต่างถิ่นเป็นอย่างดี ท่านเป็นคนเข้มแข็งเด็ดขาด พวกที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสมเกรงกลัวท่านมาก ทุกครั้งที่มีงานวัดไม่ต้องใช้ตำรวจมาคุมงานแต่อย่างใด ท่านจะเดินคุมงานของท่านตลอด หากมีพวกขี้เมากินเหล้ากันอยู่ แค่เห็น หลวงพ่อดอกไม้ เดินมาก็จะพากันเลิกวง และหายเมาทันที

ผลงานที่หลวงพ่อสร้างไว้ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มีมากมายหลายอย่าง อาทิเช่น
1. หมู่กุฏิสงฆ์
โบสถ์เก่า 
2. พระอุโบสถ ( หลังเก่า )
3. ขุดสระน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค มีด้วยกัน 3 สระ คือ สระเก่า ( อยู่ทิศใต้ ), สระดอกบัว ( อยู่กลาง ) และ สระตาปาน ( อยู่ทิศเหนือ )
ปัจจุบันถูกขุดรวมเป็นสระเดียวกันเรียกว่า สระวัด
4. ศาลาการเปรียญ ( หลังเก่า )
5. หอระฆัง ( หอระฆังนี้เดิมสร้างด้วยไม้ ปัจจุบันชำรุดไปหมดแล้ว และได้สร้าง
ขึ้นมาทดแทนใหม่ )


หน้าบันโบสถ์เก่า
หลวงพ่อดอกไม้
อนึ่ง ในคราวสร้างหอระฆังนั้นท่านได้สร้าง รูปถ่ายขนาดใส่กรอบบูชา และขนาดเล็ก ( ล็อกเกต ) ประกบด้วยพระจกเลี่ยมกรอบเงินชนิดแขวนคอ เพื่อแจกให้ผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่แสวงหาของบุคคลโดยทั่วไป ด้วยมีประสบการณ์ต่างๆ ด้านอิทธิปาฏิหาริย์สูงยิ่งมากมาย

ในปี พ.ศ.2465 หลวงพ่อดอกไม้ ยังได้เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนขึ้น เนื่องจากเห็นว่าชาวบ้าน ดอนเจดีย์ และหมู่บ้านใกล้เคียงส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการศึกษา ประกอบกับสถานที่ศึกษาอักษรสมัยยังไม่แพร่หลาย จึงมีเจตนาให้ วัดเป็นโรงเรียน อาศัยศาลาการเปรียญชั่วคราว

ช่วงเดือนเมษายนของปี พ.ศ.2465 หลวงพ่อดอกไม้ ได้ไปร่วมงานการพระศพของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ( สมเด็จพระสังฆราช ลำดับองค์ที่ 10 ) ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2464 มีการจัดงานพระราชทาน เพลิงพระศพที่เมรุท้องสนามหลวง กรุงเทพ มหานคร วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2465 ในงานคราวนั้นได้รับตาลปัตรเป็นที่ระลึก


( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่  1121 หลวงพ่อดอกไม้ พระครูวัตตสารโสภณ วัดดอนเจดีย์ ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ตอน 1 ภาพและเรื่องโดย  สารกาญจน์ ปักษ์หลัง เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ราคาปก 60 บาท )


วันนี้อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้ 


สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า.. 




Available Now!  You can read whenever, wherever with any device.

 BangkokSarn App on Google Play store    Lanpo App on Google play Store    Ookbee Book Shop   Meb Market Book Shop      

#ลานโพธิ์ #หลวงพ่อดอกไม้ #วัดดอนเจดีย์ #จ.กาญจนบุรี