ภาพและเรื่องโดย..เกษม ศานติชนม์
พระเกจิอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันชนิดไม่น้อยหน้าไปกว่าองค์ไหนๆ ได้แก่ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา และแม้ว่านับแต่ท่านมรณภาพจนถึงบัดนี้จะเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว แต่กระนั้นชื่อเสียงของท่านก็ไม่ได้สูญหายตายจากไปตามร่างกาย สังเกตได้จากกรณีที่ยังมีคนกล่าวขวัญถึงอยู่เสมอมาตราบปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้นวัตถุมงคลที่ท่านสร้างเอาไว้ ก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายแทบทุกรุ่นทุกพิมพ์ ทั้งในหมู่คนอยุธยาเองและต่างจังหวัดไม่ว่าใกล้หรือไกล
เหตุปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่เชื่อกันว่า น่าจะมีส่วนช่วยหนุนส่งให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังอย่างเป็นอมตะ ก็คือท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ 1 ใน 4 ยุคสงครามอินโดจีนหรือสงครามเอเชียมหาบูรพา ซึ่งมีสมญาเรียกขานกันอย่างคล้องจองคือ “ จาด จง คง อี๋ ” อันได้แก่ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ( ปราจีนบุรี ) หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ( พระนครศรีอยุธยา ) หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ( สมุทรสงคราม ) และ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ( ชลบุรี ) สมญาที่ว่านี้ถือเป็นเครื่องรับประกันความเก่งกล้าโดยปริยาย ทั้งยังช่วยให้จำชื่อท่านกันได้อย่างแม่นยำอีกต่างหาก เพราะถูกปากถูกหูคนไทยซึ่งมีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอน
แต่น่าแปลกตรงที่ประวัติของท่านหาอ่านค่อนข้างยาก นอกจากที่ “ สมศักดิ์ พงศ์พูนลาภ ” เคยเขียนเอาไว้ในนิตยสารพระเครื่องฉบับหนึ่งเมื่อประมาณ 20 ปีก่อนแล้วไม่ค่อยได้พบเห็นที่ไหน แม้ในระยะหลังๆ มานี้จะมีคนอื่นเขียนอยู่บ้างเหมือนกัน แต่กระนั้นทั้งเนื้อหาและเนื้อความส่วนใหญ่ ก็คล้ายคลึงกันแทบทุกประโยคทุกบรรทัด ราวกับมีที่มาจากแห่งเดียวกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าน่าจะลองอาสาเขียนเรื่องนี้อีกสักคนเป็นไร ในฐานะที่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวของท่านมาไม่น้อย เพราะนอกจากจะมีพื้นเพเป็นคนอยุธยา ยังชอบศึกษาประวัติพระเกจิอาจารย์โดยเฉพาะองค์ที่ปู่ย่าตายายเคารพนับถือ โดยใช้วิธีสอบถามจากผู้หลักผู้ใหญ่บ้าง ค้นคว้าจากหนังสือหรือเอกสารที่เกี่ยวเนื่องบ้าง จึงย่อมคาดหวังเรื่องความหลากหลายได้พอประมาณ
ประวัติของท่านมีอยู่ว่า เกิดในตระกูลชาวนา ณ บ้านหน้าไม้ แขวงเสนาน้อย เมืองกรุงเก่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2415 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 4 ปีวอก บิดาชื่อ ยอด มารดาชื่อ ขลิบ ( ส่วนนามสกุลไม่ปรากฏ) มีพี่น้องทั้งหมดรวม 3 คน ได้แก่
1. หลวงพ่อจง พุทฺธสโร
2. หลวงพ่อนิล ธมฺมโชติ
3. นางปลีก สุขสโมสร
แต่ก่อนจะกล่าวเรื่องอื่นต่อไป อยากให้ผู้อ่านทราบประวัติการจัดการปกครองของเมืองกรุงเก่าสักเล็กน้อย เพราะเข้าใจว่าน่าจะมีคนงุนงงสงสัยเรื่องแขวงเสนาน้อยที่ว่า ด้วยแต่ไหนแต่ไรมาเคยได้เห็นได้ยินแต่อำเภอบางไทร จึงใคร่อธิบายให้ละเอียดเสียเลยแล้วกัน กล่าวคือหลังการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาเปลี่ยนมาเป็นกรุงธนบุรี มีการยุบรวมแขวงในกำแพงเมือง ( และปริมณฑล ) 4 แขวง อันได้แก่ แขวง ( ขุน ) ธรณีบาล แขวง ( ขุน ) โลกบาล แขวง (ขุน) ธราบาล และแขวง (ขุน) นราบาล รวมเป็นแขวงเดียวเรียกว่า แขวงรอบกรุง ส่วนแขวงนอกกำแพงเมืองอีก 3 แขวง ยังคงไว้ตามเดิมคือ แขวง ( ขุน ) นคร แขวง ( ขุน ) เสนา และแขวง ( ขุน ) อุทัย
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ 1 ทรงกำหนดให้ยกฐานะกรุงเก่าเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา แต่แทนที่จะเรียกผู้ปกครองเมืองนี้ว่า “ ผู้ว่าราชการ ” เหมือนเมืองอื่นๆ กลับเรียก “ ผู้รักษากรุงเก่า ” (หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ ผู้รักษากรุง ” ) ล่วงมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 ได้ซอยแบ่งแขวงนครเดิมออกเป็นแขวงนครใหญ่ แขวงนครน้อย และซอยแบ่งแขวงเสนาเดิมออกเป็นแขวงเสนาใหญ่ แขวงเสนาน้อย จึงทำให้มีแขวงทั้งหมด 6 แขวง ด้วยกัน
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา ( สิงโต ศกุณสิงห์ ) ผู้รักษากรุงในขณะนั้น ได้ซอยแบ่งแขวงอุทัยเดิมออกเป็นแขวงอุทัยใหญ่ แขวงอุทัยน้อย จึงเพิ่มเป็น 7 แขวง ก่อนจะซอยแบ่งในคราวจัดระเบียบการปกครองท้องที่ใหม่จนกลายเป็น 12 อำเภอ เมื่อ พ.ศ.2438 ( ในรัชกาลเดียวกัน ) การซอยแบ่งครั้ง ( หลังสุด ) นั้นได้แก่ ส่วนของแขวงนครใหญ่และแขวงนครน้อย ซอยเพิ่มอีก 2 แขวง คือ แขวงนครกลางและแขวงนครใน ส่วนของแขวงเสนาใหญ่และแขวงเสนาน้อย ซอยเพิ่มอีก 2 แขวง คือ แขวงเสนากลางและแขวงเสนาใน แขวงอุทัยน้อยเดิมเปลี่ยนเป็นแขวงพระราชวัง และตั้งแขวงอุทัยน้อยขึ้นใหม่ โดยแบ่งแขวงอุทัยใหญ่รวมกับแขวงหนองแคบางส่วน
ทั้ง 12 แขวง ซึ่งเปลี่ยนมาเรียก 12 อำเภอนี้ ส่วนใหญ่ได้ชื่อใหม่แทบทั้งสิ้น กล่าวคือแขวงรอบกรุงเปลี่ยนเป็นอำเภอกรุงเก่า ภายหลังเป็นอำเภอ พระนครศรีอยุธยา แขวงนครใหญ่ได้ชื่อว่าอำเภอมหาราช แขวงนครน้อยได้ชื่อว่าอำเภอท่าเรือ แขวงนครกลางได้ชื่อว่าอำเภอนครหลวง แขวงนครในได้ชื่อว่าอำเภอบางปะหัน แขวงเสนาใหญ่ได้ชื่อว่าอำเภอผักไห่ แขวงเสนาน้อยเปลี่ยนเป็นอำเภอราชคราม ภายหลังเป็นอำเภอบางไทร แขวงเสนากลางเปลี่ยนเป็นอำเภอเสนา แขวงเสนาในได้ชื่อว่าอำเภอบางบาล แขวงพระราชวัง ( อุทัยน้อยเดิม ) เปลี่ยนเป็นอำเภอบางปะอิน แขวงอุทัยใหญ่เรียกอำเภออุทัย แขวงอุทัยน้อย ( ใหม่ ) เปลี่ยนเป็นอำเภอวังน้อย
ภายหลังได้จัดตั้งอำเภอใหม่ขึ้นอีก 4 อำเภอ ( รวมเป็น 16 อำเภอ ตราบปัจจุบัน ) อันได้แก่ อำเภอภาชี ซึ่งแยกจากท้องที่ด้านเหนือของอำเภออุทัย อำเภอลาดบัวหลวงแยกจากท้องที่ด้านใต้ของอำเภอบางไทร อำเภอบางซ้ายแยกจากพื้นที่ด้านใต้ของอำเภอเสนา อำเภอบ้านแพรกแยกจากพื้นที่ด้านเหนือของอำเภอมหาราช
อนึ่ง สำหรับชื่ออำเภอที่เปลี่ยนใหม่นี้ มีข้อสังเกตตรงที่ส่วนใหญ่ใช้ชื่อหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งตัวอำเภอเป็นหลัก ไม่ได้เกี่ยวกับสภาพหรือความเจริญของพื้นที่แม้แต่น้อยก็ว่าได้ ในสมัยผู้เขียนเข้ารับราชการใหม่ๆ ได้รับคำบอกเล่าจากข้าราชการคนหนึ่งซึ่งอยู่มาก่อนว่า ก่อนหน้านั้นมีตำแหน่งปลัดอำเภอใน อยุธยา ว่างอยู่ 2 ตำแหน่ง คือตำแหน่งปลัดอำเภอมหาราชและปลัดอำเภอเสนา ครั้นเรียกผู้ที่สอบคัดเลือกได้ไปรายงานตัวที่กรมฯ เพื่อส่งตัวมาบรรจุในตำแหน่งนั้น แต่ด้วยความที่ไม่รู้จักพื้นที่ของ 2 อำเภอที่ว่า คนที่ได้คะแนนดีกว่าซึ่งมีสิทธิเลือกก่อนตัดสินใจเลือกอำเภอมหาราช เพราะคาดเดาว่าน่าจะต้องเป็นอำเภอใหญ่โตหรือเจริญแน่ มิฉะนั้นคงจะไม่ได้ชื่ออย่างนั้น
ทำให้คนที่ได้คะแนนต่ำกว่าต้องไปอยู่เสนาโดยปริยาย ทีแรกก็ไม่เต็มใจถึงกับจะขอสละสิทธิ์เพราะคิดว่าเป็นอำเภอเล็กๆ แต่ในที่สุดก็ตัดสินใจว่าน่าจะลองไปอยู่ดูก่อน ถ้าลำบากจนทนไม่ไหวจึงค่อยลาออกภายหลัง ต่างจากคนได้คะแนนดีที่ออกอาการกระหยิ่มยิ้มย่องจนออกนอกหน้า ครั้นเมื่อทั้งคู่เดินทางมารายงานตัวกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่ศาลากลาง คนที่ได้คะแนนดีถึงกับหน้าถอดสีกลายเป็นคนละคนไป ส่วนคนที่ได้คะแนนเป็นรองนั้นกลับยิ้มร่า หลังทราบว่าเสนานั้นเล็กหรือต่ำต้อยเพียงชื่อ แต่ถือเป็นอำเภอใหญ่อันดับสองรองจากอำเภอกรุงเก่า ส่วนมหาราชใหญ่แต่ชื่อก็ว่าได้ เพราะไม่เพียงเป็นอำเภอเล็กๆ อยู่ปลายเขตแดนด้านเหนือเท่านั้น การคมนาคมไปมาแต่ละครั้งยังแสนจะลำบากยากเย็นอีกด้วย
อย่างไรก็ดี เรื่องที่เห็นควรกล่าวเป็นลำดับต่อไป ได้แก่ ประวัติของ หลวงพ่อจง เมื่อครั้งยังเยาว์ จากคำบอกเล่าของผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนล้วนตรงกันว่า ตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตนจนกระทั่งเติบใหญ่ นอกจากร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์แข็งแรงเหมือนเด็กอื่น ยังเป็นคนขี้โรคเพราะเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ แบบสามวันดีสี่วันไข้ ปัญหาใหญ่ประการหนึ่งได้แก่อาการหูอื้อตาฟาง ซึ่งเกิดหลังป่วยหนักถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อเป็นตายเท่ากัน แม้จะรอดชีวิตมาได้แต่อาการที่ว่าก็สร้างปัญหาเรื่องการมองการฟังให้ “ เด็กชายจง ” ไม่น้อย เพราะฉะนั้นจึงทำให้ท่านไม่ค่อยอยากไปไหนมาไหน ต่างจากเด็กทั่วไปที่มักออกเที่ยวเตร่เฮฮากันอย่างรื่นเริงบันเทิงสุข แต่ท่านกลับหมดสนุกแม้กระทั่งมีลิเกมาแสดงใกล้ๆ บ้าน กระนั้นเรื่องหนึ่งที่ไม่ยอมพลาดคือการไปตักบาตรหรือฟังเทศน์ที่วัดกับผู้ใหญ่
ด้วยความเป็นเด็กติดบุญติดวัดอย่างว่า บิดา-มารดาจึงนำไปฝากเป็นศิษย์วัดหน้าต่างใน เมื่ออายุได้ประมาณ 12 ปี เพราะเป็นวัยที่สมควรศึกษาเล่าเรียนอักขรสมัยและศีลธรรมจรรยา ซึ่งก็ตรงกับความปรารถนาของท่านที่ต้องการอยู่ใกล้วัดใกล้พระมาแต่ไหนแต่ไร และได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเดียวกัน ที่น่าอัศจรรย์ก็คือหลังจากได้ชื่อว่า “ เหล่ากอของสมณะ ” แบบเต็มตัวแล้ว นอกจากโรคภัยไข้เจ็บที่เกาะกุมอยู่จะอันตรธานไป สุขภาพกายใจและสติปัญญายังแกร่งกล้าปราดเปรื่องขึ้นอีกต่างหากด้วย ช่วยให้การเล่าเรียนศึกษาประสบความก้าวหน้าเกินคาดหมาย โดยเฉพาะหนังสือไทยและหนังสือขอมบั้นต้นนั้นอยู่ในขั้นแตกฉานแม่นยำ หนำซ้ำยังสวดมนต์สวดพรได้อีกหลายบทหลายตำนาน จนพระอาจารย์และญาติโยมทั่วไปต่างรักใคร่ศรัทธามาแต่ครั้งยังถือเพียงศีลสิบ
ขอสรุปเอาเป็นว่าครั้นล่วงมาถึงปีที่อายุครบกำหนด ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดหน้าต่างใน แห่งนั้น โดยมี เจ้าอธิการสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอินทร์ วัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการโพธิ์ วัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับขนานนามฉายาว่า “ พุทธสโร ”
สำหรับหลวงพ่อสุ่นองค์ที่ว่านี้ คงรู้จักกันดีเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้วกระมัง เพราะโด่งดังจากการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณโดย พระราชพรหมยาน ( วีระ ถาวโร ) วัดท่าซุง หรือที่รู้จักกันเป็นส่วนใหญ่ในชื่อ “ ฤาษีลิงดำ ” ศิษย์เอกของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เนื่องจากว่าท่านองค์นี้ไม่เพียงมีฐานะเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อปานเท่านั้น แต่ยังถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้อีกสารพัด โดยเฉพาะเรื่องกรรมฐานและการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อนำมาใช้ในการสงเคราะห์อนุเคราะห์หรือบำบัดรักษาญาติโยมทั่วไป
แต่น่าเสียดายอยู่ไม่น้อยตรงที่ ไม่มีผู้ใดทราบประวัติของท่าน ทั้งยังขาดหลักฐานที่จะใช้เป็นกุญแจสำหรับการศึกษาค้นคว้าให้กระจ่าง เพียงมีเค้าเงาลางๆ ตรงคำบอกเล่าที่กล่าวว่า อายุไล่เลี่ยกับ หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลฯ โดยหลวงพ่อสุ่นน่าจะแก่กว่าประมาณ 5-6 ปี หากยึดเอาเค้านี้เป็นหลักก็อาจอนุมานได้ว่า ถ้าหลวงพ่อสุ่นไม่เกิดเมื่อ พ.ศ.2370 ก็คงเป็น พ.ศ.2471 กระมัง โดยใช้ปีเกิดหลวงพ่อปั้นเป็นตัวตั้ง คือ พ.ศ.2376
อนึ่ง เมื่อเอ่ยถึง พ.ศ.2370 ขึ้นมา นึกได้ว่า หลวงพ่อม่วง วัดโบสถ์ ( มหาราช ) ก็เกิดปีนี้ ประกอบกับพอดีได้อ่านข้อเขียนของบางคนกล่าวถึงท่านทำนองว่า เคยท้าลองวิชากับ อาจารย์จาบ สุวรรณ เพราะอยากพิสูจน์เรื่องใครเหนือใคร จึงทำให้ใจนึกหวนไปที่ปีเกิดของหลวงพ่อม่วงโดยอัตโนมัติ ( ประเด็นนี้คนอื่นจะคิดอย่างไรไม่ทราบ แต่สำหรับผู้เขียนเห็นเป็นเรื่องเกินเชื่อ ในเมื่อหลวงพ่อม่วงแก่กว่าอาจารย์จาบถึง 50 ปีเศษ เรื่องทุเรศแบบนี้ท่านคงไม่ทำแน่ )
อย่างไรก็ดี หากทั้งสององค์นี้เกิดปีเดียวกัน ( หรืออ่อนกว่าปีหนึ่ง ) จริง แต่หลวงพ่อม่วงอายุยืนกว่า เพราะเพิ่งจะมรณภาพเมื่อ พ.ศ.2475 ขณะอายุ 105 ปี ส่วนหลวงพ่อสุ่นนั้นแม้ไม่ปรากฏหลักฐานแต่ก็พอมีเค้าให้คาดเดาได้ว่า น่าจะมรณภาพในช่วงปลาย พ.ศ.2450 หรือต้น พ.ศ.2451 กระมัง เพราะคงต้องเป็นหลังจากสิ้นท่านแล้ว หลวงพ่อปานถึงได้ไปขอเรียนกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ด้วยเห็นว่ายังตักตวงวิชากรรมฐานจากหลวงพ่อสุ่นได้ไม่เท่าที่หวัง
ที่ค่อนข้างเชื่อว่าหลวงพ่อสุ่นมรณภาพในปีข้างต้น มีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อก็คือ ในบันทึก ( เรื่อง ) ตรวจการศึกษาของ พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ( ม.ร.ว.เปีย มาลากุล ) หรือที่ต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ระบุว่า
“ อังคารที่ ๒๖ ( มิถุนายน ร.ศ.๑๒๕ หรือ พ.ศ.๒๔๔๙ ) เช้าดูวัดทางเวียงหรือวัดหัวเวียง แล้วล่องเรือแจวเข้าคลองมโนรา แวะวัดบางปลาหมอ วัดช่างเหล็ก ค่ำนอนบางปะอิน
โน๊ต วัดหัวเวียง สมภารเก่าสำมะเลเทเมากับเมียเจ๊กโรงเลื่อยเลยหนีไปเมื่อเร็วๆ นี้ ทายกนิมนต์ ( พระ ) มหาพลอย วัดขุนยวน มาดูแลวัดอยู่ ท่าทางจะเป็นสมภารได้ดี
วัดบางปลาหมอ ท่านสมภารวางโต ต้องประจบขอน้ำมนต์ ทำอุโบสถและสร้างพระนอนขึ้นใหม่เขียนหรู แต่เต็มที
วัดช่างเหล็ก พระสมุห์เอี้ยงเป็นสมภารและเป็นเจ้าคณะหมวด มีโรงเรียน มีบำรุง ครูอิน ครูมูลฝึกหัดฝั่งตะวันตก ( หมายถึงโรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ) เป็นครูอยู่ที่นั่น ”
บันทึกดังกล่าวนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่าปี พ.ศ.2449 หลวงพ่อสุ่นยังมีชีวิตอยู่อย่างแน่นอน เพราะแม้ไม่ได้ออกชื่อว่าสมภารองค์นั้นชื่อไร แต่มีนัยว่าต้องเป็นหลวงพ่อสุ่น ทั้งในเรื่องน้ำมนต์ เรื่องสร้างอุโบสถและพระนอน
นอกจากนี้ยังมีอีกสิ่งซึ่งแม้เพียงเป็นการเอ่ยถึงรูป ( หล่อ ) ของท่าน แต่กระนั้นก็ถือได้ว่าน่าสนใจไม่น้อยตรงที่ มีเนื้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงหลวงพ่อสุ่นว่า เป็นพระญาติกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ดังปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ตอนหนึ่งว่า
“ วันที่ ๔ ( สิงหาคม ร.ศ.๑๒๕ ) นอนดึกตื่นสายและท้องไม่สู้ปกติ กินข้าวกลางวันแล้วจึงได้ออกเรือบ่ายโมง ล่องลงมาเลี้ยวเข้าแควสีกุก ทำหนังสือไปบางกอก ฝนตกเรื่อยมาจนเวลาเย็นมีพายุ หางเสือเรือไม่กินน้ำปั่น จะไปต่อก็เห็นว่าฝนตกไม่หยุดและจะมืดค่ำจึงจอดนอนที่วัดสีกุก เวลาบ่ายกินขาวต้มเวลาหนึ่ง วันนี้จันทรุปราคาเห็นไม่ได้เพราะฝนตกจนหมดเวลา ที่วัดนี้มีมณฑปอยู่ตรงเรือจอด แต่ยังไม่รู้ว่าอะไรอยู่ในนั้น น้ำขึ้นมากน้ำท่วมจะขึ้นบกถึงต้องใช้เรือ
วันที่ ๕ เช้าโมง ๑ น้ำลดสะพานเดินได้ ขึ้นไปถ่ายรูปในมณฑปที่พูดเมื่อวานนี้ มีพระป่าเลไลยก์และรูปเจ้าอธิการวัดบางปลาหมอ ที่เขาเรียกในคำจารึก แต่ว่าพระอาจารย์วัดฯหมอ รูปร่างหน้าตางามขนาดเท่าตัว ท่านอาจารย์คนนี้เป็นหมอรักษาบ้า ว่าเป็นพระญาติสมเด็จพระปวเรศ เพราะเดินขึ้นไปไม่มีใครได้พระเจริญพร ( โดยไม่รู้จัก )... ”
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..
![]() |
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก |
เหตุปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่เชื่อกันว่า น่าจะมีส่วนช่วยหนุนส่งให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังอย่างเป็นอมตะ ก็คือท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ 1 ใน 4 ยุคสงครามอินโดจีนหรือสงครามเอเชียมหาบูรพา ซึ่งมีสมญาเรียกขานกันอย่างคล้องจองคือ “ จาด จง คง อี๋ ” อันได้แก่ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ( ปราจีนบุรี ) หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ( พระนครศรีอยุธยา ) หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ( สมุทรสงคราม ) และ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ( ชลบุรี ) สมญาที่ว่านี้ถือเป็นเครื่องรับประกันความเก่งกล้าโดยปริยาย ทั้งยังช่วยให้จำชื่อท่านกันได้อย่างแม่นยำอีกต่างหาก เพราะถูกปากถูกหูคนไทยซึ่งมีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอน
![]() |
หลวงพ่อจาด (พระครูสิทธิสารคุณ) วัดบางกะเบา องค์แรกแห่งสมญา “จาด จง คง อี๋” |
![]() |
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก องค์ที่ 2 แห่งสมญา “จาด จง คง อี๋” |
![]() |
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม องค์ที่ 3 แห่งสมญา “จาด จง คง อี๋” |
![]() |
หลวงพ่ออี๋ (พระครูวรเวทมุนี) วัดสัตหีบ องค์ท้ายสุดแห่งสมญา “จาด จง คง อี๋” |
ประวัติของท่านมีอยู่ว่า เกิดในตระกูลชาวนา ณ บ้านหน้าไม้ แขวงเสนาน้อย เมืองกรุงเก่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2415 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 4 ปีวอก บิดาชื่อ ยอด มารดาชื่อ ขลิบ ( ส่วนนามสกุลไม่ปรากฏ) มีพี่น้องทั้งหมดรวม 3 คน ได้แก่
![]() |
เหรียญเสมาหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าใหญ่ เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.2485 |
2. หลวงพ่อนิล ธมฺมโชติ
3. นางปลีก สุขสโมสร
แต่ก่อนจะกล่าวเรื่องอื่นต่อไป อยากให้ผู้อ่านทราบประวัติการจัดการปกครองของเมืองกรุงเก่าสักเล็กน้อย เพราะเข้าใจว่าน่าจะมีคนงุนงงสงสัยเรื่องแขวงเสนาน้อยที่ว่า ด้วยแต่ไหนแต่ไรมาเคยได้เห็นได้ยินแต่อำเภอบางไทร จึงใคร่อธิบายให้ละเอียดเสียเลยแล้วกัน กล่าวคือหลังการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาเปลี่ยนมาเป็นกรุงธนบุรี มีการยุบรวมแขวงในกำแพงเมือง ( และปริมณฑล ) 4 แขวง อันได้แก่ แขวง ( ขุน ) ธรณีบาล แขวง ( ขุน ) โลกบาล แขวง (ขุน) ธราบาล และแขวง (ขุน) นราบาล รวมเป็นแขวงเดียวเรียกว่า แขวงรอบกรุง ส่วนแขวงนอกกำแพงเมืองอีก 3 แขวง ยังคงไว้ตามเดิมคือ แขวง ( ขุน ) นคร แขวง ( ขุน ) เสนา และแขวง ( ขุน ) อุทัย
![]() |
เหรียญเสมาหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าเล็ก เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.2485 |
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา ( สิงโต ศกุณสิงห์ ) ผู้รักษากรุงในขณะนั้น ได้ซอยแบ่งแขวงอุทัยเดิมออกเป็นแขวงอุทัยใหญ่ แขวงอุทัยน้อย จึงเพิ่มเป็น 7 แขวง ก่อนจะซอยแบ่งในคราวจัดระเบียบการปกครองท้องที่ใหม่จนกลายเป็น 12 อำเภอ เมื่อ พ.ศ.2438 ( ในรัชกาลเดียวกัน ) การซอยแบ่งครั้ง ( หลังสุด ) นั้นได้แก่ ส่วนของแขวงนครใหญ่และแขวงนครน้อย ซอยเพิ่มอีก 2 แขวง คือ แขวงนครกลางและแขวงนครใน ส่วนของแขวงเสนาใหญ่และแขวงเสนาน้อย ซอยเพิ่มอีก 2 แขวง คือ แขวงเสนากลางและแขวงเสนาใน แขวงอุทัยน้อยเดิมเปลี่ยนเป็นแขวงพระราชวัง และตั้งแขวงอุทัยน้อยขึ้นใหม่ โดยแบ่งแขวงอุทัยใหญ่รวมกับแขวงหนองแคบางส่วน
![]() |
มณฑปประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งรูปหลวงพ่อจง (ถ่ายด้านหน้ามุมเฉียง) |
![]() |
มณฑปประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้ง รูปหลวงพ่อจง (ถ่ายด้านหลัง) |
![]() |
หุ่นขี้ผึ้งรูปหลวงพ่อจงภายในมณฑป |
![]() |
หลวงพ่อจงและหลวงพ่อนิล ถ่ายบริเวณหน้าอุโบสถวัดหน้าต่างใน |
![]() |
หลวงพ่อจงและหลวงพ่อนิลถ่ายในคราวไป เจริญพระพุทธมนต์ในงานทำขวัญนาค ชื่อ “เปี๊ยก” ที่บ้านหน้าไม้ |
![]() |
รูปเหมือนหลวงพ่อจง (ปั๊มครึ่งซีก) เนื้อตะกั่วกะไหล่ทอง รุ่นกันภัย สร้างเมื่อ พ.ศ.2502 |
![]() |
รูปเหมือนหลวงพ่อจงแบบบูชา (ขนาด 5 นิ้ว) สร้างเมื่อ พ.ศ.2491 |
ขอสรุปเอาเป็นว่าครั้นล่วงมาถึงปีที่อายุครบกำหนด ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดหน้าต่างใน แห่งนั้น โดยมี เจ้าอธิการสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอินทร์ วัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการโพธิ์ วัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับขนานนามฉายาว่า “ พุทธสโร ”
![]() |
รูปหลวงพ่อจง (ประกอบยันต์) ทำด้วยกระดาษ ซึ่งคนละแวกบางไทร บางบาล และเสนา มักมีบูชา ประจำบ้านแทบทุกหลังคาเรือน |
แต่น่าเสียดายอยู่ไม่น้อยตรงที่ ไม่มีผู้ใดทราบประวัติของท่าน ทั้งยังขาดหลักฐานที่จะใช้เป็นกุญแจสำหรับการศึกษาค้นคว้าให้กระจ่าง เพียงมีเค้าเงาลางๆ ตรงคำบอกเล่าที่กล่าวว่า อายุไล่เลี่ยกับ หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลฯ โดยหลวงพ่อสุ่นน่าจะแก่กว่าประมาณ 5-6 ปี หากยึดเอาเค้านี้เป็นหลักก็อาจอนุมานได้ว่า ถ้าหลวงพ่อสุ่นไม่เกิดเมื่อ พ.ศ.2370 ก็คงเป็น พ.ศ.2471 กระมัง โดยใช้ปีเกิดหลวงพ่อปั้นเป็นตัวตั้ง คือ พ.ศ.2376
![]() |
รูปหล่อหลวงพ่อจงบนหอสวดมนต์ วัดหน้าต่างนอก |
อย่างไรก็ดี หากทั้งสององค์นี้เกิดปีเดียวกัน ( หรืออ่อนกว่าปีหนึ่ง ) จริง แต่หลวงพ่อม่วงอายุยืนกว่า เพราะเพิ่งจะมรณภาพเมื่อ พ.ศ.2475 ขณะอายุ 105 ปี ส่วนหลวงพ่อสุ่นนั้นแม้ไม่ปรากฏหลักฐานแต่ก็พอมีเค้าให้คาดเดาได้ว่า น่าจะมรณภาพในช่วงปลาย พ.ศ.2450 หรือต้น พ.ศ.2451 กระมัง เพราะคงต้องเป็นหลังจากสิ้นท่านแล้ว หลวงพ่อปานถึงได้ไปขอเรียนกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ด้วยเห็นว่ายังตักตวงวิชากรรมฐานจากหลวงพ่อสุ่นได้ไม่เท่าที่หวัง
ที่ค่อนข้างเชื่อว่าหลวงพ่อสุ่นมรณภาพในปีข้างต้น มีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อก็คือ ในบันทึก ( เรื่อง ) ตรวจการศึกษาของ พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ( ม.ร.ว.เปีย มาลากุล ) หรือที่ต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ระบุว่า
“ อังคารที่ ๒๖ ( มิถุนายน ร.ศ.๑๒๕ หรือ พ.ศ.๒๔๔๙ ) เช้าดูวัดทางเวียงหรือวัดหัวเวียง แล้วล่องเรือแจวเข้าคลองมโนรา แวะวัดบางปลาหมอ วัดช่างเหล็ก ค่ำนอนบางปะอิน
โน๊ต วัดหัวเวียง สมภารเก่าสำมะเลเทเมากับเมียเจ๊กโรงเลื่อยเลยหนีไปเมื่อเร็วๆ นี้ ทายกนิมนต์ ( พระ ) มหาพลอย วัดขุนยวน มาดูแลวัดอยู่ ท่าทางจะเป็นสมภารได้ดี
![]() |
วิหารวัดหน้าต่างนอก (ตั้งอยู่ด้านหลังวัด) |
วัดช่างเหล็ก พระสมุห์เอี้ยงเป็นสมภารและเป็นเจ้าคณะหมวด มีโรงเรียน มีบำรุง ครูอิน ครูมูลฝึกหัดฝั่งตะวันตก ( หมายถึงโรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ) เป็นครูอยู่ที่นั่น ”
บันทึกดังกล่าวนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่าปี พ.ศ.2449 หลวงพ่อสุ่นยังมีชีวิตอยู่อย่างแน่นอน เพราะแม้ไม่ได้ออกชื่อว่าสมภารองค์นั้นชื่อไร แต่มีนัยว่าต้องเป็นหลวงพ่อสุ่น ทั้งในเรื่องน้ำมนต์ เรื่องสร้างอุโบสถและพระนอน
นอกจากนี้ยังมีอีกสิ่งซึ่งแม้เพียงเป็นการเอ่ยถึงรูป ( หล่อ ) ของท่าน แต่กระนั้นก็ถือได้ว่าน่าสนใจไม่น้อยตรงที่ มีเนื้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงหลวงพ่อสุ่นว่า เป็นพระญาติกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ดังปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ตอนหนึ่งว่า
![]() |
เรือยนต์ซึ่งมีผู้นำมาถวายหลวงพ่อจง ไว้สำหรับใช้เป็นพาหนะ ในยาม เดินทางไปกิจนิมนต์ไกลๆ |
วันที่ ๕ เช้าโมง ๑ น้ำลดสะพานเดินได้ ขึ้นไปถ่ายรูปในมณฑปที่พูดเมื่อวานนี้ มีพระป่าเลไลยก์และรูปเจ้าอธิการวัดบางปลาหมอ ที่เขาเรียกในคำจารึก แต่ว่าพระอาจารย์วัดฯหมอ รูปร่างหน้าตางามขนาดเท่าตัว ท่านอาจารย์คนนี้เป็นหมอรักษาบ้า ว่าเป็นพระญาติสมเด็จพระปวเรศ เพราะเดินขึ้นไปไม่มีใครได้พระเจริญพร ( โดยไม่รู้จัก )... ”
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1062 กริ่งคลองตะเคียน พระกรุที่มีการสร้างล้อพิมพ์อย่างหลากหลาย ตอนที่ 1 ภาพและเรื่องโดย..เกษม ศานติชนม์ ปักษ์แรก เดือน มกราคม พ.ศ. 2554 ราคาปก 89 บาท )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..