ภาพและเรื่องโดย..ไวทย์ เวียงเหล็ก
นอกจากพระขุนแผนวัดใหญ่ฯ ที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ ยังมีพระเครื่องเมืองอยุธยาอยู่อีกกรุหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมแบบไม่น้อยหน้าไปกว่ากันเท่าไร โดยอาศัยสังเกตจากกรณีที่ในปัจจุบันมีการเช่าหาในราคาสูงเป็นอันดับที่ ๒ รองลงมา พระที่ว่านั้นได้แก่ กริ่งคลองตะเคียน นั่นเอง
ที่อยากจะเขียนถึงพระกรุนี้ ไม่เพียงมีเหตุบันดาลใจจากเรื่องราคาแค่ประการเดียวเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับเรื่องอื่นๆ อีกอย่างน้อย ๒ ข้อ กล่าวคือ
ข้อแรกพระกรุนี้มีการสร้างล้อพิมพ์อย่างหลากหลาย เท่าที่นึกได้ตอนนี้ก็อย่างเช่น หลวงพ่อเนียม วัดน้อย หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว ( สุพรรณบุรี ) หลวงพ่อกลึง วัดคูยาง ( กำแพงเพชร ) เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ย่อมหมายความว่า บรรดาพระเกจิอาจารย์เหล่านี้ต้องมีความเลื่อมใสในพระกรุดังกล่าวอย่างมาก หรือหากจะกล่าวให้ชัดแต่ละองค์คงทราบประวัติ หรืออาจเคยประจักษ์ในอิทธิคุณมาก่อนหน้า
ข้อต่อมาได้แก่กรณีที่แม้จะมีคนเขียนถึงพระกรุนี้กันมาก หากแต่ดูเหมือนยิ่งอ่านก็ยิ่งสับสนไปใหญ่ เพราะแต่ละรายต่างก็เขียนไปคนละทางสองทาง อย่างเช่นรายหนึ่งเขียนว่า “ ในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หลวงพ่อเลื่อง สุสีโล เจ้าอาวาส ได้สืบทอดตำราการสร้างพระกริ่งต่อมาจนถึงสมัยหลวงพ่อม่วง ซึ่งนอกจากจะสร้างพระกริ่งคลองตะเคียนแล้ว ยังสร้างพระเปิมพระรอดเนื้อผงเข้าดินดิบอีกด้ว ย”
แต่ขณะเดียวกันก็วิเคราะห์วิจารณ์เกี่ยวกับพระกรุนี้ว่า เหตุที่มีการจารยันต์ไว้ด้านหลังนั้นเป็นเพราะในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาบ้านเมืองไม่สงบ มีการรบราฆ่าฟันกัน ผู้สร้างพระจึงต้องการให้นำไปใช้ป้องกันตัว
เขียนแบบนี้จะไม่ให้สับสนอย่างไรได้ ในเมื่อทั้ง หลวงพ่อเลื่อง สีลวฑฺฒโน (ไม่ใช่ “ สุสีโล ” ) และ หลวงพ่อม่วง ( ฉายา “ พุทฺธสโร ” ) ล้วนเป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ทรงธรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่กลับกล่าวว่า พระกริ่งคลองตะเคียน สร้างในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อแจกทหาร ) ยิ่งกว่านั้นยังอุปโลกน์ให้หลานของลูกศิษย์เป็นผู้สืบทอดตำรา ( ต่อมาจนถึงองค์ที่เป็นอาจารย์ของอาจารย์อีกที ) ทำให้คนที่มีโอกาสได้อ่านหลงเชื่อตาม เพราะเห็นว่ารู้ลึกทั้งเรื่องฉายาและพระที่สร้างรุ่นราวคราวเดียวกัน
ส่วนผู้รู้อีกท่านเขียนว่า “ สันนิษฐานกันว่าสร้างโดยเกจิสำนักวัดประดู่ทรงธรรม ” แต่ก็ไม่ได้อธิบายรายละเอียดหรือวิเคราะห์วิจารณ์อะไรในประเด็นนี้ เพราะดูเหมือนต้องการจะเน้นไปที่เรื่องการจำแนกแจกแจงด้านพิมพ์เป็นหลัก ซึ่งหากจะว่าไปส่วนใหญ่มักทราบกันดีโดยเฉพาะในหมู่ผู้นิยมสะสมพระเครื่องของเมืองอยุธยาอยู่แล้ว แต่เรื่องที่หลายคนปรารภว่าอยากอ่านมากกว่า คือความเป็นมาหรือประวัติของพระกรุนี้
ในฐานะที่เป็นคนละแวกเวียงเหล็กซึ่งอยู่ไม่ห่างจากคลองตะเคียนเท่าไหร่ จึงใคร่จะลองเขียนเรื่องนี้ดูสักครั้งแล้วกัน แม้จะไม่ขั้นสว่างกระจ่างใจนักก็ขอให้ถือเสียว่า อย่างน้อยก็ยังดีกว่าทนอ่านเรื่อง พระกริ่งคลองตะเคียน ซ้ำๆ ซากๆ เนื่องจากไม่ค่อยมีใครยอมลงทุนออกมาศึกษาค้นคว้าถึงแหล่ง ได้แต่แสดงตนเป็นผู้รู้อยู่ในหน้าหนังสือหรือหน้าเว็บไซต์อย่างเดียว
โดยในลำดับแรกนี้ขอกล่าวถึง คลองตะเคียน ก่อน จากนั้นจึงค่อยว่ากันเรื่องพระอีกที คลองนี้แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา (สายใหม่) ตรงด้านใต้เกาะเมือง ( ซึ่งเรียกกันว่า บ้านญวน ) มาบรรจบกับแม่น้ำสายเดิมที่บ้านตะเกี่ย ( ใต้วัดพนัญเชิง ) ลงไป ในหลักฐานเก่าไม่ได้ชื่อคลองตะเคียนเหมือนปัจจุบัน แต่เรียกกันว่า “ คลองขุนลครไชย ” หรือ “ คลองขุนนครไชย ” เป็นส่วนมาก
เหตุที่เปลี่ยนชื่อนั้นเล่ากันว่า เนื่องมาจากปากคลองด้านใต้มีต้นตะเคียนใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกกันว่า คลองตะเคียน ตามชื่อต้นไม้ แต่ในหลักฐานของชาวฝรั่งเศสเรียก คลองน้ำยา ซึ่งไม่แน่ว่าเนื่องมาจากเข้าใจผิดหรืออย่างไร เพราะไปซ้ำกับชื่อของอีกคลองหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับวัดบรมวงศ์ฯ ) เล่ากันว่าที่เรียกอย่างนั้นก็เพราะหมู่บ้านนี้ขึ้นชื่อเรื่องทำน้ำยา ( ส่วนที่ อ.เสนา ถนัดเรื่องทำขนมจีนซึ่งเป็นของคู่กัน )
อย่างไรก็ดีเรื่องชื่อเดิมของคลองนี้เข้าใจว่า น่าจะเกี่ยวเนื่องกับ ขุนลครไชย คนใดคนหนึ่งในสมัยโบราณ ด้วยปรากฏหลักฐานอยู่ใน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ว่า นามนี้มีตำแหน่งเป็น ขุนดาบ ( คู่กับขุนราชศักดิ์ ) ในกรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย ( ส่วนขุนดาบในกรมพระตำรวจใหญ่ขวา มีนามว่า ขุนราชอาษา และ ขุนเดโชไชย ) หรือหากจะให้แคบเข้ามาก็ต้องกล่าวว่า หากไม่ใช่ ขุนลครไชย คนใดคนหนึ่งเป็นหัวหน้าขุดคลองนี้ ก็ต้องมีบ้านเรือนอยู่ในคลองที่ว่าเป็นแน่
แม้จะเป็นคลองนอกพระนครก็ตามที แต่มีหลักฐานที่ชวนให้เข้าใจได้ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตราบกระทั่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งสองฝั่งของคลองนี้น่าจะมีบ้านเรือนปลูกอยู่อย่างหนาแน่นตลอดสาย ส่วนหนึ่งเป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ อีกส่วนหนึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายแขกนับถือศาสนาอิสลาม ดังมีความปรากฏใน “ นิราศพระบาท ” ของ สุนทรภู่ ตอนหนึ่งว่า
“ ถึงเกาะพระที่ระยะสำเภาล่ม
เภตราจมอยู่ในแควกระแสไหล
ถึงเกาะเรียนโอ้เรียมยิ่งเกรียมใจ
ที่เพื่อนไปเขาก็โจษกันกลางเรือ
ว่าคุ้งหน้าท่าเสือข้ามกระแส
พี่แลแลหาเสือไม่เห็นเสือ
ถ้ามีจริงก็จะวิ่งลงจากเรือ
อุทิศเนื้อให้เป็นภักษ์พยัคฆา
ไม่เคยตายเขาบ่ายนาวาล่อง
เข้าในคลองตะเคียนให้โหยหา
ระยะย่านบ้านช่องในคลองมา
ล้วนภาษาพวกแขกตะนีอึง
ดูหน้าตาก็ไม่น่าจะชมชื่น
พี่แข็งขืนอารมณ์ทำก้มขึง
ที่เพื่อนเราร้องหยอกกันออกอึง
จนเรือถึงปากช่องคลองตะเคียน
เห็นวัดวาอารามตามตลิ่ง
ออกแจ้งจริงเหลือจะจำในคำเขียน
พระเจดีย์ดูกลาดคาษเดียร
การเปรียญโบสถ์กุฏิ์ชำรุดพัง
ถึงวัดธารมาใหม่ใจระย่อ
ของพระหน่อสุริย์วงศ์พระวังหลัง
อุตส่าห์ทรงศรัทธามาประทัง
อารามรั้งหรือมาง่ามอร่ามทอง
สังเวชวัดธารมาที่อาศัย
ถึงสร้างใหม่ชื่อยังธารมาหมอง
เหมือนทุกข์พี่ถึงจะมีจินดาครอง
มงกุฎทองสร้อยสะอิ้งมาใส่กาย
อันตัวงามยามนี้ก็ตรอมอก
แสนวิตกมาตามแควกระแสสาย
ถึงคลองสระปทุมานาวาราย
น่าใจหายเห็นศรีอยุธยา
ทั้งวังหลวงวังหลังก็รั้งรก
เห็นนกหกซ้อแซ้บนพฤกษา
ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา
ดั่งป่าช้าพงชัฏสงัดคน ”
เหตุผลที่คัดมาอย่างยืดยาวไม่ใช่อะไร เพราะอยากให้คนที่ไม่รู้จัก คลองตะเคียน มองภาพออกว่า ถ้ามาจากกรุงเทพฯคลองนี้จะอยู่ด้านซ้าย ( เหนือเกาะพระและบ้านเสือข้าม ) ครั้นเลี้ยวเข้าปากคลองด้านใต้ไปเรื่อยๆ จะโผล่ที่ปากคลองด้านเหนือ ( ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับเกาะเมือง )
เรื่องเรือ “ สุนทรภู่ ” เลี้ยวเข้า คลองตะเคียน นี้ อาจมีบางคนสงสัยว่าในเมื่อจุดหมายปลายทางอยู่ที่พระพุทธบาท แต่ทำไมจึงไม่ตรงไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนออกจากคลองที่ว่ายังเลี้ยวซ้ายขึ้นไปทางเหนือ แทนที่จะเลี้ยวขวาล่องลงมาตามลำแม่น้ำใหญ่ เพราะการไปพระพุทธบาทในสมัยนั้น เส้นทางสำคัญ ( ช่วงปลาย ) คือแม่น้ำป่าสัก ( ซึ่งไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาตรงหน้าวัดพนัญเชิง )
ประเด็นนี้หากจะให้เข้าใจง่ายๆ คงต้องย้อนไปกล่าวถึงความเป็นมาเสียก่อนกล่าวคือ ในช่วงที่แต่งนิราศพระบาทนี้ท่านมีฐานะเป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ( ซึ่งทรงผนวชอยู่วัดบางหว้าใหญ่หรือวัดระฆังฯ ) เนื่องจากเจ้านายองค์นี้ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท ( สระบุรี ) สุนทรภู่ จึงมีหน้าที่ต้องตามเสด็จไปด้วยคนหนึ่ง และในระหว่างที่เดินทางไปนั้นท่านได้แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นมา ( นัยว่าปีที่แต่งคือ พ.ศ.๒๓๕๐ หรือหลังจากเสียกรุงราว ๔๐ ปี )
เจ้านายองค์นี้ทรงเป็นโอรสของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ( หรือที่ สุนทรภู่ เรียกในนิราศว่า “ พระวังหลัง ” ) ซึ่งถือเป็นองค์แรกและองค์เดียวในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะหลังจากนั้นไม่ได้ทรงสถาปนาองค์ใดให้ทรงดำรงตำแหน่งนี้ คงมีแต่ “ พระวังหน้า ” รวม ๕ รัชกาลด้วยกัน ( ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโปรดฯให้ปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร แทน และถือเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาตราบปัจจุบัน องค์แรกนั้นได้แก่ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ( พระราชปิตุลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) องค์ที่ 2 ได้แก่ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ( พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ) และองค์ที่ 3 ได้แก่ เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ )
แม้ตอนที่เขียนเรื่อง พระขุนแผน ( กรุ ) วัดใหญ่ฯ จะได้เอ่ยถึงพระประวัติของ กรมพระราชวังหลัง องค์นี้ไปบ้างแล้ว แต่ในที่นี้เห็นทีต้องนำมากล่าวซ้ำอีกครั้ง เพราะหวังจะให้เข้าใจถึงเหตุผลที่ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ทรงโปรดฯให้ขบวนเรือเลี้ยวเข้า คลองตะเคียน มุ่งขึ้นไปยัง วัดธรรมาราม ( หรือที่ สุนทรภู่ เรียก วัดธรมา ) โดยขอเริ่มต้นว่า วังหลัง องค์นี้ทรงมีนามเดิมชื่อ ทองอิน เป็นบุตรของ พระอินทรรักษา (เสม) เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ฝ่ายพระราชวังบวร ( สมัย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง ทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชหรือ วังหน้า) กับ คุณสา ( หรือที่ภายหลังโปรดสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี )
สำหรับ หม่อมเสม ( หรือพระอินทรรักษา ) เป็นบุตร พระยากลาโหมราชเสนา ( สาย ) อธิบดีฝ่ายกลาโหมกรมพระราชวังบวร ( สมัย เจ้าฟ้าเพชร ทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชหรือ “ วังหน้า ” หรือที่ต่อมาเรียกขานกันในพระนาม สมเด็จพระเจ้า ( อยู่หัว ) ท้ายสระ ) เจ้าคุณกลาโหมฯท่านนี้มีนิวาสสถานอยู่ใกล้วัดธรรมาฯ และทั้งบุตรและหลานที่ว่าก็น่าเกิดและพักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังนี้ตราบกระทั่งเสียกรุง
ดังนั้น วัดธรรมาฯจึงถือได้ว่าเป็นวัดของตระกูลนี้ ภายหลังจากที่ ท่านทองอิน ได้รับยศศักดิ์ในรัชกาลที่ ๑ จึงได้ย้อนกลับมาเป็นเจ้าภาพในการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ จนทำให้พลิกฟื้นคืนดีตราบจนปัจุบัน ( เพราะก่อนหน้านั้นได้รับผลกระทบจากศึกสงครามจนกลายเป็นวัดร้าง ( หรือที่ สุนทรภู่ ใช้คำว่า “ รั้ง ” ) อยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพระโอรสเสด็จผ่านเมืองกรุงเก่าในคราวนั้น จึงทรงถือโอกาสแวะไปเยี่ยมวัดและพระประยูรญาติฝ่ายพระบิดาด้วยประการฉะนี้
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..
![]() |
พระกริ่งคลองตะเคียนซึ่งนิยมเรียกกันว่า พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก เนื้อค่อนข้างดำเป็นมัน (องค์นี้ส่วนบนเป็นปลีเรียวแหลม) |
ที่อยากจะเขียนถึงพระกรุนี้ ไม่เพียงมีเหตุบันดาลใจจากเรื่องราคาแค่ประการเดียวเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับเรื่องอื่นๆ อีกอย่างน้อย ๒ ข้อ กล่าวคือ
ข้อแรกพระกรุนี้มีการสร้างล้อพิมพ์อย่างหลากหลาย เท่าที่นึกได้ตอนนี้ก็อย่างเช่น หลวงพ่อเนียม วัดน้อย หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว ( สุพรรณบุรี ) หลวงพ่อกลึง วัดคูยาง ( กำแพงเพชร ) เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ย่อมหมายความว่า บรรดาพระเกจิอาจารย์เหล่านี้ต้องมีความเลื่อมใสในพระกรุดังกล่าวอย่างมาก หรือหากจะกล่าวให้ชัดแต่ละองค์คงทราบประวัติ หรืออาจเคยประจักษ์ในอิทธิคุณมาก่อนหน้า
ข้อต่อมาได้แก่กรณีที่แม้จะมีคนเขียนถึงพระกรุนี้กันมาก หากแต่ดูเหมือนยิ่งอ่านก็ยิ่งสับสนไปใหญ่ เพราะแต่ละรายต่างก็เขียนไปคนละทางสองทาง อย่างเช่นรายหนึ่งเขียนว่า “ ในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หลวงพ่อเลื่อง สุสีโล เจ้าอาวาส ได้สืบทอดตำราการสร้างพระกริ่งต่อมาจนถึงสมัยหลวงพ่อม่วง ซึ่งนอกจากจะสร้างพระกริ่งคลองตะเคียนแล้ว ยังสร้างพระเปิมพระรอดเนื้อผงเข้าดินดิบอีกด้ว ย”
แต่ขณะเดียวกันก็วิเคราะห์วิจารณ์เกี่ยวกับพระกรุนี้ว่า เหตุที่มีการจารยันต์ไว้ด้านหลังนั้นเป็นเพราะในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาบ้านเมืองไม่สงบ มีการรบราฆ่าฟันกัน ผู้สร้างพระจึงต้องการให้นำไปใช้ป้องกันตัว
![]() |
พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก เนื้อสีดำอมน้ำตาล (องค์นี้ส่วนบนโค้งมน คล้ายพระสกุลลำพูน) |
![]() |
พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก เนื้อสีดำอมน้ำตาล (องค์นี้ส่วนบนโค้งมน คล้ายพระสกุลลำพูนเช่นกัน) |
![]() |
พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่ เนื้อดิน |
ในฐานะที่เป็นคนละแวกเวียงเหล็กซึ่งอยู่ไม่ห่างจากคลองตะเคียนเท่าไหร่ จึงใคร่จะลองเขียนเรื่องนี้ดูสักครั้งแล้วกัน แม้จะไม่ขั้นสว่างกระจ่างใจนักก็ขอให้ถือเสียว่า อย่างน้อยก็ยังดีกว่าทนอ่านเรื่อง พระกริ่งคลองตะเคียน ซ้ำๆ ซากๆ เนื่องจากไม่ค่อยมีใครยอมลงทุนออกมาศึกษาค้นคว้าถึงแหล่ง ได้แต่แสดงตนเป็นผู้รู้อยู่ในหน้าหนังสือหรือหน้าเว็บไซต์อย่างเดียว
![]() |
พระกริ่งคลองตะเคียน เนื้อสีดำ |
เหตุที่เปลี่ยนชื่อนั้นเล่ากันว่า เนื่องมาจากปากคลองด้านใต้มีต้นตะเคียนใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกกันว่า คลองตะเคียน ตามชื่อต้นไม้ แต่ในหลักฐานของชาวฝรั่งเศสเรียก คลองน้ำยา ซึ่งไม่แน่ว่าเนื่องมาจากเข้าใจผิดหรืออย่างไร เพราะไปซ้ำกับชื่อของอีกคลองหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับวัดบรมวงศ์ฯ ) เล่ากันว่าที่เรียกอย่างนั้นก็เพราะหมู่บ้านนี้ขึ้นชื่อเรื่องทำน้ำยา ( ส่วนที่ อ.เสนา ถนัดเรื่องทำขนมจีนซึ่งเป็นของคู่กัน )
![]() |
พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่ไหล่ยก |
แม้จะเป็นคลองนอกพระนครก็ตามที แต่มีหลักฐานที่ชวนให้เข้าใจได้ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตราบกระทั่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งสองฝั่งของคลองนี้น่าจะมีบ้านเรือนปลูกอยู่อย่างหนาแน่นตลอดสาย ส่วนหนึ่งเป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ อีกส่วนหนึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายแขกนับถือศาสนาอิสลาม ดังมีความปรากฏใน “ นิราศพระบาท ” ของ สุนทรภู่ ตอนหนึ่งว่า
“ ถึงเกาะพระที่ระยะสำเภาล่ม
![]() |
สภาพคลองตะเคียนช่วงใต้วัดโคกจินดาราม (ซึ่งเป็นอีกกรุหนึ่งที่มีผู้พบพระดังกล่าว) |
ถึงเกาะเรียนโอ้เรียมยิ่งเกรียมใจ
ที่เพื่อนไปเขาก็โจษกันกลางเรือ
ว่าคุ้งหน้าท่าเสือข้ามกระแส
พี่แลแลหาเสือไม่เห็นเสือ
ถ้ามีจริงก็จะวิ่งลงจากเรือ
อุทิศเนื้อให้เป็นภักษ์พยัคฆา
ไม่เคยตายเขาบ่ายนาวาล่อง
เข้าในคลองตะเคียนให้โหยหา
ระยะย่านบ้านช่องในคลองมา
ล้วนภาษาพวกแขกตะนีอึง
ดูหน้าตาก็ไม่น่าจะชมชื่น
พี่แข็งขืนอารมณ์ทำก้มขึง
ที่เพื่อนเราร้องหยอกกันออกอึง
จนเรือถึงปากช่องคลองตะเคียน
เห็นวัดวาอารามตามตลิ่ง
![]() |
สภาพคลองตะเคียนช่วงใกล้ปากคลองด้านใต้ (ซึ่งบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา) |
พระเจดีย์ดูกลาดคาษเดียร
การเปรียญโบสถ์กุฏิ์ชำรุดพัง
ถึงวัดธารมาใหม่ใจระย่อ
ของพระหน่อสุริย์วงศ์พระวังหลัง
อุตส่าห์ทรงศรัทธามาประทัง
อารามรั้งหรือมาง่ามอร่ามทอง
สังเวชวัดธารมาที่อาศัย
ถึงสร้างใหม่ชื่อยังธารมาหมอง
เหมือนทุกข์พี่ถึงจะมีจินดาครอง
มงกุฎทองสร้อยสะอิ้งมาใส่กาย
อันตัวงามยามนี้ก็ตรอมอก
แสนวิตกมาตามแควกระแสสาย
ถึงคลองสระปทุมานาวาราย
น่าใจหายเห็นศรีอยุธยา
ทั้งวังหลวงวังหลังก็รั้งรก
เห็นนกหกซ้อแซ้บนพฤกษา
ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา
ดั่งป่าช้าพงชัฏสงัดคน ”
เหตุผลที่คัดมาอย่างยืดยาวไม่ใช่อะไร เพราะอยากให้คนที่ไม่รู้จัก คลองตะเคียน มองภาพออกว่า ถ้ามาจากกรุงเทพฯคลองนี้จะอยู่ด้านซ้าย ( เหนือเกาะพระและบ้านเสือข้าม ) ครั้นเลี้ยวเข้าปากคลองด้านใต้ไปเรื่อยๆ จะโผล่ที่ปากคลองด้านเหนือ ( ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับเกาะเมือง )
![]() |
พระกริ่งคลองตะเคียน เนื้อดิน สีดำ |
![]() |
พระกริ่งคลองตะเคียน เนื้อสีแดง |
เจ้านายองค์นี้ทรงเป็นโอรสของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ( หรือที่ สุนทรภู่ เรียกในนิราศว่า “ พระวังหลัง ” ) ซึ่งถือเป็นองค์แรกและองค์เดียวในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะหลังจากนั้นไม่ได้ทรงสถาปนาองค์ใดให้ทรงดำรงตำแหน่งนี้ คงมีแต่ “ พระวังหน้า ” รวม ๕ รัชกาลด้วยกัน ( ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโปรดฯให้ปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร แทน และถือเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาตราบปัจจุบัน องค์แรกนั้นได้แก่ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ( พระราชปิตุลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) องค์ที่ 2 ได้แก่ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ( พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ) และองค์ที่ 3 ได้แก่ เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ )
![]() |
สภาพปากคลองคูจามด้านใต้ซึ่งบรรจบกับคลองตะเคียน ในท้องที่หมู่ 11 ต.คลองตะเคียน (จุดบรรจบกับคลองตะเคียน เหลือร่องรอยเป็นลำรางอยู่ตรงโคนต้นมะพร้าว) |
![]() |
สภาพคลองตะเคียนช่วงใกล้กับบริเวณ อันเป็นที่ตั้งมัสยิดกุฎีช่อฟ้า |
ดังนั้น วัดธรรมาฯจึงถือได้ว่าเป็นวัดของตระกูลนี้ ภายหลังจากที่ ท่านทองอิน ได้รับยศศักดิ์ในรัชกาลที่ ๑ จึงได้ย้อนกลับมาเป็นเจ้าภาพในการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ จนทำให้พลิกฟื้นคืนดีตราบจนปัจุบัน ( เพราะก่อนหน้านั้นได้รับผลกระทบจากศึกสงครามจนกลายเป็นวัดร้าง ( หรือที่ สุนทรภู่ ใช้คำว่า “ รั้ง ” ) อยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพระโอรสเสด็จผ่านเมืองกรุงเก่าในคราวนั้น จึงทรงถือโอกาสแวะไปเยี่ยมวัดและพระประยูรญาติฝ่ายพระบิดาด้วยประการฉะนี้
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1071 กริ่งคลองตะเคียน พระกรุที่มีการสร้างล้อพิมพ์อย่างหลากหลาย ตอนที่ 1 ปักษ์หลัง เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ราคาปก 60 บาท )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..