ภาพและเรื่องโดย หนุ่ม สุพรรณฯ
เมืองสุพรรณฯ นามว่า “ เมืองทอง ” มากมายไปด้วยพระกรุโด่งดัง นอกจากนั้นยังมีพระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังไม่ขาดสาย เหมือนสายน้ำที่หลั่งไหลไม่มีวันหยุด เหมือนคลื่นลูกหลังที่ไล่ตามคลื่นลูกแรกไม่มีวันจบ แน่นอนว่าเมืองที่อุดมไปด้วยพระกรุยอดนิยม หากว่าถ้าท่าน “ ไม่เก่งจริง ” ก็คงจะเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะโด่งดัง เราได้ประจักษ์ชัดแล้วว่าอดีตกาลที่ผ่านมา กว่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นพระเกจิเมือง สุพรรณฯ ล้วนใช้ประสบการณ์เป็นบทพิสูจน์กันแทบทั้งสิ้น
ต่อจากนี้คือความภาคภูมิใจในการนำเสนอ “ เพชรเม็ดงามแห่งยุคสมัย ” หลังจากพระเกจิเมือง สุพรรณฯ สมัยหลังๆ ได้ขาดช่วง หรืออ่อนด้อยในรสชาติที่ขาดความเข้มข้น ( ด้วยประสบการณ์ ) มายาวนานหลายปี ทั้งๆ ที่ความจริงนั้นพระเถรานุเถระท่านนี้ควรจะเป็นที่รู้จักมาช้านาน หากถ้าไม่ติดที่ “ ความถ่อมตน ” ขององค์ท่าน ( ที่ไม่ยอมให้หนังสือพระฉบับใดนำประวัติไปเผยแพร่ ) ด้วยเหตุผลของท่านง่ายๆ แต่ยิ่งใหญ่ในความหมายดังที่เกริ่นกล่าวไว้ในเบื้องต้นว่า “ เมื่อถึงเวลา ผู้คนจะมาหาท่านเอง ”
ด้วยความเมตตาจากบุคลากรผู้เสียสละอย่าง “ อาจารย์อุดม บูรณพานิช ” ผู้รวบรวมประวัติของพระเดชพระคุณท่านมายาวนานกว่า 38 ปี ได้เปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าผู้เขียนได้ใช้ข้อมูลนั้นเรียบเรียงเพื่อเผยแพร่ต่อไป มิใช่เพื่อให้ได้มาซึ่งความโด่งดัง มิใช่ด้วยหวังอามิสสิ้นจ้างหรือรางวัล แต่ด้วยพลังศรัทธาเพียงประการเดียวประการ ด้วยเนื่องจากผู้เขียนได้พบ “ ความดี ” ของท่านประจักษ์แก่ตา แจ้งแก่หัวใจ โดยสมบูรณ์ ซึ่งความดีเช่นนี้ต่อไปจะกลายเป็นความขลัง และมุ่งสู่ความโด่งดังเพียงสถานเดียว งานเขียนของข้าพเจ้าจึงหวังเพียงเพื่อให้เป็นไปตามคำที่ว่า “ ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน ” และไม่ว่าจะด้วยเหตุและผลใด ตั้งแต่ช่วงแรกจนถึงช่วงสุดท้าย ท่านจะได้รับรู้ว่า ท่านกำลังอ่านประวัติพระเถระผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยอย่างแท้จริง
หลวงพ่อสมบุญ ปิยธมโม เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พุทธศักราช 2465 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เป็นคนไทย เชื้อสายลาว ภูมิลำเนาอยู่ที่บ้าน หนองอีเงิน ต.ห้วยขมิ้น อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ( ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.ด่านช้าง ) โยมบิดาชื่อ คำ โยมมารดาชื่อ ถิน นามสกุล ชมชื่น อาชีพทำไร่ ทำนา มีพี่น้องทั้งสิ้น 6 คน หลวงพ่อเป็นบุตรคนโต มีน้องชายอีก 2 คน และน้องสาวอีก 3 คน
ในวัยเด็กได้เรียนหนังสือกับพระที่ วัดวังกุ่ม ต.ห้วยขมิ้น เป็นระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ปี เหตุที่ไม่ได้เรียนหนังสือคือ สืบเนื่องจากท่านมีภาระต้องแบ่งเบา จึงต้องละทิ้งการเรียนเพื่อช่วยครอบครัวประกอบอาชีพในฐานะพี่ชายคนโต
ล่วงถึงพุทธศักราช 2485 พระเดชพระคุณหลวงพ่อมีอายุครบ 20 ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทตามประเพณีที่ วัดป่าสะแก มี พระครูวิสิทธิ์สิทธิการ (อาจารย์เพชร) เป็นพระอุปัชฌาย์ จำพรรษาที่วัดป่าสะแกประมาณ 2 พรรษา จึงย้ายไปจำพรรษาที่วัดต่างๆ ในละแวกนั้นอีก 4 สำนัก คือ วัดดอนมะเกลือ 2 พรรษา วัดวังคัน 3 พรรษา วัดวังกุ่ม 2 พรรษา และวัดดอนเก้าอีก 2 พรรษา จากนั้นจึงกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนมะเกลือเมื่อปี 2498 รวมระยะเวลาในการจาริกจำพรรษายังอารามต่างๆ ประมาณ 13 พรรษาเศษ
ชีวิตของหลวงพ่อดูท่าจะรุ่งเรืองในร่มเงาของผ้ากาสาวพัสตร์ หากแต่เป็นด้วยภาระทางครอบครัว เมื่อเห็นว่าท่านบวชนานจนสมควรแก่เวลา ญาติพี่น้องจึงขอร้องให้ลาสิกขา หลังจากครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนมะเกลือได้เพียงแค่ 2 ปี
เนื่องจากโยมบิดาและโยมมารดาเริ่มเข้าวัยชรา ทำให้ท่านผู้ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตของตระกูลมีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาเพื่อดูแลครอบครัว ล่วงเข้าปีพุทธศักราช 2499 หลวงพ่อสมบุญ จึงจำต้องลาสิกขาออกมาสู่เพศฆราวาส เมื่อลาสิกขาออกมาโยมมารดาของท่านเกรงว่าลูกชายจะหนีไปบวชอีกครั้ง จึงจัดการให้ท่านแต่งงานกับ นางสาวสุวรรณ สะราคำ ผู้ซึ่งเป็นลูกสาว นายดิน-นางแก้ว สะราคำ ชาวบ้านดอนมะเกลือ ต.ป่าสะแก เมื่อแต่งงานมีครอบครัวแล้วได้ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ช่วยบิดา-มารดาอยู่ไม่นาน จึงย้ายนิวาสสถานมาเปิดกิจการขายของที่บ้านทับละคร เขต อ.ด่านช้าง ครั้นเมื่อย้ายมาอยู่บ้านทับละครได้ประมาณ 6 เดือน นางสุวรรณผู้เป็นภรรยาได้ถึงแก่กรรม เนื่องจากไข้ป่าที่แทรกซ้อนมาจากการคลอดบุตร เมื่อภรรยาเสียชีวิตท่านจึงยกลูกสาววัยแบเบาะให้ญาติฝ่ายภรรยาอุปการะ แล้วหันหลังให้โลกวิสัย ตั้งใจบวชจนตายคาผ้าเหลือง ส่วนลูกสาวคนเดียวของท่านเมื่อลืมตาดูโลกอยู่ได้ประมาณ 4 เดือนก็เสียชีวิต ทำให้ท่านหมดสิ้นซึ่งห่วงร้อยรัดตัดสิ้นในทางโลกโดยสิ้นเชิง หลวงพ่อจึงหวนกลับสู่เพศบรรพชิตอีกครั้งหลังจากที่ลาสิกขาออกไปได้เพียงแค่ 1 ปี กับ 3 เดือน
ต้นปีพุทธศักราช 2501 เสร็จสิ้นงานฌาปนกิจศพนางสุวรรณผู้เป็นภรรยา พระเดชพระคุณหลวงพ่อจึงเข้าสู่พัทธสีมาอีกครั้ง มี พระอธิการกัณหา* วัดป่าสะแก เป็นพระอุปัชฌาย์ (*ภายหลังได้รับสมณศักดิ์ที่ พระครูสุขุมวิหารการ เจ้าคณะตำบลป่าสะแก )
ภายหลังจากอุปสมบทแล้วได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดวังคอไห 1 พรรษา ย้ายไปวัดดอนมะเกลือ 2 พรรษา แล้วย้ายกลับมาอยู่วัดป่าสะแกอีก 4 พรรษา จนล่วงถึงพุทธศักราช 2507 ( หลังจากอุปสมบทได้ 7 พรรษา ) จึงรับอาราธนามารักษาการเจ้าอาวาส วัดลำพันบอง เขต อ.หนองหญ้าไซ จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2511 รับภาระดูแลปกครอง วัดลำพันบอง จนรุ่งเรืองตราบจนปัจจุบัน นับได้ 49 ปีบริบูรณ์
กิจวัตรที่กระทำมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงวัยชราคือ การปัดกวาดลานวัด เมื่อถึงเวลาเย็นท่านจะเดินถือเสียมประจำตัวลงมานั่งยองๆ เพื่อถากหญ้าอยู่กลางลานวัด เป็นที่ชินตามาอย่างยาวนาน มีเรื่องขำขันเล่ากันว่า เมื่อสาธุชนบ้านไกลมาหาท่าน ครั้นพอเห็นหลวงตาแก่ๆ รูปหนึ่งนั่งก้มหน้าก้มตาถือเสียมถากหญ้าอยู่กลางลานวัด จึงเอ่ยปากถามถึง หลวงพ่อสมบุญ ว่าอยู่ ( บนกุฏิ ) หรือไม่ ท่านเฉไฉแกล้งตอบไปว่า “ บ่ อยู่ ดอก หลวงพ่อสมบุญ บ่ อยู่ ท่านบ่ว่าง ” พอเสร็จสิ้นภารกิจท่านก็เดินถือเสียมตามโยมขึ้นไป เสร็จสรรพก็เข้าไปนั่งรับแขกยังอาสนะในนาม หลวงพ่อสมบุญ ตามเดิม เป็นที่ขำขันกันในหมู่ลูกศิษย์ใกล้ไกลมาโดยตลอด
พระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นพระเถระผู้มากด้วยคุณธรรม มโนธรรม ละโลภ โกรธหลงได้อย่างวิเศษ สมกับคำนำหน้าที่ข้าพเจ้าของแต่งเติมเสริมเป็นสร้อยทินนามด้วยคำว่า “ พระเดชพระคุณ ” กล่าวคือ ประกอบด้วย “ พระเดช ” อันยิ่งยงด้วยการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และปฏิบัติตรง ดำรงตั้งมั่นอยู่ใน ฌานอภิญญา ประกอบกับสรรพวิชาพุทธาคมที่ร่ำเรียนมาจากครูอาจารย์ ก่อเกิดคำว่า ความเข้มขลัง ทางเวทมนต์ อันจะกล่าวถึงในช่วงต่อไป
สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคำว่าพระเดช นั่นคือคำว่า “ พระคุณ ” ซึ่ง หลวงพ่อสมบุญ ได้ถือสงเคราะห์เหมาะสมกับคำว่า “ พระคุณ ” เป็นที่สุด ซึ่งคำนี้เองที่ทำให้คุณธรรมวิเศษที่ปรากฏในดวงจิต มีความสว่างไสว หนักแน่นมั่นคง ทรงความแก่กล้า ด้วยท่านละความโลภโดยสิ้นเชิง กล่าวกันว่า ใครผู้ใดก็ตามถ้ากล้าขอ รับรองได้ว่า จะไม่มีวันได้รับการปฏิเสธจากปากพระเดชพระคุณหลวงพ่อแม้แต่คำเดียว ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเลวร้ายมาจากที่ใดก็ตาม ว่ากันว่าผู้ที่ได้รับจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อไปมากที่สุดนั้น แท้จริงไม่ใช่ศิษย์ใกล้ชิด ไม่ใช่คนสนิท แต่เป็นคนที่กล้าขอ เรียกได้ว่าใครก็ตามที่ “ ขอมาก ” หรือ “ เอ่ยปากขอบ่อยๆ ” ย่อมได้จากหลวงพ่อมากพอๆ กับความกล้าของบุคคลนั้น เท่าที่รับฟังจากปากชาวบ้านย่านนั้นล้วนกล่าวตรงกันว่า ไม่มีใครสักคนที่เอ่ยปาก “ ขอ ” หลวงพ่อแล้วจะไม่มีคำว่า “ ไม่ ” ฟังความได้ว่า ขอหมื่นก็ต้องได้หมื่น ขอแสนก็ต้องได้แสนเป็นเช่นนี้เสมอๆ “ ทาน ” ที่หลวงพ่อกระทำนอกจากจะทำได้ยากแล้วยังได้ชื่อว่า “ หาผู้ทำทานเช่นนี้ยากยิ่งนัก ” เพราะทานประเภทนี้พบได้แต่เพียงพระอริยบุคคลเท่านั้น ด้วยเป็นทานที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ไม่หวังชาตินี้หรือชาติหน้า เป็นทานที่ทำให้ผู้สละหมดสิ้นซึ่งความตระหนี่ ทานเช่นนี้จึงหมดจดงดงาม ยากจักหาใครเทียม เรื่องเงิน 4 ล้านตามคำกล่าวหาได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เป็นเงินส่วนตัวที่ท่านยกให้ ส่วนผู้ที่ได้จะนำไปทำสิ่งใด จะขาดทุนหรือกำไรท่านว่ามันเป็นกรรมของมัน
ด้วยเหตุที่ท่านไม่เคยขัดใจใคร ทั้งยังไม่เคยหวงห้ามใคร ใครของอะไรท่านให้ทั้งหมด เพียงแค่นิ่ง หรือคำว่า “ อือ ” เพียงแค่คำเดียว นี่คือ หลวงพ่อสมบุญ เนื้อนาบุญของคน สุพรรณฯ เรื่องนี้ ครูอุดม กับ ผ.อ.สวง วงษ์สุวรรณ ให้ความเห็นที่ตรงกันว่า สำหรับหลวงพ่อแล้วใครก็ได้ ล้วนแต่ได้เหมือนกัน การ “ ให้ ” เช่นนี้เหมือนการให้ทานของพระอริยเจ้า อันเป็นทานที่เราๆ ท่านๆ จะไม่มีวันได้เห็นจากพระรูปใด ( เท่าที่ทราบมีเพียง หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ เท่านั้น ที่ให้ทานแบบเดียวกันกับ หลวงพ่อสมบุญ ) เป็นไปอย่างงดงามด้วยประการฉะนี้ เป็นจริงมาอย่างยาวนานและจะเป็นเช่นนี้ตลอดกาล สมดังคำพูดตอนหนึ่งซึ่งอาจารย์อุดมบันทึกไว้ว่า “ เพิ่นคงจำเป็น ถ้าไม่เดือดร้อนเพิ่นคงไม่มาพึ่งพาพระหรอก ถ้าเฮาช่วยเหลือ คงเกิดประโยชน์ต่อเพิ่นมาก เงินหมดก็บ่เป็นหยัง เพราะเฮาเฒ่าแล้ว ตายไปก็เอาเงินติดตัวไปบ่ได้ เหลือแต่ความดีติดตัวไปก็พอ ” สาธุ กราบหลวงพ่อครั้งที่ 1 สำหรับพระผู้เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ
พระเดชพระคุณ หลวงพ่อสมบุญ เป็นพระเถระที่มีเมตตาธรรมอันสูงยิ่ง ทั้งยังเป็นผู้ถ่อมตนไม่โอ้อวดคุณวิเศษในตัวเอง ที่เด่นชัดคือประสบการณ์ในวัตถุมงคลของท่าน ล้วนแต่เป็นประจักษ์พยานยืนยันว่าท่านมีดีเกินตัว แต่ท่านชอบเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่อย่างพระธรรมดา เวลาวัตถุมงคลที่ศิษย์นำไปใช้ได้ผลในทางความขลัง รายแล้วรายเล่าย้อนกลับมากล่าวขวัญสรรเสริญให้ท่านฟัง ท่านกลับถ่อมตนจนเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะ แหวนนิ้ว ของท่านนับว่ามีประสบการณ์เรื่องอสรพิษกันมากราย ดังเช่นเหยียบงูเห่า งูจงอาง แต่ปรากฏว่างูไม่สามารถอ้าปากกัดได้ บางรายถูกงูแมวเซากัด บางรายถูกงูจงอางกัด แต่งูพิษกัดศิษย์ท่านไม่เข้า เมื่อรอดตายแล้วยังมาเล่าให้ท่านฟัง
ท่านก็พูดว่า “ งูมันบ่มีแข่ว ( ฟัน ) ไปเหยียบหัวมันไว้บ้าง งูมันตาฟางบ้าง มันจะกัดได้จังได๋ ” เมื่อครั้งที่หมูป่ากัดชาวบ้านไม่เข้าเพราะสวมแหวนของท่านที่นิ้ว ท่านก็บอกว่า
“ หมูมันเฒ่า ( แก่ ) แข่ว ( ฟัน ) มันหักบ้าง แข่วมันหร่อง ( หรอ ) จึงกัดบ่เข้า ”
ที่หนักหนายิ่งกว่าคือ มีศิษย์บางรายประพฤติตัวไม่ดี เป็นนักค้ายา ถูกเจ้าหน้าที่ยิงไม่เข้า เมื่อรอดมาได้จึงกลับมากราบที่ท่านช่วยชีวิตไว้ ศิษย์ใกล้ชิดที่ทราบความเป็นไปจึงท้วงติงในภายหลังว่า ท่านกำลังช่วยคนผิด ช่วยคนชั่วให้รอดชีวิต เพื่อเป็นภัยสังคมต่อไป เมื่อถามว่า
“ หลวงพ่อไปช่วยมันไว้ทำไม ”
ท่านก็ตอบศิษย์ไปว่า “ มันบ่ได้เขียนหนังสือติดหน้าผากไว้ว่า มันเป็นคนดีหรือเป็นคนบ่ดีนี่หว่า มันมากราบเฮา เฮาก็ให้ศีลให้พรมันไป ”
ศิษย์ที่ถามพยายามไล่ให้ท่านจนแต้ม โดยบอกว่า “ มันจะย่ามใจในภายหลัง ”
ท่านก็อธิบายว่า “ กรรมดีของมันทำไว้แต่อดีตยังคุ้มครองมันอยู่ ถ้ากรรมดีมันหมดสิ้นเมื่อไหร่ ตัวกูหรืออีหยังก็ช่วยมันบ่ได้ดอก ”
หลายครั้งที่พระเถระผู้ใหญ่หรือคณะปกครองในท้องถิ่นสอบถามถึงความขลังของหลวงพ่อ ท่านจะยิ้มน้อยๆ แล้วตอบว่า
“ วัตถุมงคลอีหยังก็สู้ความดีบ่ได้ดอก หมั่นเฮ็ดความดีไว้เถิด ความดีนี่แหละที่จะช่วยคุ้มครองเราเอง ”
เมื่อว่าด้วยการสละหรือการให้ รวมกับสติปัญญาอันสูงส่งหลวงพ่อ จึงเป็นดั่งพระผู้เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐตามหัวข้อข้างต้น เหมือนคำของท่านคำหนึ่งซึ่งหลุดจากปากระหว่างการสนทนากับ อ.สุธน ศรีหิรัญ ( บ.ก.ลานโพธิ์ ) ในช่วงหนึ่งว่า “ ถ้าไม่มีความดี ถึงอยู่เป็นร้อยปี ก็ไม่มีประโยชน์ ” กราบหลวงพ่อครั้งที่ 2 ในเมตตาธรรมอันล้นเหลือ
สิ่งที่เหลือเชื่อคือ แม้ว่าท่านจะแตกฉานในเรื่องวิชาอาคม โด่งดังในเรื่องความขลัง แต่ท่านกลับปฏิบัติตัวอย่างสว่างสะอาด ไม่มัวเมาในทางขลังอย่างน่าฉงน ไม่ตั้งตนเป็นเกจิอาจารย์ที่เอาแต่คอยดูเลขผานาทีหลับหูหลับตาตั้งท่าเพื่อว่าจะให้คนสนใจ ไม่มีการจดจารกระดานชนวนลงเลขลงยันต์ ซึ่งเราทุกคนเชื่อว่าท่านน่าจะทำได้อย่างเจนจบ แต่สิ่งที่ค้นพบกลับกลายเป็นว่า หลวงพ่อท่านก็ละวางเรื่องดังกล่าวอย่างพอดี ไม่มากไม่น้อย
นี่จึงถือเป็นสิ่งหายากกับพระที่ได้ชื่อว่า “ ดังที่สุดของเมือง สุพรรณฯ ” อีกยุคสมัยหนึ่ง ยุคสมัยที่คนส่วนใหญ่อยากดี อยากเด่น และอยากดังกันทั้งบ้านทั้งเมือง ที่น่าคิดอีกประการคือ เมื่อมีศิษย์หนุ่มๆ มาขอฤกษ์แต่งงาน แทนที่จะถามวันเดือนปีเกิด ฤกษ์บน ฤกษ์ล่าง แต่ท่านกลับถามว่า “ พร้อมหรือยัง มีตังค์แล้วบ่ ผู้หญิงฮักเองบ่ ” ถ้าลูกศิษย์ตอบว่าพร้อมทุกอย่างครับ ท่านจะตอบว่า “ ฤกษ์ดีทุกมื้อ ถ้าเอ็งบ่พร้อม มื้อไหนก็บ่ดี ” กราบหลวงพ่อเป็นครั้งที่ 3 ที่ให้สติปัญญา
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..
![]() |
Add caption |
ต่อจากนี้คือความภาคภูมิใจในการนำเสนอ “ เพชรเม็ดงามแห่งยุคสมัย ” หลังจากพระเกจิเมือง สุพรรณฯ สมัยหลังๆ ได้ขาดช่วง หรืออ่อนด้อยในรสชาติที่ขาดความเข้มข้น ( ด้วยประสบการณ์ ) มายาวนานหลายปี ทั้งๆ ที่ความจริงนั้นพระเถรานุเถระท่านนี้ควรจะเป็นที่รู้จักมาช้านาน หากถ้าไม่ติดที่ “ ความถ่อมตน ” ขององค์ท่าน ( ที่ไม่ยอมให้หนังสือพระฉบับใดนำประวัติไปเผยแพร่ ) ด้วยเหตุผลของท่านง่ายๆ แต่ยิ่งใหญ่ในความหมายดังที่เกริ่นกล่าวไว้ในเบื้องต้นว่า “ เมื่อถึงเวลา ผู้คนจะมาหาท่านเอง ”
![]() |
![]() |
คชสิงห์ รุ่นแรก สร้าง 399 ตัว จารึกหมายเลข และนามย่อ ลบ. หมายถึง หลวงพ่อสมบุญ ปลุกเสกวันที่ 28 เม.ษ. 2556 |
![]() |
สิงหราช 3 ขวัญ สร้าง 450 ตัว มีหมายเลขและนาม ลบ. กำกับทุกตัว |
ในวัยเด็กได้เรียนหนังสือกับพระที่ วัดวังกุ่ม ต.ห้วยขมิ้น เป็นระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ปี เหตุที่ไม่ได้เรียนหนังสือคือ สืบเนื่องจากท่านมีภาระต้องแบ่งเบา จึงต้องละทิ้งการเรียนเพื่อช่วยครอบครัวประกอบอาชีพในฐานะพี่ชายคนโต
ล่วงถึงพุทธศักราช 2485 พระเดชพระคุณหลวงพ่อมีอายุครบ 20 ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทตามประเพณีที่ วัดป่าสะแก มี พระครูวิสิทธิ์สิทธิการ (อาจารย์เพชร) เป็นพระอุปัชฌาย์ จำพรรษาที่วัดป่าสะแกประมาณ 2 พรรษา จึงย้ายไปจำพรรษาที่วัดต่างๆ ในละแวกนั้นอีก 4 สำนัก คือ วัดดอนมะเกลือ 2 พรรษา วัดวังคัน 3 พรรษา วัดวังกุ่ม 2 พรรษา และวัดดอนเก้าอีก 2 พรรษา จากนั้นจึงกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนมะเกลือเมื่อปี 2498 รวมระยะเวลาในการจาริกจำพรรษายังอารามต่างๆ ประมาณ 13 พรรษาเศษ
ชีวิตของหลวงพ่อดูท่าจะรุ่งเรืองในร่มเงาของผ้ากาสาวพัสตร์ หากแต่เป็นด้วยภาระทางครอบครัว เมื่อเห็นว่าท่านบวชนานจนสมควรแก่เวลา ญาติพี่น้องจึงขอร้องให้ลาสิกขา หลังจากครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนมะเกลือได้เพียงแค่ 2 ปี
เนื่องจากโยมบิดาและโยมมารดาเริ่มเข้าวัยชรา ทำให้ท่านผู้ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตของตระกูลมีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาเพื่อดูแลครอบครัว ล่วงเข้าปีพุทธศักราช 2499 หลวงพ่อสมบุญ จึงจำต้องลาสิกขาออกมาสู่เพศฆราวาส เมื่อลาสิกขาออกมาโยมมารดาของท่านเกรงว่าลูกชายจะหนีไปบวชอีกครั้ง จึงจัดการให้ท่านแต่งงานกับ นางสาวสุวรรณ สะราคำ ผู้ซึ่งเป็นลูกสาว นายดิน-นางแก้ว สะราคำ ชาวบ้านดอนมะเกลือ ต.ป่าสะแก เมื่อแต่งงานมีครอบครัวแล้วได้ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ช่วยบิดา-มารดาอยู่ไม่นาน จึงย้ายนิวาสสถานมาเปิดกิจการขายของที่บ้านทับละคร เขต อ.ด่านช้าง ครั้นเมื่อย้ายมาอยู่บ้านทับละครได้ประมาณ 6 เดือน นางสุวรรณผู้เป็นภรรยาได้ถึงแก่กรรม เนื่องจากไข้ป่าที่แทรกซ้อนมาจากการคลอดบุตร เมื่อภรรยาเสียชีวิตท่านจึงยกลูกสาววัยแบเบาะให้ญาติฝ่ายภรรยาอุปการะ แล้วหันหลังให้โลกวิสัย ตั้งใจบวชจนตายคาผ้าเหลือง ส่วนลูกสาวคนเดียวของท่านเมื่อลืมตาดูโลกอยู่ได้ประมาณ 4 เดือนก็เสียชีวิต ทำให้ท่านหมดสิ้นซึ่งห่วงร้อยรัดตัดสิ้นในทางโลกโดยสิ้นเชิง หลวงพ่อจึงหวนกลับสู่เพศบรรพชิตอีกครั้งหลังจากที่ลาสิกขาออกไปได้เพียงแค่ 1 ปี กับ 3 เดือน
![]() |
เหรียญ “รุ่นสรพงษ์” สร้างเป็นรุ่นที่ 2 นิยมในท้องถิ่นมาก หลักพันกลางๆ |
ภายหลังจากอุปสมบทแล้วได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดวังคอไห 1 พรรษา ย้ายไปวัดดอนมะเกลือ 2 พรรษา แล้วย้ายกลับมาอยู่วัดป่าสะแกอีก 4 พรรษา จนล่วงถึงพุทธศักราช 2507 ( หลังจากอุปสมบทได้ 7 พรรษา ) จึงรับอาราธนามารักษาการเจ้าอาวาส วัดลำพันบอง เขต อ.หนองหญ้าไซ จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2511 รับภาระดูแลปกครอง วัดลำพันบอง จนรุ่งเรืองตราบจนปัจจุบัน นับได้ 49 ปีบริบูรณ์
![]() |
เหรียญชินราช หลังนางกวัก รุ่นประสบการณ์ เป็นพระที่กรรมการซื้อจากร้านสังฆภัณฑ์ มาถวายให้ท่านปลุกเสกเพื่อแจกงานทำบุญ แต่เนื่องจากประสบการณ์ที่สูงยิ่ง จึงนิยมในท้องถิ่นอีกรุ่นหนึ่ง |
ปฏิปทา
หลวงพ่อเป็นพระผู้ทรงรัตตัญญู มีอาวุโส ( วัยวุฒิ ) สูงยิ่งอีกรูปหนึ่งของ จังหวัดสุพรรณฯ นับถึงปัจจุบันคือ 91 พรรษา ( เท่ากับหลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่ แต่หลวงพ่อแก่เดือนกว่า ) ดำรงมั่นในพระธรรมวินัยมาโดยเคร่งครัดมิได้ด่างพร้อยเศร้าหมอง หมดจดงดงาม สมหน่อเนื้อพระชินวรณ์อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญคือพระเดชพระคุณท่านประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม 4 ประการ อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ประกอบด้วย เมตตา กรุณา ปรากฏแก่สาธุชนมาโดยตลอด ทั้งยังเป็นสัตบุรุษ ผู้รู้จักเหตุและผลเป็นที่ตั้ง ไม่มัวเมาลุ่มหลงในโลกธรรม มีวาจาเป็นมงคล แยบคายในปฏิสันถาร ทั้งยังรู้จักถนอมจิตใจของสาธุชนทั้งใกล้ไกลไม่มียกเว้น ไม่จำกัดว่ายากดีมีจน ท่านสงเคราะห์ให้จนหมดสิ้น มิมีผู้ใดที่มากราบท่านแล้วจะพบกับความผิดหวัง ที่สำคัญยิ่งคือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นพระผู้มีอารมณ์ขัน เป็นที่ติดตราตรึงใจสาธุชนผู้สนทนาธรรมมาโดยตลอด![]() |
แหวนหน้าโล่ รุ่นแรก หน้าใหญ่ ใต้ท้องวงจารึกชื่อ ว.ร.บ.๑ |
![]() |
แหวนหน้าโล่ รุ่นแรก หน้าใหญ่ ใต้ท้องวงจารึกชื่อ ว.ร.บ.๑ |
![]() |
สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคำว่าพระเดช นั่นคือคำว่า “ พระคุณ ” ซึ่ง หลวงพ่อสมบุญ ได้ถือสงเคราะห์เหมาะสมกับคำว่า “ พระคุณ ” เป็นที่สุด ซึ่งคำนี้เองที่ทำให้คุณธรรมวิเศษที่ปรากฏในดวงจิต มีความสว่างไสว หนักแน่นมั่นคง ทรงความแก่กล้า ด้วยท่านละความโลภโดยสิ้นเชิง กล่าวกันว่า ใครผู้ใดก็ตามถ้ากล้าขอ รับรองได้ว่า จะไม่มีวันได้รับการปฏิเสธจากปากพระเดชพระคุณหลวงพ่อแม้แต่คำเดียว ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเลวร้ายมาจากที่ใดก็ตาม ว่ากันว่าผู้ที่ได้รับจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อไปมากที่สุดนั้น แท้จริงไม่ใช่ศิษย์ใกล้ชิด ไม่ใช่คนสนิท แต่เป็นคนที่กล้าขอ เรียกได้ว่าใครก็ตามที่ “ ขอมาก ” หรือ “ เอ่ยปากขอบ่อยๆ ” ย่อมได้จากหลวงพ่อมากพอๆ กับความกล้าของบุคคลนั้น เท่าที่รับฟังจากปากชาวบ้านย่านนั้นล้วนกล่าวตรงกันว่า ไม่มีใครสักคนที่เอ่ยปาก “ ขอ ” หลวงพ่อแล้วจะไม่มีคำว่า “ ไม่ ” ฟังความได้ว่า ขอหมื่นก็ต้องได้หมื่น ขอแสนก็ต้องได้แสนเป็นเช่นนี้เสมอๆ “ ทาน ” ที่หลวงพ่อกระทำนอกจากจะทำได้ยากแล้วยังได้ชื่อว่า “ หาผู้ทำทานเช่นนี้ยากยิ่งนัก ” เพราะทานประเภทนี้พบได้แต่เพียงพระอริยบุคคลเท่านั้น ด้วยเป็นทานที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ไม่หวังชาตินี้หรือชาติหน้า เป็นทานที่ทำให้ผู้สละหมดสิ้นซึ่งความตระหนี่ ทานเช่นนี้จึงหมดจดงดงาม ยากจักหาใครเทียม เรื่องเงิน 4 ล้านตามคำกล่าวหาได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เป็นเงินส่วนตัวที่ท่านยกให้ ส่วนผู้ที่ได้จะนำไปทำสิ่งใด จะขาดทุนหรือกำไรท่านว่ามันเป็นกรรมของมัน

พระเดชพระคุณ หลวงพ่อสมบุญ เป็นพระเถระที่มีเมตตาธรรมอันสูงยิ่ง ทั้งยังเป็นผู้ถ่อมตนไม่โอ้อวดคุณวิเศษในตัวเอง ที่เด่นชัดคือประสบการณ์ในวัตถุมงคลของท่าน ล้วนแต่เป็นประจักษ์พยานยืนยันว่าท่านมีดีเกินตัว แต่ท่านชอบเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่อย่างพระธรรมดา เวลาวัตถุมงคลที่ศิษย์นำไปใช้ได้ผลในทางความขลัง รายแล้วรายเล่าย้อนกลับมากล่าวขวัญสรรเสริญให้ท่านฟัง ท่านกลับถ่อมตนจนเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะ แหวนนิ้ว ของท่านนับว่ามีประสบการณ์เรื่องอสรพิษกันมากราย ดังเช่นเหยียบงูเห่า งูจงอาง แต่ปรากฏว่างูไม่สามารถอ้าปากกัดได้ บางรายถูกงูแมวเซากัด บางรายถูกงูจงอางกัด แต่งูพิษกัดศิษย์ท่านไม่เข้า เมื่อรอดตายแล้วยังมาเล่าให้ท่านฟัง
ท่านก็พูดว่า “ งูมันบ่มีแข่ว ( ฟัน ) ไปเหยียบหัวมันไว้บ้าง งูมันตาฟางบ้าง มันจะกัดได้จังได๋ ” เมื่อครั้งที่หมูป่ากัดชาวบ้านไม่เข้าเพราะสวมแหวนของท่านที่นิ้ว ท่านก็บอกว่า
“ หมูมันเฒ่า ( แก่ ) แข่ว ( ฟัน ) มันหักบ้าง แข่วมันหร่อง ( หรอ ) จึงกัดบ่เข้า ”
ที่หนักหนายิ่งกว่าคือ มีศิษย์บางรายประพฤติตัวไม่ดี เป็นนักค้ายา ถูกเจ้าหน้าที่ยิงไม่เข้า เมื่อรอดมาได้จึงกลับมากราบที่ท่านช่วยชีวิตไว้ ศิษย์ใกล้ชิดที่ทราบความเป็นไปจึงท้วงติงในภายหลังว่า ท่านกำลังช่วยคนผิด ช่วยคนชั่วให้รอดชีวิต เพื่อเป็นภัยสังคมต่อไป เมื่อถามว่า
“ หลวงพ่อไปช่วยมันไว้ทำไม ”
ท่านก็ตอบศิษย์ไปว่า “ มันบ่ได้เขียนหนังสือติดหน้าผากไว้ว่า มันเป็นคนดีหรือเป็นคนบ่ดีนี่หว่า มันมากราบเฮา เฮาก็ให้ศีลให้พรมันไป ”
ศิษย์ที่ถามพยายามไล่ให้ท่านจนแต้ม โดยบอกว่า “ มันจะย่ามใจในภายหลัง ”
ท่านก็อธิบายว่า “ กรรมดีของมันทำไว้แต่อดีตยังคุ้มครองมันอยู่ ถ้ากรรมดีมันหมดสิ้นเมื่อไหร่ ตัวกูหรืออีหยังก็ช่วยมันบ่ได้ดอก ”
หลายครั้งที่พระเถระผู้ใหญ่หรือคณะปกครองในท้องถิ่นสอบถามถึงความขลังของหลวงพ่อ ท่านจะยิ้มน้อยๆ แล้วตอบว่า
“ วัตถุมงคลอีหยังก็สู้ความดีบ่ได้ดอก หมั่นเฮ็ดความดีไว้เถิด ความดีนี่แหละที่จะช่วยคุ้มครองเราเอง ”
![]() |
สิ่งที่เหลือเชื่อคือ แม้ว่าท่านจะแตกฉานในเรื่องวิชาอาคม โด่งดังในเรื่องความขลัง แต่ท่านกลับปฏิบัติตัวอย่างสว่างสะอาด ไม่มัวเมาในทางขลังอย่างน่าฉงน ไม่ตั้งตนเป็นเกจิอาจารย์ที่เอาแต่คอยดูเลขผานาทีหลับหูหลับตาตั้งท่าเพื่อว่าจะให้คนสนใจ ไม่มีการจดจารกระดานชนวนลงเลขลงยันต์ ซึ่งเราทุกคนเชื่อว่าท่านน่าจะทำได้อย่างเจนจบ แต่สิ่งที่ค้นพบกลับกลายเป็นว่า หลวงพ่อท่านก็ละวางเรื่องดังกล่าวอย่างพอดี ไม่มากไม่น้อย
นี่จึงถือเป็นสิ่งหายากกับพระที่ได้ชื่อว่า “ ดังที่สุดของเมือง สุพรรณฯ ” อีกยุคสมัยหนึ่ง ยุคสมัยที่คนส่วนใหญ่อยากดี อยากเด่น และอยากดังกันทั้งบ้านทั้งเมือง ที่น่าคิดอีกประการคือ เมื่อมีศิษย์หนุ่มๆ มาขอฤกษ์แต่งงาน แทนที่จะถามวันเดือนปีเกิด ฤกษ์บน ฤกษ์ล่าง แต่ท่านกลับถามว่า “ พร้อมหรือยัง มีตังค์แล้วบ่ ผู้หญิงฮักเองบ่ ” ถ้าลูกศิษย์ตอบว่าพร้อมทุกอย่างครับ ท่านจะตอบว่า “ ฤกษ์ดีทุกมื้อ ถ้าเอ็งบ่พร้อม มื้อไหนก็บ่ดี ” กราบหลวงพ่อเป็นครั้งที่ 3 ที่ให้สติปัญญา
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1129 หลวงพ่อสมบุญ ปิยธมโม วัดลำพันบอง ต.หนองโพธิ์ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ตอนที่ 1 ปักษ์หลัง เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ราคาปก 60 บาท )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..