ภาพและเรื่องโดย ขวัญทอง สอนศิริ ( โจ้ พิษณุโลก ) “ คนดีศรีพิษณุโลก ”
อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก นอกจากจะเป็นดินแดนที่ปลูก กล้วยมะลิอ่อง ขึ้นชื่อในการนำไป แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กล้วยตาก รสชาติหวานฉ่ำขึ้นชื่อของเมือง พิษณุโลก ดังปรากฏในส่วนหนึ่งของคำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ว่า พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ กล้วยตากหวานฉ่ำ ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา แล้ว อำเภอบางกระทุ่ม ยังมี ศิลปะพระเครื่องสกุลพระพิมพ์นาคปรก เนื้อชินเงิน เนื้อดิน เป็นหนึ่งเดียวใน พิษณุโลก และมี สกุลพระพิมพ์ท่ามะปราง เนื้อชินเงิน กรุนาตายม ซึ่งเป็น สกุลพระกรุเมือง พิษณุโลก แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนประวัติศาสตร์ ราชธานีสองแผ่นดิน ยอดนิยม
อีกกรุหนึ่งที่มีพุทธคุณเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์และหาได้ยากยิ่งพิมพ์หนึ่ง พบที่ ตำบลวัดตายม อำเภอบางกระทุ่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมชมโบราณขนาดใหญ่ ในเขตตำบลวัดตายม ตำบลเนินกุ่ม ริมคลองละคร หรือ ลำตายม หรือ แม่น้ำชมพู ต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาใน ตำบลวังชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ไหลผ่านพื้นที่บางส่วนของ อำเภอวังทอง หรือ อำเภอนครป่าหมาก เดิม อำเภอบางกระทุ่ม เข้าสู่อำเภอเมืองพิจิตร บริเวณคลองยายคอยเกลือ ตำบลปากทาง และบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ใต้วัดท่าหลวง ( พระอารามหลวง ) จังหวัดพิจิตร ซึ่งประดิษฐาน หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ศิลปะเชียงแสนสิงห์ 1 ที่ บ้านคลองคู้ สะพานดำ เมืองพิจิตร
ชุมชนโบราณนี้เดิมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ นิยมเรียกกันว่า เมืองสองแคว มีคูเมือง มีกำแพงเมืองล้อมรอบ ปรากฏพบซากโบราณสถานกระจายอยู่ทั่ว อาทิ ซากเนินฐานอิฐ และเศษปูนกลีบขนุนองค์พระปรางค์ขนาดใหญ่ มีซากฐานอุโบสถ วิหาร เจดีย์ที่หักพัง ตลอดจนพระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องถ้วยชาม ลูกปัด ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มากมาย และยังมีวัดที่ตั้งเรียงรายอยู่ภายนอกเมืองอีกมากมาย อาทิ วัดสองแคว เป็นต้น ภายหลังน้ำได้เปลี่ยนทางเดินห่างไกลชุมชนออกไป จึงมีการอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่แหล่งที่สมบูรณ์กว่า ชุมชนโบราณแห่งนี้จึงบางเบาเล็กลงและรกร้างมายาวนาน
ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบางยาง หรือ เมืองนครไทย ส่วนหนึ่ง นำโดย นายยม หรือเรียกกันว่า ตายม ได้อพยพลงมาแผ้วถางหาที่ทำกินบริเวณชุมชมโบราณแห่งนี้แล้วจุดไฟเผาป่า ปรากฏว่าไฟไหม้ลุกลามไปถึงป่ารกที่มีหญ้าพงปกคลุมหนาทึบจุดหนึ่งแล้วเกิดมอดดับลงเป็นรูปวงกลม ชาวบ้านพยายามจุดไฟอีกหลายครั้งก็มอดดับบริเวณนั้นอีกเช่นเคย จึงช่วยกันถางป่ารกดังกล่าวออก จึงพบองค์พระพุทธรูปปูนปั้นพุทธศิลป์สุโขทัย ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อยม ตามนามของ ตายม แล้วช่วยกันสร้างเพิงกันแดดถวายเป็นที่เคารพสักการะคู่กับชุมชนมาแต่เบื้องต้น ภายหลังมีพระธุดงค์มาจำพรรษาและสร้างเป็นวัดขึ้นจนปัจจุบัน เรียกกันว่า วัดตายม
ภายหลังได้มีการลักลอบขุดโบราณสถานวัดตายมและชุมชนโบราณ เพื่อหาสมบัติสิ่งของมีค่า จึงพบพระพิมพ์ พระเครื่อง พระบูชา โดยเฉพาะพบครั้งแรกในราวปี พ.ศ.2510 ที่บริเวณ มูลดินกลางท้องนาใกล้ๆ วัดตายม จึงนิยมเรียกว่า กรุนาตายม และเป็น พระพิมพ์ท่ามะปราง และ พุทธศิลป์สกุลพระพิมพ์นาคปรก กรุเดียวที่พบที่เมือง พิษณุโลก หลวงพ่อยมเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มงคลนามเมตตามหานิยม มีประชาชนมาบนบานศาลกล่าวสำเร็จสมปรารถนา ปีหนึ่งนำหัวหมูมาถวายกว่า 900 หัว ไก่กว่า 1,800 ตัว และไข่ไก่กว่า 10,000 ฟอง ซึ่งทางวัดได้จดบันทึกข้อมูลไว้ คือ สิ่งที่บ่งบอกความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อยมได้เป็นอย่างดียิ่ง และได้มีการสร้างเหรียญและรูปปั๊มหลวงพ่อยม วัดตายม รุ่นแรก ขึ้น ในราวปี พ.ศ.2517 เป็นที่นิยมแสวงหากันมาก เพราะมีพุทธคุณสูงยิ่งในหลักพันกลางๆ ถึงปลายๆ และมีการสร้างติดต่อกันมาหลายรุ่นจวบจนปัจจุบัน
ในบริเวณชุมชนโบราณดังกล่าว เป็นที่ตั้งของ วัดเนินกุ่มใต้ ต.เนินกุ่ม ซึ่งอยู่ติดกับ ต.วัดตายม มีคลองวังชมพูไหลผ่าน พระครูสังฆกิจ หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ปั้น วัดพิกุลโสคันธ์ ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ออกธุดงค์มาปักกลดที่ ป่าบ้านดงหมี ต.เนินกุ่ม ซึ่งเป็นป่ารกมีสัตว์ดุร้ายชุกชุมมาก โดยเฉพาะ หมีควายและเสือโคร่ง ชาวบ้านจึงไปเรียนท่านว่า บริเวณนี้เวลากลางคืนพวกเสือมักออกหาอาหาร เนื่องจากเป็นที่เนินสูงกว่าที่อื่นน้ำท่วมไม่ถึง จึงมีสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือมาหลบอาศัย แต่หลวงพ่อท่านปฏิเสธ เพราะถือปฏิบัติตามครูท่านสั่งห้ามไว้ว่า ถ้าปักกลดตรงไหนต้องอยู่ไปจนตลอดรุ่ง
รุ่งขึ้นตอนสางชาวบ้านรีบไปดูท่านปักกลด เพราะ เมื่อคืนได้ยินเสียงคำรามร้องของเสือตั้งหลายตัวดังก้องไปถึงหมู่บ้าน เมื่อมาถึงพบท่านอยู่ปกติดีไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นกับท่านเลย จึงเชื่อว่าท่านมีวิชาดี และในครั้งหนึ่งมีไฟป่าลุกลามไหม้เข้ามาล้อมกลดที่หลวงพ่อปั้นนั่งภาวนาสงบนิ่งอยู่ และจู่ๆ ก็มีลมพัดไฟป่าให้ลุกลามไปทางอื่นเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก จึงนิมนต์ท่านสร้าง วัดเนินกุ่มใต้ ขึ้น จนแล้วเสร็จเป็นอารามใหญ่ด้วยบุญญาบารมีของท่าน ซึ่งมีวาจาศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง หลวงพ่อปั้นได้ปั้นพระพุทธรูปขึ้นที่วัดเนินกุ่มจนแล้วเสร็จด้วยมือของท่านเอง เรียกกันว่า หลวงพ่อโต มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นยิ่งนัก แล้วท่านก็ธุดงค์กลับสู่วัดพิกุลโสคันธ์ พระนครศรีอยุธยา
ในช่วงออกพรรษา หลวงพ่อปั้น จะเดินทางมาพักปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดเนินกุ่ม พอใกล้เข้าพรรษาชาวบางบาลก็จะนำเรือมารับหลวงพ่อกลับไปสู่วัดพิกุลฯ จนท่านละสังขารในปี พ.ศ.2451 จนในปี พ.ศ.2466 พระอาจารย์พัฒน์ เจ้าอาวาสวัดเนินกุ่ม ได้จัดสร้าง เหรียญหลวงพ่อปั้น ขึ้น แล้วนำมาทำพิธีปลุกเสกที่วัดพิกุลโสคันธ์ โดยพระเถราจารย์ผู้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพร้อมแจกไว้ที่บางบาลส่วนหนึ่ง แล้วนำกลับเพื่อแจกในงานฉลองหอสวดมนต์ที่วัดเนินกุ่ม จึงเป็นเหรียญหลวงพ่อปั้นรุ่นแรก เป็นเหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์เหรียญแรกของเมือง พิษณุโลก เป็นเหรียญพระเกจิอาจารย์ยอดนิยมของสองจังหวัดคือ พิษณุโลก และพระนครศรีอยุธยา ที่แสวงหาได้ยากยิ่งเหรียญหนึ่งในปัจจุบัน หลวงพ่อปั้น จึงเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไปทั้งสองจังหวัดเป็นยิ่งนัก ยังให้ เกิดประเพณีแข่งเรือบก ทอดข้าวเม่าพอก เนินกุ่ม ขึ้นสืบทอดงานประเพณีวัดเนินกุ่ม ในการบูชาคุณหลวงพ่อปั้นมาจนปัจจุบันนี้
อำเภอบางกระทุ่ม เป็นดินแดนที่มีพระเถราจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณอีกรูปหนึ่ง คือ หลวงพ่อหรั่ง ยสวณฺโต หรือ พระครูรังสีธรรมประโพธิ หรือชาวบางกระทุ่มนิยมเรียกท่านว่า หลวงพ่อหรั่ง วาจาสิทธิ์ วัดสามเรือน พระเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไปใน จังหวัดพิษณุโลก และใกล้เคียงเป็นยิ่งนัก ดังปรากฏในคำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยวและของดี อำเภอบางกระทุ่ม ว่า กล้วยตากหวานฉ่ำ มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร เลื่อมใส หลวงพ่อหรั่ง โอท็อปดังห้าดาว สืบสาวตำนานหลวงพ่อยม ชมประเพณีแข่งเรือบก โบสถ์นาคปรกดอกบัว
พระครูรังสีธรรมประโพธ นามเดิมว่า หรั่ง เทียนสมจิตร เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ตรงกับวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2452 ที่ บ้านโกรงเกรง หรือปัจจุบันเรียกว่า อำเภอบางกระทุ่ม หมู่ 2 ตำบลนครป่าหมาก อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 9 คน ของ นายจี่-นางพุ่ม เทียนสมจิตร อาชีพเกษตรกรทำนา
ในปี พ.ศ.2466 หลวงพ่ออายุได้ 16 ปี ในปี พ.ศ.2466 บิดานำไปฝากเรียนหนังสือกับ หลวงพ่อบุญธรรม วณฺณพโล ที่ สำนักเรียนวัดกรุงศรีเจริญ ซึ่งมี หลวงปู่โพธิ์ พระอมตเถราจารย์ผู้เรืองอาคมเป็นที่เคารพนับถือของชาวโกรงเกรงเป็นยิ่งนัก เป็นผู้สร้างวัดขึ้นและเป็นปฐมสมภาร มี หลวงพ่อบัวขาว พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยศักดิ์สิทธิ์เป็นพระพุทธปฏิมากรประธานประจำอุโบสถเป็นอารามเก่าในย่านนี้
หลวงพ่อหรั่ง ท่านเป็นเด็กหัวไว มีชาติปัญญาดี จึงเรียนรู้ได้รวดเร็ว และสามารถอ่านภาษาไทย ภาษาขอม เรียนมูลกัจจาย์จนแตกฉาน จนในปี พ.ศ.2468 โยมบิดาจึงไปศึกษาต่อที่ สำนักวัดไพรสุวรรณ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม
วัดไพรสุวรรณ เป็นวัดโบราณริมแม่น้ำน่าน อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และทรุดโทรมไป จน หลวงพ่อสอน หรือ พระครูวิเชียรปัญญามุนี ( สอน ธมฺมโชโต ธรสัมปัน ) เจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสา อุตรดิตถ์ ซึ่งมีมาตุภูมิเดิมอยู่ที่ บ้านวัดไพรสุวรรณ ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดไพรสุวรรณ ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองมารดรจนเจริญรุ่งเรือง และเป็นสำนักศึกษาที่มีชื่อเสียงในย่านนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
พระครูสอน ธมฺมโชโต ธนสัมปัน ก่อนปี พ.ศ.2469 ท่านมีสมณศักดิ์ที่ พระครูอภิบาลบรรจฐรณ์ ( ปรากฏนามอยู่ในจารึกแผ่นศิลาที่พระเจดีย์โบราณวัดไพรสุวรรณ และตามคำบอกเล่าของผู้อาวุโสวัดไพรสุวรรณ ที่มีอายุ 80 กว่าปีขึ้นไป ) ภายหลังหลวงพ่อสอน ธมฺมโชโต ได้ย้ายไปปกครองเป็นเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสา อุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ.2470 และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ราชทินนามที่ พระครูวิเชียรปัญญามุนี และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ จนมรณภาพในปี พ.ศ.2480
พระครูวิเชียรปัญญามุนี หรือ หลวงพ่อสอน เป็นศิษย์ใน หลวงปู่ภู จนฺทสโร หรือ พระครูธรรมานุกูล วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ ( หลวงปู่ภู จนฺทสโร เกิดที่ บ้านวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ปี พ.ศ.2373 อุปสมบทปี พ.ศ.2394 เป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พ.ศ.2432 และในปี พ.ศ.2463 หลวงปู่ภูอายุได้ 91 ปี คณะสงฆ์จึงยกท่านขึ้นเป็น กิตติมศักดิ์ หลวงปู่ภูมรณภาพในวันที่ 6 พฤษภาคม 2476 สิริอายุได้ 104 ปี 83 พรรษา หลวงปู่ภู จนฺทสโร เป็นพระบูรพาจารย์ของ หลวงปู่มัด อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าไม้แดง บ้านวังหิน จังหวัดตาก ซึ่งเป็นพระอาจารย์รูปแรกของ ครูบาสายทอง กิตติปาโล หรือ พระราชวิทยาคม เจ้าอาวาสวัดวังหิน และเจ้าคณะจังหวัดตากรูปปัจจุบัน ( สมณศักดิ์แรก พระครูพิพัฒน์กิตติคุณ ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดตากในยุคปัจจุบัน ผู้เป็นศิษย์พุทธาคม ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก )
หลวงพ่อสอน ได้รับเมตตาจาก หลวงปู่ภู จนฺทสโร มอบพระสมเด็จพิมพ์ 7 ชั้น หูติ่ง และพระสมเด็จ พิมพ์ 3 ชั้น นำมาบรรจุไว้ในองค์สถูปเจดีย์ยอดปรางค์ ที่หลวงพ่อสอนท่านสร้างไว้ที่หน้าอุโบสถวัดไพรสุวรรณบ้านเกิด ในปี พ.ศ.2475 ซึ่งประดิษฐาน พระพุทธรูปปางฉันสมอ หรือเรียกกันว่า หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตน โกสินทร์ตอนต้น ปรากฏพบพระพุทธรูปปางฉันสมอไม่เกิน 3 องค์ในประเทศไทย หลวงพ่อสอนได้อัญเชิญลงเรือมาจากกรุงเทพฯ มาประดิษฐานเป็นพระประธานประจำอุโบสถที่ท่านได้สร้างทับซากเนินอิฐอุโบสถโบราณเดิม ในปี พ.ศ.2469 หลวงพ่อสอน ธมฺมโชโต เป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านโหราจารย์ และมีชื่อเสียงในการอธิษฐานจิตเสกทำน้ำมนต์ได้เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ในยุคนั้นเป็นยิ่งนัก
ในราวปี พ.ศ.2523 ได้มีการลักลอบขุดเจาะองค์เจดีย์ยอดปรางค์ที่ส่วนองค์มุขสี่ทิศ และพบ พระสมเด็จหลวงปู่ภู เนื้อผง จำนวนหนึ่งที่หลวงพ่อสอนนำมาบรรจุไว้ นำออกให้บูชาในสมัยนั้นองค์ละ 200 บาท สมเด็จวัดไพรสุวรรณ วรรณะผิวเนื้อจะออกขาวมีคราบฟองเต้าหู้จับเนื่องจากบรรจุในกรุ เนื้อจะขวากว่าพระสมเด็จหลวงปู่ภูที่ท่านแจกญาติโยมที่วัดอินทรวิหาร ซึ่งเนื้อจะออกวรรณะอมเหลือง เนื่องจากผ่านสภาพการใช้มาแล้ว
หลวงพ่อหรั่ง เป็นผู้ที่มีอุปนิสัยมุ่งมั่นในการเรียนรู้ ท่านจึงสามารถอ่านและแปลภาษาบาลีในเบื้องต้นได้ตั้งแต่ยังเป็นคฤหัสถ์ อีกทั้งท่านมีอุปนิสัยเรียบร้อย โน้มไปในทางสมณเพศ ทำให้โยมบิดาพอใจยิ่งที่จะได้เห็นบุตรบรรพชาอุปสมบทในสังฆบุตร พุทธชิโนรสในพระพุทธศาสนา
จน หลวงพ่อหรั่ง อายุได้ 18 ปี โยมบิดาจึงนำท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระครูวิเชียรปัญญามุนี ( สอน ) สำนักเรียนวัดท่าเสา หรือ วัดใหญ่ท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ในวันที่ 15 มิถุนายน 2470 และต่อมาได้ บรรพชาเป็นสามเณรที่พัทธสีมาวัดไพรสุวรรณ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม โดยมี พระครูวิเชียรปัญญามุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว หลวงพ่อหรั่ง ท่านมีความวิริยะอุตสาหะในการเรียนเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ.2471 สามารถสอบได้นักธรรมตรี ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลียังไม่แพร่หลาย สำนักเรียนวัดไพรสุวรรณเปิดสอนเพียงชั้นตรีเท่านั้น ท่านจึงได้อำลาพระอาจารย์เดินทางไปศึกษาต่อที่สำนักเรียนของพระอุปัชฌาย์ที่วัดใหญ่ท่าเสา อุตรดิตถ์ เพื่อเรียนนักธรรมโทและบาลีไปพร้อมๆ กัน
หลวงพ่อหรั่ง สามารถสอบนักธรรมโทได้ที่สนามหลวง กรุงเทพฯ นับเป็นชั้นมัธฌิมภูมิ ในปี พ.ศ.2472 สมัยนั้นผู้ที่สอบได้นักธรรมชั้นโท นับว่าเป็นเลิศในทางปัญญาและความจำดีเป็นยิ่งนัก ส่วนแผนกบาลีท่านไม่ได้เข้าสอบที่สนามหลวง แต่ท่านสามารถแปลมคธ ( บาลี ) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้จารึกวิชาการทางพระพุทธศาสนา และสามารถแปลพระธรรมบทได้ทั้ง 8 ภาค นับว่า สามเณรหรั่ง เป็นผู้มีความสามารถในด้านภาษามธคองค์หนึ่งในสำนักนั้น
![]() |
หลวงพ่อหรั่ง วัดสามเรือน พิษณุโลก |
![]() |
เหรียญลงยา หลวงพ่อหรั่ง รุ่นแรก พ.ศ.2503 |
![]() |
เหรียญลงยา หลวงพ่อหรั่ง (กรรมการ) พ.ศ.2526 |
![]() |
พระพิมพ์ท่ามะปราง เนื้อชินเงิน พระพิมพ์นาคปรก เนื้อชิน กรุนาตายม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก |
![]() |
หลวงพ่อยม พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ สมัยสุโขทัย แห่งวัดตายม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก |
![]() |
เหรียญจอบหลวงพ่อหรั่ง รุ่นแรก พ.ศ.2526 |
![]() |
พระซุ้มเรือนแก้ว หลวงพ่อหรั่ง พ.ศ.2532 |
![]() |
เหรียญพระอุปัชฌาย์ปั้น พ.ศ.2466 วัดเนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก |
![]() |
รูปหล่อหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ปั้น ที่วัดเนินกุ่มใต้ อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก |
![]() |
ใบเสมาหินชนวนขนาดใหญ่ สมัยอยุธยา ที่หน้าอุโบสถวัดไพรสุวรรณ |
![]() |
รูปหล่อหลวงพ่อหรั่ง รุ่นแรก คอสั้น พ.ศ.2515 |
![]() |
รูปหล่อหลวงพ่อหรั่ง พ.ศ.2526 |
![]() |
หลวงพ่อเพชร ปางฉันสมอ วัดไพรสุวรรณ |
![]() |
เหรียญเสมาหน้าหนุ่ม หลวงพ่อหรั่ง พ.ศ.2516 |
![]() |
เหรียญเสมาหลวงพ่อหรั่ง พ.ศ.2521 |
![]() |
พระพิมพ์สมเด็จ เนื้อผง หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ กรุวัดไพรสุวรรณ อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ที่กรุแตกในปี 2523 และหลวงพ่อเพชร ปางฉันสมอ วัดไพรสุวรรณ |
หลวงพ่อหรั่ง ท่านเป็นเด็กหัวไว มีชาติปัญญาดี จึงเรียนรู้ได้รวดเร็ว และสามารถอ่านภาษาไทย ภาษาขอม เรียนมูลกัจจาย์จนแตกฉาน จนในปี พ.ศ.2468 โยมบิดาจึงไปศึกษาต่อที่ สำนักวัดไพรสุวรรณ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม
![]() |
พระครูรังสีธรรมประโพธ (หรั่ง) วัดสามเรือน |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อหรั่ง สร้างหอประชุม อำเภอบางกระทุ่ม พ.ศ.2534 |
![]() |
เหรียญแผ่นปั๊มใบโพธิ์ หลวงพ่อหรั่ง สำหรับแขวนหน้ารถ พ.ศ.2526 |
![]() |
อุโบสถวัดไพรสุวรรณ ที่หลวงพ่อสอน บูรณปฏิสังขรณ์ สถานที่อุปสมบทของ หลวงพ่อหรั่ง วาจาสิทธิ์ |
หลวงพ่อสอน ได้รับเมตตาจาก หลวงปู่ภู จนฺทสโร มอบพระสมเด็จพิมพ์ 7 ชั้น หูติ่ง และพระสมเด็จ พิมพ์ 3 ชั้น นำมาบรรจุไว้ในองค์สถูปเจดีย์ยอดปรางค์ ที่หลวงพ่อสอนท่านสร้างไว้ที่หน้าอุโบสถวัดไพรสุวรรณบ้านเกิด ในปี พ.ศ.2475 ซึ่งประดิษฐาน พระพุทธรูปปางฉันสมอ หรือเรียกกันว่า หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตน โกสินทร์ตอนต้น ปรากฏพบพระพุทธรูปปางฉันสมอไม่เกิน 3 องค์ในประเทศไทย หลวงพ่อสอนได้อัญเชิญลงเรือมาจากกรุงเทพฯ มาประดิษฐานเป็นพระประธานประจำอุโบสถที่ท่านได้สร้างทับซากเนินอิฐอุโบสถโบราณเดิม ในปี พ.ศ.2469 หลวงพ่อสอน ธมฺมโชโต เป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านโหราจารย์ และมีชื่อเสียงในการอธิษฐานจิตเสกทำน้ำมนต์ได้เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ในยุคนั้นเป็นยิ่งนัก
![]() |
ล็อกเกตหลวงพ่อหรั่ง พ.ศ.2522 |
![]() |
ล็อกเกตหลวงพ่อหรั่ง พ.ศ.2526 |
![]() |
เจดีย์ยอดปรางค์ ที่ถูกลักลอบขุดพบ พระสมเด็จ หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร ที่หลวงพ่อสอนนำมาบรรจุไว้ |
สามเณรหรั่ง เทียนสมจิตร ศิษย์มีครู พระครูวิเชียรปัญญามุนี ( สอน ธมฺมโชโต )
![]() |
พระครูรังสีธรรมประโพธ (หรั่ง) วัดสามเรือน |
หลวงพ่อหรั่ง สามารถสอบนักธรรมโทได้ที่สนามหลวง กรุงเทพฯ นับเป็นชั้นมัธฌิมภูมิ ในปี พ.ศ.2472 สมัยนั้นผู้ที่สอบได้นักธรรมชั้นโท นับว่าเป็นเลิศในทางปัญญาและความจำดีเป็นยิ่งนัก ส่วนแผนกบาลีท่านไม่ได้เข้าสอบที่สนามหลวง แต่ท่านสามารถแปลมคธ ( บาลี ) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้จารึกวิชาการทางพระพุทธศาสนา และสามารถแปลพระธรรมบทได้ทั้ง 8 ภาค นับว่า สามเณรหรั่ง เป็นผู้มีความสามารถในด้านภาษามธคองค์หนึ่งในสำนักนั้น
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1147ปักษ์หลัง เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557 : หลวงพ่อหรั่ง วาจาสิทธิ์ วัดสามเรือน อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ภาพและเรื่องโดย ขวัญทอง สอนศิริ ( โจ้ พิษณุโลก ) “ คนดีศรีพิษณุโลก ” )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..