พิธีจตุรพิธพรชัย วัดรัตนชัย ( วัดจีน ) ต.หอรัตนไชย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

กล่องบรรจุเหรียญจตุรพิธพรชัย 9 พระอาจารย์
วัดรัตนชัย (วัดจีน) พระนครศรีอยุธยา 1 มิถุนายน 2518
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ผู้เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขทางพุทธาคมของ บรมครูหลวงปู่แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่าผู้ยิ่งใหญ่ “ ตะกรุดมหารูดของท่านลองเอาปืนมาจ่อยิง ลูกปืนถึงกับไหลออกจากปากกระบอกแล้วตกลงพื้นโดยไม่โดนตะกรุดที่ตั้งไว้แต่อย่างใด ทั้งท่านยังสำเร็จวิชาคงกระพันชาตรี ยันต์ของท่านที่สักบนเนื้อตัวลูกศิษย์ลูกหามีคุณวิเศษยิงแทงไม่เข้า ” 

หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ ตะกรุดหน้าผากเสือรุ่นทูลเกล้าของท่าน เป็นตะกรุดคู่กายบุคคลระดับสูงส่งของสยามประเทศ ทั้งเกลือเสกของท่านกันได้แม้กระทั่งลูกระเบิดของพวกสัมพันธมิตรที่ทิ้งลงมายังสะพานจักรี อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อตัดการคมนาคม เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

พระประธานในอุโบสถ วัดรัตนชัย (วัดจีน)
ต.หอรัตนไชย พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ 3 เสือนามกระเดื่องแห่งเมืองสุพรรณ ( เสือฝ้าย เสือใบ เสือมเหศวร ) นับถือท่านแบบเหนือเกล้าเหนือเศียร เพราะคมกระสุนปืนจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองและของเหล่าอริศัตรูไม่อาจเจาะทะลุชั้นผิวหนังของพวกเขาได้ ทั้งสะเก็ดระเบิดเกิดเหตุที่สี่แยกราชประสงค์เมื่อหัวค่ำของวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2558 ก็ยังทำอะไรผู้ที่มีพระเครื่องของท่านไม่ได้


กล่องบรรจุเหรียญจตุรพิธพรชัย 9 พระอาจารย์
วัดรัตนชัย (วัดจีน) พระนครศรีอยุธยา
1 มิถุนายน 2518
หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง เสกอักขระตัว “ เฑาะ ” กระเด็นออกจากปาก หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ท่านเห็นของท่านคาตา ( ตาทิพย์ ) ทั้งลูกศิษย์ของหลวงพ่อออดโดนมือปืนจ่อยิงที่ขมับ 3 นัดซ้อน แต่ลูกปืนกลับถากไปถากมาไม่ถูกเลยสักนัด

พระอาจารย์ผู้ทรงคุณทั้ง 4 ท่านที่ว่ามา คือ 4 ใน 9 ของพระเกจิอาจารย์ที่เก่งที่สุดของภาคกลางในยุคนั้น ( ปี พ.ศ.2518 ) ยืนยันโดย “ พระผู้ทรงอภิญญาญาณแห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์นามว่า หลวงปู่ดู่ แห่งวัดสะแก ” ส่วนอีก 5 ใน 9 ท่านที่เหลือก็คือ หลวงปู่สี วัดถ้ำบุญนาค จ.นครสวรรค์, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี, หลวงพ่อโกย วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี และหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท เก่งไม่เก่งก็ลองดูรายนามเอาเองแล้วกัน


หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์













พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ)
วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร

พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์)
วัดบางซ้าย อยุธยา



หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ชัยนาท

พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง)
วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
พระครูศรีพรหมโสภิต  (หลวงพ่อแพ)
วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี


พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง)
วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพมหานคร













พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม)
วัดพระญาติการาม อยุธยา
ผู้เขียนกล่าวเสียยืดยาวแต่ตีวงแคบลงมาเรื่อยๆ ซะขนาดนี้ เชื่อแน่ว่าท่านผู้อ่านคงจะจับทางผู้เขียนได้แล้วว่า กำลังจะพาท่านไปทางไหนจะเขียนถึงเรื่องอะไร? ใช่แล้วครับ! ผู้เขียนกำลังจะกล่าวถึงพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่เข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดอีกพิธีหนึ่งของเมืองไทย นั่นคือ “ พิธีจตุรพิธพรชัย ”วัดรัตนชัย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2518 นั่นเอง โดยมีรายละเอียดและเรื่องราวดังต่อไปนี้

อนึ่ง ผู้เขียนขออนุญาตเขียนเรื่องนี้แบบการ “ เล่าเรื่อง ” หากมีตอนหนึ่งตอนใดที่ท่านผู้อ่านตีความไปว่าผู้เขียนได้ลบหลู่ดูหมิ่นครูบาอาจารย์ท่านใด หรือมองว่าดูหมิ่นท่านผู้ใดลงไปทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจแล้วล่ะก็ ผู้เขียนขอกราบขออภัยทุกท่านมา ณ ที่นี้

วัดรัตนชัย (วัดจีน) ต.หอรัตนไชย อ.เมืองพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา วัดรัตนชัย นี้สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี รุ่นเดียวกับ วัดสุวรรณดาราราม เพราะค้นพบหลักฐานปรากฏชื่อทางประวัติศาสตร์ จากหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่า ซึ่ง ท่านเจ้าคุณพระยาโบราณราชธานินทร์ ( พร เดชคุปต์ ) อดีตสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลอยุธยาอุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกโบราณคดีได้ตรวจสอบค้นคว้ารวบรวมในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ.2469 และใช้พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพตัวท่านเอง เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2479 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส โดยโรงพิมพ์โสภณทิพวรรณนากร


ลักษณะและที่ตั้งของวัด

วัดนี้ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองทิศตะวันออกเฉียงใต้ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณป้อมหอราชคฤห์ เหนือตลาดย่านสามม้า ตรงข้ามวัดเกาะแก้ว และปากคลองข้าวสาร อยู่เหนือป้อมเพชรตรงสามแยกแม่น้ำวัดบางกะจะ มีช่องกุดสำหรับเข้าออกระหว่างกำแพง วังชั้นนอกชั้นในตรงมุมกำแพงเมืองมีชื่อเรียกว่า หัวสารพา ซึ่งสมมติว่าเป็นที่ทอดสมอเรือสำเภา ทางทิศใต้ปรากฏในแผนที่บอกไว้ว่า เป็นอู่เรือทะเล ซึ่งควรจะเป็นเรือสำเภาที่ใช้บรรทุกสินค้าเข้าออกค้าขายกับชาวต่างชาติในสมัยนั้น ซึ่งมีหลายชาติหลายภาษา กำแพงเมืองทางมุมทิศใต้มีประตูคลองระบายน้ำเข้าออก ระหว่างแม่น้ำป่าสักกับในพระนครมีชื่อว่า ประตูหอรัตนชัย ได้เคยมีผู้ให้คำสันนิษฐานว่า สถานที่ตั้งวัดนี้แต่ก่อนน่าจะเป็นศาลเจ้าหรือโรงเจของพวกคนจีนที่ทำการค้าขายกับเรือสำเภา คงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ของคนจีนและใช้เป็นศาสนสถานประกอบการเซ่นไหว้ ตามคติประเพณีของพวกเขา และต่อมาอาจเป็นที่ตั้งของวัดราษฎรเกิดขึ้นตรงบริเวณนี้ เนื่องด้วยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้น คนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนานิยมการสร้างวัดวาอารามกันมาก มีทั้งวัดสำคัญที่เป็นพระอารามหลวงและวัดราษฎร์ ทั้งในกรุงและนอกกรุงเป็นจำนวนมากสลับซับซ้อนเรียงรายกันไปหมด จนไม่มีผู้ใดรู้จำนวนวัดจริงได้ว่ามีจำนวนทั้งหมดกี่วัด จนมีคำพูดเป็นปรัมปราเล่ากันต่อมาว่า ครั้งกรุงเก่าคนเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มากนิยมสร้างวัดให้บุตรหลานเล่น ถ้าบุตรหลานผู้ใดไปเล่นวัดของผู้อื่นจะเป็นที่อับอาย


เหรียญพระครูประสาทวิทยาคม
(หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
ในพิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.2518
เหรียญพระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร)
วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
ในพิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.2518



เหรียญพระราชสุวรรณโสภณ
(หลวงพ่อโกย) วัดพนัญเชิง อยุธยา
ในพิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.2518


เหรียญพระครูประสาทวรคุณ
(หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
ในพิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.2518

เหรียญพระครูสันทัศธรรมคุณ (หลวงพ่อออด)
วัดบ้านช้าง อยุธยา ในพิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.2518

เหรียญหลวงพ่อหน่าย อินฺทสีโล วัดบ้านแจ้ง
อยุธยา ในพิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.2518

เหรียญหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม
ชัยนาท ในพิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.2518



เหรียญหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ วัดถ้ำบุญนาค
นครสวรรค์ ในพิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.2518
เหรียญพระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ)
วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี ในพิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.2518










































เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าข้าศึกทำลายเสียหายย่อยยับเมื่อ พ.ศ.2310 ข้าศึกได้ทำลายเผาปราสาทราชมณเฑียร บ้านเมืองวัดวาอารามวอดวาย เก็บกวาดทรัพย์ของมีค่า ตลอดจนกวาดต้อนคนไทยไปเป็นเชลย ประชาชนพลเมืองพากันหนีภัยออกจากเมือง จนกลายเป็นเมืองร้างระยะหนึ่ง ต่อมาถึงสมัยรัตน โกสินทร์เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติ ตั้งกรุงเทพพระมหานครเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.2325 แล้วได้ทรงเสด็จมาปฏิสังขรณ์ในวัดต่างๆ มี วัดสุวรรณดาราราม เป็นต้น และ วัดรัตนชัย ( หรือ วัดจีน ชื่อในสมัยนั้น ) ซึ่งอยู่ตรงข้ามก็ได้รับการปฏิสังขรณ์ด้วย ต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรับสั่งให้ซ่อมแซมวัดต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง มีวัดสุวรรณดาราราม และวัดเสนาสนาราม ( วัดเสื่อ ) และรวมทั้งวัดรัตนชัย มีรอยจารึกที่แผ่นหินอ่อนที่องค์เจดีย์ใหญ่ มีข้อความว่า

นมัตถุ รตนัสสะ จุลศักราช 1127 ข้อความแตกหายชำรุด และมีข้อความอื่นซึ่งผู้ซ่อมภายหลังได้บันทึกเอาไว้ เทียบได้คือ พ.ศ.2408 อันเป็นปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ( ทรงเสด็จสวรรคต 11 พ.ย. 2411 ) วัดนี้แต่เดิมชื่อ วัดจีน ( ตามปรากฏในแผนที่พระยาโบราณฯ ) และปรากฏชื่อว่า “ จีนาราม ” ตามหนังสือสุทธิ เคยมีผู้ค้นคว้าเรียบเรียงประวัติวัดของ คุณสมชาย พุ่มสอาด อดีตหัวหน้าอักษรแผนกอักษรศาสตร์ และวรรณคดีกรมศิลปากร ได้เขียนไว้ว่า มีชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพิงพระบรมโพธิสมภาร รับราชการมีความชอบได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระราชทินนามว่า “ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ” ซึ่งเป็นต้นสกุล “ โชติกะเสถียร ” ในปัจจุบันเป็นผู้สร้างวัดนี้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดให้เป็นมงคลนามตามชื่อประตูเมืองว่า “ วัดรัตนชัย ” และเพื่อให้ตามรัฐนิยมสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ.2483 มาจนทุกวันนี้ แต่บางคนก็ยังเรียกชื่อเก่าบ้าง ชื่อใหม่บ้าง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าคือวัดเดียวกัน


อุโบสถวัดรัตนชัย (วัดจีน)
ต.หอรัตนไชย พระนครศรีอยุธยา
อุโบสถ ก่ออิฐถือปูนตามลักษณะการสร้างแบบโบราณ คล้ายๆ อุโบสถวัดตูม มีหลังคาลด 2 ชั้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกา กว้าง 7.20 เมตร ยาว 15 เมตร มีกำแพงแก้ว 4 ด้าน พร้อมซุ้มประตู 4 ประตู หน้าบันเรียบไม่มีลายสลัก หรือปูนปั้นแต่ประการใด มีประตูเปิดเข้าออกด้านหน้า 3 ประตู ด้านหลัง 2 ประตู มีหน้าต่างข้างละ 3 บาน มีฐานชุกชีที่เป็นแท่นรองรับพระพุทธรูปเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความกว้างด้านละ 4.60 เมตร บนฐานมีพระพุทธรูปพระประธาน ก่ออิฐฉาบปูน มีพุทธลักษณะศิลปะแบบอยุธยา ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.15 เมตร กับมีพระพุทธรูปขนาดเล็กหน้าตัก 80 ซม. เป็นบริวารพระประธาน 4 องค์ ตามมุมฐานชุกชีเป็นศิลปะ อยุธยา เช่นเดียวกัน

เจดีย์ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัด ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้บนลานกว้าง 20.80 เมตร สูงประมาณ 24 เมตร มีฐานเป็นชั้นทักษิณสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูงจากพื้น 3 เมตร องค์เจดีย์กว้างยาวด้านละ 10 เมตร มีบันไดขึ้นทางทิศตะวันออก ชั้นล่างด้านข้างก่อทึบมีประตูวงโค้งแบบกุทุของอินเดียเป็นประตูหลอกทำนองซุ้มจรนำ ด้านหลังมี 3 ซุ้ม ด้านหน้าตรงหัวบันไดมีซุ้มข้างละซุ้ม รอบๆ ลานเจดีย์ยังปรากฏมีเนินกำแพงแก้วแต่ชำรุดเหลือซากให้เห็นปรากฏอยู่และมีซุ้มคล้ายๆ เจดีย์เล็ก 4 มุมด้วย ทางด้านหน้าทางขึ้นบันได เจาะช่องมีศิลาหินอ่อนจารึกดังกล่าวมาแล้ว

ซุ้มประตูวัดรัตนชัย (วัดจีน)
ต.หอรัตนไชย พระนครศรีอยุธยา
ศาลาการเปรียญ มีความกว้าง 9.20 เมตร ยาว 15.80 เมตร สร้างด้วยเสาไม้แก่นเป็นไม้แข็ง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา นายจาด นางบาง กระจ่างแดน เป็นผู้มีศรัทธาสร้างถวายไว้เมื่อ พ.ศ.2475 สมัย พระวินัยธรอิ่ม เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาทางวัดได้สร้างศาลาหลังคาแฝดเข้าประกอบ ซึ่งมีความยาวเท่าศาลาเก่าและกว้าง 8.30 เมตร เดิมใช้เป็นสถานที่เล่าเรียนของนักเรียนโรงเรียนรัตนชัย ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญกุศลทั่วไป กับได้มี น.ศ.ลมูล ชูสวรรณ ได้สร้างศาลาเพิ่มเติมสกัดทางทิศตะวันออกอีกหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2525 ขนาดความกว้าง 4.20 เมตร ยาว 14 เมตร

ลำดับเจ้าอาวาส
องค์ที่ 1 พระอธิการอ่วม ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ประมาณ พ.ศ.2440 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
องค์ที่ 2 พระอธิการเนย พ.ศ.2441-2445
องค์ที่ 3 พระอธิการผล พ.ศ.2446-2466
องค์ที่ 4 พระครูวินัยธร ( อิ่ม ) พ.ศ.2467-2487
องค์ที่ 5 พระครูศรีรัตนากร ( ทองอยู่ อหึสโก ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.2487-2535 รวมเวลานาน 48 ปี
องค์ที่ 6 พระอธิการทองสุข ติสฺสวํโส ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันนี้

ความเป็นมาของเหรียญจตุรพิธพรชัยอันเลื่องลือ

วัดรัตนชัย (วัดจีน) นี้ตั้งอยู่ในกำแพงเมือง
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก
บริเวณป้อมหอราชคฤห์ ตรงข้ามวัดเกาะแก้ว
“ นายเรียน นุ่มดี ” ผู้บัญชาการเรือนจำ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะนั้น เป็นศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่งของ “ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ” แกใกล้เกษียณอายุราชการ จึงวางแผนจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดเมืองนอนใน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

แต่เนื่องด้วย “ วัดเขาใหญ่ ” ซึ่งอยู่ใกล้บ้านแกมีสภาพชำรุดทรุดโทรม เสนาสนะต่างๆ ที่มีอยู่ใช้การได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะขาดการบูรณปฏิสังขรณ์มาช้านาน ยิ่งทางวัดเขาใหญ่มิได้มี พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประทับอยู่ และมิได้มีพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองอาคมขลังครองวัดอยู่ด้วยแล้ว ก็เป็นเรื่องยากที่จะหา
เงินเข้าวัด สภาพวัดจึงมีแต่ทรงกับทรุด

นายเรียน อยากจะหาเงินก้อนใหญ่ไปปฏิสังขรณ์วัดให้สวยงาม ทั้งยังจะสร้าง “ วิหารจตุรพิธพรชัย ” ไปในคราวเดียวกัน การครั้งนี้จำต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก หากทำไม่ดีหรือบารมีไม่มากพอก็ยากที่จะสำเร็จลุล่วง แกจึงนำความไปปรึกษากับ “ หลวงปู่ดู่ ” ผู้เป็นพระอาจารย์

หลวงปู่ดู่ จึงแนะนำให้นายเรียนไปขออนุญาตพระอาจารย์ที่เก่งที่สุดแห่งยุคของภาคกลางจำนวน 9 ท่าน อันมี 1. หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท 2. พระครูประสาทวิทยาคม ( หลวงพ่อนอ ) วัดกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา 3. พระครูประสาทวรคุณ ( หลวงพ่อพริ้ง ) วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี 4. พระครู ศรีพรหมโสภิต ( หลวงพ่อแพ ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี 5. พระรักขิตวันมุนี ( หลวงพ่อถิร ) วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี 6. พระราชสุวรรณโสภณ ( หลวงพ่อโกย ) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา 7. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง จ.พระนครศรีอยุธยา 8. พระครูสันทัดธรรมคุณ ( หลวงพ่อออด ) วัดบ้านช้าง จ.พระนครศรีอยุธยา 9. หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค จ.นครสวรรค์ เพื่อขออนุญาตสร้างเหรียญรูปเหมือนของแต่ละท่าน หลวงปู่ดู่ท่านบอกกับนายเรียนว่า “ พระอาจารย์ทั้ง 9 นั้นเก่งจริง ”


พระสมเด็จ มีกิน ฐานผ้าทิพย์ เนื้อผงน้ำมัน
วัดรัตนชัย (วัดจีน) พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2518 
 พระสมเด็จ มีกิน พิมพ์ใหญ่ เคลือบแดง
วัดรัตนชัย (วัดจีน) พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2518
พระกลีบบัว มีกิน พิมพ์อกร่อง รัศมี เคลือบแดง
วัดรัตนชัย (วัดจีน) พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2518
พระขุนแผน มีกิน พิมพ์แขนอ่อน
เคลือบน้ำตาล-แดง วัดรัตนชัย (วัดจีน)
พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2518








พระกลีบบัว มีกิน พิมพ์อกตัน รัศมี เนื้อผงน้ำมัน
วัดรัตนชัย (วัดจีน) พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2518

เมื่อบรรดาสุดยอดพระเกจิแห่งยุคทั้ง 9 ทราบว่า นายเรียนเป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่ดู่ และมีเจตนาอันดีงามจึงอนุญาตให้จัดสร้างได้ เพื่อให้งานใหญ่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเมื่อปั๊มเหรียญเสร็จเป็นที่เรียบร้อย นายเรียนกับคณะจัดงานได้แยกย้ายกันนำเหรียญของแต่ละพระอาจารย์ไปให้แต่ละท่านเสกเป็นเวลา 1 เดือนเต็มๆ เมื่อพระอาจารย์ทั้ง 9 เสกเสร็จก็นำกลับมาให้ หลวงปู่ดู่ ปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดรัตนชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2518 ซึ่งตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ จ.ศ.1337 พิธีนี้เรียกว่า “ พิธีจตุรพิธพรชัย ” โดยรายละเอียดของพิธีมีดังนี้

พระแก้วทรงเครื่องฤดูร้อน วัดรัตนชัย (วัดจีน)
พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2518
พระแก้วทรงเครื่องฤดูฝน วัดรัตนชัย (วัดจีน)
พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2518












พระแก้วทรงเครื่องฤดูหนาว วัดรัตนชัย (วัดจีน)
พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2518
พระแก้วทรงเครื่องฤดูร้อน วัดรัตนชัย (วัดจีน)
พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2518





เวลา 15.09 น. โหรประกอบพิธีบูชาฤกษ์
เวลา 16.03-16.21 น. มหามงคลฤกษ์ ประกอบพิธีจุดเทียนชัย
เวลา 16.30 น. พระสงฆ์เถระ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ในพิธี ( ในพระอุโบสถ วัดรัตนชัย )
เวลา 10.09 น. พระพิธีธรรม 4 รูป เจริญพระคาถาพุทธาภิเษก พระคณาจารย์ 16 รูป เข้าประจำอาสนะปรกปลุกเสก
เวลา 22.00 น. ดับเทียนชัย ประพรมนํ้าพระพุทธมนต์

วัตถุมงคลในพิธีจตุรพิธพรชัย

1. เหรียญพระรักขิตวันมุนี ( หลวงพ่อถิร ) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
2. เหรียญหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม ชัยนาท
3. เหรียญหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ วัดถ้ำบุญนาค นครสวรรค์
4. เหรียญพระครูศรีพรหมโสภิต ( หลวงพ่อแพ ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
5. เหรียญพระราชสุวรรณโสภณ ( หลวงพ่อโกย ) วัดพนัญเชิง อยุธยา
6. เหรียญพระครูประสาทวิทยาคม ( หลวงพ่อนอ ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
7. เหรียญพระครูประสาทวรคุณ ( หลวงพ่อพริ้ง ) วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
8. เหรียญพระครูสันทัศธรรมคุณ ( หลวงพ่อออด ) วัดบ้านช้าง อยุธยา
9. เหรียญหลวงพ่อหน่าย อินฺทสีโล วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
10. พระพิมพ์เนื้อผง ส่วนใหญ่เป็นพระพิมพ์เนื้อผงที่อาจารย์ลอย โพธิ์เงิน เป็นผู้สร้างและกดพิมพ์ถวายให้วัดมีพิมพ์ต่างๆ ดังนี้

พระอาจารย์พนม กันตสีโร
ผู้ให้ข้อมูล
สมเด็จมีกิน พิมพ์พระประธาน จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์
สมเด็จมีกิน พิมพ์ใหญ่ จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์
สมเด็จมีกิน พิมพ์กลาง จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์
สมเด็จมีกิน พิมพ์ฐานผ้าทิพย์ จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,500 องค์
สมเด็จมีกิน พิมพ์เล็กอกใหญ่ จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,500 องค์
สมเด็จมีกิน พิมพ์เล็กอกเล็ก จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์
สมเด็จมีกิน พิมพ์เล็กซุ้มใหญ่ จำนวน การสร้างไม่เกิน 1,000 องค์
สมเด็จมีกิน พิมพ์จิ๋ว จำนวนการสร้างไม่เกิน 500 องค์
สมเด็จมีกิน พิมพ์เล็กจิ๋ว จำนวนการสร้างไม่เกิน 200 องค์
ขุนแผนมีกิน พิมพ์นิยม จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,500 องค์
ขุนแผนมีกิน พิมพ์แขนอ่อน จำนวนการสร้างไม่เกิน 500 องค์
ขุนแผนมีกิน พิมพ์ใบพุทรา ( พิมพ์พระประธานตัดกลม ) จำนวนการสร้างไม่เกิน 200 องค์
คุณชำนาญ ศิริเรือง และคุณพยุง บุญโพธิ์ทอง
ผู้ให้ถ่ายภาพพระเครื่องในพิธี
กลีบบัวมีกิน พิมพ์อกร่องรัศมี จำนวนการสร้างไม่เกิน 500 องค์
กลีบบัวมีกิน พิมพ์รัศมี ( อกตัน ) จำนวนการสร้างไม่เกิน 2,000 องค์
พระลีลามีกิน พิมพ์ข้างเม็ด จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์
พระลีลามีกิน พิมพ์เล็ก จำนวนการสร้างไม่เกิน 500 องค์
พระผงสุพรรณมีกิน จำนวนการสร้างไม่เกิน 200 องค์
พระนางกวักมีกิน จำนวนการสร้างไม่เกิน 200 องค์
พระนางพญามีกิน พิมพ์ธรรมดา จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์
พระนางพญามีกิน พิมพ์สามเหลี่ยม จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์
พระนางพญามีกิน พิมพ์ขัดสมาธิเพชร จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์

11. นอกจากพระผงที่อาจารย์ลอย โพธิ์เงิน สร้างแล้ว ยังมีพระผงอีกส่วนหนึ่ง
ที่วัดต่างๆ นำมาเข้าพิธี เช่น พระผงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ( พระแก้ว ) ซึ่ง หลวงพ่อเริ่ม กิตติวัณโณ วัดบางพระวรวิหาร สร้างพระสมเด็จและนางกวักที่ วัดโคกกลอย จ.ระยอง สร้างโดยหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ปลุกเสกมาก่อนมาเข้าพิธี แล้วนำกลับไปถวายไว้ที่วัดรัตนชัยบางส่วน

12. พระผงสมเด็จ ด้านหลังปั๊มชื่อ วัดรัตนชัย และ พระแก้วสามฤดู ด้านหลังปั๊มชื่อ วัดรัตนชัย พระผงส่วนนี้ทางวัดนำผงไปให้โรงงานสร้างมา

13. พระผงสมเด็จจากวัดต่างๆ ที่นำมาเข้าพิธีและถวายไว้ที่วัดรัตนชัยบางส่วน

14. พระเก่าของวัดนำเข้าพิธีมี พระพิมพ์พระประจำวัน ทั้ง 7 วัน ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2507 เหรียญหลวงพ่อทองอยู่ ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ.2514 พระสมเด็จเสาร์ 5 ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2516


( ที่มา : ลานโพธิ์  ฉบับที่  1230 พิธีจตุรพิธพรชัย วัดรัตนชัย ( วัดจีน ) ต.หอรัตนไชย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เดือน มกราคม พ.ศ. 2562ราคาปก 70 บาท )


วันนี้อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้ 


สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า.. 





Available Now!  You can read whenever, wherever with any device.

 BangkokSarn App on Google Play store    Lanpo App on Google play Store    Ookbee Book Shop   Meb Market Book Shop    AIS Book Store   
 Lanpo App on Google Play Lanpo App on iTunes

#ลานโพธิ์ #พิธีจตุรพิธพรชัย #วัดรัตนชัย #ต.หอรัตนไชย #จ.พระนครศรีอยุธยา