 |
พระพิฆเนศ ปางวิฆนราช พิธีเทวาภิเษก โดยพระราชครูวามเทพมุนี
วันที่ 15 มีนาคม 2550 เวลา 12.00-17.00 น. ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
|
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสร้าง พระพิฆเนศ ปาง “ วิฆนราช ” ด้วยโลหะสำริดบริสุทธิ์ มี 3 ขนาด ความสูง 14 นิ้ว จัดทำขึ้นเพียง 200 องค์ ขนาด 10 นิ้ว จัดทำ 1,000 องค์ และ ขนาด 7 นิ้ว จัดทำ 2,000 องค์ จำนวนจำกัด เพื่อหารายได้ สำหรับจัดกิจกรรมทางวิชาการสถาบันฯ และส่วนหนึ่งมอบให้ศาสนสถานโบสถ์พราหมณ์ เพื่อใช้ในการทำนุบำรุงศาสนา
 |
เวียนเทียนสมโภชพระพิฆเนศ “วิฆนราช” |
 |
สวดบูชาพระพิฆเนศ โดยคณะบัณฑิตพราหมณ์อินเดีย |
ตามที่สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมทางวิชาการไทยศึกษา ครั้งที่ 10 ให้ระหว่างวันที่ 9-11 มกราคม 2550 ซึ่งเป็นงานประชุมทางวิชาการครั้งสำคัญที่จะรวบรวมนักวิชาการด้านไทยศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมกันนำเสนอผลงานวิจัยและการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของไทยและไท จึงมีความจำเป็นที่จะต้องระดมทุนเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม อันเป็นภาระสำคัญอีกประการหนึ่งของสถาบันฯ
การจัดทำ พระพิฆเนศ เพื่อเป็นวัตถุมงคลให้ประชาชนทั่วไปได้มีไว้สักการบูชาในครั้งนี้ ได้รับความกรุณาจาก ท่านพระราชครูวามเทพมุนี ประกอบพิธีบวงสรวงไหว้ครูขึ้นรูปขี้ผึ้ง พระพิฆเนศ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 และประกอบ พิธีเทวาภิเษก ขึ้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 ณ ศาสนสถานโบสถ์พราหมณ์
 |
เวียนเทียนสมโภชพระพิฆเนศ “วิฆนราช” |
“ พระพิฆเนศ ” ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์และฮินดู จัดเป็นเทพเจ้าชั้นสูงที่ควรได้รับการบูชาก่อนเป็นลำดับแรก และเป็นเทพแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งปวง นำมาซึ่งความสำเร็จและปัญญา ลักษณะทางปติมานวิทยาของ พระพิฆเนศ ที่สถาบันฯ จัดทำในครั้งนี้มีรูปร่างอวบอ้วน ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ มือซ้ายถือดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา และความเจริญรุ่งเรือง มือขวาอยู่ในปางวรมุทราหมายถึงการประทานพร เศียรที่เป็นช้างคือผู้มีปัญญามาก ตาที่เล็กคือความสามารถมองแยกแยะสิ่งถูกผิด หูและจมูกที่ใหญ่หมายถึงมีสัมผัสพิจารณาที่ดีเลิศ พระพิฆเนศ มีพาหนะคือ หนู ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิดความฝันของมนุษย์ที่พุ่งพล่านรวดเร็ว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจตน
 |
พระราชครูวามเทพมุนี และผู้อำนวยการ สถาบันไทยคดีศึกษา ประกอบพิธีบูชาฤกษ์ |
 |
พระราชครูวามเทพมุนี และผู้อำนวยการ สถาบันไทยคดีศึกษาบวงสรวง และจุดเทียนชัย |
เทวรูปพระพิฆเนศ ปาง “ วิฆนราช ” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในอุปสรรคทั้งมวล หรืออีกนัยหนึ่งคือผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวง มีลักษณะเป็น พระพิฆเนศ ทรงศิลาภรณ์ “เทริด” ยอดดอกบัวตูม สวมกรองศอ สะพายสังวาลงูเกี้ยวกระหวัดจากอังสา ( ไหล่ ) ซ้าย ทรงภูษาโจง มีผ้าทิพย์ประดับด้านหน้า โดยรวมแล้วมีรูปลักษณ์เป็นแบบเทวรูปสุโขทัยประยุกต์ ประทับยืนบนฐานดอกบัวหงายซ้อนบนฐานแข้งสิงห์ทรงกลม
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 973 ปักษ์หลัง เดือน เมษายน พ.ศ. 2550 : พระพิฆเนศ ปางวิฆนราช พิธีเทวาภิเษก โดยพระราชครูวามเทพมุนี วันที่ 15 มีนาคม 2550 เวลา 12.00-17.00 น. ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..
Available Now! You can read whenever, wherever with any device.
#ลานโพธิ์ #พระพิฆเนศ #ปางวิฆนราช