เลยภาพและเรื่องโดย สีลธโน
เลย มรกตที่เขียวสดใสแห่งแดนอีสาน ที่ถูกธรรมชาติอ้อมกอดไว้ท่ามกลางความสวยงาม และทัศนียภาพที่ห้อมล้อมไปด้วยป่าเขาลำเนาไพรอันเขียวขจี ใครได้พบพานเมืองนี้แล้วยากนักที่จะลืมได้ลง แม้แต่ผู้เขียนเองไปเที่ยวมาแล้วที่เมืองนี้ยังไม่คิดอยากกลับ เพราะเมืองเลยมีอะไรดีๆ หลายๆ อย่างที่น่าสนใจ มากไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยว มากไปด้วยภูเขา มากไปด้วยถ้ำ มากไปด้วยพระธาตุ มากไปด้วยวัดวาอาราม มากไปด้วยน้ำตก มากไปด้วยวัฒนธรรมประเพณี มากไปด้วยพระคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน และมากไปด้วยน้ำใจของชาวเลยที่ให้ความโอบอ้อมอารีอย่างดียิ่ง
ประทับใจที่สุดจนลืมไม่ลง
จังหวัดเลย ถูกธรรมชาติลงโทษให้เป็นเมืองที่หนาวที่สุดในประเทศไทย คือถึงฤดูหนาวจะหนาวเหน็บเจ็บแสบเข้าไปในขั้วหัวใจ บางครั้งบางปีน้ำค้างกลายเป็นน้ำแข็ง อุณหภูมิลดถึง -1.3 องศาเซลเซียส ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสารคนยากคนจนในเมืองนี้เป็นที่ยิ่ง ที่ขาดผ้าห่มอันอบอุ่นพันกายและเครื่องกันความหนาว
ประวัติความเป็นมา อำเภอเมืองเลย เดิมทีเป็นที่ตั้งอยู่ที่บ้านแฮ่ เป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยน้ำหมานซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำ เลย ขึ้นตรงต่อมณฑลอุดรธานี และเป็นที่ตั้ง จังหวัดเลย จังหวัดเลยได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2396 ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ได้ทรงพิจารณาเห็นว่าผู้คนในแขวงนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าแต่ก่อน สมควรจะตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาท้ายน้ำออกสำรวจเขตแขวงต่างๆ แล้วได้พิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยน้ำหมานและอยู่ใกล้กับแม่น้ำ เลย มีภูมิประเทศที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง คือ มีภูเขาล้อมรอบ มีพลเมืองหนาแน่น พอจะตั้งเป็นเมืองได้ จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งเป็นเมืองชื่อตามแม่น้ำเลยว่า “ เมืองเลย ” มีอยู่ 3 อำเภอเท่านั้น คือ อำเภอกุดป่อง ( อำเภอเมือง ในปัจจุบัน ) อำเภอท่าลี่ และ อำเภอวังสะพุง
ต่อมาในปี พ.ศ.2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากเดิมมาเป็นแบบเทศาภิบาล โดยแบ่งเป็นมณฑล เมือง, ตำบล, หมู่บ้าน ที่ตั้งเมือง เรียกว่า อำเภอกุดป่อง และครั้น พ.ศ.2450 ก็ได้ประกาศยกเลิกบริเวณลุ่มน้ำเหืองให้คงเหลือไว้เฉพาะ เมืองเลย โดยเปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น อำเภอเมือง ในวันที่ 4 มกราคม 2440 วันนี้จึงเป็นวันสถาปนา จังหวัดเลย ทุกปีมา
พระคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ของ จังหวัดเลย นี้มีด้วยกันหลายรูป หลายองค์ ล้วนแต่เป็นพระที่น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งทุกรูปทุกองค์ อาทิ หลวงปู่ชอบ, อาจารย์ท่อน, อาจารย์สีทน และ หลวงปู่คำดี แห่งวัดถ้ำผาปู่ บ้านน้ำคู อำเภอเมือง จังหวัดเลย
วันนี้ผู้เขียนมีความภูมิใจขอนำท่านมาพบกับประวัติความเป็นมาของ หลวงปู่คำดี มาเสนอท่านผู้อ่านที่ยังไม่ทราบ ได้รับทราบ ณ บัดนี้
หลวงปู่คำดี ปภาโส ท่านเป็นเกจิ อาจารย์กรรมฐานองค์หนึ่ง ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
หลวงปู่คำดี ปภาโส เกิดวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2445 ตรงกับแรม 14 ค่ำ ปีขาล ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ของ นายพร-นางหมอก นินเขียว เกิดที่บ้านหนองคู ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกันคือ ชาย 3 คน หญิง 3 คน รวม 6 คนด้วยกัน ดังนี้
1. นายบุญตา นินเขียว
2. หลวงปู่คำดี ปภาโส
3. นายอ่อน นินเขียว
4. นางชา กมล
5. นางบาง พันธุ์เมือง
6. นางหลวง บำรุง
สมัย หลวงปู่คำดี ท่านเป็นเด็กท่านไม่ได้เข้าโรงเรียน เพราะสมัยนั้นตามชนบทบ้านนอกไม่มีโรงเรียน ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยเข้าเรียนโรงเรียนผู้ใหญ่จบชั้นประถมปีที่ 4 บริบูรณ์ ในสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่อ่อนน้อมถ่อมตนและมีจิตใจเลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนาตลอดมา ท่านนึกอยากจะบวชมาตลอด เมื่ออายุของท่านพอบวชเป็นสามเณรได้ ท่านขออนุญาตโยมบิดา-มารดาของท่านบวช โยมบิดา-มารดาของท่านไม่อนุญาต และบอกว่าเอาไว้อายุครบบวชเป็นพระแล้วค่อยบวชทีเดียวเลย เพราะตอนนี้ทางบ้านกำลังต้องการให้อยู่ช่วยทำงานก่อน ท่านก็ได้ช่วยโยมของท่านทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียรด้วยความอดทนมาตลอด จนกระทั่งอายุของท่านครบ 22 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้ขออนุญาตโยมบิดา-มารดาของท่านบวชอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้โยมของท่านเห็นว่าอายุครบบวชแล้วจึงยินดีอนุญาตให้ท่านบวชได้ตามความต้องการ เมื่อท่านได้ยินคำอนุญาตจากโยมของท่าน ท่านดีใจมากเพราะสมใจที่ท่านคิดไว้ ท่านพูดว่าสมัยท่านเป็นเด็กมองเห็นภูเขาเขียวๆ อยู่ใกล้บ้านท่าน เป็นสถานที่ที่เหมือนว่าท่านเคยอาศัยอยู่มาแต่ก่อนแล้ว จึงบังเกิดความปีติและเกิดความชื่นใจตลอดมา
อุปสมบท หลวงปู่คำดี ปภาโส ท่านบวชเป็นพระมหานิกายที่วัดหนองแวง บ้านเมืองเก่า ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พระอาจารย์ที่บวชให้ท่านคือ
พระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์โพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์ชานุหลิด เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อท่านบวชแล้วท่านไปจำพรรษาอยู่ที่บ้านหนองคู ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำพรรษากับอาจารย์ของท่าน ต่อมาไม่นานอาจารย์ของท่านได้ลาสิกขาจากท่านไป ท่านจึงต้องทำหน้าที่เป็นสมภารวัดแทนอาจารย์ของท่าน ท่านได้บวชเป็นพระฝ่ายมหานิกายอยู่ 4 พรรษา ในระหว่างที่บวชอยู่นั้น ท่านไม่มีความยินดีและพอใจในความเป็นอยู่ เพราะท่านได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการบวชตามประเพณีเช่นนี้คงจะไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ถ้าฝืนบวชและจำพรรษาอยู่อย่างนี้แล้ว คงขาดทุนในการบวชแน่นอน เพราะเป็นการอยู่ด้วยความประมาท เลินเล่อเผลอสติทั้งวันทั้งคืนอยู่ตลอดเวลา เมื่อท่านพิจารณาเห็นโทษของความเป็นอยู่ ท่านจึงคิดอยากที่จะออกไปธุดงค์กรรมฐานปฏิบัติภาวนาให้รู้แจ้งเห็นจริงให้ได้
วันหนึ่งในตอนกลางคืนเวลาประมาณ 2 ทุ่ม ท่านได้สั่งให้เณรตีกลองสัญญาณเพื่อเรียกญาติโยมอุปัฏฐากวัดมาร่วมประชุมกัน เมื่อญาติโยมทั้งผู้เฒ่า ชาย หญิง เด็ก หนุ่มสาว ได้ยินเสียงกลองสัญญาณเรียก ต่างก็รู้สึกแปลกใจเพราะไม่เคยมีเช่นนี้มาก่อน คิดว่าคงมีอะไรเกิดขึ้น ญาติโยมทั้งหลายได้มารวม
กันที่วัดจนเต็มศาลา เมื่อท่านเห็นว่าญาติโยมทั้งหลายได้มาพร้อมกันเรียบร้อย ท่านจึงได้พูดกับญาติโยมทั้งหลายว่า
“ โยมทั้งหลายโปรดทราบ อาตมาได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ก็หลายปีแล้ว ไม่ค่อยสบายใจนึกอยากจะสึกแล้ว ”
โยมทั้งหลายเมื่อได้ยินเช่นนั้นจึงคัดค้านว่า
“ ไม่ให้ท่านสึกหรอก เพราะท่านบวชมานานหลายพรรษาแล้ว เสียดายผ้าเหลือง ”
หลวงปู่คำดี จึงถามว่า “ถ้าไม่ให้อาตมาสึก อาตมาจะขอลาญาติโยมออกธุดงค์กรรมฐาน เพราะถ้าให้อาตมาอยู่อย่างนี้เรื่อยไป สักวันหนึ่งต้องสึกแน่นอน ”
โยมทั้งหลายพอได้ฟังคำพูดของท่านอย่างนั้น ก็รู้สึกเสียใจและเสียดายท่านกันทุกคน ถ้าให้ท่านอยู่ก็เกรงว่าท่านจะสึก จึงได้ปรึกษากันแล้ว ทุกคนมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรให้ท่านออกธุดงค์กรรมฐานตามความประสงค์ของท่านเถิด เมื่อท่านรู้อรรถรู้ธรรม และเห็นธรรมแล้ว ท่านคงกลับมาโปรดพวกเราอีกเป็นแน่
เมื่อญาติโยมเห็นชอบและไม่ขัดศรัทธา ท่านรู้สึกดีใจมากสมกับความตั้งใจของท่าน เหมือนกับว่าปล่อยนกออกจากกรงขัง เพราะท่านอึดอัดใจมานานแล้ว เพราะว่าท่านเป็นพระที่เกรงใจ อ่อนน้อม ถ่อมตน เมตตากรุณาต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งเป็นอุปนิสัยที่ท่านปฏิบัติติดตัวท่านมาตลอดจนสิ้นชีวิต
การจะออกธุดงค์กรรมฐาน ท่านมีความตั้งใจตั้งแต่ครั้งท่านยังบวชเป็นฝ่ายมหานิกายอยู่ โดยครั้งหนึ่งท่านเคยพาสามเณรออกไปนั่งกรรมฐานที่ป่าช้า ท่านเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งมีคนตายใหม่เพิ่งเอาไปเผา เวลาประมาณ 2 ทุ่ม ท่านไปกับสามเณรเพียง 2 องค์ ถึงป่าช้าท่านกับสามเณรแยกกัน ท่านอยู่ที่โคนไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง และสามเณรอยู่อีกที่หนึ่ง เมื่อแยกย้ายกันหาที่ภาวนาเรียบร้อยแล้วต่างคนต่างนั่งภาวนากัน การภาวนาของท่านครั้งนั้นยังไม่มีครูอาจารย์สอน ท่านได้ศึกษาตามแบบ แผนที่ท่านอ่านพบและปฏิบัติภาวนาตาม คือ ให้บริกรรมพุทโธ ท่านก็เลยเอาพุทโธบริกรรม ท่านภาวนาไปสักพักทำให้เกิดจิตว่างจากความนึกคิด กายก็ปรากฏว่าหายไปหมด มีสติกับความรู้อยู่เฉย มีแต่ความสุขใจ ท่านนั่งประมาณ 3 ชั่วโมงจิตจึงจะถอนออกมา เห็นว่าดึกมากแล้วจึงลุกขึ้นไปดูสามเณรน้อยที่นั่งภาวนาอยู่อีกแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าสามเณรน้อยนั่งหลับจึงปลุกลุกขึ้นมาพากันกลับวัด นี่แสดงว่าสมัยท่านเป็นพระมหานิกายท่านเคยปฏิบัติมาแล้ว การได้รับความสงบจากครั้งนั้นครั้งเดียวนี้แหละ เป็นเหตุและปัจจัยให้ท่านตัดสินใจออกธุดงค์กรรมฐาน
รุ่งขึ้นหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อย ท่านก็พักผ่อนตามวิสัยของท่าน พอเวลาประมาณบ่าย 1 โมง มีพระธุดงค์กรรมฐาน 2 องค์ เดินธุดงค์กรรมฐานมาพักอยู่ที่ต้นโพธิ์ใหญ่ริมวัดของท่าน โดยไม่ยอมเข้าพักที่วัดและบริเวณบ้านของคน หลวงปู่คำดี ท่านมองเห็นพระกรรมฐาน 2 องค์ พักที่ร่มโพธิ์ใหญ่ริมรั้ววัดของท่าน ท่านก็แปลกใจ และทำให้ท่านนึกถึงแรงอธิษฐานจิตของท่านที่ท่านอธิษฐานกับพระประธานไว้ ทำให้ท่านรู้สึกปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ต่อจากนั้นท่านก็รีบเอาสิ่งของไปต้อนรับพระกรรมฐาน 2 องค์นั้น มีน้ำ บุหรี่ เสื่อปูนั่ง เป็นต้น พอถวายของเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่คำดีก็นิมนต์พระธุดงค์กรรมฐานนั้นเข้าพักที่วัด พระธุดงค์กรรมฐาน 2 องค์นั้นตอบว่า
“ พวกกระผมไม่พักวัดตามบ้าน และบริเวณในบ้านคน ต้องพักตามป่า เพราะได้อธิษฐานธุดงค์ไว้แล้ว ถ้าพวกกระผมไปตามนิมนต์ของท่าน อธิษฐานของพวกกระผมก็ขาดเท่านั้นเอง ”
หลวงปู่คำดี ท่านกำลังสนใจการธุดงควัตร ท่านจึงถามพระธุดงค์ทั้ง 2 องค์ว่า การออกธุดงค์กรรมฐานทำอะไรบ้าง กระผมขอนิมนต์ช่วยอธิบายให้ฟังด้วย พระธุดงค์ 2 องค์จึงอธิบายให้ หลวงปู่คำดี ฟังว่า
คำว่า “ ธุดงควัตร ” หมายถึง ข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส
คำว่า “ พระธุดงค์ ” ก็คือ พระภิกษุที่มีกิเลสอันกำจัดแล้วด้วยการถือธุดงค์
คำว่า “ ถือธุดงค์ ” หมายถึง เจตนาที่แสดงออก เพื่อขจัดกิเลสของตนเกี่ยวกับเรื่องเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และความเพียรด้วยข้อปฏิบัติ “ ธุดงควัตร ” การถือธุดงค์นี้สำเร็จด้วยการสมาทาน คือ ด้วยอธิษฐานใจ หรือแม้แต่เปล่งวาจามีอยู่ด้วยกัน 13 ข้อ คือ
1. ปังสุกูลิกังคะ ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
2. เตจีวริกังคะ ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร
3. ปิณฑปาติกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
4. สปทานจาริกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตไป โดยลำดับแถวเป็นวัตร
5. เอกาสนิกังคะ ถือฉันจังหันในอาสนะเดียว ( ฉันมื้อเดียว )
6. ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันในภาชนะอันเดียว ถือฉันในบาตรเป็นวัตร
7. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
8. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
9. รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
10. อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่อัพโภกาสที่แจ้ง ( การอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร )
11. โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร
12. ยถาสันกติกังคะ ถืออยู่เสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไร ยินดีเท่านั้นเป็นวัตร
13. เนสัชชิกังคะ ถือไม่นอนเป็นวัตร
เมื่อพระธุดงค์ทั้ง 2 องค์อธิบายเรื่องธุงดงค์กรรมฐาน ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติให้ หลวงปู่คำดี ฟังจบลง หลวงปู่คำดี ยิ่งมีเจตนาศรัทธาแรงกล้ายิ่งขึ้นกว่าเดิม หลวงปู่จึงขอติดตามพระธุดงค์ทั้ง 2 องค์ไปด้วย ท่านจึงถามว่าท่านเป็นพระฝ่ายมหานิกายหรือธรรมยุต
หลวงปู่ตอบว่า “ กระผมเป็นพระฝ่ายมหานิกาย ”
พระธุดงค์จึงบอกว่า “ ถ้าท่านเป็นพระฝ่ายมหานิกายไปกับพวกผมไม่ได้ ถ้าท่านอยากจะไปกับกระผมจริงๆ ท่านต้องไปญัตติเป็นพระธรรมยุตเสียก่อน ท่านจึงจะไปกับพวกกระผมได้ ” พอท่านได้รับทราบแล้ว ท่านจึงรู้เรื่องการออกธุดงค์กรรมฐานดี
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
เลย มรกตที่เขียวสดใสแห่งแดนอีสาน ที่ถูกธรรมชาติอ้อมกอดไว้ท่ามกลางความสวยงาม และทัศนียภาพที่ห้อมล้อมไปด้วยป่าเขาลำเนาไพรอันเขียวขจี ใครได้พบพานเมืองนี้แล้วยากนักที่จะลืมได้ลง แม้แต่ผู้เขียนเองไปเที่ยวมาแล้วที่เมืองนี้ยังไม่คิดอยากกลับ เพราะเมืองเลยมีอะไรดีๆ หลายๆ อย่างที่น่าสนใจ มากไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยว มากไปด้วยภูเขา มากไปด้วยถ้ำ มากไปด้วยพระธาตุ มากไปด้วยวัดวาอาราม มากไปด้วยน้ำตก มากไปด้วยวัฒนธรรมประเพณี มากไปด้วยพระคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน และมากไปด้วยน้ำใจของชาวเลยที่ให้ความโอบอ้อมอารีอย่างดียิ่ง
ประทับใจที่สุดจนลืมไม่ลง
จังหวัดเลย ถูกธรรมชาติลงโทษให้เป็นเมืองที่หนาวที่สุดในประเทศไทย คือถึงฤดูหนาวจะหนาวเหน็บเจ็บแสบเข้าไปในขั้วหัวใจ บางครั้งบางปีน้ำค้างกลายเป็นน้ำแข็ง อุณหภูมิลดถึง -1.3 องศาเซลเซียส ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสารคนยากคนจนในเมืองนี้เป็นที่ยิ่ง ที่ขาดผ้าห่มอันอบอุ่นพันกายและเครื่องกันความหนาว
![]() |
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ พ.ศ.2516 (คนจังหวัดขอนแก่นสร้าง) |
![]() |
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ พ.ศ.2516 (คนจังหวัดเลยสร้าง) |
พระคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ของ จังหวัดเลย นี้มีด้วยกันหลายรูป หลายองค์ ล้วนแต่เป็นพระที่น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งทุกรูปทุกองค์ อาทิ หลวงปู่ชอบ, อาจารย์ท่อน, อาจารย์สีทน และ หลวงปู่คำดี แห่งวัดถ้ำผาปู่ บ้านน้ำคู อำเภอเมือง จังหวัดเลย
วันนี้ผู้เขียนมีความภูมิใจขอนำท่านมาพบกับประวัติความเป็นมาของ หลวงปู่คำดี มาเสนอท่านผู้อ่านที่ยังไม่ทราบ ได้รับทราบ ณ บัดนี้
ประวัติของ หลวงปู่คำดี ปภาโส
![]() |
พระพุทธรูปภายในถ้ำผาปู่ |
หลวงปู่คำดี ปภาโส เกิดวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2445 ตรงกับแรม 14 ค่ำ ปีขาล ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ของ นายพร-นางหมอก นินเขียว เกิดที่บ้านหนองคู ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกันคือ ชาย 3 คน หญิง 3 คน รวม 6 คนด้วยกัน ดังนี้
![]() |
รูปหล่อหลวงปู่คำดี ปภาโส อดีตเจ้าอาวาส |
2. หลวงปู่คำดี ปภาโส
3. นายอ่อน นินเขียว
4. นางชา กมล
5. นางบาง พันธุ์เมือง
6. นางหลวง บำรุง
สมัย หลวงปู่คำดี ท่านเป็นเด็กท่านไม่ได้เข้าโรงเรียน เพราะสมัยนั้นตามชนบทบ้านนอกไม่มีโรงเรียน ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยเข้าเรียนโรงเรียนผู้ใหญ่จบชั้นประถมปีที่ 4 บริบูรณ์ ในสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่อ่อนน้อมถ่อมตนและมีจิตใจเลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนาตลอดมา ท่านนึกอยากจะบวชมาตลอด เมื่ออายุของท่านพอบวชเป็นสามเณรได้ ท่านขออนุญาตโยมบิดา-มารดาของท่านบวช โยมบิดา-มารดาของท่านไม่อนุญาต และบอกว่าเอาไว้อายุครบบวชเป็นพระแล้วค่อยบวชทีเดียวเลย เพราะตอนนี้ทางบ้านกำลังต้องการให้อยู่ช่วยทำงานก่อน ท่านก็ได้ช่วยโยมของท่านทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียรด้วยความอดทนมาตลอด จนกระทั่งอายุของท่านครบ 22 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้ขออนุญาตโยมบิดา-มารดาของท่านบวชอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้โยมของท่านเห็นว่าอายุครบบวชแล้วจึงยินดีอนุญาตให้ท่านบวชได้ตามความต้องการ เมื่อท่านได้ยินคำอนุญาตจากโยมของท่าน ท่านดีใจมากเพราะสมใจที่ท่านคิดไว้ ท่านพูดว่าสมัยท่านเป็นเด็กมองเห็นภูเขาเขียวๆ อยู่ใกล้บ้านท่าน เป็นสถานที่ที่เหมือนว่าท่านเคยอาศัยอยู่มาแต่ก่อนแล้ว จึงบังเกิดความปีติและเกิดความชื่นใจตลอดมา
![]() |
เหรียญรุ่นสอง หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ พ.ศ.2516 |
พระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์โพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์ชานุหลิด เป็นพระอนุสาวนาจารย์
![]() |
เหรียญฉลองพัดยศ หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ พ.ศ.2517 |
ลาญาติโยมออกธุดงค์กรรมฐาน
![]() |
เหรียญหลวงปู่คำดี (ออกวัดศรีปทุมวนาราม) พ.ศ.2518 |
กันที่วัดจนเต็มศาลา เมื่อท่านเห็นว่าญาติโยมทั้งหลายได้มาพร้อมกันเรียบร้อย ท่านจึงได้พูดกับญาติโยมทั้งหลายว่า
“ โยมทั้งหลายโปรดทราบ อาตมาได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ก็หลายปีแล้ว ไม่ค่อยสบายใจนึกอยากจะสึกแล้ว ”
![]() |
เหรียญข้างเม็ด หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ พ.ศ.2518 |
โยมทั้งหลายเมื่อได้ยินเช่นนั้นจึงคัดค้านว่า
“ ไม่ให้ท่านสึกหรอก เพราะท่านบวชมานานหลายพรรษาแล้ว เสียดายผ้าเหลือง ”
หลวงปู่คำดี จึงถามว่า “ถ้าไม่ให้อาตมาสึก อาตมาจะขอลาญาติโยมออกธุดงค์กรรมฐาน เพราะถ้าให้อาตมาอยู่อย่างนี้เรื่อยไป สักวันหนึ่งต้องสึกแน่นอน ”
โยมทั้งหลายพอได้ฟังคำพูดของท่านอย่างนั้น ก็รู้สึกเสียใจและเสียดายท่านกันทุกคน ถ้าให้ท่านอยู่ก็เกรงว่าท่านจะสึก จึงได้ปรึกษากันแล้ว ทุกคนมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรให้ท่านออกธุดงค์กรรมฐานตามความประสงค์ของท่านเถิด เมื่อท่านรู้อรรถรู้ธรรม และเห็นธรรมแล้ว ท่านคงกลับมาโปรดพวกเราอีกเป็นแน่
เมื่อญาติโยมเห็นชอบและไม่ขัดศรัทธา ท่านรู้สึกดีใจมากสมกับความตั้งใจของท่าน เหมือนกับว่าปล่อยนกออกจากกรงขัง เพราะท่านอึดอัดใจมานานแล้ว เพราะว่าท่านเป็นพระที่เกรงใจ อ่อนน้อม ถ่อมตน เมตตากรุณาต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งเป็นอุปนิสัยที่ท่านปฏิบัติติดตัวท่านมาตลอดจนสิ้นชีวิต
การภาวนาครั้งแรก
![]() |
เจดีย์หลวงปู่คำดี ปภาโส ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าวัดถ้ำผาปู่ |
การจะออกธุดงค์กรรมฐาน ท่านมีความตั้งใจตั้งแต่ครั้งท่านยังบวชเป็นฝ่ายมหานิกายอยู่ โดยครั้งหนึ่งท่านเคยพาสามเณรออกไปนั่งกรรมฐานที่ป่าช้า ท่านเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งมีคนตายใหม่เพิ่งเอาไปเผา เวลาประมาณ 2 ทุ่ม ท่านไปกับสามเณรเพียง 2 องค์ ถึงป่าช้าท่านกับสามเณรแยกกัน ท่านอยู่ที่โคนไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง และสามเณรอยู่อีกที่หนึ่ง เมื่อแยกย้ายกันหาที่ภาวนาเรียบร้อยแล้วต่างคนต่างนั่งภาวนากัน การภาวนาของท่านครั้งนั้นยังไม่มีครูอาจารย์สอน ท่านได้ศึกษาตามแบบ แผนที่ท่านอ่านพบและปฏิบัติภาวนาตาม คือ ให้บริกรรมพุทโธ ท่านก็เลยเอาพุทโธบริกรรม ท่านภาวนาไปสักพักทำให้เกิดจิตว่างจากความนึกคิด กายก็ปรากฏว่าหายไปหมด มีสติกับความรู้อยู่เฉย มีแต่ความสุขใจ ท่านนั่งประมาณ 3 ชั่วโมงจิตจึงจะถอนออกมา เห็นว่าดึกมากแล้วจึงลุกขึ้นไปดูสามเณรน้อยที่นั่งภาวนาอยู่อีกแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าสามเณรน้อยนั่งหลับจึงปลุกลุกขึ้นมาพากันกลับวัด นี่แสดงว่าสมัยท่านเป็นพระมหานิกายท่านเคยปฏิบัติมาแล้ว การได้รับความสงบจากครั้งนั้นครั้งเดียวนี้แหละ เป็นเหตุและปัจจัยให้ท่านตัดสินใจออกธุดงค์กรรมฐาน
![]() |
วัดถ้ำผาปู่ |
แรงอธิษฐาน
ก่อนที่ท่านจะไปญัตติเป็นพระธรรมทูตเพื่อออกธุดงค์กรรมฐานนั้น ตอนเย็นหลังจากท่านทำวัตรเสร็จแล้ว ท่านได้ตั้งสัจจะต่อหน้าพระประธานว่า “ ถ้าหากข้าพเจ้าจะได้ออกธุดงค์กรรมฐานแล้ว ขอจงให้ข้าพเจ้าพบพระผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาโปรดข้าพเจ้าด้วยเถิด ” เสร็จแล้วท่านก็พักผ่อนหลับนอนไปตามอัธยาศัย![]() |
พิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำดี ปภาโส |
“ พวกกระผมไม่พักวัดตามบ้าน และบริเวณในบ้านคน ต้องพักตามป่า เพราะได้อธิษฐานธุดงค์ไว้แล้ว ถ้าพวกกระผมไปตามนิมนต์ของท่าน อธิษฐานของพวกกระผมก็ขาดเท่านั้นเอง ”
หลวงปู่คำดี ท่านกำลังสนใจการธุดงควัตร ท่านจึงถามพระธุดงค์ทั้ง 2 องค์ว่า การออกธุดงค์กรรมฐานทำอะไรบ้าง กระผมขอนิมนต์ช่วยอธิบายให้ฟังด้วย พระธุดงค์ 2 องค์จึงอธิบายให้ หลวงปู่คำดี ฟังว่า
![]() |
“หลวงพ่อพระเศียร” ตั้งอยู่ด้านหน้าถ้ำผาปู่ |
คำว่า “ พระธุดงค์ ” ก็คือ พระภิกษุที่มีกิเลสอันกำจัดแล้วด้วยการถือธุดงค์
คำว่า “ ถือธุดงค์ ” หมายถึง เจตนาที่แสดงออก เพื่อขจัดกิเลสของตนเกี่ยวกับเรื่องเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และความเพียรด้วยข้อปฏิบัติ “ ธุดงควัตร ” การถือธุดงค์นี้สำเร็จด้วยการสมาทาน คือ ด้วยอธิษฐานใจ หรือแม้แต่เปล่งวาจามีอยู่ด้วยกัน 13 ข้อ คือ
![]() |
บริเวณหน้าถ้ำผาปู่ |
2. เตจีวริกังคะ ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร
3. ปิณฑปาติกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
4. สปทานจาริกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตไป โดยลำดับแถวเป็นวัตร
5. เอกาสนิกังคะ ถือฉันจังหันในอาสนะเดียว ( ฉันมื้อเดียว )
6. ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันในภาชนะอันเดียว ถือฉันในบาตรเป็นวัตร
7. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
8. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
9. รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
10. อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่อัพโภกาสที่แจ้ง ( การอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร )
11. โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร
12. ยถาสันกติกังคะ ถืออยู่เสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไร ยินดีเท่านั้นเป็นวัตร
13. เนสัชชิกังคะ ถือไม่นอนเป็นวัตร
เมื่อพระธุดงค์ทั้ง 2 องค์อธิบายเรื่องธุงดงค์กรรมฐาน ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติให้ หลวงปู่คำดี ฟังจบลง หลวงปู่คำดี ยิ่งมีเจตนาศรัทธาแรงกล้ายิ่งขึ้นกว่าเดิม หลวงปู่จึงขอติดตามพระธุดงค์ทั้ง 2 องค์ไปด้วย ท่านจึงถามว่าท่านเป็นพระฝ่ายมหานิกายหรือธรรมยุต
หลวงปู่ตอบว่า “ กระผมเป็นพระฝ่ายมหานิกาย ”
พระธุดงค์จึงบอกว่า “ ถ้าท่านเป็นพระฝ่ายมหานิกายไปกับพวกผมไม่ได้ ถ้าท่านอยากจะไปกับกระผมจริงๆ ท่านต้องไปญัตติเป็นพระธรรมยุตเสียก่อน ท่านจึงจะไปกับพวกกระผมได้ ” พอท่านได้รับทราบแล้ว ท่านจึงรู้เรื่องการออกธุดงค์กรรมฐานดี
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1184 “ อริยสงฆ์ผู้เบิกบานในธรรม ” หลวงปู่คำดี ปภาโส ( พระครูญาณทัสสี ) วัดถํ้าผาปู่ อ.เมือง จ.เลย ปักษ์แรก เดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ราคาปก 60 บาท )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้