หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม


ภาพและเรื่องโดย เอกลักษณ์ เพริศพริ้ง

หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร
อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม
หนึ่งในสาม พิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ และเข้มขลังที่สุดแห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ พิธีมหาพุทธาภิเษก พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี ..2485 ทั้งนี้เนื่องเพราะบ้านเมืองเราในขณะนั้นอยู่ในภาวะสงคราม ประชาชนคนไทยต่างระส่ำระสายตื่นตระหนกตกใจ ต่างหวาดผวาอกสั่นขวัญแขวน ทางพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จึงได้จัดสร้างมงคลวัตถุนี้ขึ้น อันประกอบไปด้วย พระพุทธชินราชอินโดจีน ขนาดลอยองค์ไว้ห้อยคอ จำนวน 90,000 องค์ (ตอกโค้ด 84,000 องค์) และเหรียญปั๊มพระพุทธชินราช หลังอกเลา จำนวน 3,000 เหรียญ ทำไว้สำหรับจำหน่ายจ่ายแจกให้กับบรรดาเหล่าทหารหาญและประชาชนคนทั่วไป เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ การนี้ได้คัดเลือกนิมนต์เฉพาะสุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทวิทยาคมจากทั่วประเทศ จำนวน 82 รูป เข้าร่วมในพิธี อาทิเช่น สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ สมเด็จพุทธาจารย์นวม วัดอนงคาราม หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม และหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เป็นต้น 


พระแก้วมรกต (อิตาลี)
วัดเจริญสุขาราม พ.ศ.2493
พระเกจิอาจารย์หลายท่านที่กล่าวมาข้างต้น เคยช่วยแผ่นดินเกิดด้วยการขึ้นเครื่องบินโปรยทรายเสกทั่วทั้งพระนคร เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากลูกระเบิดที่ทิ้งลงมาจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร อันมีสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นหัวหอก (ขณะนั้นมีลูกระเบิดด้านไม่แตกเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังคงพบอยู่บ่อยๆ) ว่ากันว่าหากพระเกจิอาจารย์ท่านใดยังเก่งไม่ถึงขั้นแล้วล่ะก็ จะจับสายสิญจน์ที่โยงไปยังวัตถุมงคลมิได้เลย นั่นเป็นเพราะกระแสพลังที่บรรดาเหล่าสุดยอดพระเกจิอาจารย์ได้เสกพุ่งผ่านออกไปนั้น มีความร้อนแรงดั่งสายไฟฟ้าแรงสูงเลยทีเดียว และหนึ่งใน 82 สุดยอดพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวก็คือ พระครูอัตตโกศล ( หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ) นั้นเอง


พระแก้วมรกต (อิตาลี)
วัดเจริญสุขาราม พ.ศ.2493
ข้าพเจ้าสนใจเรื่องราวของ หลวงพ่อเจียง เพราะว่าได้ขับรถยนต์เป็นเมื่อปลายปี ..2537 ในขณะนั้นยังไม่ทราบเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2538 ข้าพเจ้าต้องไปเอารถยนต์ของบิดาที่ลาดพร้าวซอย 101 มาส่งให้ท่านที่ดอนเมือง เส้นทางที่ใช้คือ ถนนลาดพร้าวเลี้ยวเข้าถนนรัชดาภิเษกเพื่อตัดเข้าถนนพหลโยธิน 

ขณะผ่านบริเวณหน้าศาลอาญาฯ ถนนรัชดาภิเษก ข้าพเจ้ารู้สึกถึงความร้อนจากภายในห้องโดยสาร ทั้งๆ ที่ยังคงเปิดเครื่องปรับอากาศอยู่ ข้าพเจ้าแปลกใจจึงเอามือไปอังกับช่องแอร์ ปรากฏว่ามีแต่ลมร้อนๆ พัดผ่านออกมา ข้าพเจ้าจึงมองไปยังหน้าปัดรถยนต์ก็เห็นเข็มวัดความร้อนขยับสูงขึ้นจนถึงขีดแดง ขณะนั้นข้าพเจ้าตกใจมาก คิดไม่ออกว่าจะแวะจอดข้างทางหรือจะขับต่อไปดี เพราะเหลืออีกไม่เกิน 1 กม. ก็จะถึงปั๊มน้ำมันเชลล์ข้างตึกช้างถนนพหลโยธิน สุดท้ายข้าพเจ้าเลือกที่จะฝืนขับต่อไป ไม่นานก็ถึงที่หมายอย่างถูลู่ถูกัง


ด้านก้น พระแก้วมรกต (อิตาลี)
วัดเจริญสุขาราม พ.ศ.2493
ข้าพเจ้าจอดรถบริเวณหน้าห้องน้ำของปั๊ม พอจอดรถสนิทดับเครื่องยนต์เสร็จ ข้าพเจ้าก็รีบเปิดฝากระโปรงรถเพื่อระบายความร้อน ในทันทีที่ฝากระโปรงรถเริ่มเผยอเปิดขึ้น ข้าพเจ้าก็รับรู้ได้ว่าภายในห้องเครื่องมีความร้อนสูงมาก มากจนทำให้ข้าพเจ้าต้องรีบไปตักน้ำในห้องน้ำมาราดเครื่อง พอน้ำขันแรกกระทบกับเครื่องยนต์ มันก็ทำให้เกิดละอองไอน้ำกลุ่มใหญ่ฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ ข้าพเจ้าจึงตักน้ำมาราดเพิ่มอีก 4-5 ขัน จากนั้นก็รอ รอได้ไม่ถึง 10 นาที ข้าพเจ้าคิดว่าเครื่องยนต์คงจะเย็นดีแล้วจึงเปิดฝาหม้อน้ำเพื่อเติมน้ำเพิ่มเข้าไปอีก (บิดาเคยบอกว่า หม้อน้ำรั่ว ต้องเติมน้ำอยู่บ่อยๆ ไม่อย่างนั้นเครื่องก็จะพัง


พระแก้วสีแดง (ญี่ปุ่น) พ.ศ.2493
ด้วยความร้อนของฝา ทำให้ข้าพเจ้าต้องหาเศษผ้าชุบน้ำมาจับที่ฝาหม้อน้ำเพื่อหมุนบิดเปิดออก หมุนได้ไม่ถึง 1 รอบครึ่งก็ถึงเกลียวสุดท้าย พอฝาหม้อน้ำหลุดจากเกลียวล็อก ข้าพเจ้าก็รับรู้ถึงแรงดันอันมหาศาลจากภายในห้องเครื่องกระแทกใส่มือ ฝาหม้อน้ำหายไปไหนไม่รู้ รู้แต่ว่ามีแต่น้ำเดือดๆ พุ่งกระจายสาดกระแทกใส่ใบหน้า ลำคอ แขน และมือของข้าพเจ้าอย่างจังและเต็มแรง 

ข้าพเจ้ารู้สึกปวดแสบปวดร้อนใบหน้าเป็นอย่างมาก พอตั้งสติได้ข้าพเจ้าก็รีบไปเอาเสื้อของบิดาในรถมาชุบน้ำในห้องน้ำ แล้วโปะเข้าที่ใบหน้าเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด หลังล็อกรถเสร็จ ข้าพเจ้าก็เรียกรถแท็กซี่ให้มาส่งที่โรงพยาบาลเมโย ซึ่งอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 1 กม. ถึงโรงพยาบาลเจ้าหน้าที่เห็นข้าพเจ้าเอาผ้าปิดใบหน้าก็รู้ว่าได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงรีบนำตัวข้าพเจ้าส่งเข้าห้องฉุกเฉินในทันที ไม่นานหมอกับพยาบาลก็มาถึง หมอถามข้าพเจ้าว่าไปโดนอะไรมา  


พระแก้วสีแดง (ญี่ปุ่น) พ.ศ.2493
ข้าพเจ้าจึงเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ฟัง ในขณะที่เล่าข้าพเจ้ายังคงเอาผ้าเปียกน้ำปิดบังใบหน้าไว้ พอเล่าเสร็จหมอก็สั่งให้ข้าพเจ้าเอาผ้าลงเพื่อดูบาดแผล ข้าพเจ้าทำตาม พอข้าพเจ้าเอาผ้าลงก็มองเห็นหมอ พยาบาล และผู้ช่วยต่างก็มองหน้ากันและกัน แล้วก็ทำหน้าแบบงงๆ ข้าพเจ้าใจคอไม่ดีร้องถามหมอเสียงดังลั่นว่า เกิดอะไรขึ้นๆ 

หมอไม่ตอบแต่สั่งให้ผู้ช่วยพยาบาลเอากระจกเงามาให้ข้าพเจ้าส่อง และสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นในกระจกเงาก็คือ ใบหน้าของข้าพเจ้าไม่เป็นอะไรเลย จะมีก็เพียงแค่รอยเข้มบนใบหน้าเหมือนไปตากแดดแรงๆ มาก็เท่านั้น หมอถามด้วยความข้องใจว่า ไปโดนน้ำร้อนจากหม้อน้ำลวกใบหน้ามาจริงหรือ ข้าพเจ้ายืนยันคำเดิมว่าจริง

ด้านก้น พระแก้วสีแดง
(ญี่ปุ่น) พ.ศ.2493
หมอจึงเล่าให้ฟังว่า เมื่อเช้ามีเข้ามารายหนึ่งเป็นผู้หญิง อาการหนักมาก โดยใบหน้า มือ และแขนถูกน้ำร้อนลวกทั้งหมด เป็นแผลพุพองต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล หมอว่าไหนๆ ข้าพเจ้าก็มาแล้วจึงสั่งยาทาแก้พิษไฟให้ 

ก่อนกลับหมอกระซิบถามข้าพเจ้าว่ามีของดีอะไร ข้าพเจ้าไม่ตอบแต่ล้วงสร้อยคอที่มีพระเครื่องอยู่เพียงองค์เดียวให้แกดู หมอว่าพระสวยดี และพระเครื่ององค์ที่ว่านี้ก็คือ พระแก้วสีฟ้าใส รุ่น 2 ของ หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร นั่นเอง 

วัดเจริญสุขารามวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองบางนกแขวก (คลองดำเนินสะดวก) .บางนกแขวก .บางคนที .สมุทรสงคราม อยู่ห่างจากอาสนะแม่พระบังเกิด 500 เมตร เดิมเป็นวัดร้าง ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่ ในปี ..2426 ชาวบ้านได้พร้อมใจนิมนต์ พระอธิการอาจ (หลวงพ่อมืด) จากวัดบางคนทีในให้มาเป็นเจ้าอาวาส แล้วร่วมแรงกายใจช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า วัดกลางคลอง หรือ วัดต้นชมพู่ และเมื่อปี ..2451 กระทรวงเกษตราธิการได้สร้างประตูน้ำบางนกแขวกขึ้น จึงได้ชื่อวัดใหม่ว่า วัดประตูน้ำบางนกแขวก จากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนเป็น วัดเจริญสุขาราม และ ในปี ..2500 สมัย พระเทพสังวรวิมล (เจียง วณฺณสโร) เป็นเจ้าอาวาส มีการยกฐานะวัดเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร จึงใช้ชื่อ วัดเจริญสุขารามวรวิหาร นับจากนั้นเป็นต้นมา 

พระหลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
ประจำ วัดเจริญสุขาราม
ภายในพระอุโบสถมีการตกแต่งภายในเป็นลักษณะเฉพาะ คือ สร้างเพดานโบสถ์เป็นรูปโค้งคล้ายประทุนเรือ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นามว่า หลวงพ่อโต เป็นพระปฏิมากรสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย สร้างจากศิลาแลง ขนาดหน้าพระเพลากว้าง 178 ซม. สูงจากชั้นรองประทับถึงจุฬา 208 ซม. โดยพระอธิการอาจ (หลวงพ่อมืด) ได้พบด้วยความบังเอิญที่ วัดหลุมดิน (ขณะนั้นเป็นวัดร้าง) อยู่ .ท่าแจ่ .เมือง .ราชบุรี พระอธิการอาจท่านเห็นก็รู้ได้ในทันทีด้วยญาณว่า พระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ทั้งยังมีบารมีสูง ไม่เหมาะที่จะอยู่วัดร้างเช่นนี้ ท่านจึงนิมนต์ย้ายมายัง วัดเจริญสุขาราม ในปี ..2437 เพื่อให้ประชาชนคนทั่วไปได้กราบไหว้สักการบูชา ขอพรท่านมาจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ 

ลำดับรายนามเจ้าอาวาส วัดเจริญสุขารามวรวิหาร
1. พระอธิการอาจ (หลวงพ่อมืด) ปี ..2426-..2454
2. พระเทพสังวรวิมล ( หลวงพ่อเจียง วณฺณสโร ) ปี ..2454-..2514
3. พระครูประกิตสุตญาณ (หลวงพ่องู้) ปี ..2514-..2534
4. พระเมธีสมุทรคุณ ปี ..2534-ปัจจุบัน

โบสถ์ วัดเจริญสุขารามวรวิหาร
จ.สมุทรสงคราม
พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระเทพสังวรวิมล (เจียง วณฺณสรมหาเถระ) นามเดิม เจียง นามสกุล ลิ้มฮะสุน เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม ..2426 ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม จุลศักราช 1245 เวลา 05.15 . บ้านหมู่ที่ 8 .ตาหลวง .ดำเนินสะดวก .ราชบุรี โยมบิดา นายเก โยมมารดา นางกลิบ ลิ้มฮะสุน พระเดชพระคุณฯมีน้องสาวร่วมบิดา-มารดาเดียวกันกับพระคุณท่านฯ 1 คน คือ นางพวง คงทองเจริญ (ถึงแก่กรรมแล้ว

เมื่ออายุกาลเจริญวัย ความเป็นเด็กก็ก้าวไปสู่ความเป็นหนุ่มต่อความเป็นคนใหญ่ตามกาลเวลา แต่เพราะการศึกษาเล่าเรียนอักษรในสมัยนั้นของเด็กในยุคนั้น ปรากฏว่าพระเดชพระคุณท่านฯได้ศึกษาหาความรู้ได้จากครูบาอาจารย์ เรียกได้ว่า พออ่านออกเขียนได้ แต่โดยที่พระคุณท่านฯเป็นลูกชาวสวนที่มีฐาะความเป็นอยู่ดีกินดีพอสมควร ดังนั้นการช่วยเหลือบิดา-มารดาประกอบอาชีพการงานของพระคุณท่านฯในสมัยนั้น ก็คือการทำสวน และเดินเรือค้า ด้วยการนำสินค้าของสวนไปค้าขายไปแลกข้าวในต่างจังหวัดต่างหัวเมือง เลี้ยงชีพเป็นหลักสำคัญประจำกันตลอดมา แต่เนื่องจากพระเดชพระคุณท่านฯเป็นลูกชายคนเดียวของบิดา-มารดา ผู้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะที่พึ่ง ชะรอยที่พระคุณท่านฯมีอุปนิสัยน้อมไปในทางบรรพชาอุปสมบท และมั่นอยู่ในกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นบารมี ครั้นเมื่ออายุลุล่วงถึงเกณฑ์พอบวชได้ บิดา-มารดาของพระคุณท่านฯจึงได้จัดการให้เข้าบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนาสืบต่อมา 

พระนาคปรก รุ่น 1
ปี พ.ศ.2497
พระนาคปรก รุ่น 1
ปี พ.ศ.2497
 พระกริ่งหลวงพ่อโต
ปี พ.ศ.2495
พระกริ่งหลวงพ่อโต
ปี พ.ศ.2495















พระเดชพระคุณ พระเทพสังวรวิมล เมื่อได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนา พัทธสีมา (อุโบสถ) วัดเจริญสุขาราม .บางนกแขวก .บางคนที .สมุทรสงคราม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน ..2426 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ เสร็จญัตติจตุตถกรรม เมื่อเวลา 16.00 . โดยมีท่าน พระครูปรีชาวิหารกิจ (ช่วง) วัดโชติทายการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอาจ (หลวงตามืด) วัดเจริญสุขารามฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระธรรมวิรัตสุนทร (หลวงพ่อเชย) วัดโชติทายการาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อพระเดชพระคุณท่านฯได้อุปสมบทแล้ว ได้ฉายา  วณฺณสโร ในสมัยนั้นการศึกษาแสวงหาความรู้ในด้านพระปริยัติธรรม นับได้ว่ายังไม่แพร่หลายขยายออกไปยังหัวเมืองชนบทมากนัก เหตุด้วยหาครูอาจารย์ท่านที่มีความรอบรู้ผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาทำการอบรมแนะนำสั่งสอนกันได้ยากมาก แต่ด้วยเหตุที่พระเดชพระคุณท่านฯเป็นผู้มีนิสัยบารมีที่สั่งสมมา พระคุณท่านฯ จึงเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา มีวิริยะ อุตสาหะ ความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจค้นคว้าแสวงหาความรู้ได้จากสำนักครูอาจารย์บ้าง ค้นคว้าหาความรู้ได้จากตำรับตำราด้วยตนเองบ้าง จนมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมวินัย อันเป็นคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างดีพอสมควร สามารถนำความรู้ไปใช้ในการช่วยอบรมแนะนำสั่งสอนพระภิกษุ-สามเณรภายในวัด และที่อยู่ในความปกครองของพระคุณท่านฯเป็นอย่างดี พระคุณท่านฯเคยพูดเสมอว่า คุณให้ได้อย่างเราก็เอาเถอะ ทั้งๆ ที่เรา ไม่มี . ไม่มี . เหมือนคนอื่นเขา แต่เราก็พอมีความรู้ความสามารถ รักษาตัวรอดได้ 

( ที่มา : ย่อจาก ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1146 เดือนสิงหาคม 2557 หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร .บางคนที .สมุทรสงคราม ภาพและเรื่องโดย เอกลักษณ์ เพริศพริ้ง

วันนี้อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้ 


 BangkokSarn App        Lanpo        OokBee       Meb market       AiS Bookstore  
ลิขสิทธิ์ 2010 ลานโพธิ์ - สำนักพิมพ์บางกอกสาส์นสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.  Copyright Bangkoksarn Publishing 2010. 

#หลวงพ่อเจียง #วัดเจริญสุขาราม #บางคนที #สมุทรสงคราม