ภาพและเรื่องโดย ปรักกะโม
( เรียบเรียงจากหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร ( วัน อุตตโม ) 25 เมษายน 2524 )
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2523 เครื่องบินของการเดินอากาศไทยได้ลงจอด ณ ท่าอากาศยาน จ.อุดรธานี เพื่อรับผู้โดยสารที่เป็นพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประกอบด้วย ท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม, ท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม และพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับพาดหัวและเนื้อข่าวตรงกัน ตามแถลงการณ์ของบริษัทการเดินอากาศไทยตอนหนึ่งว่า
“ เครื่องบินของการเดินอากาศไทยมาถึง ต.คลองหลวง เขต จ.ปทุมธานี เครื่องบินได้ลดเพดานบินลงเพื่อตั้งลำเตรียมร่อนลงที่ท่าอากาศยานสากลดอนเมือง ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 20 กม.เศษ
ขณะนั้นฝนกำลังตกหนักได้เกิดมีพายุหมุนเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ทำให้เครื่องบินเสียการทรงตัวตกลงกลางทุ่งนา แรงกระแทกทำให้เครื่องบินหักออกเป็นสองท่อน ส่วนหัวของเครื่องบินกระแทกพื้นพังยับเยิน พระอาจารย์ที่เป็นพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้ง 5 รูปมรณภาพ พร้อมกับผู้โดยสารที่นั่งอยู่ส่วนหัวของเครื่อง ผู้โดยสารที่รอดชีวิตส่วนใหญ่อยู่ทางส่วนท้ายของเครื่องบินที่หักออกไปจากลำตัวเครื่อง
ศพของพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้ง 4 รูปถูกอัญเชิญไปตั้งสวดพระอภิธรรมที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานหีบลายทอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม เป็นประธานงานสวดพระอภิธรรมในนามคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย 1 วัน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมในนามรัฐบาล 1 วัน
เวลาประมาณ 04.00 น.เศษ ขบวนการอัญเชิญพระป่าสายหลวงปู่มั่นทั้ง 4 รูป ได้เคลื่อนจากวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน โดยมีรถตำรวจทางหลวงนำและปิดท้ายขบวน ถึงจังหวัดนครราชสีมามีภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาเคารพศพและแจกอาหารแก่ผู้ร่วมในขบวน เปิดให้สักการะศพเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงเคลื่อนขบวนต่อไป ท่ามกลางเสียงร่ำไห้ของอุบสกอุบาสิกาที่มาเคารพศพดังเซ็งแซ่
ขบวนรถอัญเชิญศพมุ่งหน้าไปยังวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี อันเป็นจุดศูนย์กลางที่บรรดาสานุศิษย์ของท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม, ท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม กับพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม เพื่อเป็นศูนย์กลางจัดขบวนอัญเชิญศพพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ห้ารูปแยกย้ายกันไปประกอบพิธีสวดพระอภิธรรมที่วัด ที่แต่ละองค์เป็นเจ้าอาวาส
ถึงวัดโพธิสมภรณ์เวลาประมาณ 12.30 น. เปิดให้สาธุชนและผู้เคารพนับถือได้เข้าบูชาสักการะ จนได้เวลาประมาณ 14.00 น.เศษ จึงประกาศยุติการเคารพศพ เพื่อให้มีการเคลื่อนขบวนศพออกจากวัดโพธิสมภรณ์ไปยังวัดที่ท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม, ท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม กับพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม เคยจำพรรษาก่อนมรณภาพ
ศพของ ท่านอาจารย์วัน อุตตโม ( พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร ) ถึงวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.เศษ ท่ามกลางเสียงร่ำไห้ของบรรดาพระ เณร อุบาสก อุบาสิกาดังระงม
วันที่ 13 พ.ย. 2523 เวลาประมาณ 18.00 น.เศษ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จทรงสักการะศพ ท่านอาจารย์วัน อุตตโม และเยี่ยมพสกนิกรที่มาถวายการต้อนรับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพท่าน อาจารย์วัน อุตตโม ( พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร ) ที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2524 ท่ามกลางพสกนิกรที่มารอถวายการต้อนรับอย่างเนืองแน่น
รกรากเดิมในตระกูล สีลารักษ์ ของ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม อยู่ที่บ้านหนองหลัก ต.เหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ต่อมาได้อพยพมาตั้งรกรากใหม่ที่บ้านตาลโกน ( ต้นตาลที่เป็นโพรง ) ต.ตาลเนิ้ง ( ต้นตาลเอน ) ท่านเป็นบุตรคนหัวปีของ คุณพ่อแหลม สีลารักษ์ กับ คุณแม่จันทร์ สีลารักษ์
หลังจากคุณแม่จันทร์คลอดบุตรคนรองต่อมาคือ นายผัน สีลารักษ์ ไม่นานนักถึงแก่กรรม ท่านพระอาจารย์วัน จึงเป็นกำพร้ามารดาแต่อายุได้ 3 ขวบ ต่อมาคุณพ่อแหลมได้แต่งงานใหม่ ท่านพระอาจารย์วันจึงมาอยู่กับปู่อายุได้ 13 ปี คุณพ่อแหลมถึงแก่กรรมตามคุณแม่จันทร์ ก่อนถึงแก่กรรมได้สั่งเสียท่าน พระอาจารย์วัน ไว้ว่า
“ ขอให้บวชเรียนจะนานเท่าใดไม่จำกัด เพื่อพ่อและแม่จะได้รับกุศลในสัมปรายภพ ”
จบการศึกษาชั้น ป.4 แล้วได้ช่วยปู่ทำไร่ไถนา ในอัตประวัติของท่านที่เขียนด้วยลายมือของท่านระบุว่า
“ รับหน้าที่ไถนาแต่คราดนาไม่ได้ เพราะยกคราดไม่ไหว ”
แม้แต่จะทำงานหนักเพียงใดท่าน อาจารย์วัน เมื่อเยาว์วัยไม่เคยย่อท้อ แต่เมื่อมีเวลาว่างอยู่คนเดียวได้ระลึกถึงคำสั่งเสียของบิดาที่ให้บวชเรียนเพื่อพ่อและแม่จะได้รับกุศลในสัมปรายภพ ยังก้องอยู่ในจิตใต้สำนึกตลอดมา วันหนึ่งจึงตัดสินใจเข้าไปกราบปู่ขอออกบวช เมื่อหลานแสดงความตั้งใจว่าจะบวชจึงตัดใจได้ว่า เป็นกุศลของหลานและตระกูลสีลารักษ์จักได้เป็นญาติกับพระศาสนา
คุณปู่ได้นำหลานไปฝากไว้กับ ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดอรัญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ เพื่อให้คุ้นกับธรรมเนียมปฏิบัติในวัด ก่อนที่จะบรรพชาเป็นสามเณร สมัยโน้นพระอุปัชฌาย์มีน้อย จะบวชต้องไปนิมนต์อุปัชฌาย์ล่วงหน้า เป็นโอกาสดีของท่าน พระอาจารย์วัน อยู่วัดได้ไม่นานนัก ท่านพระธรรมเจดีย์ ( จูม ) พันธุโล เดินทางไปงานผูกพัทธสีมาวัดสุปัฏนาราม ระหว่างเดินทางกลับได้แวะพักที่ วัดศรีบุญเรือง ( วัดบ้านงิ้ว ) ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน พระอาจารย์วัง จึงนำท่าน พระอาจารย์วัน ตอนนั้นอายุได้ 15 ปีเดินทางไปที่วัดศรีบุญเรือง ท่านพระธรรมเจดีย์ ( จูม ) พันธุโล ตอนนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี ทำการบรรพชา พระอาจารย์วัน เป็นสามเณร ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม 2479
อยู่วัดศรีบุญเรืองได้ 2 ปี ท่านอาจารย์วังได้ให้ สามเณรวัน ได้ติดตามไปแสวงหาวิเวกในสถานที่ต่างๆ ใกล้เข้าพรรษาไปจำพรรษาที่ วัดสามผง ครบ 3 ปี จึงกราบลาพระอาจารย์วังไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่ วัดสุทธาวาส จนสอบได้นักธรรมตรี
พระสิงห์ ธนปาโล ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดอรัญญิกาวาสกับท่านอาจารย์วัง ได้เดินทางแวะมาหา สามเณรวัน ที่กำลังเตรียมสอบนักธรรมโทในวัดศรีบุญเรือง ได้มีเมตตาให้เดินทางไปกับท่านเพื่อไปศึกษาการปฏิบัติธรรมกับบูรพาจารย์สายอรัญวาสี หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่วัดป่าบ้านท่าฆ้องเหล็ก ปฏิบัติไปท่องบทเรียนนักธรรมโทไปด้วย
วันหนึ่งหลวงปู่เสาร์ได้เอ่ยเตือนว่า สามเณรรูปใดมีอายุครบ 19 ปี ต้องท่องจำพระปาติโมกข์ได้อย่างแม่นยำ ท่าน พระอาจารย์วัน จึงพยายามท่องจำได้แม่นยำ ได้เดินทางติดตาม พระสิงห์ ธนปาโล ไปเยี่ยมญาติของท่านพระอาจารย์สิงห์ การเดินทางใกล้ถึงที่อยู่ของญาติของพระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์สิงห์ได้ปรารภว่า ขอให้ สามเณรวัน อุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยให้ญาติเป็นเจ้าภาพ สามเณรวัน พยายามอธิบายถึงสาเหตุที่ยังไม่ต้องการบวช
ในที่สุด สามเณรวัน จึงตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุที่ วัดสร่างโศก ( ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธรและปัจจุบันยกขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร ) เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2485 มี พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้นามฉายาว่า “ อุตโมภิกขุ ”
พระอาจารย์วัน จำพรรษาอยู่ที่วัดสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ในพรรษานั้น ท่านพระอาจารย์พรหม จิรปุญโญ รับหน้าที่อบรมพระ-เณรในวัดสุทธาวาส พระอาจารย์วัน อุตตโม รับหน้าที่อุปัฏฐาก วันหนึ่งท่านพระอาจารย์พรหมถาม พระอาจารย์วัน ว่าจะเรียนไปถึงไหน พระอาจารย์วัน ตอบไปตามที่ตั้งใจว่า
“ สอบนักธรรมเอกได้แล้วจะเรียนปริยัติธรรมให้จบเปรียญธรรม 9 ประโยค ”
ท่านพระอาจารย์พรหมไม่ได้ว่าอะไรได้แต่หัวเราะหึๆ เหตุการณ์นี้ท่านพระอาจารย์พรหมท่านมีญาณหยั่งรู้ว่า
“ ถึงอย่างไรท่าน พระอาจารย์วัน อุตตโม จักไม่ได้เรียนจนจบเปรียญ 9 ประโยคแน่ แต่ไม่กล้าบอกเกรงว่าจะเป็นการอวดอุตริ แต่ก็เป็นไปตามที่ท่านพระอาจารย์พรหมหยั่งรู้ทุกประการ ”
หลังจากที่ท่าน พระอาจารย์วัน ได้สดับพระกิตติคุณของท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ว่า หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ได้สั่งเสียสานุศิษย์ว่า
“เมื่อสิ้นบุญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโลแล้ว ให้พระป่าสายกัมมัฏฐานทุกองค์ไปขอรับการสั่งสอนอบรมจากท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เถิด”
ท่านพระอาจารย์วัน ท่านเดินทางออกตามหาท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ร่วมกับ พระบานิต เดินทางรอนแรมมาถึง วัดป่าบ้านหนองผือ ( ปัจจุบันคือวัดป่าภูริทัตถิราวาส ) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตอนนั้นท่านพระอาจารย์มั่นยังเดินทางมาไม่ถึง มี หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นประธานดูแลพระในวัด
พระแสง กับ สามเณรบุญจันทร์ กับชาวบ้านร่วมกันจัดสถานที่ต้อนรับ หลวงปู่มั่น ส่วนทายกส่วนหนึ่งพากันเดินทางไปรับหลวงปู่มั่นเพื่อเดินทางมาจำพรรษาที่วัดใกล้จะถึงวัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์วัน ท่านได้เขียนถึงการที่ท่านพยายามติดตามหาหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ว่า
“ ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า จะพยายามถวายตัวเป็นอุปัฏฐากท่าน เพื่อเป็นบุญนิธิแก่ตน ”
ขณะที่รอการมาถึงของหลวงปู่มั่นอยู่นั้น หลวงปู่หลุยได้ปรารภกับท่าน พระอาจารย์วัน ว่า คุณทั้งสองมาใหม่ให้ออกไปจำวัดอยู่ที่อื่นก่อน เพราะพระป่าในวัดนี้ก็มีจำนวนมากโขอยู่ อีกอย่างหลวงปู่มั่นท่านเคยปรารภว่า
“ เมื่อหลวงปู่มั่นไปพักสถานที่ใด หากมีพระอยู่กันมาก ท่านจะไม่อยู่นาน ขอให้ท่านทั้งสองรูปออกไปจำวัดที่อื่นก่อนเถิด ”
ท่านพระอาจารย์วัน กับพระบานิตจึงไปพักที่วัดบ้านนาใน ฉันเช้าแล้วจึงเดินทางไปช่วยหลวงปู่หลุยทำงานที่วัดป่าบ้านผือ จนกระทั่งหลวงปู่มั่นเดินทางมาถึงวัดป่าบ้านผือ ท่าน พระอาจารย์วัน กับพระบานิตได้เดินทางมาฟังการอบรมธรรมจากหลวงปู่มั่นมิได้ขาด มาวันหนึ่งอุบาสก อุบาสิกาได้มากราบเรียนหลวงปู่มั่นว่า
“ ท่านเจ้าคณะอำเภอพรรณนานิคม ( มหานิกาย ) มีคำสั่งห้ามรับพระป่าพักในวัดในเขตปกครองของท่าน ”
หลวงปู่มั่นได้ให้หลวงปู่หลุยจัดให้พระแสงกับอุบาสกชื่อแสน เดินทางไปรับท่าน พระอาจารย์วัน กับพระบานิตมาอยู่วัดป่าบ้านผือ พระบานิตห่วงสอบนักธรรมได้กราบลาหลวงปู่มั่นกลับไปสอบนักธรรมแล้วไม่ได้กลับมาอีกเลย
ท่าน พระอาจารย์วัน ได้อุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตจนถึงวันมรณภาพ รวมเวลาได้ 5 ปี ออกแสวงหาวิเวกจนมาถึง ถ้ำอภัยดำรงธรรม และได้เลือกเป็นที่ปลีกวิเวกด้วยเหตุผลดังนี้
เพื่อรักษาสุขภาพ สุขภาพของท่านไม่ปกติ อยู่บนพื้นราบสุขภาพไม่ดี ฉันภัตตาหารไม่ได้ ยารักษาโรคไม่ออกฤทธิ์ หากขึ้นไปปลีกวิเวกบนภูเขาสูงรู้สึกว่าสุขภาพดี ฉันภัตตาหารได้ ยาออกฤทธิ์ดี ท่านเขียนเรื่องนี้ว่า เพื่อรักษาสุขภาพที่เป็นไปตามกรรมวิบากของตัวท่าน ปลีกวิเวกเพื่อให้ห่างไกลจากความวุ่นวายทั้งปวง กระทำวิปัสสนากรรมฐานได้ดีตามหลักการปฏิบัติในแนวทางของหลวงปู่เสาร์ กับหลวงปู่เสาร์ท่านได้วางไว้
เหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้พากันไปนมัสการท่านจนแน่น วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เกิดขึ้น ในวันที่ 15 พ.ค. 2513 ญาติโยมได้นิมนต์ท่านไปสวดมนต์ในงานมงคลสมรส และเทศนาสั่งสอนญาติโยมในตอนเย็น ที่บ้านส่องดาว ต.ส่องดาว กิ่ง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่าน พระอาจารย์วัน กับผู้ติดตามเดินเท้าจากบ้านส่องดาวฝ่าความมืดเพื่อกลับวัด
ณ เวลานั้นการต่อสู้ระหว่าง พคท. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับทหารตำรวจที่เป็นฝ่ายรัฐบาลหนักมากมีการประกาศกฎอัยการศึกห้ามออกนอกเคหะสถานในเวลากลางคืนจนถึงรุ่งเช้า ถนน รพช. เส้นที่ท่าน พระอาจารย์วัน กำลังเดินกลับวัดเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของทหารป่า ทางทหารได้ส่งกำลังตั้งจุดสกัดอยู่ข้างถนน
ท่าน พระอาจารย์วัน ท่านเดินตรงเข้ามาจนผ่านจุดสกัดทหารคิดว่าเป็นทหารป่า ผบ.ร้อยสั่งยิงทันทีเสียงปืนเอ็ม.16 ดังระงมโดยที่ท่าน พระอาจารย์วัน ยังคงเดินไปข้างหน้า ผู้อยู่ในเหตุการณ์ฝ่ายทหารบรรยายว่า
“ ลูกปืนวิ่งเข้าหาเป้าหมายแต่เหมือนกับมีฉากหรืออะไรสักอย่างมากั้นไว้ลูกปืนไม่อาจวิ่งผ่านไปได้ ลูกปืนลุกแดงร่วงลงมาที่พื้นดังกราวๆ ”
ท่าน พระอาจารย์วัน ท่านบอกว่าได้ยินเสียงปืนแต่ไม่รู้ว่าใครยิง ยิงใครจึงเดินไปข้างหน้าจนกลับถึงวัด หลายวันต่อมาทาง ผบ.กองร้อยลาดตระเวน ชุดที่ยิงท่าน พระอาจารย์วัน ได้พาผู้ใต้บังคับบัญชา นำดอกไม้ธูปเทียนแพมากราบขอขมากรรมที่ได้ล่วงเกินโดยความเข้าใจผิด
“ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านรับขมาไม่ได้ติดใจเอาความผิดหรือร้องเรียนไปยังต้นสังกัดแต่ประการใด ”
( เรียบเรียงจากหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร ( วัน อุตตโม ) 25 เมษายน 2524 )
![]() |
รอยยิ้มอันบริสุทธิ์และเปี่ยมด้วยเมตตา ของท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม กับความวิเวกของวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม |
รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับพาดหัวและเนื้อข่าวตรงกัน ตามแถลงการณ์ของบริษัทการเดินอากาศไทยตอนหนึ่งว่า
“ เครื่องบินของการเดินอากาศไทยมาถึง ต.คลองหลวง เขต จ.ปทุมธานี เครื่องบินได้ลดเพดานบินลงเพื่อตั้งลำเตรียมร่อนลงที่ท่าอากาศยานสากลดอนเมือง ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 20 กม.เศษ
ขณะนั้นฝนกำลังตกหนักได้เกิดมีพายุหมุนเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ทำให้เครื่องบินเสียการทรงตัวตกลงกลางทุ่งนา แรงกระแทกทำให้เครื่องบินหักออกเป็นสองท่อน ส่วนหัวของเครื่องบินกระแทกพื้นพังยับเยิน พระอาจารย์ที่เป็นพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้ง 5 รูปมรณภาพ พร้อมกับผู้โดยสารที่นั่งอยู่ส่วนหัวของเครื่อง ผู้โดยสารที่รอดชีวิตส่วนใหญ่อยู่ทางส่วนท้ายของเครื่องบินที่หักออกไปจากลำตัวเครื่อง
![]() |
สภาพเครื่องบินโดยสารของการเดินอากาศไทย ลำที่ตกในทุ่งนา ต.คลองหลวง |
เวลาประมาณ 04.00 น.เศษ ขบวนการอัญเชิญพระป่าสายหลวงปู่มั่นทั้ง 4 รูป ได้เคลื่อนจากวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน โดยมีรถตำรวจทางหลวงนำและปิดท้ายขบวน ถึงจังหวัดนครราชสีมามีภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาเคารพศพและแจกอาหารแก่ผู้ร่วมในขบวน เปิดให้สักการะศพเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงเคลื่อนขบวนต่อไป ท่ามกลางเสียงร่ำไห้ของอุบสกอุบาสิกาที่มาเคารพศพดังเซ็งแซ่
![]() |
สภาพเครื่องบินโดยสารของการเดินอากาศไทย ลำที่ตกในทุ่งนา ต.คลองหลวง |
ขบวนรถอัญเชิญศพมุ่งหน้าไปยังวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี อันเป็นจุดศูนย์กลางที่บรรดาสานุศิษย์ของท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม, ท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม กับพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม เพื่อเป็นศูนย์กลางจัดขบวนอัญเชิญศพพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ห้ารูปแยกย้ายกันไปประกอบพิธีสวดพระอภิธรรมที่วัด ที่แต่ละองค์เป็นเจ้าอาวาส
ถึงวัดโพธิสมภรณ์เวลาประมาณ 12.30 น. เปิดให้สาธุชนและผู้เคารพนับถือได้เข้าบูชาสักการะ จนได้เวลาประมาณ 14.00 น.เศษ จึงประกาศยุติการเคารพศพ เพื่อให้มีการเคลื่อนขบวนศพออกจากวัดโพธิสมภรณ์ไปยังวัดที่ท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม, ท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม กับพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม เคยจำพรรษาก่อนมรณภาพ
ศพของ ท่านอาจารย์วัน อุตตโม ( พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร ) ถึงวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.เศษ ท่ามกลางเสียงร่ำไห้ของบรรดาพระ เณร อุบาสก อุบาสิกาดังระงม
![]() |
เหรียญที่ระลึกสร้างพระวิหาร พระมงคลมุจลินทร์ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (ภูเหล็ก) สกลนคร พ.ศ.2517 |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพท่าน อาจารย์วัน อุตตโม ( พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร ) ที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2524 ท่ามกลางพสกนิกรที่มารอถวายการต้อนรับอย่างเนืองแน่น
![]() |
เหรียญที่ระลึกสร้างพระวิหาร พระมงคลมุจลินทร์ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (ภูเหล็ก) สกลนคร พ.ศ.2517 |
หลังจากคุณแม่จันทร์คลอดบุตรคนรองต่อมาคือ นายผัน สีลารักษ์ ไม่นานนักถึงแก่กรรม ท่านพระอาจารย์วัน จึงเป็นกำพร้ามารดาแต่อายุได้ 3 ขวบ ต่อมาคุณพ่อแหลมได้แต่งงานใหม่ ท่านพระอาจารย์วันจึงมาอยู่กับปู่อายุได้ 13 ปี คุณพ่อแหลมถึงแก่กรรมตามคุณแม่จันทร์ ก่อนถึงแก่กรรมได้สั่งเสียท่าน พระอาจารย์วัน ไว้ว่า
![]() |
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล บูรพาจารย์องค์แรก ของท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม |
จบการศึกษาชั้น ป.4 แล้วได้ช่วยปู่ทำไร่ไถนา ในอัตประวัติของท่านที่เขียนด้วยลายมือของท่านระบุว่า
“ รับหน้าที่ไถนาแต่คราดนาไม่ได้ เพราะยกคราดไม่ไหว ”
แม้แต่จะทำงานหนักเพียงใดท่าน อาจารย์วัน เมื่อเยาว์วัยไม่เคยย่อท้อ แต่เมื่อมีเวลาว่างอยู่คนเดียวได้ระลึกถึงคำสั่งเสียของบิดาที่ให้บวชเรียนเพื่อพ่อและแม่จะได้รับกุศลในสัมปรายภพ ยังก้องอยู่ในจิตใต้สำนึกตลอดมา วันหนึ่งจึงตัดสินใจเข้าไปกราบปู่ขอออกบวช เมื่อหลานแสดงความตั้งใจว่าจะบวชจึงตัดใจได้ว่า เป็นกุศลของหลานและตระกูลสีลารักษ์จักได้เป็นญาติกับพระศาสนา
![]() |
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์องค์ที่สอง ที่ท่านพระอาจารย์วันอุปัฏฐาก และรับฟังคำสอนรวมกันถึง 5 ปีเต็ม |
คุณปู่ได้นำหลานไปฝากไว้กับ ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดอรัญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ เพื่อให้คุ้นกับธรรมเนียมปฏิบัติในวัด ก่อนที่จะบรรพชาเป็นสามเณร สมัยโน้นพระอุปัชฌาย์มีน้อย จะบวชต้องไปนิมนต์อุปัชฌาย์ล่วงหน้า เป็นโอกาสดีของท่าน พระอาจารย์วัน อยู่วัดได้ไม่นานนัก ท่านพระธรรมเจดีย์ ( จูม ) พันธุโล เดินทางไปงานผูกพัทธสีมาวัดสุปัฏนาราม ระหว่างเดินทางกลับได้แวะพักที่ วัดศรีบุญเรือง ( วัดบ้านงิ้ว ) ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน พระอาจารย์วัง จึงนำท่าน พระอาจารย์วัน ตอนนั้นอายุได้ 15 ปีเดินทางไปที่วัดศรีบุญเรือง ท่านพระธรรมเจดีย์ ( จูม ) พันธุโล ตอนนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี ทำการบรรพชา พระอาจารย์วัน เป็นสามเณร ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม 2479
อยู่วัดศรีบุญเรืองได้ 2 ปี ท่านอาจารย์วังได้ให้ สามเณรวัน ได้ติดตามไปแสวงหาวิเวกในสถานที่ต่างๆ ใกล้เข้าพรรษาไปจำพรรษาที่ วัดสามผง ครบ 3 ปี จึงกราบลาพระอาจารย์วังไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่ วัดสุทธาวาส จนสอบได้นักธรรมตรี
![]() |
กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ที่ท่านพระอาจารย์วัน เคยอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น กับถ้ำอภัยดำรงธรรม สถานที่ปลีกวิเวกของท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม |
วันหนึ่งหลวงปู่เสาร์ได้เอ่ยเตือนว่า สามเณรรูปใดมีอายุครบ 19 ปี ต้องท่องจำพระปาติโมกข์ได้อย่างแม่นยำ ท่าน พระอาจารย์วัน จึงพยายามท่องจำได้แม่นยำ ได้เดินทางติดตาม พระสิงห์ ธนปาโล ไปเยี่ยมญาติของท่านพระอาจารย์สิงห์ การเดินทางใกล้ถึงที่อยู่ของญาติของพระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์สิงห์ได้ปรารภว่า ขอให้ สามเณรวัน อุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยให้ญาติเป็นเจ้าภาพ สามเณรวัน พยายามอธิบายถึงสาเหตุที่ยังไม่ต้องการบวช
ในที่สุด สามเณรวัน จึงตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุที่ วัดสร่างโศก ( ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธรและปัจจุบันยกขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร ) เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2485 มี พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้นามฉายาว่า “ อุตโมภิกขุ ”
พระอาจารย์วัน จำพรรษาอยู่ที่วัดสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ในพรรษานั้น ท่านพระอาจารย์พรหม จิรปุญโญ รับหน้าที่อบรมพระ-เณรในวัดสุทธาวาส พระอาจารย์วัน อุตตโม รับหน้าที่อุปัฏฐาก วันหนึ่งท่านพระอาจารย์พรหมถาม พระอาจารย์วัน ว่าจะเรียนไปถึงไหน พระอาจารย์วัน ตอบไปตามที่ตั้งใจว่า
“ สอบนักธรรมเอกได้แล้วจะเรียนปริยัติธรรมให้จบเปรียญธรรม 9 ประโยค ”
![]() |
พระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่มรณภาพจากเหตุเครื่องบินตก |
“ ถึงอย่างไรท่าน พระอาจารย์วัน อุตตโม จักไม่ได้เรียนจนจบเปรียญ 9 ประโยคแน่ แต่ไม่กล้าบอกเกรงว่าจะเป็นการอวดอุตริ แต่ก็เป็นไปตามที่ท่านพระอาจารย์พรหมหยั่งรู้ทุกประการ ”
หลังจากที่ท่าน พระอาจารย์วัน ได้สดับพระกิตติคุณของท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ว่า หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ได้สั่งเสียสานุศิษย์ว่า
“เมื่อสิ้นบุญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโลแล้ว ให้พระป่าสายกัมมัฏฐานทุกองค์ไปขอรับการสั่งสอนอบรมจากท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เถิด”
ท่านพระอาจารย์วัน ท่านเดินทางออกตามหาท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ร่วมกับ พระบานิต เดินทางรอนแรมมาถึง วัดป่าบ้านหนองผือ ( ปัจจุบันคือวัดป่าภูริทัตถิราวาส ) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตอนนั้นท่านพระอาจารย์มั่นยังเดินทางมาไม่ถึง มี หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นประธานดูแลพระในวัด
![]() |
ท่านเจ้าคุณพระอุดมสังวรวิสุทธิ์ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม |
ขณะที่รอการมาถึงของหลวงปู่มั่นอยู่นั้น หลวงปู่หลุยได้ปรารภกับท่าน พระอาจารย์วัน ว่า คุณทั้งสองมาใหม่ให้ออกไปจำวัดอยู่ที่อื่นก่อน เพราะพระป่าในวัดนี้ก็มีจำนวนมากโขอยู่ อีกอย่างหลวงปู่มั่นท่านเคยปรารภว่า
“ เมื่อหลวงปู่มั่นไปพักสถานที่ใด หากมีพระอยู่กันมาก ท่านจะไม่อยู่นาน ขอให้ท่านทั้งสองรูปออกไปจำวัดที่อื่นก่อนเถิด ”
ท่านพระอาจารย์วัน กับพระบานิตจึงไปพักที่วัดบ้านนาใน ฉันเช้าแล้วจึงเดินทางไปช่วยหลวงปู่หลุยทำงานที่วัดป่าบ้านผือ จนกระทั่งหลวงปู่มั่นเดินทางมาถึงวัดป่าบ้านผือ ท่าน พระอาจารย์วัน กับพระบานิตได้เดินทางมาฟังการอบรมธรรมจากหลวงปู่มั่นมิได้ขาด มาวันหนึ่งอุบาสก อุบาสิกาได้มากราบเรียนหลวงปู่มั่นว่า
“ ท่านเจ้าคณะอำเภอพรรณนานิคม ( มหานิกาย ) มีคำสั่งห้ามรับพระป่าพักในวัดในเขตปกครองของท่าน ”
หลวงปู่มั่นได้ให้หลวงปู่หลุยจัดให้พระแสงกับอุบาสกชื่อแสน เดินทางไปรับท่าน พระอาจารย์วัน กับพระบานิตมาอยู่วัดป่าบ้านผือ พระบานิตห่วงสอบนักธรรมได้กราบลาหลวงปู่มั่นกลับไปสอบนักธรรมแล้วไม่ได้กลับมาอีกเลย
![]() |
ท่านพระอาจารย์บุญมา จิตเปโม (จากซ้ายไปขวา) ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม, ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชษโฐ, พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม, ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร |
เพื่อรักษาสุขภาพ สุขภาพของท่านไม่ปกติ อยู่บนพื้นราบสุขภาพไม่ดี ฉันภัตตาหารไม่ได้ ยารักษาโรคไม่ออกฤทธิ์ หากขึ้นไปปลีกวิเวกบนภูเขาสูงรู้สึกว่าสุขภาพดี ฉันภัตตาหารได้ ยาออกฤทธิ์ดี ท่านเขียนเรื่องนี้ว่า เพื่อรักษาสุขภาพที่เป็นไปตามกรรมวิบากของตัวท่าน ปลีกวิเวกเพื่อให้ห่างไกลจากความวุ่นวายทั้งปวง กระทำวิปัสสนากรรมฐานได้ดีตามหลักการปฏิบัติในแนวทางของหลวงปู่เสาร์ กับหลวงปู่เสาร์ท่านได้วางไว้
เหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้พากันไปนมัสการท่านจนแน่น วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เกิดขึ้น ในวันที่ 15 พ.ค. 2513 ญาติโยมได้นิมนต์ท่านไปสวดมนต์ในงานมงคลสมรส และเทศนาสั่งสอนญาติโยมในตอนเย็น ที่บ้านส่องดาว ต.ส่องดาว กิ่ง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่าน พระอาจารย์วัน กับผู้ติดตามเดินเท้าจากบ้านส่องดาวฝ่าความมืดเพื่อกลับวัด
ณ เวลานั้นการต่อสู้ระหว่าง พคท. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับทหารตำรวจที่เป็นฝ่ายรัฐบาลหนักมากมีการประกาศกฎอัยการศึกห้ามออกนอกเคหะสถานในเวลากลางคืนจนถึงรุ่งเช้า ถนน รพช. เส้นที่ท่าน พระอาจารย์วัน กำลังเดินกลับวัดเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของทหารป่า ทางทหารได้ส่งกำลังตั้งจุดสกัดอยู่ข้างถนน
ท่าน พระอาจารย์วัน ท่านเดินตรงเข้ามาจนผ่านจุดสกัดทหารคิดว่าเป็นทหารป่า ผบ.ร้อยสั่งยิงทันทีเสียงปืนเอ็ม.16 ดังระงมโดยที่ท่าน พระอาจารย์วัน ยังคงเดินไปข้างหน้า ผู้อยู่ในเหตุการณ์ฝ่ายทหารบรรยายว่า
“ ลูกปืนวิ่งเข้าหาเป้าหมายแต่เหมือนกับมีฉากหรืออะไรสักอย่างมากั้นไว้ลูกปืนไม่อาจวิ่งผ่านไปได้ ลูกปืนลุกแดงร่วงลงมาที่พื้นดังกราวๆ ”
ท่าน พระอาจารย์วัน ท่านบอกว่าได้ยินเสียงปืนแต่ไม่รู้ว่าใครยิง ยิงใครจึงเดินไปข้างหน้าจนกลับถึงวัด หลายวันต่อมาทาง ผบ.กองร้อยลาดตระเวน ชุดที่ยิงท่าน พระอาจารย์วัน ได้พาผู้ใต้บังคับบัญชา นำดอกไม้ธูปเทียนแพมากราบขอขมากรรมที่ได้ล่วงเกินโดยความเข้าใจผิด
“ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านรับขมาไม่ได้ติดใจเอาความผิดหรือร้องเรียนไปยังต้นสังกัดแต่ประการใด ”
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1245 เดือน เมษายน พ.ศ. 2563 : เรื่องนี้มีตำนาน 40 ปีแห่งการมรณภาพของท่านอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร ภาพและเรื่องโดย ปรักกะโม )
วันนี้! อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้
สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า..