ภาพและเรื่องโดย เอกลักษณ์ เพริศพริ้ง
ในยุคสมัยก่อนไล่ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ ย้อนขึ้นไป หากวัดไหน “ จัดงาน ” แล้ว “ พวกนักเลงโต ” หรือ “ พวกขาโจ๋ ” ทั้งหลายไม่ตีกัน หรือถ้ามี “ พระ ” ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดใหญ่ๆ รูปใหม่ แต่ไม่โดนลองดีหรือถูกต่อต้านจากเจ้าถิ่นทั้งพระทั้งฆราวาสที่มีผลประโยชน์ภายในวัดนั้นๆ “ ให้ฟันธงได้เลยว่าสมภารรูปนั้นเป็นผู้มีบารมีแก่กล้า ”
คำว่า “ ผู้มีบารมีของพระสงฆ์องค์เจ้า ” นั้น ปัจจุบันมีการตีความกันไปต่างๆ นานา บ้างก็ว่า “ ท่านเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ที่มีวัตรปฏิบัติงดงามบารมีธรรมสูงส่ง ” ส่วนบางคนว่า “ ท่านเป็นผู้เสียสละทำงานเพื่อพระศาสนาและเพื่อชาวบ้านอย่างแท้จริง ” บ้างก็ว่า “ ท่านเป็นครูบาอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมขลัง ” แต่ก็มีบางพวกที่ตีความต่างออกไป แนวๆ ว่า “ ผู้มีบารมีคือผู้มีอิทธิพลที่มีสมัครพรรคพวกมาก หรือมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นพวกนักเลงอันธพาลหรือพวกเสือสางทั้งหลาย ”
สำหรับ “ หลวงพ่อถิร แห่งวัดป่าเลไลยก์ ” มีชาวบ้านหลายคนมองว่า “ ท่านเป็นผู้มีบารมีในทุกๆ แบบที่ว่ามา ” นั่นจึงทำให้ “ พวกเก๋าๆ ” หรือ “ พวกเจ้าที่เจ้าทาง ” ที่เฮี้ยนๆ ทั้งหลายไม่กล้าหือกล้าอือ ต้องเงียบกริบไม่กล้ายุ่งกับท่าน บ้างก็พากันหลบลี้หนีหน้าไม่อยู่สร้างปัญหาอีกต่อไป
แต่กว่าที่พวก “ เสือ สิงห์ กระทิง แรด ” ทั้งหลายจะยอมรับนับถือหรือยอมลงให้ “ หลวงพ่อถิร ” ท่านต้องผ่านการพิสูจน์มาแบบนับครั้งไม่ถ้วนจนเป็นที่เชื่อถือว่า ท่านแน่จริง เรื่องก็เป็นเช่นนี้แล
จะขอกลับมาที่ วัดป่าเลไลยก์ อีกครั้งหนึ่ง วัดป่าเลไลยก์ นับว่า “ มีเจ้าที่เจ้าทางแรง ” ทำให้ “ พระครูโพธาภิรัต ( โต๊ะ ) อดีตเจ้าอาวาสอยู่ไม่ได้ต้องขอลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ย้ายออกไป ” แต่พอ หลวงพ่อถิร ย้ายมาดำรงตำแหน่งรักษาการณ์เจ้าอาวาสก็ไม่เกิดปัญหาใดๆ ขึ้นอีก นั่นเพราะท่านเป็นอาจารย์ของหัวหน้าชุมเสือก๊กต่างๆ อย่างเช่น “ เสือฝ้าย ” “ สือมเหศวร ” และ “ เสือใบ ” โดยเสือทั้ง ๓ กับพวกเสือในชุม ต่างก็มาขอ “ ของขลังจากท่านไปคุ้มตัว ทำให้รอดตายจากคมกระสุนปืนของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมานักต่อนัก โดยเสือเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของท่านมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านยังอยู่ที่วัดสุวรรณภูมิ ”
เมื่อ หลวงพ่อถิร ย้ายมายัง วัดป่าเลไลยก์ “ ๓ เสือนามกระเดื่อง ” ต่างก็พากันประกาศก้องต่อหน้าผู้คนว่า “ ใครหน้าไหนอย่าได้มารบกวนการสร้าง การพัฒนาวัดของ หลวงพ่อถิร ให้เดือดเนื้อร้อนใจเป็นเด็ดขาด หาไม่แล้วเป็นได้เจอกัน ” ฟังดูเสือเหล่านี้ก็มีคุณธรรม รักพระศาสนาดีทีเดียว และด้วยเหตุนี้นี่เองทำให้มีผู้คน ( พวกที่เสียผลประโยชน์ ) กล่าวหาท่านว่า “ หลวงพ่อถิร เลี้ยงเสือ เลี้ยงโจร ” ซึ่งท่านก็ตอบด้วยอารมณ์ขันว่า “ ข้าไม่ได้เลี้ยงพวกมันหรอก มันเลี้ยงข้าตะหาก ” ( ต่างหาก )
หากจะกล่าวว่า “ หลวงพ่อถิร คือพระผู้มีบารมีแก่กล้าตัวจริง ก็กล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำ ” เรื่องก็เป็นเช่นนี้แล...
อนึ่ง หลังจาก พระครูรักขิตวันมุนี ( สมุห์พร ) มรณภาพลง พระครูโพธาภิรัต ( โต๊ะ ) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณภูมิ และเจ้าคณะ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และท่านยังเป็นพระอุปัชฌาย์ “ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าเลไลยก์ ” แทนที่
หลวงปู่โต๊ะ ได้ทำการปรับพื้นที่ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะหลายอย่าง และสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้น ต่อมา “ ได้ขอพระ ราชทานพระบรมราชานุญาตลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาส ” เนื่องจากเจ้าที่เจ้าทางแรง ซึ่งในขณะที่ หลวงปู่โต๊ะ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็มีปัญหาเรื่อยมาจนกระทั่งท่านทนไม่ไหวและได้ขอลาออกไปตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น
ในช่วงเวลาดังกล่าว “ วัดป่าเลไลยก์ กำลังเสื่อม เหลือพระภิกษุจำนวน ๒ รูป กับเณรอีก ๑ รูป ของสงฆ์และสมบัติต่างๆ ถูกโจรผู้ร้ายลักลอบเอาไปเป็นจำนวนมาก เป็นเช่นนี้ถึง ๓ เดือน ก็ยังหาเจ้าอาวาสไม่ได้ ” ( ไม่มีใครอยากมาเป็นเพราะกลัวเจ้าที่ ) ครั้นถึงวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔ “ พระเทพเวทีประธานคณะกรรมการมณฑลราชบุรี วัดมงกุฎกษัตริยาราม ” ได้ทรงรับพระบัญชาจาก สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) วัดสุทัศน์ ให้ย้าย “ พระถิร น.ธ.เอก ครูสอนพระปริยัติธรรม วัดสุวรรณภูมิ ไปเป็นผู้รักษาการณ์เจ้าอาวาส วัดป่าเลไลยก์ และแล้วตำนานความยิ่งใหญ่ของ วัดป่าเลไลยก์ จึงเริ่มขึ้น ”
วัดป่าเลไลยก์ มีเนื้อที่ ๘๒ ไร่ ๑ งาน มีโบราณสถานอันเป็นประธานของวัดคือ “ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ” ชาวบ้านเรียก “ หลวงพ่อโต ” จึงเป็นที่มาของ “ หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ” ที่ หน้าบันของวิหาร มีเครื่องหมาย “ พระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ ” ซึ่งเป็นตราพระราชลัญจกรของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ สำหรับที่มาที่ไปของตราสัญลักษณ์นี้ก็เนื่องมาจาก “ ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ในขณะที่ยังทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์มาพบ วัดป่าเลไลยก์ ในสภาพวัดร้าง ทรงเห็นว่าเป็นวัดโบราณล้ำค่า จึงปฏิสังขรณ์หลังจากที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ”
ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า “ พระเจ้ากาแล ” ทรงให้มอญน้อยมาบูรณะ ในปี พ.ศ. ๑๗๒๔ วัดป่าเลไลยก์ เป็นที่คุ้นของผู้คนทั่วไปเนื่องจากปรากฏอยู่วรรณคดีเรื่อง “ ขุนช้าง ขุนแผน ” เมื่อ ขุนแผน ยังเยาว์ได้มาบวชเรียนที่วัดแห่งนี้ในชื่อ “ เณรแก้ว ” ความสำคัญของ วัดป่าเลไลยก์ ตามที่พรรณนาไว้ใน “ เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ” ทำให้ด้านหน้าวิหารมีรูปปั้นของ ขุนแผน และ นางพิม ตั้งไว้ อีกทั้งภายในวัดก็ยังมี “ เรือนขุนช้างขุนแผนให้ผู้คนได้เข้าไปเที่ยวชม ”
“ หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ” เป็นพระพุทธรูปคู่เมือง สุพรรณบุรี มาตั้งแต่โบราณ กาล “ หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองขนาดใหญ่ปางปาลิไลยก์ ตั้งอยู่กลางแจ้ง สูง ๒๓.๒๑ เมตร รอบองค์ขนาด ๑๑.๑๙ เมตร สร้างตามแบบศิลปะอู่ทองยุคที่ ๒ ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองขนานแท้ ”
และเนื่องจาก หลวงพ่อโต ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการชำรุดเสียหาย คือ พระหัตถ์ข้างขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบไว้ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระหัตถ์ขวา ส่วนทางพระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระชิดกับผนังวิหารเพื่อความแข็งแรง
มีผู้สันนิษฐานว่า หลวงพ่อโต เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับนั่งอยู่กลางแจ้งเพื่อให้มองเห็นได้ไกลๆ เหมือนกับ หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง ในสมัยแรกๆ ( ก่อนมีวิหารครอบ ) ประมาณว่า “ ระยะเวลาที่สร้างขึ้นอย่างต่ำสุดก็ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ( ก่อนปี พ.ศ.๑๘๙๓ ) อย่างสูงสุดก็สร้างในสมัยทวาราวดีตอนต้น ( ปี พ.ศ.๑๒๐๐ ) ”
กาลเวลาทำให้พระกรทั้ง ๒ ข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณะใหม่ได้ทำเป็นปางปาลิไลยก์ ลักษณะประทับห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวาก็วางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย
พระวิหารที่สร้างครอบองค์พระสร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ภายในพระพุทธรูปนี้บรรจุ “ พระบรมสารีริกธาตุ ” ที่ได้มาจาก “ พระมหาเถรไลยลาย จำนวน ๓๖ พระองค์ ”
หลวงพ่อถิร บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๗ ปี ต่อมาเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕ ณ วัดหน่อพุทธางกูร โดยมี พระครูโพธาภิรัต ( สอน ) วัดป่าเลไลยก์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณวรคุณ ( หลวงพ่อคำ ) วัดหน่อพุทธางกูร เป็นพระคู่สวดได้รับฉายาว่า “ ปญฺญาปโชโต ” จากนั้นท่านก็ไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดสุวรรณภูมิ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก หลวงพ่อถิร เป็นนักเรียนที่สอบนักธรรมชั้นเอกได้เป็นรูปแรกในนามของ จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านอยู่ที่วัดสุวรรณภูมิ ๑๘ ปี ก่อนย้ายมารักษาการณ์เจ้าอาวาส วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร และได้เป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา
หลวงพ่อถิร เป็นผู้มีปัญญาดีฉลาดปราดเปรื่อง เมื่อได้ครูดีมีวิชาขลัง คอยชี้แนะสั่งสอน ท่านจึงเชี่ยวชาญแตกฉานและเก่งตั้งแต่ยังเป็นพระหนุ่ม ความขลังในมนต์คาถาของท่านเป็นที่ประจักษ์แจ้งต่อบรรดาผู้คนและพวก “ เสือสาง ” ทั้งหลาย และนี่เป็นที่มาของคำว่า “ หลวงพ่อถิร เลี้ยงเสือ เลี้ยงโจร ”
หลวงพ่อสอน เป็นพระภิกษุที่ใฝ่ใจในการศึกษา ท่านมีโอกาสได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ “ หลวงพ่อกล่ำ อดีตเจ้าอาวาส วัดป่าเลไลยก์ ” ซึ่งเป็นพระเกจิผู้ทรงพุทธาคม จากนั้นได้ข้ามฟากมาเรียนพระปริยัติธรรมที่ วัดสุวรรณภูมิ แล้วก็ย้ายมาจำพรรษาที่ วัดไชนาวาส ( วัดชายนา ) เพื่อศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติม ครั้นเมื่อทราบว่า “ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ” อำเภอบางปลาม้า เป็นพระเกจิชื่อดังที่เก่งกล้าด้านวิปัสสนากรรมฐานและพระปริยัติธรรม จึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนวิชากับท่าน
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น “ พระครูวินัยธร ” ฐานานุกรมของ “ พระวิบูลย์เมธา จารย์ เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ” ซึ่งในขณะนั้น วัดป่าเลไลยก์ ชำรุดทรุดโทรมอย่างหนักไม่มีพระจำพรรษาอยู่ ทางคณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่า “ ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้วัดป่าเลไลยก์ก็จะต้องร้างไป ” จึงมีมติแต่งตั้งให้ หลวงพ่อสอน ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.๒๔๕๖ เพื่อฟื้นฟูสภาพวัดโบราณให้คงอยู่สืบไป
เมื่อ หลวงพ่อสอน เข้าปกครอง วัดป่าเลไลยก์ ท่านก็เริ่มพัฒนาวัดในทันที โดยการสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ พระอุโบสถ และขุดบ่อน้ำไว้ ๓ บ่อ รวมทั้งสร้างเสนาสนะต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ท่านยังพัฒนาด้านการศึกษา โดยริเริ่มการศึกษาทั้งทางด้านพระปริยัติธรรมและการสอนภาษาไทยขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาอย่างยิ่งของชาวบ้านใน จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง สมณศักดิ์สุดท้ายของท่านคือ “ พระครูโพธาภิรัต ”
หลวงพ่อสอนมรณภาพในปี พ.ศ.๒๔๗๕ สิริอายุ ๖๗ ปี พรรษาที่ ๔๖
อภินิหารหลวงพ่อสอน
สำหรับอภินิหารที่เกิดจากวัตถุมงคลของ หลวงพ่อสอน ที่ทันท่านเสก ก็มีมากมายหลากหลายเล่ากันไม่หวาดไม่ไหว และส่วนใหญ่ นักเขียนรุ่นใหญ่ หลายท่านได้กล่าวถึงไปกันเกือบหมดแล้ว ผู้เขียนเป็นแค่ นักเขียนขาเล็ก ไม่อาจเทียบชั้นรุ่นพี่ จึงขออนุญาตกล่าวถึงวัตถุมงคลรุ่นใหม่ที่สร้างไม่ทันท่าน แต่ออกจาก วัดป่าเลไลยก์ ดังนี้...
คุณฐิติกร สังข์โลก อยู่บ้านเลขที่ ๑๒ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี กรุณาเล่าให้ฟังว่า น้องของคุณปู่ชื่อ ตาเหมียง ได้เล่าอภินิหาร หลวงพ่อสอน ให้ฟัง แล้วคุณฐิติกรก็นำมาเล่าต่ออีกที เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณครูบาอาจารย์ให้ขจรขจายไปถ้วนทั่ว ดังนี้...
ตาเหมียง แกนับถือ หลวงพ่อสอน และแกยังเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อถิร อีกด้วย สมัยก่อนตาเหมียงจะเป็นคนหล่อพระกำแพงศอกให้หลวงพ่ออยู่นานหลายปี ครั้งหนึ่งแกเกิดปวดแก้มเพราะเป็น “ ฝี ” ( ใบหน้าแกบวมจนแก้มโย้ ) แกปวดมากจึงไปหาหมอประจำตำบลชื่อ “ หมอสมหมาย ”
หมอสมหมายจะเจาะเอาหนองออกหรือจะฉีดยาแก้ปวดให้ คุณฐิติกรก็จำไม่ได้แล้ว เพราะตาเหมียงเล่าให้ฟังตั้งแต่เป็นเด็ก แต่ที่คุณฐิติกรยังจำได้แม่นไม่มีลืมก็คือ “ หมอสมหมายแทงเข็มฉีดยาคมกริบลงไปที่แก้มอ่อนๆ ของตาเหมียง แต่แทงไม่เข้า ” หมอจึงแทงเป็นครั้งที่ ๒
“ เมื่อหมอสมหมายแทงเข็มลงไปอีก ครั้งนี้แกแทงแรงมาก แรงจนหนังที่แก้มของตาเหมียงย้วยอย่างกับเอาเข็มทื่อๆ แทงแผ่นยางพาราหนาๆ อย่างนั้น แต่ก็ยังแทงไม่เข้าอยู่ดี ”
หมอจึงบอกกับตาเหมียงว่า “ อย่าเกร็งแก้มสิ ”
ตาเหมียงบอกว่า “ ผมไม่ได้เกร็งครับ ”
พอหมอแทงเข็มเป็นครั้งที่ ๓ ก็ถึงกับ “ เข็มหักคามือ ” หมอสมหมายตกใจถึงกับอุทานเสียงดัง แล้วถามตาเหมียงว่า “ มีของดีอะไรว่ะ ขอดูหน่อย ” ตาเหมียงจึงถอดพระเครื่องที่มีอยู่เพียงองค์เดียวออกมาให้ดู เมื่อหมอดูเสร็จแล้วก็บรรจงวางไว้บนถาดสแตนเลส จากนั้นหมอได้แทงเข็มฉีดยาไปที่แก้มของตาเหมียงอีกครั้งหนึ่ง ( หมอแทงแรงมากเพราะกลัวว่าจะแทงไม่เข้าอีก ) ทีนี้เข็มทะลุแก้มไปปักที่เหงือกกันเลยทีเดียว ตาเหมียงบอกว่าเจ็บแทบตาย
อยากรู้ไหมว่าเป็นหลวงพ่อองค์ไหน วัดอะไร ที่ทำให้เข็มฉีดยาแทงเนื้ออ่อนๆ ไม่เข้า พระองค์ที่ว่าก็คือ “ เหรียญ ๒ หน้า หลวงพ่อสอน-หลวงพ่อถิร ” นั่นเอง
![]() |
หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระก่ออิฐถือปูน ขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 23.47 เมตร หลวงพ่อโตเดิมน่าจะเป็นพระพุทธรูป ปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้ง เหมือนวัดพนัญเชิงในสมัยแรกๆ |
![]() |
พระวิสุทธิสารเถร (หลวงพ่อถิร) |
คำว่า “ ผู้มีบารมีของพระสงฆ์องค์เจ้า ” นั้น ปัจจุบันมีการตีความกันไปต่างๆ นานา บ้างก็ว่า “ ท่านเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ที่มีวัตรปฏิบัติงดงามบารมีธรรมสูงส่ง ” ส่วนบางคนว่า “ ท่านเป็นผู้เสียสละทำงานเพื่อพระศาสนาและเพื่อชาวบ้านอย่างแท้จริง ” บ้างก็ว่า “ ท่านเป็นครูบาอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมขลัง ” แต่ก็มีบางพวกที่ตีความต่างออกไป แนวๆ ว่า “ ผู้มีบารมีคือผู้มีอิทธิพลที่มีสมัครพรรคพวกมาก หรือมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นพวกนักเลงอันธพาลหรือพวกเสือสางทั้งหลาย ”
![]() |
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อถิร เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง พ.ศ.2506 |
แต่กว่าที่พวก “ เสือ สิงห์ กระทิง แรด ” ทั้งหลายจะยอมรับนับถือหรือยอมลงให้ “ หลวงพ่อถิร ” ท่านต้องผ่านการพิสูจน์มาแบบนับครั้งไม่ถ้วนจนเป็นที่เชื่อถือว่า ท่านแน่จริง เรื่องก็เป็นเช่นนี้แล
![]() |
รูปถ่ายหลวงพ่อโต พ.ศ.2493 (จารลายมือหลวงพ่อถิร) |
เมื่อ หลวงพ่อถิร ย้ายมายัง วัดป่าเลไลยก์ “ ๓ เสือนามกระเดื่อง ” ต่างก็พากันประกาศก้องต่อหน้าผู้คนว่า “ ใครหน้าไหนอย่าได้มารบกวนการสร้าง การพัฒนาวัดของ หลวงพ่อถิร ให้เดือดเนื้อร้อนใจเป็นเด็ดขาด หาไม่แล้วเป็นได้เจอกัน ” ฟังดูเสือเหล่านี้ก็มีคุณธรรม รักพระศาสนาดีทีเดียว และด้วยเหตุนี้นี่เองทำให้มีผู้คน ( พวกที่เสียผลประโยชน์ ) กล่าวหาท่านว่า “ หลวงพ่อถิร เลี้ยงเสือ เลี้ยงโจร ” ซึ่งท่านก็ตอบด้วยอารมณ์ขันว่า “ ข้าไม่ได้เลี้ยงพวกมันหรอก มันเลี้ยงข้าตะหาก ” ( ต่างหาก )
หากจะกล่าวว่า “ หลวงพ่อถิร คือพระผู้มีบารมีแก่กล้าตัวจริง ก็กล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำ ” เรื่องก็เป็นเช่นนี้แล...
![]() |
ล็อกเกตหลวงพ่อถิร พ.ศ.2516 หลังตะกรุดสามกษ้ตริย์ |
หลวงปู่โต๊ะ ได้ทำการปรับพื้นที่ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะหลายอย่าง และสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้น ต่อมา “ ได้ขอพระ ราชทานพระบรมราชานุญาตลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาส ” เนื่องจากเจ้าที่เจ้าทางแรง ซึ่งในขณะที่ หลวงปู่โต๊ะ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็มีปัญหาเรื่อยมาจนกระทั่งท่านทนไม่ไหวและได้ขอลาออกไปตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น
ในช่วงเวลาดังกล่าว “ วัดป่าเลไลยก์ กำลังเสื่อม เหลือพระภิกษุจำนวน ๒ รูป กับเณรอีก ๑ รูป ของสงฆ์และสมบัติต่างๆ ถูกโจรผู้ร้ายลักลอบเอาไปเป็นจำนวนมาก เป็นเช่นนี้ถึง ๓ เดือน ก็ยังหาเจ้าอาวาสไม่ได้ ” ( ไม่มีใครอยากมาเป็นเพราะกลัวเจ้าที่ ) ครั้นถึงวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔ “ พระเทพเวทีประธานคณะกรรมการมณฑลราชบุรี วัดมงกุฎกษัตริยาราม ” ได้ทรงรับพระบัญชาจาก สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) วัดสุทัศน์ ให้ย้าย “ พระถิร น.ธ.เอก ครูสอนพระปริยัติธรรม วัดสุวรรณภูมิ ไปเป็นผู้รักษาการณ์เจ้าอาวาส วัดป่าเลไลยก์ และแล้วตำนานความยิ่งใหญ่ของ วัดป่าเลไลยก์ จึงเริ่มขึ้น ”
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
“ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ” เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีอายุราว ๑,๒๐๐ปี อยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ สุพรรณบุรี ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “ วัดป่า ” “ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๒ ” ต่อมาได้สร้างพระอุโบสถขึ้นอีกหลังหนึ่งโดยความร่วมมือกันของชาวบ้าน, ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยข้าราชการน้อยใหญ่ และ “ หลวงพ่อสอน ” อดีตเจ้าอาวาส วัดป่าเลไลยก์ ผู้ยิ่งใหญ่วัดป่าเลไลยก์ มีเนื้อที่ ๘๒ ไร่ ๑ งาน มีโบราณสถานอันเป็นประธานของวัดคือ “ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ” ชาวบ้านเรียก “ หลวงพ่อโต ” จึงเป็นที่มาของ “ หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ” ที่ หน้าบันของวิหาร มีเครื่องหมาย “ พระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ ” ซึ่งเป็นตราพระราชลัญจกรของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ สำหรับที่มาที่ไปของตราสัญลักษณ์นี้ก็เนื่องมาจาก “ ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ในขณะที่ยังทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์มาพบ วัดป่าเลไลยก์ ในสภาพวัดร้าง ทรงเห็นว่าเป็นวัดโบราณล้ำค่า จึงปฏิสังขรณ์หลังจากที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ”
![]() |
พระหลวงพ่อโต หลวงพ่อถิร เนื้อทองเหลือง พ.ศ.2505 |
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์
![]() |
พระขุนแผน พิมพ์ไข่ผ่า หลวงพ่อถิร มีเข็ม พ.ศ.2483 |
และเนื่องจาก หลวงพ่อโต ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการชำรุดเสียหาย คือ พระหัตถ์ข้างขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบไว้ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระหัตถ์ขวา ส่วนทางพระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระชิดกับผนังวิหารเพื่อความแข็งแรง
![]() |
พระกลีบบัว หลวงพ่อถิร เนื้อชิน พ.ศ.2505 |
![]() |
พระเนื้อผง หลวงพ่อถิร พ.ศ.2505 |
พระวิหารที่สร้างครอบองค์พระสร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ภายในพระพุทธรูปนี้บรรจุ “ พระบรมสารีริกธาตุ ” ที่ได้มาจาก “ พระมหาเถรไลยลาย จำนวน ๓๖ พระองค์ ”
![]() |
รูปหล่อหลวงพ่อถิร รุ่นแรก (รุ่นเดียว) พ.ศ.2522 |
พระวิสุทธิสารเถร ( หลวงพ่อถิร )
หลวงพ่อถิร มีนามเดิมว่า “ ถิร ” เกิดวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๕ ณ บ้านพลูหลวง ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของ พ่อวาส กับ แม่เพิ่ม นามสกุล “ พึ่งเจริญ ” ตระกูลผู้ใหญ่ฝ่ายมารดาสืบเชื้อสายมาจาก หมื่นเกล้าฯ กับ ยายทวดจัน ท่านทั้ง ๒ มีบุตรสาวชื่อ ยายมี และยายมีก็คือมารดาของ แม่เพิ่ม นั่นเอง ส่วนบิดาของแม่เพิ่มก็คือ ตาสิงห์ ซึ่งเป็นต้นตระกูล “ สิงห์สุวรรณ ” จะขอกล่าวถึงตระกูลฝ่าย เตี่ยวาส หรือ พ่อวาส บ้าง พ่อวาสเป็นบุตรของ ก๋งผึ้ง กับ ย่าอิ่ม นามสกุล “ แซ่ตัง ” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ พึ่งเจริญ ”![]() |
ภายในมณฑปของพระวิสุทธิสารเถร (หลวงพ่อถิร) เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร องค์ที่ ๔ ศพของท่านก็ยังอยู่ในโลงศพ ที่ตั้งอยู่ที่มณฑปนี้ |
พระอาจารย์หลวงพ่อถิร
ในระหว่างที่ หลวงพ่อถิร อยู่วัดสุวรรณภูมิ ท่านได้เรียนอาคมกับพระเกจิ อาจารย์ผู้มีอาคมขลังวาจาศักดิ์สิทธิ์นั่นคือ “ หลวงปู่โต๊ะ แห่งวัดลาดตาล ” ซึ่งในขณะนั้นหลวงปู่โต๊ะเป็นเจ้าอาวาสที่วัดสุวรรณภูมิ ต่อมาก็ได้ไปเรียนกับ “ หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลยก์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านนั่นเอง ”
หลวงพ่อสอนมาเข้าฝัน
ต่อมา หลวงพ่อถิร ได้ย้ายไปอยู่ที่ วัดป่าเลไลยก์ เมื่ออายุ ๓๘ ปี พรรษา ๑๘ หลวงพ่อถิร ได้เขียนบันทึกประวัติของท่านเอาไว้ว่า “ ข้าพเจ้าได้รับอนุมัติจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) วัดสุทัศน์ ให้ย้ายจากวัดสุวรรณภูมิ ไปเป็นผู้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าเลไลยก์ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๓ พอถึงวันที่ ๑๙ ได้นิมิตว่า ท่านพระครูโพธาริรัต ( สอน ) อดีตเจ้าอาวาสและพระอุปัชฌายะของข้าพเจ้าที่ล่วงไป ได้มาบอกแก่ข้าพเจ้าว่า อยู่ไปเถอะไม่เป็นไร ใครจะทำอะไรไม่ดีก็ช่างเขา แล้วเขาจะพินาศไปเอง ”![]() |
พระครูโพธิภิรัต (สอน) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ |
![]() |
รูปปั้นพระครูโพธิภิรัต (สอน) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ |
พระครูโพธาภิรัต ( หลวงพ่อสอน ) อดีตเจ้าอาวาส วัดป่าเลไลยก์
พระครูโพธาภิรัต หรือ “ หลวงพ่อสอน ” ท่านเป็นชาวบ้านค่ายเก่า จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่เหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปราวๆ ๑๐๐-๒๐๐ เมตร ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๘ โยมบิดาชื่อ “ สิน ” โยมมารดาชื่อ “ นิ่ม ” ตอนเด็กๆ ได้ศึกษาหนังสือไทยและอักขระภาษาขอมที่ วัดประตูสาร เมื่อท่านมีอายุครบบวชในปี พ.ศ.๒๔๒๙ จึงได้อุปสมบทที่วัดประตูสารนั่นเอง![]() |
เหรียญหลวงพ่อสแน รุ่นแรก พ.ศ.2461 เนื้อทองแดง |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อสอน รุ่นสอง พ.ศ.2470 เนื้อทองแดงกะไหล่เงิน |
เมื่อ หลวงพ่อสอน เข้าปกครอง วัดป่าเลไลยก์ ท่านก็เริ่มพัฒนาวัดในทันที โดยการสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ พระอุโบสถ และขุดบ่อน้ำไว้ ๓ บ่อ รวมทั้งสร้างเสนาสนะต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ท่านยังพัฒนาด้านการศึกษา โดยริเริ่มการศึกษาทั้งทางด้านพระปริยัติธรรมและการสอนภาษาไทยขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาอย่างยิ่งของชาวบ้านใน จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง สมณศักดิ์สุดท้ายของท่านคือ “ พระครูโพธาภิรัต ”
หลวงพ่อสอนมรณภาพในปี พ.ศ.๒๔๗๕ สิริอายุ ๖๗ ปี พรรษาที่ ๔๖
![]() |
เหรียญหลวงพ่อโต (หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล สร้าง) พ.ศ.2481 |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อพร วัดป่าเลไลยก์ พ.ศ.2481 |
ตาเหมียง แกนับถือ หลวงพ่อสอน และแกยังเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อถิร อีกด้วย สมัยก่อนตาเหมียงจะเป็นคนหล่อพระกำแพงศอกให้หลวงพ่ออยู่นานหลายปี ครั้งหนึ่งแกเกิดปวดแก้มเพราะเป็น “ ฝี ” ( ใบหน้าแกบวมจนแก้มโย้ ) แกปวดมากจึงไปหาหมอประจำตำบลชื่อ “ หมอสมหมาย ”
หมอสมหมายจะเจาะเอาหนองออกหรือจะฉีดยาแก้ปวดให้ คุณฐิติกรก็จำไม่ได้แล้ว เพราะตาเหมียงเล่าให้ฟังตั้งแต่เป็นเด็ก แต่ที่คุณฐิติกรยังจำได้แม่นไม่มีลืมก็คือ “ หมอสมหมายแทงเข็มฉีดยาคมกริบลงไปที่แก้มอ่อนๆ ของตาเหมียง แต่แทงไม่เข้า ” หมอจึงแทงเป็นครั้งที่ ๒
![]() |
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือท่าจีน ห่างจากฝั่งประมาณ 2 กม. เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เนื้อที่กว้าง 82 ไร่ 1 งาน |
![]() |
ผ้ายันต์หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ |
หมอจึงบอกกับตาเหมียงว่า “ อย่าเกร็งแก้มสิ ”
ตาเหมียงบอกว่า “ ผมไม่ได้เกร็งครับ ”
พอหมอแทงเข็มเป็นครั้งที่ ๓ ก็ถึงกับ “ เข็มหักคามือ ” หมอสมหมายตกใจถึงกับอุทานเสียงดัง แล้วถามตาเหมียงว่า “ มีของดีอะไรว่ะ ขอดูหน่อย ” ตาเหมียงจึงถอดพระเครื่องที่มีอยู่เพียงองค์เดียวออกมาให้ดู เมื่อหมอดูเสร็จแล้วก็บรรจงวางไว้บนถาดสแตนเลส จากนั้นหมอได้แทงเข็มฉีดยาไปที่แก้มของตาเหมียงอีกครั้งหนึ่ง ( หมอแทงแรงมากเพราะกลัวว่าจะแทงไม่เข้าอีก ) ทีนี้เข็มทะลุแก้มไปปักที่เหงือกกันเลยทีเดียว ตาเหมียงบอกว่าเจ็บแทบตาย
อยากรู้ไหมว่าเป็นหลวงพ่อองค์ไหน วัดอะไร ที่ทำให้เข็มฉีดยาแทงเนื้ออ่อนๆ ไม่เข้า พระองค์ที่ว่าก็คือ “ เหรียญ ๒ หน้า หลวงพ่อสอน-หลวงพ่อถิร ” นั่นเอง
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1221 พระวิสุทธิสารเถร (หลวงพ่อถิร ) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ราคาปก 70 บาท )