หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ต.สิบเอ็ดศอก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

 ภาพและเรื่องโดย กฤชนณ ประชุมพันธ์, สุทัศน์ ฮกเทียน, ฐิติพันธ์ บุญเพ็ง


รูปถ่ายเอกลักษณ์คู่ตาลปัตรหัวเสือ
หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ รูปนี้ถือได้ว่าเป็น
เอกลักษณ์
ของท่านที่ไม่มีใครเหมือน
คือมีตาลปัตรรูปหัวเสือวางไว้ด้านข้าง
จัดว่าเป็นเกจิอาจารย์หนึ่งเดียว

ที่มีเอกลักษณ์แบบนี้
เหรียญหลวงพ่อเสือ วัดสามกอ รุ่นแรก นิยม
เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
หลวงพ่อเสือ วิรุฬหผล วัดสามกอ (หรือวัดไผ่สามกอในอดีต) ตำบลสิบเอ็ดศอก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เกจิอาจารย์ขลังอีกรูปของลุ่มแม่น้ำบางปะกง ยุคสมัยเดียวกับ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อก้อย วัดมหาเจดีย์ 

วัดสามกอ ตั้งอยู่เลขที่ 72 บ้านสามกอ หมู่ที่ 2 ตำบลสิบเอ็ดศอก เมื่อปีพุทธศักราช 2450 โดย 
นายอยู่ นางคล้อย โพธิ์สุวรรณ เป็นผู้มอบที่ดินถวายเพื่อสร้างวัดสามกอ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 21 
ไร่ กับอีก 40 ตารางวา นายจิ๋วและชาวบ้านสิบเอ็ดศอกร่วมกันอุปถัมภ์สร้างวัดสามกอขึ้นมา
ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีลำดับเจ้าอาวาสดังต่อไปนี้

เหรียญรูปไข่หลวงพ่อเสือ ปี 2493
สร้างโบสถ์วัดแก้วศิลาราม
เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
เหรียญรูปไข่หลวงพ่อเสือ เนื้อทองแดงผิวไฟ
พิมพ์หลวงพ่อเสือ บล็อกหน้าผากสามเส้น พ ศ 
มีจุด

รูปที่ 1 หลวงพ่อเสือ วิรุฬหผล ปี พ.ศ.2460-2498
รูปที่ 2 หลวงพ่อเผย สีลสาโร ปี พ.ศ.2499-2506
รูปที่ 3 พระครูสัมปัน (ชม) ปี พ.ศ.2507-2534
รูปปัจุบัน พระครูประทีบธรรมาทร (ธนินทร์) ปี 2535-ปัจจุบัน

อาณาเขตวัด ทิศเหนือติดโรงเรียน วัดสามกอ ทิศใต้ติดถนนดอนสีนนท์-แหลมประดู่ (เส้น 33) 
ทิศตะวันออกติดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สามกอ ทิศตะวันตกติดคลอง สามกอ และชุมชนข้าง วัดสามกอ

พระประธานภายในโบสถ์ วัดสามกอ
มีอาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย สร้างเสร็จ
เมื่อปี พ.ศ.2512 ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้หลังคาทรงสูง เสาไม้ทุกต้น สร้างเมื่อปี 2507 
มีหมู่กุฏิสงฆ์ใต้ถุนสูเป็นไม้ 1 หลัง อยู่ด้านหลังวิหารห้อง พ่อเสือ หลังหนึ่งมี 3 ห้อง และ หมู่กุฏิ
สงฆ์ใต้ถุนสูงเป็นอาคารคอนกรีต หลังคาทรงไทย 2 หลัง หลังหนึ่งมี 4 ห้อง อยู่ด้านทิศใต้ และ วิหาร หลวงพ่อเสือ เป็นวิหารหลังคาทรงจัตุรมุข สร้างเสร็จปี 2535

หลวงพ่อเสือ วิรุฬหผล ท่านมีนามเดิมว่า เสือ นามสกุล ยิ้มอยู่ ชาติภูมิ ท่านเกิดวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.2421 ที่หมู่บ้านในเขตตำบลสระสี่เหลี่ยม อยู่ไม่ไกลจากวัดหลวงพรหมาวาส อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โยมบิดาชื่อ แสวง โยมมารดาชื่อ ลำเจียก ท่านเป็นลูกคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ดังนี้ คนที่ 1. นางเสน แซ่ล้อ 2. หลวงพ่อเสือ ยิ้มอยู่ 3. นางเล็ก ยิ้มอยู่ 4. นายสอ ยิ้มอยู่ 5. นางโต ยิ้มอยู่ 


 ภายในวิหารหลวงพ่อเสือ วัดสามกอ
อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
วิหารหลวงพ่อเสือ วัดสามกอ
อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
จะด้วยบารมีในทางธรรมของท่านที่ได้สร้างสมมาแต่อดีตชาติหรืออย่างไรไม่ทราบได้ ทำให้หลวงพ่อเกิดความรู้สึกชอบในทางธรรมะมาตั้งแต่เด็ก ท่านชอบที่จะติดตามพ่อ-แม่ไปทำบุญฟังธรรมที่วัดหลวงพรหมาวาส ตั้งแต่ ๕-๖ ขวบ และไม่ไปวิ่งเล่นซุกซนตามประสาเด็ก แต่ใฝ่ไปในทางชอบฟังธรรมะ ฝึกหัดทำสมาธิ และชอบที่จะศึกษา คาถาอาคมเป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อเสือ ท่านพูดจาฉะฉาน ยึดมั่นในคำพูด เป็นคนซื่อตรง อันเป็นลักษณะของคนที่จะศึกษาคาถาอาคมมนต์ขลังได้ดี และด้วยเหตุที่ท่านเป็นคนร่างเล็ก แต่ใบหน้าจะยิ้มแย้มอยู่เสมอ อ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้ได้รับความเมตตาจากครูอาจารย์ ผู้เฒ่า ทั้งฆราวาส และพระสงฆ์ ให้การสั่งสอนเรียนรู้พระเวทอาคมให้กับท่าน หนึ่งในพระสงฆ์ที่ให้ความเมตตา หลวงพ่อเสือ ก็คือ ท่านพระครูอินทโมฬีศรีสังวร (นุช) อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพรหมาวาส เกจิอาจารย์อาคมขลังอีกรูปของเมืองพระรถในยุคนั้น โดย หลวงพ่อเสือ ได้ศึกษาการอ่าน-เขียนภาษาไทย-ขอม และคาถาอาคมจากท่านพระครูอินทโมฬีศรีสังวรตั้งแต่วัยหนุ่มเริ่มโตขึ้นมา แต่ท่านยังไม่บวชเป็นพระ


โบสถ์ วัดสามกอ
อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
ด้านหน้าโบสถ์ วัดสามกอ
อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
ในวัยหนุ่มคราวท่านอายุประมาณ 16-17 นาย เสือ ได้รับจ้างนำสุราจากแหล่งผลิตสุราไปส่งตามร้านค้าในละแวกวัดหลวงพรหมาวาส โดยท่านหาบสุราที่ใส่ในกระจาดเต็มทั้งสองกระจาดด้วยไม้คาน เดินด้วยเท้าไปส่งตามร้านค้าที่สั่งสุรา ในระหว่างทางท่านได้เข้าพักเหนื่อย ที่ศาลาพักริมทาง ซึ่งในศาลามีชายกลุ่มหนึ่งประมาณ 5-6 คนนั่งอยู่ก่อน มีทั้งอายุประมาณท่านและโตกว่าท่าน อายุประมาณ 30 กว่าปี เมื่อเห็นท่านมาคนเดียวและร่างกายไม่ใหญ่โต พอท่านวางหาบที่ใส่สุราลง ชายเหล่านั้นก็ซุบซิบกันแล้วเดินมาหยิบขวดสุราในหาบไปดื่มคนละขวดสองขวด โดยมองท่านเหมือนเย้ยหยันว่า ท่านจะว่าอย่างไรหรือทำอะไรพวกเขาที่มีกันหลายคนได้ นาย เสือ ในขณะนั้นหยิบไม้คานขึ้นมาเสกเป่าด้วยอาคมที่ได้เรียนมาที่ไม้คานและที่หมัด จากนั้นได้เข้าตะลุมบอนทั้งชกทั้งไล่ตี พวกนักเลงรุ่นพี่ 5-6 คน เสียแตกกระเจิงวิ่งหนีกันไป ว่ากันว่าบางคนโดนท่านชกด้วยหมัดเสกอาคมสลบหลับอยู่ตรงศาลานั้น โดยที่ท่านไม่มีบาดแผลจากการต่อสู้เลย เหตุการณ์ในวันนั้นทำให้กลุ่มนักเลงกลุ่มนั้นแค้นเคืองท่านมาก ประกาศว่าจะต้องล้างแค้นนาย เสือ ให้ได้
เหรียญหลวงพ่อเสือ ใบโพธิ์ใหญ่
ปี 2495 บล็อกเรียบ
เหรียญหลวงพ่อเสือ ใบโพธิ์ใหญ่
ปี 2495 บล็อกเรียบ
เหรียญหลวงพ่อเสือ พิมพ์ใบโพธิ์เล็ก
บล็อกนิยม นางกวักผมยาวฐานตะแกรง
เนื้อทองแดง
กะไหล่ทอง
 ความรู้ถึงท่าน พระครูอินทโมฬีศรีสังวร ท่านเห็นว่าหากนาย เสือ ยังครองเพศฆราวาสอยู่คงจะสร้างกรรม มีการตายของพวกนักเลงกลุ่มนั้นเกิดขึ้นแน่ เพราะนาย เสือ นั้นเป็นคน จริง ไม่หนี และ ไม่กลัวคนมารังแก และมั่นใจในวิชาอาคมของตนที่ได้ศึกษามา ท่านจึงขอให้นาย เสือ บวชเสีย ด้วยความที่นาย เสือ มีความเคารพในตัวพระครูอินทโมฬีศรีสังวรเป็นอย่างมาก และถือโอกาสแสดงความกตัญญูบวชให้บิดา-มารดาด้วย ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหลวง จ.ชลบุรี โดยมีพระครูอินทโมฬีศรีสังวร เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาวิชาอาคม และเริ่มเรียนรู้วิปัสสนาธุระเพิ่มเติมจากพระอุปัชฌาย์ของท่านจนหมดสิ้นตั้งแต่เป็นสามเณร พอหลวงพ่อเสืออายุครบ 20 ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่วัดหลวงพรหมาวาสแห่งนี้ โดยท่านพระครูอินทโมฬีศรีสังวร เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “วิรุฬหผล”


ภาพงานแซยิดหลวงพ่อเสือ วัดสามกอ
ในภาพจะเห็นมีถังน้ำมนต์ขนาดใหญ่
ซึ่งเป็นที่ทราบ
กันว่าท่านเก่งทางน้ำมนต์มาก
และที่สำคัญพระเถราจารย์องค์ซ้ายมือ
ที่มาร่วมงานในงานแซยิด 
คือ
หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านพระครูอินทโมฬี ได้อนุญาตให้ ท่านหลวงพ่อเสือ เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมและวิปัสสนาธุระเพิ่มเติมที่อื่นได้ตามแต่ใจท่าน หลวงพ่อเสือ ต้องการ เพราะท่านพระครูอินทโมฬีบอกว่าท่านไม่มีอะไรที่จะสอนให้แล้ว เรียนรู้ได้หมดไส้หมดพุงท่านแล้ว แต่ท่าน หลวงพ่อเสือ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดหลวงพรหมาวาส 1 พรรษา เพื่อปรนนิบัติดูแลพระอุปัชฌาย์ อันแสดงถึงความกตัญญูของท่าน พอเข้าพรรษาที่ 2 ท่าน หลวงพ่อเสือ จึงเริ่มออกธุดงค์ โดยท่าน หลวงพ่อเสือ เป็นคนใฝ่เรียน ในระหว่างท่านออกธุดงค์ เมื่อรู้ว่าครูบาอาจารย์ท่านไหนมีวิชาอาคมขลังด้านใด ท่านก็จะไปขอศึกษาหรือแลกเปลี่ยนวิชา ด้วยเหตุที่ท่านอ้อนน้อมถ่อมตน ยิ้มแย้มอยู่เสมอ จึงมักได้รับความเมตตาจากครูบาอาจารย์ที่ท่านไปขอต่อวิชา หรือไปศึกษาเพิ่มเติมอย่างไม่ติดขัดอะไร

ต่อมา หลวงพ่อเสือ ได้ธุดงค์ไปสกลนคร เพื่อไปฝึกกรรมฐานเพิ่มเติมกับพระสายป่า แต่ไม่แน่ชัดว่าท่านได้ศึกษากับพระสุปฏิปันโนท่านใด พระอาจารย์ที่นั่นได้แนะนำให้เดินทางไปพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนาและแหล่งสักการะศักดิ์สิทธิ์มากมาย อีกทั้งคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ท่านจึงเริ่มออกเดินทางผ่านอุดรธานีไปจน ถึงพม่า อาศัยพักอยู่ที่ วัดโชติการาม โดยมี พระอาจารย์โชติกะธรรมจริยะ คอยแนะนำและให้ความสะดวก พักอยู่ 6 เดือน หลังจากนั้นท่าน หลวงพ่อเสือ ได้เดินทางไป วัดซันคยองวิหาร ได้พำนักจำพรรษาอยู่ที่นี่ถึง 2 ปี ณ ที่นี่หลวงพ่อได้พบกับ ท่านเลดี สย่าดอ มหาเถระ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาของพม่า ซึ่งเป็นผู้คอยแนะแนวทางการปฏิบัติธรรม การศึกษาพระไตรปิฎกให้

หลังจากนั้นหลวงพ่อยังได้เดินทางไปที่ลังกาได้พบและศึกษากับ ท่านญาณโปนิก มหาเถระ กลับจากลังกาแล้ว หลวงพ่อเสือ จึงเดินทางกลับมาบ้านเกิดที่ชลบุรี โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมาช่วยเหลือชาวบ้าน ทั้งการให้ธรรมะและช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุได้ประมาณ 40 ปี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแถบจังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา


 พระผงรุ่นอินโดจีน พิมพ์สมเด็จทรงสิงห์
มีชาวบ้าน ตำบลสิบเอ็ดศอก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการนำของ นายอยู่ และ นายจิ๋ว ได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิเล็กๆ และนิมนต์ให้ หลวงพ่อเสือ มาอาศัยอยู่ จนในที่สุดสร้างเป็นวัดขึ้น ให้ชื่อว่า “ วัดไผ่สามกอ ” ตามสัญลักษณ์ที่มีต้นไผ่เหลืองที่ขึ้นอยู่ 3 กอ หน้ากุฏิของท่านที่ชาวบ้านปลูกถวายนั่นเอง
พระผงรุ่นอินโดจีน พิมพ์สมเด็จทรงครุฑ
สภาพสวยคมชัดผิวเดิม

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า หลวงพ่อเสือ ท่านไม่เคยสรงน้ำเลย ไม่เคยมีใครเคยเห็นท่านเดินไปสรงน้ำที่คลองเลย แต่ทุกวันเวลาท่านอยู่ในห้องที่ท่านใช้จำวัดพักผ่อน ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงจะได้ยินเสียงน้ำเหมือนไหลจากฝักบัว และร่างกายของหลวงพ่อก็เปียกเอง ทั้งยังมีกลิ่นหอมเหมือนดอกลำเจียก

เมื่อถึงวันเกิดของท่าน ผู้คนจะหลั่งไหลมาสรงน้ำท่าน เวลาท่านเดินลงจากกุฏิฝนจะตกลงมาพอดีทุกครั้ง ท่านจึงได้ฉายาว่า “ พระวิรุฬหผล ” เมื่อตอนอายุได้ 55 ปี ท่านได้ธุดงค์ไปประเทศศรีลังกา เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาในรายละเอียดเพิ่มเติมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

หลังจากท่านกลับจากธุดงค์จากศรีลังกาแล้วท่านก็ไม่ธุดงค์ไปต่างประเทศอีก แต่ท่านถือธุดงควัตรเป็นนิจ ท่านยังคงธุดงค์หลังออกจากพรรษาอยู่เป็นนิจ หลวงพ่อเสือ ท่านเคยร่วมคณะธุดงค์ไปกับ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ในช่วงที่หลวงพ่อเสือยังเป็นพระหนุ่มอายุไม่เกิน 30 ปี ซึ่งในขณะนั้นหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ก็สูงอายุมากแล้ว ทำ ให้ หลวงพ่อเสือ มีความสนิทสนมกับ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ที่ได้พบกันในคณะธุดงควัตร แม้ช่วงหลังจากหลวงพ่อปานมรณภาพแล้ว หลวงพ่อเสือ ก็ยังได้ร่วมธุดงค์ไปกับคณะของหลวงพ่อเหลือและหลวงพ่อจาดอีกหลายครั้ง


พระลีลาข้างเม็ด หลังจารยันต์ 4 ตัว
หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ สร้างเนื้อชิน
จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุหลายท่านที่ทันในยุคท่าน หลวงพ่อเสือ ยืนยันว่า หลวงพ่อเสือ ท่านได้ติดต่อไปมาหาสู่กับหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก และหลวงพ่อจาดวัดบางกระเบา อยู่ประจำ ในงานประจำปีของวัดสามกอบางปี หลวงพ่อจาดและหลวงพ่อเหลือก็รับนิมนต์มาร่วมงานที่วัดสามกอ เช่น คราวปลุกเสกพระพุทธลีลาข้างเม็ด เนื้อชิน หลังจารเปียก เป็นต้น และหลวงพ่อเหลือ หลวงพ่อจาด ยังได้นำวัตถุมงคลของท่านมาแจกที่งานวัดด้วย คงเป็นเหตุจากการที่ท่านร่วมคณะธุดงค์ด้วยกันจึงทำให้สนิทกัน จนท่าน หลวงพ่อเสือ อสูงอายุมากแล้วจึงได้หยุดธุดงค์และอยู่โปรดญาติโยมที่มาหา เพื่อให้ท่านช่วยเหลือรักษาโรคภัยต่างๆ ที่วัดสามกอ


พระบูชาหลวงพ่อเสือ วัดสามกอ
เนื้อทองเหลืองรมดำ ปี 2529
สร้างหลังจากหลวงพ่อ
มรณภาพไป 30 ปี
ในการปลุกเสกวัตถุมงคลของวัดราชบพิธฯ ครั้งที่ 3 มีพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในครั้งแรกมรณภาพลง ทางวัดราชบพิธฯจึงได้นิมนต์ หลวงพ่อเสือ วิรุฬหผล วัดสามกอ และ หลวงพ่อก้อย วัดมหาเจดีย์ ไปเข้าร่วมปลุกเสกพระของวัดราชบพิธฯในการปลุกเสกครั้งที่ 3 แสดงให้เห็นถึงกิตติคุณความขลังในอาคมของท่านนั้นขจรไกลไปถึงพระนคร ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง เพราะผู้คนที่ดั้นด้นมาหาท่านที่ วัดสามกอ นั้น นอกจากเป็นญาติโยมจากแปดริ้ว ชลบุรี ในพื้นที่ใกล้เคียงแล้ว ที่เดินทางมาจากไกลๆ เช่น ในกรุงเทพฯหรือไกลกว่านั้นก็มี เพราะท่านดังมากเรื่อง น้ำมนต์ ของขลัง ท่านเด่นด้านเมตตาค้าขายดีมาก เมื่อเขาเหล่านั้นได้นำของขลังของท่านไปใช้จนตั้งเนื้อตั้งตัวได้แล้ว ก็กลับมากราบไหว้หลวงพ่อทำบุญที่วัด

เมื่อคราว หลวงพ่อเสือ ท่านดำริที่จะสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้น เมื่อปี 2496 เพราะท่านเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของลูกหลานชาวสามกอและใกล้เคียง ท่านไม่ต้องออกไปบอกบุญนอกวัดเลย อาศัยแค่ญาติโยมที่มาหาท่านที่วัดเนืองแน่นแทบทุกวัน ก็สามารถก่อสร้างโรงเรียนได้ แต่น่าเสีย ดายที่ท่านมาสิ้นบุญมรณภาพเสียก่อนพิธีเปิดโรงเรียน ด้วยเหตุที่ท่านเป็นปฐมคิดผู้ริเริ่มรวมทุนก่อสร้างโรงเรียนนี้จึงมีชื่อว่า โรงเรียน วัดสามกอ วิรุฬห์ราษฎร์อุปถัมภ์ ก่อนมรณ ภาพหลวงพ่อรู้ล่วงหน้า ท่านจึงได้เตรียมตัวพร้อม โดยเรียกลูกศิษย์มาถ่ายรูปของท่านไว้ ให้ทำความสะอาดศาลา และเรียกมาประชุมฟังธรรม


พระปิดตาเนื้อดินเผา พิมพ์จันทร์ลอย
หรือคนท้องที่ละแวกบ้านโพธิ์นิยมเรียก
พระปิดตาขนม
เปี๊ยะ
พระปิดตาเนื้อดินเผา พิมพ์จันทร์ลอย
หรือคนท้องที่ละแวกบ้านโพธิ์นิยมเรียก
พระปิดตาขนม
เปี๊ยะ
หลังจากนั้นท่านก็เริ่มป่วย มีไข้ทวีขึ้นทั้งวันทั้งคืน เมื่อถึงวันโกนท่านก็ลุกขึ้นจากที่นอน สั่งให้ช่วยกันปลงผมซึ่งชาวบ้านก็พูดเตือนว่าคนเป็นไข้เขาห้ามตัดผม แต่ท่านก็พูดให้คติว่า

“คนเราถ้าถึงเวลาตายแล้ว ถึงจะปล่อยให้ผมยาวเพียงไหน ชีวิตก็ยาวต่อไปไม่ได้”


 รูปถ่ายหลวงพ่อเสือนั่งคู่ตาลปัตรใบลาน
ด้านหลังจะเป็นผ้าม่าน เป็นรูปที่หายาก
มากที่สุด 
เนื่องจากสร้างจำนวนน้อยมากๆ
ไม่น่าเกิน 1 โหล เป็นรูปที่ถ่ายคราว
หลวงพ่อเสือสูงอายุมาก
แล้ว
สังเกตจากหน้าหลวงพ่อจะแก่ชราภาพ
กว่ารูปตาลปัตรหัวเสือ
 ก่อนมรณภาพ 4 วัน หลวงพ่อได้สั่งว่า ท่านจะทำสมาธิเจริญวิปัสสนาอยู่ในห้อง 4 วัน ห้ามไม่ให้ใครมารบกวน ครั้นครบ 4 วันตามที่ท่านสั่งแล้ว ลูกศิษย์ ( คือ หลวงตาเผย ) ได้เคาะประตูห้อง เมื่อไม่ได้ยินเสียงตอบลูกศิษย์จึงเข้าไปดู พบว่าหลวงพ่อครองผ้าไตรจีวรครบถ้วน เหมือนเวลาที่มีพิธีกรรมทางศาสนา มีตาลปัตรตั้งไว้ด้านขวา มีข้อความเขียนไว้ที่ผ้าสังฆาฏิว่า “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ท่านนอนตะแคงขวาเหมือนหลับ สีหน้าสงบปราศจากความเศร้าหมอง ทุกคนก็ทราบทันทีว่า ท่านได้มรณภาพแล้ว

วันนั้นตรงกับ วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2498 รวมสิริอายุ 77 พรรษา และในขณะนั้นได้เกิดเสียงฟ้าร้องคะนอง อากาศมืดครึ้ม ฝนตกเทลงมาประมาณ 15 นาที ฝนก็หยุดตก เหมือนฟ้าอาลัยจากการจากไปของ ฺณ พระเกจิขลังเพชรแท้แห่งลุ่มน้ำบางปะกง ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาที่เป็นที่พึ่งของญาติโยม ทั้งผู้ดีมีเงินและผู้ตกทุกข์ได้ยากไปอีกรูป

อภินิหาร หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ

เกร็ดประวัติที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่อยู่ในยุคที่ทัน หลวงพ่อเสือ วิรุฬหผล ยังมีชีวิตอยู่

คุณยายซ้อย อู๋อ่อน ปัจจุบันอายุ 98 ปี ซึ่งมีบ้านพักอาศัยอยู่ในเขตวัดสามกอ ตั้งแต่วัยสาวจนถึงปัจจุบัน คุณยายมีบ้านปลูกอยู่หลังวิหารที่ประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริง หลวงพ่อเสือ คุณยายยังมีความทรงจำดีไม่หลงไม่ลืม ในอดีตคุณยายมีอาชีพเป็นแม่ค้าขายกล้วยทอดและถั่วต้มอยู่หน้าวัด ได้เล่าให้ผู้เขียนและคุณสุทัศน์ฟังว่า กุฏิที่ หลวงพ่อเสือ ท่านอยู่นั้นเป็นอาคารใหญ่มี 2 ชั้น หลวงพ่อเสือ ท่านอยู่ชั้นบน ส่วนชั้นล่างพระสรวง หรือหลวงน้าสรวง ซึ่งเป็นพระหลานชายของหลวงพ่อพักอาศัยอยู่ หลวงน้าสรวงจะเป็นผู้ตระเตรียมยาหม้อที่ผ่านการปลุกเสกแล้วให้กับญาติโยมที่มาให้ หลวงพ่อเสือ ท่านรักษา ในอดีตไม่มีรถยนต์แบบทุกวันนี้ การเดินทางก็ลำบาก แต่มีผู้คนมาหา หลวงพ่อเสือ ที่กุฏิท่านแน่นกุฏิทุกๆ วัน อันนี้เห็นทีจะจริง เพราะคุณพ่อของผู้เขียน พ่อจำเรียง ประชุมพันธุ์ ปัจจุบันอายุ 82 ปี ยังมีความทรงจำที่ดีได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า แม้แต่คุณปู่ของตัวผู้เขียนเองซึ่งเป็นกำนันอยู่ตำบลคลองอุดมชลจร (คลองเดโช) กำนันโลม ประชุมพันธุ์ บ้านอยู่หมู่ 8 คลองเดโช เขตติดต่อคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งระยะทางห่างจาก วัดสามกอ ถึง 40 กว่ากิโล ยังดั้นด้นมาหา หลวงพ่อเสือ ที่ วัดสามกอ โดยเดินทางมาทางเรือ โดยมากับคุณพ่อของผู้เขียนมาตามคลองเดโช แล้วออกทางคลองประเวศบุรีรมย์ออกประตูน้ำ ท่าถั่ว ออกมาทางแม่น้ำบางปะกง ญาติโยมที่มาหาท่าน หลวงพ่อเสือ

รูปถ่ายหลวงพ่อเสือ วัดสามกอ
รูปนี้หาชมยากมาก หลวงพ่อสวมแว่น
ห่มจีวรแบบห่มคลุม 
ประสานมือ
แบบทำสมาธิ ช่างภาพยุคเก่า
ใช้เทคนิคใส่ภาพเสือลงไปในรูป
รูปถ่ายครึ่งองค์ หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ
หลังจารพุทโธ ขนาดแขวนติดตัว
ส่วนมากเพื่อขอความเมตตาให้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งโรคที่เป็นตามธรรมชาติ ที่ใช้ยาสมุนไพรแผนโบราณ ( ยาหม้อ ) รักษา ยาหม้อของ หลวงพ่อเสือ นี้ห้ามต้มภายในชายคาบ้าน ต้องต้มกลางแจ้ง ถ้าต้มภายในชายคาบ้าน หม้อยาแตกทุกรายไป และโรคผิดธรรมชาติที่เกิดจากสิ่งลี้ลับ ถูกกระทำคุณไสยมา ตลอดจนกระทั่งคนวิกลจริต ซึ่งอาการเหล่านี้ หลวงพ่อเสือ ท่านใช้การรักษาด้วยพลังจิตอันกล้าแข็งและเวทมนต์คาถาที่ท่านได้ศึกษามาจากครูบาอาจารย์หลายๆ ท่านของท่าน และใช้น้ำมนต์ที่โด่งดังของท่านรักษา ทั้งให้นำไปดื่มกิน ประพรม และนำไปอาบ คุณยายซ้อย อู๋อ่อน คุณตาหยิว เกิดทรวงดี ท่านอาจารย์นวพันธ์ ทองอ่วม  ( ปัจุบันเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 1 ปี ) และผู้เฒ่าผู้แก่อีกหลายท่านที่ผู้เขียนและคุณสุทัศน์ไปสอบถามข้อมูลและสัมภาษณ์ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า น้ำมนต์ของ หลวงพ่อเสือ นั้นศักดิ์สิทธิ์นัก เรียกกันว่า น้ำมนต์เดือด เนื่องจากท่านจะนั่งปลุกเสกน้ำมนต์หน้าหิ้งพระในขันใบใหญ่จนเดือดปุดๆ เสียก่อน ท่านจึงให้นำไปเป็นชนวนผสมกับน้ำในโอ่งน้ำมนต์ มีผู้คนมาขอน้ำมนต์ท่านกันมาก ขอให้รักษาเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเพื่อเป็นสิริมงคลต่างๆ ก็ตาม อธิษฐานขอเอาตามประสงค์


ปลาตะเพียน จารอักขระยันต์ เนื้อชินตะกั่ว
หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ 
หลวงพ่อเสือ ได้ทำน้ำมนต์ไว้ให้ โดยได้สั่งไว้ว่า ใครปรารถนาน้ำมนต์ก็ขออธิษฐานในสิ่งปรารถนา โดยไม่ผิดศีลธรรม หลังจากนั้นเมื่อได้น้ำมนต์ไปแล้ว ก็ให้ตักน้ำฝนที่สะอาดมาเทกลับคืนให้ปริมาณเท่าๆ กับที่ตักไปให้เท่าเดิม จึงสังเกตได้ว่า น้ำมนต์ของท่านจะมีอยู่เต็มอยู่ตลอด น้ำมนต์ท่านนี้ใช้พรมข้าวของที่จะนำไปวางขายก็ดี จะทำให้ค้าขายดีเครื่องรางอีกอย่างที่ขึ้นชื่อของท่านก็คือ ปลาตะเพียนเสก ทำจากแผ่นตะกั่วตัดด้วยกรรไกรเหล็กที่ใช้ตัดสังกะสี โดยท่านจะตัดแผ่นตะกั่วให้เป็นรูปปลา โดยผู้สูงอายุที่อายุ 88 ปี ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า ตนเองมีอาชีพค้าขายได้มีความศรัทธานับถือหลวงพ่อ บ้านพักอาศัยอยู่ แถบ วัดแหลมใต้ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา แต่ได้เดินทางๆ เรือไปทำบุญและกราบ หลวงพ่อเสือ ที่ วัดสามกอ เป็นประจำ หลวงพ่อได้เมตตาทำปลาตะเพียนให้ โดยท่านได้ลงมือตัดแผ่นตะกั่วเป็นตัวปลาด้วยตัวของท่านเอง จากนั้นจารอักขระเลขยันต์ แล้ว หลวงพ่อเสือ ท่านจะปลุกเสกจน ออกพรรษาแล้วถึงจะให้นำปลาตะเพียนกลับไปบูชาที่บ้านหรือร้านค้าได้ 


กฤชนณ ประชุมพันธ์ (ผู้เขียน) กับ
คุณสุทัศน์ ฮกเทียน
สัมภาษณ์ข้อมูลประวัติหลวงพ่อเสือ

จากคุณตาหยิว เกิดทรวงดี อายุ 78 ปี
กฤชนณ ประชุมพันธ์ (ผู้เขียน) กับคุณสุทัศน์ ฮกเทียน
คุณธรรมนิตย์ วัชระ สัมภาษณ์ข้อมูล
ประวัติหลวงพ่อเสือ
จากคุณตาจี้เฮ็ง ตรณะโนภาส อายุ 84 ปี
เซียนพระอาวุโสของแปดริ้ว ที่
นับถือหลวงพ่อเสือ
วัดสามกอ มาก ได้ไปหาหลวงพ่อบ่อยๆ
ในวัยหนุ่ม ช่วงปลายชีวิตของ
หลวงพ่อเสือ
กฤชนณ ประชุมพันธ์ (ผู้เขียน) กับ
คุณสุทัศน์ ฮกเทียน
สัมภาษณ์ข้อมูลประวัติหลวงพ่อเสือ

จากท่านอาจารย์นวพันธ์ ทองอ่วม
อายุ 80 ปี (ขณะนี้เสียชีวิตแล้ว)
กฤชนณ ประชุมพันธ์ (ผู้เขียน) กับคุณสุทัศน์ ฮกเทียน
สัมภาษณ์ข้อมูลประวัติหลวงพ่อเสือ 
จากอาจารย์สมชาย
 ศรีสุรักษ์ อายุ 79 ปี อดีตข้าราชการบำนาญ
ปัจจุบันอายุ 79 ปี ผู้ซึ่งเป็น
ศิษย์รับใช้ใกล้ชิด
หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
ในช่วงประมาณปี พ.ศ
.2480 ถึง 2498
ซึ่งในขณะนั้นอาจารย์สมชาย ศรีสุรักษ์
ได้เป็นเด็กวัดพักอาศัยอยู่ที่วัดสามกอ

ในช่วงประมาณปี 2480 ถึง 2498 

เกร็ดประวัติ หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ จากการบอกเล่าของ อาจารย์สมชาย ศรีสุรักษ์ อดีตข้าราชการบำนาญ ปัจจุบันอายุ 79 ปี ผู้ซึ่งเป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิด หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ในช่วงปีประมาณปี พ.ศ.2480 ถึง 2498 ซึ่งในขณะนั้นอาจารย์สมชาย ศรีสุรักษ์ ได้เป็นเด็กวัดพักอาศัยอยู่ที่วัดสามกอ ในช่วงประมาณปี 2490 ถึง 2498

เรื่องที่นำมาบอกเล่าในที่นี้บางเรื่อง อาจารย์สมชาย ศรีสุรักษ์ ได้รับฟังมาจากผู้อื่น ซึ่
งท่านผู้นั้นได้คุ้นเคยกับหลวงพ่อ ได้นำมาบอกเล่าให้อาจารย์สมชายทราบ และก็มีหลายเรื่องที่อาจารย์สมชายได้รับฟังจาก หลวงพ่อเสือ เองคือ วันที่หลวงพ่อไม่มีกิจนิมนต์ที่ไหน ท่านจะมีญาติโยมมาหาหลวงพ่อที่ วัดสามกอ อย่างเนืองแน่นทุกวัน เพื่อให้ท่านช่วยรักษาอาการโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่ง หลวงพ่อเสือ มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือมากก็คือ น้ำมนต์เดือด คือหลวงพ่อจะใช้การรักษาคนป่วยด้วยยาแผนโบราณหรือยาหม้อ และใช้น้ำมนต์เป็นหลัก ซึ่งน้ำมนต์เป็นน้ำมนต์ที่ผ่านการบูชาพระรัตนตรัยและปลุกเสกด้วยวิทยาคมของท่านจนเดือดปุดๆ ขึ้นมา ท่านจึงให้ญาติโยมนำกลับไปดื่มกินที่บ้านหรือนำไปอาบ แม้แต่คนบ้าวิกลจริต ตอนมาหาท่านจับมัดมือกันมาพูดจาไม่รู้เรื่อง พอมาให้ท่านรักษาอยู่ที่วัด 3 วัน 7 วัน ก็หายเป็นปกติ โดยการรักษาวันแรกท่านให้ผูกโซ่ไว้ใต้ถุนกุฏิท่าน ท่านให้กินยาหม้อและดื่มน้ำมนต์ พอวันที่ 3 ท่านให้ปลดโซ่ออก ตกค่ำท่านให้ขึ้นไปบนกุฏิท่าน ฟังท่านสวดมนต์ทำวัตร ท่านเทศน์ให้โอวาท วันที่ 4-7 ดื่มน้ำมนต์และยาหม้อ วันที่ 7 ท่านให้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย บทสวดง่ายๆ ตามท่านได้ จากนั้นให้เขากลับบ้าน คนผู้นั้นก็หายเป็นปกติ น่าเสียดายที่ไม่มีการจดบันทึกชื่อ-สกุลของท่านผู้นั้นไว้ เป็นเพียงคำบอกเล่าต่อๆ กันมา แต่มีผู้เฒ่าผู้แก่ที่สูงอายุยืนยันเรื่องราวนี้หลายท่านว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง คนป่วยวิกลจริตที่หลวงพ่อรักษาจนหายผู้นั้นเขากลับไปประกอบอาชีพจนตั้งหลักปักฐานได้ ได้มาบูชาคุณหลวงพ่อ โดยการหล่อรูปเหมือนท่านให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา

ซึ่งปัจจุบัน รูปหล่อหลวงพ่อเสือ องค์นี้ยังประดิษฐานอยู่ในวิหาร วัดสามกอ คือองค์ที่ ฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงาย อยู่ด้านในสุดนั่นเอง ส่วนองค์ที่อยู่ด้านหน้า ฐานเป็นลักษณะเป็นฐานเขียง นั้น หล่อเมื่อปี 2500 ดังปรากฏรอยสลัก วัน เดือน ปี ไว้ที่ฐานของรูปหล่อ


( ที่มา : ลานโพธิ์  ฉบับที่  1217 หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ต.สิบเอ็ดศอก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ราคาปก 70 บาท )



วันนี้อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้ 

สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้วจร้า.. 
Available Now!  You can read whenever, wherever with any device.

 BangkokSarn App on Google Play store    Lanpo App on Google play Store    Ookbee Book Shop   Meb Market Book Shop    AIS Book Store   
 Lanpo App on Google Play Lanpo App on iTunes

#ลานโพธิ์ #หลวงพ่อเสือ #วัดสามกอ #จ.ฉะเชิงเทรา