ภาพและเรื่องโดย แฉ่ง บางกระเบา
วัดท่าใน เดิมชื่อว่า วัดท่า ประกาศตั้งวัดเมื่อปีพุทธศักราช 2223 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่โบราณ สังเกตได้จากโบราณวัตถุ คือ พระประธานในพระอุโบสถ สร้างจากศิลาขาว เดิมเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง แต่ได้รับการดัดแปลงวงพระพักตร์เดิม รูปแบบจึงเปลี่ยนไป เหตุที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดท่า นั้น เพราะว่าในสมัยนั้นวัดแห่งนี้เป็นท่าเรือ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคมทางน้ำระหว่าง กาญจนบุรี-นครปฐม-กรุงเทพมหานคร เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่ง พระสุนทรโวหาร ( สุนทรภู่ ) มีความประสงค์จะมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ได้แก่ นิราศ “พระปฐม” ขึ้น ในนิราศได้กล่าวถึงการเดินทางโดยเรือ และมาสิ้นสุดระยะทางที่วัดท่าแห่งนี้ ต่อจากนั้นได้นั่งเกวียนต่อไปยังองค์พระปฐมเจดีย์ หรือ “นิราศพระแท่นดงรัง” ก็กล่าวถึงการเดินทางโดยเรือ และมาสิ้นสุดที่วัดท่าแห่งนี้อีก แล้วนั่งเกวียนต่อไปยังพระแท่นดงรัง กาญจนบุรีต่อไป
วัดท่าผ่านอดีตความเจริญรุ่งเรือง และร่วงโรยมาเป็นลำดับ มีพระภิกษุปกครองวัดหลายรูป จนกระทั่งมาถึงยุคหลวงพ่อองค์หนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อเลียบ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมา หลวงพ่อเลียบปกครองวัดมาจนถึงพุทธศักราช 2475 ท่านจึงให้ พระครูสิริวุฒาจารย์ ซึ่งขณะนั้นเป็นพระธรรมดาชื่อว่า พระห่วง ฉายา สุวณฺโณ ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านให้ดูแลปกครองแทน ส่วนตัวหลวงพ่อเลียบเองได้ถือรุกขมูลธุดงค์ออกไปจากวัด เจริญสมณธรรมโดยไม่ได้กลับมายังวัดท่าอีกเลย
พระครูสิริวุฒาจารย์ (ห่วง) เป็นบุตรของ นายผึ้ง นางอ่อง เกิดที่บ้านตำบลทรงคนอง อ.สามพราน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2528 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 10 ปีระกา มีพี่สาวร่วมสายโลหิตเพียงคนเดียวชื่อ บุญ (ถึงแก่กรรมแล้ว) มีอาชีพเป็นกสิกร ได้เป็นกำลังในการช่วยบิดา-มารดาประกอบอาชีพมาตั้งแต่เยาว์วัย จนอายุย่างเข้า 22 ปี บิดา-มารดาของท่านซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็ปรารภอยากให้บวชเพื่อจะได้เป็นศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา และเพื่อได้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวสืบไป ประกอบกับท่านเองก็มีอัธยาศัยโน้มน้อมในบรรพชิตเพศอยู่แล้ว จึงได้อุปสมบท ณ วัดทรงคนอง ต.ทรงคนอง อ.สามพราน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2449 เวลา 13.30 น. อายุ 22 ปี โดยมี พระอธิการรุ่ง วัดทรงคนอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์มี และ พระอธิการแจ่ม วัดทรงคนอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อท่านได้รับการบรรพชาอุปสมบทแล้ว ก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นนั่นเอง ครั้นปวารณาออกพรรษาแล้ว ท่านมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ในการเที่ยวไปเพื่อแสวงหาความสงบวิเวกทางใน ซึ่งเป็นสมณจริยาวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ อันเป็นประเพณีนิยมของผู้มีศรัทธาอุปสมบทในสมัยนั้น ท่านประพฤติธุดงควัตรจาริกไปในที่ต่างๆ เช่นนี้มาหลายแห่ง จนในพรรษาที่ 6 ท่านได้มาปักกลดอยู่ที่บริเวณวัดท่า อันเป็นวัดที่หลวงพ่อเลียบอาศัยจำพรรษาอยู่ก่อน แต่ทว่ามีเสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมานานแล้ว ปรากฏว่าประชาชนในย่านนั้นต่างพากันเคารพสักการะด้วยศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของท่าน
หลวงพ่อห่วง เมื่อปกครองวัดได้ทำ การบูรณะซ่อมแซมถาวรวัตถุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และได้เปลี่ยนชื่อจากวัดท่ามาเป็น วัดท่าใน เพราะที่ตั้งวัดอยู่ตรงกลางในวงล้อมของวัดต่างๆ อีก 7 วัด และถือได้ว่าในสมัย หลวงพ่อห่วง นี้ วัดได้มีความเจริญทุกๆ ด้าน มีการสร้างศาลาการเปรียญ โรงเรียนปริยัติธรรม กุฏิสงฆ์ทรงไทย พระอุโบสถ การขุดสระน้ำ สำหรับเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้ง 2 สระใหญ่ ซึ่งปัจจุบันถมไปแล้ว สร้างถนนสำหรับการสัญจรไปมาของชาวบ้าน และอีกหลายอย่างที่จำเป็นสำหรับวัดและชาวบ้าน จนถึงพุทธศักราช 2481 หลวงพ่อห่วงได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าพระยา และในปีพุทธศักราช 2490 ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่ในการอุปสมบทกุลบุตร ผู้ศรัทธา และมีวัดในปกครอง 9 วัด ในปีพุทธศักราช 2499 จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูสิริวุฒาจารย์ ท่านได้พัฒนาวัด และเป็นที่พึ่งของชาวบ้านทั้งใกล้และไกลตลอดมา จนพุทธศักราช 2506 ท่านได้มรณภาพลง ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2506 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ เวลา 21.30 น. ในวันวิสาขบูชาด้วยอาการสงบ
หลังจาก หลวงพ่อห่วง มรณภาพแล้ว มีเจ้าอาวาสต่อมาคือ
พระอธิการง้อ ปญฺญาพโล เจ้าอาวาส พ.ศ.2506-2528
พระอธิการทองหล่อ จตฺตมโล เจ้าอาวาส พ.ศ.2528-2539
พระมหาไพบูลย์ วิปุโล รักษาการแทน พ.ศ.2539-2549
พระครูสมุห์จิรพันธ์ จิรพนฺธโว เจ้าอาวาส พ.ศ.2549 ถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อห่วง องค์นี้เป็นเกจิอาจารย์เหมือน “ คมอยู่ในฝัก ” เพราะเป็นสหธรรมิกกันกับ “ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ” เคยเดินออกธุดงค์ร่วมกันมาตั้งแต่วัยหนุ่ม แลกเปลี่ยนพุทธาคมกัน จนหลวงพ่อเงินถึงกับเอ่ยปาก “ หลวงพ่อห่วง ” องค์นี้มีอาคมขลังทำของได้ขึ้นไว ชาวบ้านแถบ วัดท่าใน ท่ากระชับ เมื่อเดินทางไปขอวัตถุมงคลจากหลวงพ่อเงิน ท่านจะบอกว่า “ คุณเลยของดีมาเสียแล้ว ท่านห่วงวัดท่าใน นั่นไง ของดีจริง กลับไปเอาที่นั่น ไม่ต้องมาถึงที่นี่ก็ได้ ” ในชีวิตของ หลวงพ่อห่วง สร้างเหรียญไว้สองรุ่น รุ่นแรกคือ รุ่นที่เรียกว่า “ รุ่นหน้าสากกระเบือ ” รุ่นนี้หลวงพ่อตั้งชื่อเอง เพราะลูกศิษย์ที่ชื่อว่า ร.ท.สง่า มฤคทัต ร.น. ไปสร้างมาเป็นเนื้อเงิน 100 เหรียญ เอามาให้หลวงพ่อดู หากชอบจะไปสร้างเนื้อทองแดงมาให้อีก เมื่อหลวงพ่อเห็นแล้วท่านออกปากมาว่า ช่างแกะหน้าของท่านยาวไปเหมือน “ หน้าสากกระเบือ ” คนเลยเรียกติดปากกันว่า “ รุ่นหน้าสากกระเบือ ” เป็นรุ่นแรก มีเฉพาะเนื้อเงิน 100 เหรียญเท่านั้น ต่อมาเมื่อคราวผูกพัทธสีมาโบสถ์ วัดท่าใน ได้สร้างขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง เป็นรุ่นใบหน้าเอียงเล็กน้อย เรียกว่า “ รุ่นผูกพัทธสีมา ” เหรียญทั้งสองรุ่นของท่านมีประสบการณ์ มีอภินิหารมากมาย
นอกจากเหรียญแล้วท่านสร้าง พระเนื้อผงใบลานพิมพ์สมาธิ ขึ้นมา มีทั้ง พิมพ์เล็ก และ พิมพ์ใหญ่ มีประสบการณ์ทางเมตตาและคงกระพันเป็นที่กล่าวขานกันมาจนทุกวันนี้ ของๆ ท่านหายาก เพราะคนมีก็หวงแหน
เมื่อวันเสาร์ห้า 1 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา โบสถ์ วัดท่าใน ที่ หลวงพ่อห่วง สร้างไว้เกิดช่อฟ้าหัก หลังคาพังลงมาเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ “ พระครูสมุห์จิรพันธ์ จิรพนฺธโว ” ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงขอพร หลวงพ่อห่วง ขอสร้างเหรียญท่านขึ้นมาเพื่อหาทุนซ่อมโบสถ์ วัดท่าใน ต่อไป โดยเอายันต์หลังเหรียญรุ่น “ หน้าสากกระเบือ ” มาไว้ข้างหลัง เอารูปเหรียญรุ่นผูกพัทธสีมามาไว้ด้านหน้า ให้ชาวบ้านและผู้สนใจนับถือ หลวงพ่อห่วง ทำบุญเอาเงินไปซ่อมอุโบสถ ขณะนี้มีเหลือเหรียญเงินและทองแดง ใครอยากได้ก็ขอเชิญไปร่วมทำบุญกับ “ หลวงพ่อจิรพันธ์ ” ได้ทุกเวลา
“ หลวงพ่อจิรพันธ์ ” เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันองค์นี้ ท่านเป็นพระดี พระนักพัฒนา สร้างศรัทธาแก่ชาวบ้าน มีศีลาจารวัตรงดงามน่าศรัทธาเลื่อมใสใครผ่านมาผ่านไป ลองแวะไปคุยธรรมะกับท่านบ้างจะต้องสบายใจกลับไปทุกราย รับรองว่าเป็นพระดีที่จะช่วยกันสืบอายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงได้ต่อไปโดยแน่แท้
#ลานโพธิ์ #หลวงพ่อห่วง #วัดท่าใน #จ.นครปฐม
เหรียญปั๊มเสมา รุ่นแรก เนื้อเงิน ( รุ่นหน้าสากกระเบือ ) |
พระครูสิริวุฒาจารย์ ( หลวงพ่อห่วง ) วัดท่าใน |
เหรียญปั๊มเสมาผูกพัทธสีมา พ.ศ.2502 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง |
พระพิมพ์สามเหลี่ยมสมาธิซุ้มประภามณฑล เนื้อผงใบลาน |
พระอธิการง้อ ปญฺญาพโล เจ้าอาวาส พ.ศ.2506-2528
พระอธิการทองหล่อ จตฺตมโล เจ้าอาวาส พ.ศ.2528-2539
พระมหาไพบูลย์ วิปุโล รักษาการแทน พ.ศ.2539-2549
พระครูสมุห์จิรพันธ์ จิรพนฺธโว เจ้าอาวาส พ.ศ.2549 ถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อห่วง องค์นี้เป็นเกจิอาจารย์เหมือน “ คมอยู่ในฝัก ” เพราะเป็นสหธรรมิกกันกับ “ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ” เคยเดินออกธุดงค์ร่วมกันมาตั้งแต่วัยหนุ่ม แลกเปลี่ยนพุทธาคมกัน จนหลวงพ่อเงินถึงกับเอ่ยปาก “ หลวงพ่อห่วง ” องค์นี้มีอาคมขลังทำของได้ขึ้นไว ชาวบ้านแถบ วัดท่าใน ท่ากระชับ เมื่อเดินทางไปขอวัตถุมงคลจากหลวงพ่อเงิน ท่านจะบอกว่า “ คุณเลยของดีมาเสียแล้ว ท่านห่วงวัดท่าใน นั่นไง ของดีจริง กลับไปเอาที่นั่น ไม่ต้องมาถึงที่นี่ก็ได้ ” ในชีวิตของ หลวงพ่อห่วง สร้างเหรียญไว้สองรุ่น รุ่นแรกคือ รุ่นที่เรียกว่า “ รุ่นหน้าสากกระเบือ ” รุ่นนี้หลวงพ่อตั้งชื่อเอง เพราะลูกศิษย์ที่ชื่อว่า ร.ท.สง่า มฤคทัต ร.น. ไปสร้างมาเป็นเนื้อเงิน 100 เหรียญ เอามาให้หลวงพ่อดู หากชอบจะไปสร้างเนื้อทองแดงมาให้อีก เมื่อหลวงพ่อเห็นแล้วท่านออกปากมาว่า ช่างแกะหน้าของท่านยาวไปเหมือน “ หน้าสากกระเบือ ” คนเลยเรียกติดปากกันว่า “ รุ่นหน้าสากกระเบือ ” เป็นรุ่นแรก มีเฉพาะเนื้อเงิน 100 เหรียญเท่านั้น ต่อมาเมื่อคราวผูกพัทธสีมาโบสถ์ วัดท่าใน ได้สร้างขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง เป็นรุ่นใบหน้าเอียงเล็กน้อย เรียกว่า “ รุ่นผูกพัทธสีมา ” เหรียญทั้งสองรุ่นของท่านมีประสบการณ์ มีอภินิหารมากมาย
พระครูสมุห์จิรพันธ์ จิรพนฺธโร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน |
เมื่อวันเสาร์ห้า 1 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา โบสถ์ วัดท่าใน ที่ หลวงพ่อห่วง สร้างไว้เกิดช่อฟ้าหัก หลังคาพังลงมาเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ “ พระครูสมุห์จิรพันธ์ จิรพนฺธโว ” ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงขอพร หลวงพ่อห่วง ขอสร้างเหรียญท่านขึ้นมาเพื่อหาทุนซ่อมโบสถ์ วัดท่าใน ต่อไป โดยเอายันต์หลังเหรียญรุ่น “ หน้าสากกระเบือ ” มาไว้ข้างหลัง เอารูปเหรียญรุ่นผูกพัทธสีมามาไว้ด้านหน้า ให้ชาวบ้านและผู้สนใจนับถือ หลวงพ่อห่วง ทำบุญเอาเงินไปซ่อมอุโบสถ ขณะนี้มีเหลือเหรียญเงินและทองแดง ใครอยากได้ก็ขอเชิญไปร่วมทำบุญกับ “ หลวงพ่อจิรพันธ์ ” ได้ทุกเวลา
“ หลวงพ่อจิรพันธ์ ” เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันองค์นี้ ท่านเป็นพระดี พระนักพัฒนา สร้างศรัทธาแก่ชาวบ้าน มีศีลาจารวัตรงดงามน่าศรัทธาเลื่อมใสใครผ่านมาผ่านไป ลองแวะไปคุยธรรมะกับท่านบ้างจะต้องสบายใจกลับไปทุกราย รับรองว่าเป็นพระดีที่จะช่วยกันสืบอายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงได้ต่อไปโดยแน่แท้
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1220 หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ราคาปก 70 บาท )