หลวงพ่อพรหม วัดบางปูน จ.สิงห์บุรี พระที่คนรู้จักกันในชื่อ พระครูเทพโลกอุดร หรือ หลวงปู่เทพอุดร

เรื่องโดย ประพนธ์ พรอุตสาห์

หลวงพ่อพรหม วัดบางปูน ไม่ใช่ พระครูเทพโลกอุดร 
หรือ หลวงปู่เทพอุดร ตามที่มีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อน
สิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี เดิมเป็นเมืองเรียกกันว่า เมืองสิงห์ มีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ (พระเจ้าอู่ทอง) ก็มีอยู่แล้ว โดยทรงจัดให้เมืองสิงห์เป็นหัวเมืองชั้นใน ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองสิงห์ถูกจัดให้เป็นหัวเมืองจัตวา และในปี ..๒๔๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรวมเมืองสิงห์เข้าอยู่ใน มณฑลกรุงเก่า และในรัชกาลที่ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลอยุธยา และต่อมาได้ถูกยกเลิกไปเมื่อ ..๒๔๗๖ เมื่อมีการใช้พระราชบัญญัติ ว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม ..๒๔๗๖

นปี ..๒๔๓๙ ได้มีการตั้งเมืองใหม่คือ ยุบเมืองอินทร์เป็น .อินทร์บุรี เมืองพรหมเป็นอำเภอพรหมบุรี เมืองสิงห์เป็นอำเภอสิงห์ แล้วตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ ตำบลบางพุทราเป็นเมืองสิงห์บุรี การที่ตั้งเมืองที่บ้านบางพุทรา นั้นอาจเป็นเพราะที่ตั้งนั้นเป็นกึ่งกลางทางของ อำเภออินทร์บุรีกับอำเภอพรหมบุรี หรือเป็นศูนย์กลางอำเภอสิงห์ด้วย (ปัจจุบันเรียกอำเภอสิงห์ว่ อำเภอบางระจัน
อำเภอเมืองสิงห์บุรี ได้ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ..๒๔๔๔ โดยใช้ชื่อว่า อำเภอบางพุทรา เหตุที่ได้ชื่อนี้เพราะตั้งอยู่ตรงข้ามปากน้ำบางพุทรา (แม่น้ำลพบุรีปัจจุบัน) เดิมไม่มีตัวที่ว่าการอำเภอ เมื่อมีการสร้างศาลากลางจังหวัดเมื่อ ..๑๓๐ (ตรงกับ ..๒๔๕๔-ผู้เขียน) แล้ว จึงได้อาศัยอยู่รวมกับศาลากลางจังหวัด (อยู่ในบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัด) อาศัยทำงาน ศาลากลางจังหวัด ต่อมาได้สร้างที่ว่าการอำเภอ ขึ้นเป็นเอกเทศเป็นเรือนไม้ที่หลังสำนักงานที่ดินจังหวัดปัจจุบัน หันหน้าไปทางทิศใต้ โดยตั้งอยู่บริเวณเดียวกับที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน ต่อมาในปี ..๒๔๘๑ ทางราชการได้สั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อจังหวัดนั้นๆ ฉะนั้นที่ว่าการอำเภอจึงได้ชื่อว่า ที่ว่าการอำเภอเมืองสิงห์บุรี มาตลอดเท่าทุกวันนี้ และได้สร้างที่ว่าการอำเภอใหม่เมื่อ ..๒๕๑๗ ดังที่เห็นในปัจจุบัน

หลวงพ่อพรหม วัดบางปูน
อินทร์บุรี .อินทร์บุรี เดิมเป็นเมืองเรียกว่า เมืองอินทร์ ในกฎมณเฑียรบาลว่าเป็นเมืองสำหรับหลานเธอครอง ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยาได้จัดการปกครอง โดยให้เมืองอินทร์เป็นหัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองหน้าด่านรายทางสำหรับทางเหนือ โดยมีเมืองลพบุรีเป็นหัวเมืองชั้นในหน้าด่านสำหรับทางเหนือเป็นหลัก ปรากฏในประวัติศาสตร์ ว่าเมื่อพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ ..๑๘๙๓ โปรดให้ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งเป็นพี่พระมเหสีไปครองเมืองสุพรรณบุรี และทรงตั้งให้เป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ต่อมาขุนหลวงพะงั่วผู้นี้เอง ได้ยกกองทัพมาปราบปราม พระราเมศวรโอรสพระเจ้าอู่ทอง และครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาเสียเอง ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ เป็นต้นราชวงศ์สุพรรณภูมิ และโปรดให้น้องชายครองสุพรรณบุรีแทน และโปรดให้หลานชายซึ่งเป็นลูกของน้องคนนี้ไปเป็นเจ้าเมืองอินทร์ คนเรียกกันว่า พระนครอินทร์ หรือเจ้านครอินทร์ เมืองอินทร์บุรีจึงมีฐานะเป็นเมืองหลานหลวง

ตามประวัติศาสตร์นั้น อินทร์บุรี เป็นบ้านเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้ว เมื่อพระบิดาของเจ้านครอินทร์สิ้นพระชนม์ เจ้านครอินทร์ได้ครองเมืองสุพรรณบุรีแทน เจ้านครอินทร์ผู้นี้เองที่ได้เข้ายึดอำนาจการปกครอง ของกรุงศรีอยุธยาเมื่อ ..๑๙๔๔ เพราะเกิดความวุ่นวายในกรุงศรีอยุธยา ทรงถอดพระเจ้ารามราชาธิราช ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าอู่ทองออกจากราชสมบัติ แล้วเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี ..๑๙๔๔ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ)

ที่ยกประวัติศาสตร์ มากล่าวนี้เพื่อให้เห็นว่า อินทร์บุรี เป็นเมืองเก่า เป็นเมืองที่มีประวัติแห่งความยิ่งใหญ่ เป็นเมืองที่ที่มีคนเก่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้นเมืองอินทร์มีฐานเป็นหัวเมืองจัตวา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดระเบียบแบบแผนการปกครองใหม่ โดยในปี ..๒๔๓๘ ได้รวมเมืองอินทร์บุรีเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า และในพ..๒๔๓๙ ได้ยุบเมืองอินทร์บุรีเป็นอำเภอขึ้นอยู่กับ .สิงห์บุรี เรียกว่า .อินทร์บุรี แต่ก่อนจวนเจ้าเมืองตั้งที่ว่าการอยู่เขตวัดโบสถ์ทางทิศเหนือ เมื่อเมืองอินทร์เป็นอำเภอ ได้ย้ายที่ว่าการไปตั้งใต้วัดโพธิ์ลังกา ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาย้ายข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มาฝั่งตะวันตกตั้งที่ต้นโพธิ์เหนือวัดปราสาท ปัจจุบันนี้ที่ว่าการ .อินทร์บุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้วัดปราสาทประมาณ ๕๐๐ เมตร การที่ย้ายหลายแห่งอาจเป็นด้วยสถานที่ตั้งเดิมคับแคบขยายไม่ออก

โบสถ์วัดบางปูน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
พรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี ตามหลักฐานที่ปรากฏมีมาตั้งแต่ครั้ง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ แล้ว โดยมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นใน แต่ก่อนนั้นจะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานกันว่าเป็นเมืองที่ พระเจ้าพรหม (พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก) ผู้ครองเมืองไชยปราการ (ฝาง) ได้โปรดให้สร้างขึ้นแล้วขนานนามว่า เมืองพรหมบุรี ตั้งอยู่ใต้วัดอัมพวัน หมู่ที่ ตำบลพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี ในปัจจุบัน สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองพรหมบุรี คงมีฐานะเป็นเมืองตลอดมา ในกฎมณเฑียรบาลว่าเป็นเมืองสำหรับหลานหลวงครอง ในกฎหมายลักษณะลักพาบทหนึ่งเรียกชื่อว่า พระพรหมนคร แต่ในทางปกครองได้ถูกจัดให้เป็นเมืองจัตวามีเจ้าเมืองปกครองตลอดมา ได้มีการย้ายที่ตั้งเมืองจากใต้วัดอัมพวันไปอยู่ที่ปากบางหมื่นหาญ (อยู่เหนือตลาดปากบาง หมู่ที่ ตำบลพรหมบุรี ปัจจุบัน) ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่จวนหัวป่าเหนือวัดพรหมเทพาวาส ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดการปกครองเป็นรูปมณฑลเทศาภิบาลในปี ..๒๔๓๘ ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล โดยรวมเอาพรหมบุรีเข้าไว้ใน มณฑลกรุงเก่า ด้วย

ช่วยผู้อ่านให้ได้รับความรู้รอบตัวกันแล้วอย่างนี้ ก็ควรที่จะตัดมายังเรื่อง หลวงพ่อพรหม วัดบางปูน เลยดีกว่า เพราะเชื่อว่าน่าจะมีผู้อ่าน จำนวนหนึ่งที่อยากทราบประวัติของท่านเต็มที ท่านผู้นี้มีสมณศักดิ์เป็น พระใบฎีกา ฐานานุกรมของ พระครูสิงหราชมุนี (หรือ หลวงพ่อใย ) วัดระนาม เจ้าคณะ .สิงห์บุรี ทั้งยังมีตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ เป็น เจ้าคณะหมวดชีน้ำร้าย ซึ่งเทียบได้กับเจ้าคณะตำบลในปัจจุบัน วันเกิดของท่านคือ วันอาทิตย์  เดือน ปีมะโรง ..๒๔๒๒ เป็นบุตรคนแรกของ นายขุนมา และ นางไข่ (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งตั้งภูมิลำเนาอยู่ บ้านโพนางดำ .อินทร์บุรี .สิงห์บุรี ครั้นมีอายุได้ ๒๒ ซึ่งเกินกำหนดได้อุปสมบท พัทธสีมา วัดระนาม (เหนือวัดบางปูนขึ้นไป) ผู้ที่ได้รับนิมนต์มาเป็นพระอุปัชฌาย์คือ พระครูอินทมุนี (โต) วัดประศุก ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน ส่วนคู่สวดนั้นได้แก่ พระอาจารย์พรหม วัดไผ่ล้อม และ พระสมุห์ใย วัดระนาม (พระอนุสาวนาจารย์องค์นี้ ภายหลังมีสมณศักดิ์ เป็นพระครูสิงหราชมุนีและเป็นผู้ที่แต่งตั้ง หลวงพ่อพรหม เป็น พระใบฎีกา ฐานานุกรมของท่าน) หลวงพ่อพรหม อายุสั้น เพราะถึงมรณภาพเมื่อ ..๒๔๗๙ ขณะที่มีอายุได้ ๕๘ ปีเท่านั้น

พระอธิการบุญเรือง มหาปญฺโญ เจ้าอาวาส วัดบางปูน
พระอธิการบุญเรือง มหาปญฺโญ เจ้าอาวาส วัดบางปูน องค์ปัจจุบันเล่าว่า ถึงตัวท่านจะไม่ทัน หลวงพ่อพรหม เนื่องจากเกิดเมื่อ ..๒๔๘๒ หลังท่านถึงมรณภาพแล้ว ปี แต่คนที่เกิดทันคือ บิดา ซึ่งไม่เพียงเป็นศิษย์ใกล้ชิดตอนเป็นเด็กวัดเท่านั้น เพราะครั้นตอนอายุครบบวช หลวงพ่อพรหม ยังเป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่างหาก เนื่องจากถือเป็นศิษย์ใกล้ชิดกว่าใครๆ จึงทำให้ทราบเรื่องเกี่ยวกับ หลวงพ่อพรหม หลายประการ และท่านผู้นั้นได้เล่าให้ตนฟังจนจำไม่หวาดไหว เพราะส่วนใหญ่ล้วนเป็นเรื่องเหลือเชื่อแทบทั้งนั้น เช่น เรื่องท่านมีญาณวิเศษและล่องหนหายตัวได้เป็นต้น
  
คนบางปูน รุ่นก่อนต่างรู้เรื่องดี ยิ่งคนที่เคยบวชอยู่กับท่านยิ่งรู้กว่าใคร ตนจำได้เฉพาะเรื่อง พระหนีเที่ยวเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น กล่าวคือ หลวงพ่อพรหม ได้สั่งกำชับพระทุกองค์ว่า ถ้าองค์ไหนมีธุระออกนอกวัดต้องมาลาท่าน แม้จนชั้นไปเยี่ยมเยียนญาติโยมที่บ้านก็ต้องลา หากแต่ว่ามีพระหนุ่มอยู่กลุ่มหนึ่งที่ชอบหนีไปเที่ยวบ้านสาวๆ เป็นประจำ แต่ท่านทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ และไม่เคยตำหนิติติงอะไรให้สำนึกตระหนักกัน ครั้นอยู่มาคืนหนึ่ง ขณะที่พระกลุ่มนี้กำลังเดินไปบ้านสีกา ปรากฏว่า หลวงพ่อพรหม โผล่ออกมาดักพร้อมกับถามว่าพวกคุณจะไปไหนกัน ทำให้พระเหล่านั้นหันหลังเดินกลับวัด เพราะนึกละอายแก่ใจและไม่กล้าสู้หน้า แต่เมื่อกลับถึงวัดกลับเห็น หลวงพ่อพรหม ท่านนั่งฉันน้ำชาอยู่หน้ากุฏิของท่าน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นท่านเดินตามหลังกลุ่มพระหนุ่มมาติดๆ ห่างไม่เกิน วา สรุปว่านับแต่บัดนั้นไม่มีการหนีเที่ยว ทั้งยังขยันหมั่นท่องสวดมนต์อีกต่างหาก นอกจากคำบอกเล่าของ พระอธิการบุญเรือง ดังกล่าวข้างต้น ที่ยืนยันว่า หลวงพ่อพรหม วัดบางปูน ไม่ใช่ พระครูเทพโลกอุดร หรือ หลวงปู่เทพอุดร ตามที่มีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อน

หลวงพ่อพรหม วัดบางปูน 
ยังมีคนบอกเล่าให้ผู้เขียนฟังอีกรายหนึ่งซึ่งได้แก่ นายสมพงษ์ สีภา (ซึ่งปัจจุบันอายุ ๗๐ ปี) ชาวบางปูน คนนี้บอกเล่าแบบยืดยาวพอสมควรว่า แต่เดิมนั้นท่านบวชอยู่กับ หลวงพ่อใย หลายพรรษา ต่อมาภายหลังอาจารย์ผู้นั้นได้ส่งท่านมาเป็นเจ้าอาวาส วัดบางปูน และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะหมวดชีน้ำร้ายในขณะเดียวกันท่านเป็นพระกรรมฐาน และมักออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี สถานที่ที่ท่านชอบไปบำเพ็ญภาวนาได้แก่ดงป่า และเถื่อนถ้ำแถวบ้านช่องแค ซึ่งขึ้นกับอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพราะแต่ก่อนนั้นละแวกที่ว่ายังเป็นป่ารกชัฏ และมีถ้ำตามภูเขาอยู่หลายถ้ำ

ตามความเข้าใจของตนค่อนข้างเชื่อว่า เวลาที่ออกเดินธุดงค์ ท่านคงจะนำภาพถ่ายติดตัวไปจำนวนหนึ่ง ฉะนั้นจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวบ้านแถวนั้น ครั้นต่อมาคนรุ่นหลังๆ ไม่ทราบว่าเป็นภาพถ่ายของใคร จึงตั้งชื่อให้ใหม่เป็น พระครูเทพโลกอุดร หรือ หลวงปู่เทพอุดร เพราะเห็นว่าหน้าตาท่าทางท่าน เหมาะแก่การอุปโลกน์ ด้วยดูขรึมขลังอย่างมาก และหากจะว่าไปแล้ว ท่านก็เป็นพระที่มีคุณวิเศษหลายประการ เช่น มีญาณวิเศษ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ อย่างที่เรียกกันว่าได้อภิญญาหรืออะไรทำนองนั้น แต่ท่านไม่ได้ทำวัตถุมงคลแจกจ่าย มีเพียงภาพถ่ายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่สำคัญท่านผู้นี้ ยังมีฐานะเป็นคู่สวดและอาจารย์ของ หลวงพ่อเจ๊ก วัดระนาม พระเกจิเมืองสิงห์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี นายสมพงษ์กล่าวปิดท้าย


( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1115 ปักษ์หลัง เดือนเมษายน 2556 : หลวงพ่อพรหม วัดบางปูน .อินทร์บุรี .สิงห์บุรี พระที่คนรู้จักกันในชื่อ พระครูเทพโลกอุดร หรือ หลวงปู่เทพอุดร ภาพและเรื่องโดย ประพนธ์ พรอุตสาห์ )
ลิขสิทธิ์ 2010 ลานโพธิ์ - สำนักพิมพ์บางกอกสาส์นสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.  Copyright Bangkoksarn Publishing 2010. 

วันนี้อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้ 


 BangkokSarn App        Lanpo        OokBee       Meb market       AiS Bookstore

#หลวงพ่อพรหม #วัดบางปูน #.อินทร์บุรี #.สิงห์บุรี #พระครูเทพโลกอุดร #หลวงปู่เทพอุดร