ปกหน้า ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1031 พระร่วงนั่ง พิมพ์รัศมี เนื้อชิน ตะกั่วสนิมแดง ยุคทวาราวดี กรุวัดกลาง นครปฐม วางแผง เดือนกันยายน 2552 ราคาปก 50 บาท

ปกหน้า ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1031 พระร่วงนั่ง พิมพ์รัศมี เนื้อชิน ตะกั่วสนิมแดง ยุคทวาราวดี กรุวัดกลาง นครปฐม ( บุญส่ง ไหลธนานนท์ เอื้อเฟื้อภาพ ) วางแผง เดือนกันยายน 2552 ราคาปก 50 บาท แจกฟรี โปสเตอร์ ชุดที่ 1 หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดป่าโนนแสนคำ จ.สกลนคร พระป่ากรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระร่วง กรุวัดกลาง นครปฐม เป็น พระกรุสมัย ทวาราวดี เนื้อชิน ตะกั่วสนิมแดง มีทั้ง พิมพ์นั่ง และ พิมพ์ยืน ซึ่งออกจากกรุในวัดโบราณเขตอำเภอเมือง นครปฐม ที่เรียกสืบต่อกันมาว่า วัดกลาง (มิใช่ วัดกลางบางแก้ว ซึ่งมีหลายคนเข้าใจผิด วัดกลางบางแก้ว สร้างไม่ถึง ยุคทวาราวดี )
พระเครื่องจากกรุนี้ออกมานานแล้ว มีประชาชนคน นครปฐม นำมาอาราธนาแขวนคอ ล้วนมีประสบการณ์มากมาย จึงได้รับความนิยมกันมาตั้งแต่อดีต แต่ พระร่วง กรุวัดกลาง ทั้ง พิมพ์นั่ง และ พิมพ์ยืน ล้วนมีน้อย ทำให้ปัจจุบันหาได้ยากยิ่ง จนทำให้บางคนเลิกหาไปแล้ว เป็นเหตุหนึ่งที่ต่อมามีคนรู้จักน้อย ผู้สนใจพระเครื่องยุคหลังบางคนอาจไม่รู้จัก
ลานโพธิ์ ฉบับนี้จึงนำภาพ พระร่วง กรุวัดกลาง พิมพ์นั่งมีรัศมี ซึ่งเรียกกันว่า พระร่วงนั่ง พิมพ์รัศมี มาเสนอให้ท่านผู้อ่านได้ชมทบทวนอดีต และให้ผู้ไม่เคยเห็นได้รู้จัก พระองค์นี้เป็นของ คุณ บุญส่ง ไหลธนานนท์ เจ้าของกรุพระเครื่องกรุใหญ่ ชื่อดังแห่งเมือง นครปฐม ใครอยากเห็นของจริงพบ คุณ บุญส่ง ไหลธนานนท์ ที่ไหนก็ขอชมได้ เจ้าของยินดีให้ชมเป็นวิทยาทาน นอกจากพิมพ์นั่งแล้ว คุณบุญส่งก็มีพิมพ์ยืน
องค์แชมป์อยู่ด้วย อาจขอชมไปพร้อมกันก็ได้ เหตุที่ ลานโพธิ์ นำภาพพิมพ์นั่งมาให้ชมก็เพราะว่า บางคนบอกว่าชอบ พระนั่ง มากกว่า พระยืน เป็นเพราะสบายกว่า เรียกว่า ตีความตามความสบาย แต่ถ้ามองว่านั่งนานก็ไม่ดี ต้องยืนแล้วเดินเพื่อความก้าวหน้า ก็อาจต้องหาพิมพ์ยืนมาแขวนคอก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตีความ เอาเป็นว่าใครชอบแบบไหนก็เลือกเอา ลานโพธิ์ เลือกเอา พิมพ์นั่ง มาเสนอก่อน ก็เพราะว่า ต่อไปจะได้นำ พิมพ์ยืน ตามมานั่นเอง
( ที่มา : บทบรรณาธิการ ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1031 พระร่วงนั่ง พิมพ์รัศมี เนื้อชิน ตะกั่วสนิมแดง ยุคทวาราวดี กรุวัดกลาง นครปฐม ( บุญส่ง ไหลธนานนท์ เอื้อเฟื้อภาพ ) วางแผง เดือนกันยายน 2552 โดย.. สุธน ศรีหิรัญ )
ลิขสิทธิ์ 2010 ลานโพธิ์ - สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.  Copyright Bangkoksarn Publishing 2010.