หนังสือ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.พระนครศรีอยุธยา (ลานโพธิ์ ฉบับพิเศษ) ราคาปก 60 บาท

 

หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ เกจิอาจารย์ขลัง เจ้าตำรับแห่งความคงกระพันแห่ง กรุงศรีอยุธยา ศิษย์เอกผู้สืบสายพุทธาคมจาก หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และ หลวงพ่ออ่อง วัดป่า นับเป็นพระเกจิอาจารย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของ อยุธยา ที่ระยะหลังมีการรางเลือนลืมกันไปบ้าง 


ลานโพธิ์ ขอนำเสนอประวัติ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ อย่างละเอียด ครบถ้วนสมบูรณ์ของท่าน จากฝีมือการเขียนของ ศักดิ์สกล อโยธยา จึงตัดเนื้อหาบางตอนมาเรียกน้ำย่อย หากผู้อ่านท่านใดสนใจ หาซื้ออ่านได้ทันที ที่ร้านหนังสือออนไลน์ อุ๊กบี(Ookbee) และ ร้านหนังสือออนไลน์ เมพ มาร์เก็ต(Meb market) ต่อจากนี้เชิญรจนา เรื่องราวบางส่วน บางตอน จากหนังสือ ลานโพธิ์ ฉบับพิเศษ รวมเรื่อง หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.พระนครศรีอยุธยา ...

“หลวงพ่อขัน” วัดนกกระจาบ ซึ่งถือเป็นเจ้าตำรับแห่งความคงกระพันของเมืองอยุธยาก็ว่าได้ เพราะเล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตตราบปัจจุบันว่า ถ้าใครได้ สักยันต์ หรือมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อขัน แมลงวันไม่มีทางได้กินเลือด มิพักต้องพูดถึงเรื่องตายโหง ซึ่งหมายถึงว่าตายผิดธรรมดาด้วยอาการร้าย โดยเฉพาะถูกฆ่าตายหรือเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต 


หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ เกจิอาจารย์ขลัง เจ้าตำรับแห่งความคงกระพันแห่ง กรุงศรีอยุธยา

ขนาดมีลูกศิษย์ลูกหาทั้งประเภทเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นต้นว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระยาอุภัยพิพากษา (เกลื่อน ชัยนาม) อดีตผู้พิพากษาศาลมณฑลอยุธยา พระยาอนันต์ยุทธกาจ (ปลื้ม ลัยนันทน์) อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลเดียวกัน




โดยเฉพาะ 2 ท่านหลังนี้ เป็นที่รู้กันอย่างดีในหมู่ชาวบ้านว่า ล้วนไปมาหาสู่ที่วัดนกกระจาบเป็นประจำ ทั้งๆ ที่การคมนาคมในยุคดังกล่าวค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากหากไม่ขี่ม้าหรือเดินเลาะลัดตัดทุ่งนา ก็ต้องหันหน้าไปพึ่งเรือแจวเรือพายซึ่งใช้เวลาเที่ยวละเกือบครึ่งค่อนวัน เพราะช่วงนั้นยังไม่มีถนนหนทางอย่างสมัยนี้ ถ้าไม่ดีจริงๆ เรื่องอะไรจะมีคนสู้อุตส่าห์ด้นดั้นไปหาอยู่เนืองๆ


...สำหรับ เชือกคาดเอว ของ หลวงพ่อขัน นี้ น่าสนใจตรงที่แม้จะลงอักขระและยันต์ฟั่นเสร็จเป็นรูปเชือกแล้ว แต่ท่านยังไม่ยอมแจกให้ใคร ต้องรอให้ผ่านการปลุกเสกและทดลองเสียก่อน โดยใส่เตาเผาไฟ ถ้าไม่ไหม้เป็นถ่านหรือเถ้าธุลี ถึงจะมีอิทธิคุณใช้การได้ หลานชายของท่านคนหนึ่งซึ่งได้แก่นายพจน์ คงสุขี” (บุตรนายเขียน) เคยเล่าให้ฟังว่า มาอยู่กับหลวงพ่อขันตั้งแต่เป็นเด็กวัดกระทั่งบรรพชาเป็นสามเณรและอุปสมบท อยู่กับท่านรวม 7 พรรษา ก่อนจะสึกออกมารับราชการจนมีตำแหน่งเป็นปลัดอำเภอหลายท้องที่


ในช่วงบวชอยู่วัดนี้เคยรู้เห็นว่า อยู่มาวันหนึ่ง หลวงพ่อขัน ได้สั่งให้ลูกศิษย์นำเชือก (ที่ปลุกเสกแล้ว) ไปเผาไฟ โดยใส่ลงในเตาสูบที่เป่าลมเข้าไปจนไฟลุกแดงจ้า แต่ครั้งนี้ต่างกว่าทุกครั้งตรงที่มีการแย่งเชือกถึงกับชกต่อยกัน ซึ่งเรื่องของเรื่องนั้นเนื่องมาจากนายปุ้ยกับนายแกร” (จำนามสกุลไม่ได้) เห็นเชือกไม่ไหม้ไฟ จึงใช้คีมคีบออกมาวางข้างนอกรอให้เย็น โดย 2 คนนี้เถียงกันอึงมี่อยู่ก่อนแล้วว่า คนที่ถือมาจากกุฏิควรจะเป็นเจ้าของ แต่ก็อีกคนบอกว่าน่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของคนติดไฟ   


ครั้นตกลงกันไม่ได้ต่างฝ่ายจึงต่างโดดเข้าคว้าเชือกเส้นนั้น และชกต่อยยื้อแย่งกันจนเชือกขาดออกเป็น 2 ท่อน ครั้นเรื่องนี้รู้ถึง หลวงพ่อขันท่านได้เรียกเข้าไปหาทั้ง 2 คน โดยพูดปนหัวเราะหึๆ เคี้ยวหมากหยับๆ ทำนองว่า ไม่น่าจะต้องถึงกับต้องชกต่อยหรือวิวาทบาดหมาง กันแบบนี้ เพราะเชือกยังมีอีกเยอะ ไม่ได้วันนี้ก็ได้วันหน้า ข้าไม่เลือกที่รักมักที่ชังหรอก


นอกจากคำบอกเล่าดังกล่าวนี้ ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าทึ่งไม่แพ้กัน โดยผู้เล่านั้นได้แก่นายผิน บุญประสมซึ่งเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งได้ออกไปจุดไฟเผานาเพื่อเตรียมไถหว่านครั้งใหม่ ครั้นกลับเข้าบ้านจะอาบน้ำจึงรู้ว่า พลาดท่าทำเชือกที่คาดเอวเป็นประจำตกหาย ด้วยความเสียดายถึงกับนอนไม่หลับทั้งคืน พอรุ่งสางก็รีบลุกขึ้นออกไปเที่ยวเดินหา พบเชือกที่ว่าตกอยู่กลางนาตรงจุดที่ซังข้าวปรากฏให้เห็นเป็นวงกลมสีเหลืองเพราะไม่ไหม้ไฟ ด้วยความดีใจแกมอัศจรรย์ จึงเล่าให้เพื่อนบ้านและญาติพี่น้องฟังอย่างทั่วถึง


เรื่องที่สามารถช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงให้ “หลวงพ่อขัน” ได้ไม่แพ้อย่างอื่นก็คือ สักยันต์

เรื่องที่สามารถช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงให้ หลวงพ่อขัน ได้ไม่แพ้อย่างอื่นก็คือ สักยันต์


ดังนั้นจึงขอประเดิมด้วยเรื่องดังกล่าวเลยเป็นไร นอกจากราษฎรทั่วไปจะเลื่อมใสในยันต์นี้ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าต่างนิยมมาให้ หลวงพ่อขัน สักอย่างเนืองแน่นคับคั่ง ยังมีเจ้านายชั้นสูงหลายองค์ทรงศรัทธาอีกต่างหาก 


“พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร” หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “พระองค์ชายกลาง”

ในบรรดาเจ้านายเหล่านี้มี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรหรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่าพระองค์ชายกลาง อยู่ด้วยองค์หนึ่ง ซึ่งเล่ากันว่าได้เสด็จมาสัก บุตร-ลบ ด้วยเช่นกัน ส่วนอีกองค์นั้นแม้จะไม่ได้สักยันต์ที่ว่า แต่ก็ทรงศรัทธา หลวงพ่อขัน ถึงกับเอ่ยพระโอษฐ์ขอร้องให้สักแค่ นะโม ถวาย เจ้านายองค์นี้ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์หรือที่บางคนมักจะถือวิสาสะเรียกขานพระนามตามกันว่าเสด็จเตี่ย


สำหรับ เสด็จในกรมฯ องค์นี้ มีคำบอกเล่าจากหลวงลุงปุ่น เขมาภิรโตว่า เหตุปัจจัยที่ทำให้ได้ทรงรู้จักกับ หลวงพ่อขันนั้น เนื่องมาจากท่านได้โดยเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ในคราวเสด็จประพาสลำแม่น้ำน้อยและแม่น้ำใหญ่เมื่อปี ..2459 และแวะมาประทับแรม วัดนกกระจาบ 1 คืน ก่อนจะเสด็จฯต่อขึ้นไปทางเหนือ ขณะนั้นตนเป็นศิษย์วัดอยู่กับ หลวงพ่อขัน มีอายุประมาณ 12-13 ปี (เกิดปีมะโรง ..2447) จึงพอจำความได้   


หากจะให้ไล่เรียงตั้งแต่ช่วงก่อนหน้า เล่าได้ว่า หลวงพ่อขัน ได้รับแจ้งจากกรมการอำเภอและคณะสงฆ์ ให้จัดสร้างพลับพลาสำหรับประทับแรม โดยใช้ไม้ไผ่ ทางมะพร้าว และเสื่อลำแพนเป็นวัสดุหลัก และนอกจากจะขอสิ่งเหล่านี้จากชาวบ้าน ยังเกณฑ์มาช่วยกันปลูกสร้างดังกล่าว บริเวณลานด้านเหนือวัดจนสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี


โดยเฉพาะในวันที่รัชกาลที่ 6 เสด็จฯนั้น ท่านองค์ดังกล่าวได้เสด็จล่วงหน้ามาถึงก่อนครู่ใหญ่ นัยว่าเพื่อตรวจตราความเรียบร้อยตามหน้าที่ราชการ โดยท่านจอดเรือเทียบแพท่าหน้าศาลาท่าน้ำด้านใต้ 


ครั้นเสด็จขึ้นจากเรือได้ก็ตรัสถามเสียงดังเลยว่า องค์ไหนที่ชื่อ อาจารย์ขัน จากนั้นก็ทรงดำเนินขึ้นมาบนศาลาท่าน้ำ เพ่งพระเนตรมาที่หมู่พระภิกษุซึ่งรอรับเสด็จฯอยู่ที่นั่น 


“พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” หรือที่บางคนมักจะถือวิสาสะเรียกขานพระนามตามกันว่า “เสด็จเตี่ย”

หลวงพ่อขันได้กล่าวแนะนำตนเองว่า อาตมานี่แหละชื่อขัน หลังประสานพระหัตถ์แสดงความเคารพด้วยท่าทีดีพระทัย ได้ตรัสแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยออกมาว่า ได้ข่าวว่ามีวิชาดีนัก ต้องขอลองสักหน่อย ยังไม่ทันที่ หลวงพ่อขัน จะกล่าวตอบว่ากระไร ได้ทรงชักปืนสั้นออกมา แล้วเล็งยิงไปที่ช่อฟ้าศาลาท่าน้ำถึง 3 นัดซ้อน ก่อนสอดปืนกลับเข้าซองหนังอย่างเก่า


หลังจากนั้นทรงหันมาที่หลวงพ่อขัน พร้อมกับตรัสว่า น่าแปลกตรงที่ปืนลั่นทุก นัด แต่กลับพลาดเป้าไปได้ ทั้งๆ ระยะใกล้เพียงแค่นี้เอง พอสิ้นเสียงตรัสด้วยท่าทีที่บ่งบอกถึงความฉงนฉงาย 


หลวงพ่อขัน ได้ยื่นมือที่กุมกันอยู่ชูออกไปข้างหน้าพลางกล่าวว่า นี่เป็นปลอกกระสุนของท่านใช่ไหม 


ครั้นได้ทรงทอดพระเนตรเห็นถึงกับทรงพระสรวลลั่น โน้มพระองค์ทรงสวม กอดเอว หลวงพ่อขันตรัสว่า ถ้าลงอีหรอบนี้เห็นทีต้องนิมนต์ไปคุยที่กุฏิ เพราะยังพอมีเวลากว่าในหลวงจะเสด็จฯถึงก็คงอีกพักใหญ่ ไม่ต้องกังวลอะไรเพราะตัวเองก็รู้หน้าที่ดี


หลวงลุงปุ่นเล่าด้วยว่า ระหว่างที่เดินไปกุฏินั้นทั้งสองท่านได้พูดคุยกระหนุงกระหนิงตลอดทาง เพราะตนตามอยู่ไม่ห่างจึงพอจะได้ยินเรื่องที่สนทนากัน ที่จำได้แม่นนั้นก็คือ เสด็จในกรมฯ ขออนุญาตเรียก หลวงพี่ เพราะท่านอ่อนกว่าถึง 8 ปี ทั้งยังตรัสว่ามีฐานะเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์รุ่นน้อง


เมื่อมาถึงกุฏิแล้วได้ทรงถอดฉลองพระองค์ออกพลางตรัสว่า อย่างอื่นที่เล่าลือกันไม่นึกอยากได้ อยากให้สักให้มากกว่า แต่ หลวงพ่อขันท้วงว่า ท่านสักมาเยอะแล้วอย่างนี้ จะเอาที่ตรงไหนสักอีก กระนั้นก็ไม่ทรงละความตั้งพระทัย ได้ชูพระหัตถ์ขึ้นทั้งสองข้างพลางตรัสว่า ตรงรักแร้นี่ไง ไม่ต้องเอาอะไรมากหรอก แค่นะตัวโมตัวก็พอใจแล้ว 


เมื่อทรงคะยั้นคะยอจะสักให้ได้ จึงต้องสนองพระประสงค์ตามนั้น เพราะท่าทีของท่านแสดงอย่างแจ้งชัดว่าทรงศรัทธาเลื่อมใสใน หลวงพ่อขัน ไม่น้อยทีเดียว ...


ลานโพธิ์ จึงขอนำเสนอประวัติอย่างละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ของท่าน จากฝีมือการเขียนของ ศักดิ์สกล อโยธยา

ลานโพธิ์ นำเสนอประวัติ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ อย่างละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ของท่าน จากฝีมือการเขียนของ ศักดิ์สกล อโยธยา หากผู้อ่านท่านใดสนใจ หาซื้ออ่านได้ทันที ที่ร้านหนังสือออนไลน์ 


สนใจอ่านต่อ หนังสือ ลานโพธิ์ ฉบับพิเศษ รวมเรื่อง หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ ราคา ปก 60 บาท ได้ที่ .. ร้านออนไลน์ อุ๊กบี (Ookbee) และ ร้านออนไลน์ เมพ มาร์เก็ต (Meb market)


วันนี้อ่านหนังสือ ลานโพธิ์ บน i-Pad หรือ Tablet computer ได้ทั่วโลกแล้ว ตามลิงค์นี้ 

สามารถหาอ่านหนังสือ ลานโพธิ์ ในรูปแบบ E-book ได้แล้ว.. 
Available Now!  You can read whenever, wherever with any device.

BangkokSarn App on Google Play store   Lanpo App on Google play Store   Ookbee Book Shop   Meb Market Book Shop   

Lanpo App on Google Play
BangkokSarn App on Google Play store   Lanpo App on Google play Store   Ookbee Book Shop   Meb Market Book Shop   

Lanpo App on iTunes