วัดหนองบัว เมืองน่าน

ภาพและเรื่อง โดย แฉ่ง บางกระเบา

โบสถ์วัดหนองบัว น่าน
เมื่อเดือนก่อน ได้เดินทางไปนมัสการ วัดพระธาตุแช่แห้ง เมืองน่าน ได้กราบ พระชยานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งมีศีลาจารวัตรงดงามน่าศรัทธาเลื่อมใสยิ่ง ท่านเป็นพระนักพัฒนาการศึกษาองค์สำคัญของเมืองน่าน ตอนบ่ายได้เดินทางไปชมจิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของเมืองน่านคือ วัดหนองบัว ซึ่งตั้งอยู่ .ป่าคา .ท่าวังผา .น่าน วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่มาแต่เดิมของ เมืองน่าน

พระประธาน วัดหนองบัว น่าน
วัดหนองบัว เป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว อยู่ท่ามกลางหมู่บ้าน ไทยลื้อ อันสงบร่มเย็น วัดแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานทางสถาปัตยกรรม และจิตรกรรม ชิ้นเอกของเมืองน่าน วัดหนองบัวเป็นวัดชาวบ้าน ลักษณะการตกแต่งภายในตัววิหารจึงเรียบง่ายกว่า ทั้งลักษณะวิหารก็เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าธรรมดา แต่กระนั้น วิหารวัดหนองบัว ก็เป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่สถาปัตยกรรมพื้นบ้านที่สวยงามและหาชมได้ยาก จากคำบอกเล่ากล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้นในราว ..2405 (สมัยรัชกาลที่ 4) โดย ท่านสุนันต๊ะ (ครูบาหลวง) เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงนำชาวบ้านสร้างขึ้นเป็นวัดประจำหมู่บ้านหนองบัว 

วัดหนองบัว น่าน สิ่งที่น่าสนใจในวัดหนองบัว คือภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของ วัดภูมินทร์ ในเมืองน่านเชื่อกันว่า ภาพเขียนฝาผนังในวัดหนองบัวแห่งนี้ เขียนขึ้นด้วยช่างสกุลเมืองน่านผู้เดียวกันกับผู้เขียนภาพฝาผนังใน วัดภูมินทร์ 


จิตรกรรมฝาผนังอันงดงามในโบสถ์วัดหนองบัวจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามในโบสถ์วัดหนองบัวจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามในโบสถ์วัดหนองบัว


วัดหนองบัว เมืองน่าน ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนโดย “ ทิดบัวผัน  ช่างเขียนลาวพวน ที่บิดาของ ครูบาหลวงสุ ชื่อ นายเทพ ซึ่งเป็นทหารของ เจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่างปี .. 2395-2434) ได้นำมาจากเมืองพวนในแคว้นหลวงพระบาง นอกจากนั้นยังมี นายเทพ และ พระแสนพิจิตร เป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จ และยังมีภาพของเรือกลไฟและดาบปลายปืนซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่


ร้านเฮือนฮอม

น้ำพริกเมืองน่านภาพจิตรกรรมที่ วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่ง ผ้าซิ่นลายน้ำไหล หรือ ผ้าซิ่นตีนจก ที่สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของ วัดภูมินทร์ในเมืองน่าน นอกจากภาพจิตรกรรมแล้ว ที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็กอยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย นัยว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองน่าน ที่อนุรักษ์เอาไว้ได้น่าชมเชยยิ่งทีเดียว



บรรยากาศในร้าน
จากวัดหนองบัวกลับเข้ามาในเมือง ได้ไปชิมอาหารตามที่คนพื้นที่แนะนำว่า มีอาหารเมือง หรืออาหารเหนือที่มีความอร่อยเป็นที่เลื่องลือว่า ใครมาเมืองน่านต้องแวะมาชิม ชื่อร้าน “ เฮือนฮอม   ร้านเป็นร้านอาหารพื้นเมืองน่านแท้ๆ สั่งชุดอาหารเหนือมาทานแล้ว บอกได้ว่า อร่อยสมคำลือเลื่อง โดยเฉพาะ ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม ซึ่งมีรสชาติดั้งเดิมไม่ผิดเพี้ยน แกงแค แกงโฮ๊ะ ก็อร่อยไม่น้อยไปกว่ากัน ใครมาเมืองน่านก็ลองแวะมาชิมกันได้ไม่ผิดหวัง


“ มาเมืองน่านคราวนี้ ได้รับความชุ่มชื่นใจในบุญกุศล และธรรมชาติที่งดงาม 


ที่มา : ลานโพธิ์ ปีที่ 45 ฉบับที่ 1238 เดือนกันยายน 2562 : คอลัมน์ ก่อนปิดปก วัดหนองบัว เมืองน่าน