หลวงพ่อแก้ว วัดหนองตำลึง อมตะเถราจารย์แห่งพานทอง

 ภาพและเรื่อง โดย มนตรี โทณะวณิก

" คนที่ไม่ได้สะสมพระเครื่องส่วนหนึ่งมักมองว่า เรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องนั้นเป็นเรื่องงมงาย  ยิ่งพูดกันถึงเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ด้วยแล้ว เป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ จึงขาดความนับถือในหมู่คนที่ไม่เชื่อเรื่องเหล่านี้ แต่อันที่จริงแล้ว พระเครื่อง หรือประวัติความเป็นมา และเรื่องเล่าเกี่ยวกับเกจิอาจารย์องค์นั้นๆ ถ้าเราจะเขียนให้เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ หรือบอกเล่าถึงความศรัทธาที่ผู้คนจำนวนหนึ่งมีต่อพระเกจิองค์นั้นๆก็ได้ อย่างเรื่องราวของ หลวงพ่อแก้ว แห่งวัดหนองตำลึง นั้น ประวัติของท่านทำให้เราได้ทราบถึง ประวัติความเป็นมาของผู้คนแถว วัดหนองตำลึง ที่น้อยคนนักที่จะเคยรู้ว่า ชุมชนนี้แต่เดิมเป็นชาวลาวที่ถูกเทครัวมาจากเวียงจันทร์ ตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๓) " 

วัดหนองตำลึง
ประวัติศาสตร์เรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๓๖๙ มีข่าวลือว่าอังกฤษจะนำเรือรบมายึดกรุงเทพมหานคร เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองนครเวียงจันทร์ เห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้ช่วงเวลานี้ปลดเอกจากการเป็นประเทศราช จึงยกกองทัพมายึดหัวเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทัพที่จัดมามี ทัพเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ ของเจ้าราชบุตร ยกเข้ามาทางอุบลราชธานี ทัพของพระอุปราช ยกเข้ามาทางร้อยเอ็ด และ ทัพหลวงของเจ้าอนุวงศ์ ยกมาทางนครราชสีมา เจ้าเมืองตามรายทางเช่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สุรินทร์ ขุขันธ์ให้การสนับสนุนเจ้าอนุวงศ์ ยอมให้เดินทัพผ่านโดยสะดวก และมอบเสบียงอาหารสมทบให้ จนกระทั่งทัพของเจ้าอนุวงศ์เข้ายึดนครราชสีมา และส่งกองทัพไปกวาดต้อนผู้คนถึงสระบุรี 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ) ทรงให้แต่งทัพออกไปช่วย โดยให้ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ยกกองทัพไปยังสระบุรี ให้ พระยาราชสุภาวดี คุมทัพที่สองไปปราบกบฏทางอุบลราชธานีและร้อยเอ็ด และทรงให้ เจ้าพระยาอภัยภูธร คุมทัพที่สามไปปราบเมืองหล่มและหัวเมืองขึ้น แล้วไปบรรจบกันที่เวียงจันทน์ 


ทัพของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้จึงถูกนำตัวส่งมายังกรุงเทพ มหานครพร้อมครอบครัว ในคราวนั้นเจ้าพระยาราชสุภาวดีได้กวาดต้อนผู้คนมายังหัวเมืองชั้นใน ตั้งแต่นั้นมาลาวก็ขึ้นกับไทยเรื่อยมาจนกระทั่งตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส


คนลาวที่ถูกกวาดต้อนมาถูกแบ่งออกไปอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ส่วนหนึ่งมาอยู่ที่ หนองตำลึง ซึ่งเป็นชุมชนของชาวลาว ซึ่งมี นายแก้ว อดีตทหารในกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ ร่วมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย โดยมี ออกญาเจ้าทัง มีตำแหน่งเป็นช่างหลวง และเป็นผู้ปกครองดูแลกลุ่มชาวเวียงจันทร์ เป็นผู้ดูแล 


หลวงพ่อแก้ว ไม้ขนุนแกะ วัดหนองตำลึง อ.พานทอง จ.ชลบุรี

นายแก้วในวัยหนุ่มฉกรรจ์มีฝีมือติดตัวมาในทางดาบ และชำนาญการตีไม้พลอง แต่เป็นธรรมดาของคนร้อนวิชา จึงอยู่ไม่ติดที่เหมือนคนทั่วไป จึงออกท่องเที่ยว ประกอบกับเป็นคนที่มีวิชาอาคมอยู่แล้วจึงไม่เกรงภัยอันใด คํ่าไหนนอนนั้น แวะตามวัดขอข้าวก้นบาตรพระตามรายทาง พร้อมกับเรียนรู้สรรพวิชาต่างๆ เอาไว้เพิ่มเติม ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณ และวิชาโหราศาสตร์ 


ท่านเดินทางไปถึงเมืองจันทบุรีอยู่ที่นั้นจนเบื่อ ประกอบกับคิดถึงเพื่อนฝูง จึงได้หวนกลับสู่ที่ชุมชนหนองตำลึง และได้พบรักกับสตรีที่ชื่อนางพิม ซึ่งเป็นบุตรสาวของออกญาเจ้าทัง ทั้งสองคนตกลงใจแต่งงานและสร้างครอบครัวอยู่ด้วยกัน หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเรื่องสะเทือนใจนายแก้วเป็นอย่างมากเพราะคู่ชีวิตอย่างนางพิมต้องมาตายจากไปก่อนวัยอันควร 


นายแก้วเสียใจมากจึงตัดสินใจออกบวช โดยไม่สึกที่ วัดหนองตำลึง หลังจากบวชแล้วคนทั่วไปจดจำชื่อใหม่ของท่านในนาม หลวงพ่อแก้ว แห่ง วัดหนองตำลึง เกจิที่ลือนามที่สุดองค์หนึ่งของเมืองชลบุรี ลูกศิษย์ที่มาขอให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้มีมากมายหนึ่งในนั้นก็คือ หลวงพ่อเปิ้น แห่ง วัดบ้านเก่า 


พระปิดตา วัดหนองตำลึง หลังยันต์สองตัว ปี 2506
หลวงพ่อเปิ้น นั้นพื้นเพเป็นชาวมอญ บ้านกระทุ่มมืด อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เมื่อท่านสูญเสียบิดามารดาเป็นกำพร้าตั้งแต่ยังเยาว์ ญาติของท่านจึงนำไปอุปการะยังชุมชนบ้านเก่า ซึ่งเป็นชุมชนมอญในจังหวัดชลบุรี คำว่า เปิ้น นั้นเป็นภาษามอญ แปลว่า แน่นอน มั่นคง แท้จริง 

หลวงพ่อเปิ้น เกิดเมื่อ .๒๓๘๐ อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี มรณภาพเมื่อ .๒๔๖๐ รวมอายุ ๘๐ ปี และอยู่ในสมณะเพศ ๖๐ พรรษา ท่านเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการรูปแรกของวัดบ้านเก่า ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูเปิ้นพุทธสรเถร เมื่อ .๒๔๒๑ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอพานทอง รวมทั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ .๒๔๒๕ ท่านสร้างพระปิดตาเอาไว้ พิมพ์ คือพิมพ์ฐานบัว และพิมพ์ฐานเขียง เป็นพระปิดตาที่หายาก อีกสำนักของเมืองชลบุรี เนื้อหาเป็นแบบเนื้อผงนํ้ามันแบบเดียวกับพระของ หลวงพ่ออิ่ม วัดบางเหี้ย ศิษย์เอกของ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ผู้สร้างเขี้ยวเสืออันโด่งดัง พระที่หลวงพ่ออิ่มสร้างนั้น ปัจจุบันเล่นหาเป็นของหลวงพ่อปานกันหมดแล้ว 

พระปิดตา วัดหนองตำลึง หลังยันต์สองตัว ปี 2506


เดิมวัดหนองตำลึง ตั้งอยู่ที่บริเวณฮวงซุ้ยของหลวงจู๋ เก๋า คือทางทิศตะวันออกของที่ตั้งวัดปัจจุบันนี้ แต่เนื่องจากที่อยู่เดิมนั้นตามตำราที่ว่าไว้ไม่เหมาะที่จะสร้างวัด หลวงพ่อแก้วจึงได้ ย้ายวัดมาอยู่ตรงที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปี ชัยภูมิที่ตั้งใหม่นั้นอยู่บนเนินที่สูงกว่าเดิม ยามฝนตกนํ้าไม่ท่วมขัง แต่ก็อยู่ใกล้สระนํ้า ท่านได้สร้างพระอุโบสถหลังแรกขึ้นมารวมไปถึงศาลาการเปรียญและเสนาสนะต่างๆโดยมีพ่อตาคือ ออกญาเจ้าทังและญาติโยมทั้งหลายช่วยกันบริจาคทรัพย์และแรงงาน 


หลวงพ่อแก้ว ท่านเชี่ยวชาญในกรรมฐาน มีวิชาอาคมแข็งกล้า สามารถเสกใบมะขามให้เป็นต่อเป็นแตนได้  เล่าลือกันว่าวัดท่านนั้นไม่มีใครกล้าเข้าไปขโมยของ เพราะหลวงพ่อแก้วท่านเลี้ยงผีแขกเอาไว้ ตน เป็นคนแขกที่ตายโหงไม่ได้ไปผุดไปเกิด ท่านเลยเรียกวิญญาณมาทำประโยชน์ จะได้ไปผุดไปเกิดได้เร็วขึ้น ดีกว่าปล่อยให้วิญญาณล่องลอยอย่างทรมาน 


เครื่องรางของท่าน เช่นตะกรุดและผ้ายันต์นั้น ถ้าใครมีติดตัวจะอยู่ยงคงกระพัน มีด ง้าวของมีคมรวมไปถึงกระสุนปืน ก็มิอาจทำอันตรายผิวกายของผู้ที่มีวัตถุมงคลท่านติดกายได้ เพราะลูกศิษย์ของท่านที่รู้จักกันดี ชื่อ กำนันสว่าง นั้นขึ้นชื่อว่าหนังเหนียวนักหนา มีดพร้าอีโต้ไม่ได้กินเนื้อหนังแก อีกคนคือ ตารอด ถูกอริฟาดหัวแต่ไม่เป็นไร คนเห็นกันทั้งตำบลจึงเล่าลือสืบกันมา 


แต่คนที่จะไปขอของดีจากท่านนั้นจะต้องไม่เป็นพวกอันธพาล หรือนักเลงหัวไม้อย่างเด็ดขาด ท่านจะไม่ยอมมอบให้เพราะอาจฮึกเหิมจนกลายเป็นโจรออกปล้น หรือไปเป็นนักเลงสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น จะส่งผลให้ตัวท่านมีบาปติดตัวไปด้วย

หลังจากที่ หลวงพ่อแก้ว มรณภาพแล้ว  เจ้าอาวาสลำดับต่อมาเท่าที่มีบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานก็คือ หลวงพ่อเพชร ต่อจากหลวงพ่อเพชรเป็น อาจารย์ทองมา และองค์ต่อมาเป็นก็คือ พระปรีชา (จำปี) คงเผ่าพงษ์ ซึ่งภายหลังได้เลื่อนสมณะศักดิเป็น พระครูปรีชานุศาสถ์  


ในสมัยของท่านพระครูปรีชานั้น วัดค่อนข้างชำรุดทรุดโทรมเพราะผ่านกาลเวลามาร่วม ๑๐๐ ปีแล้ว ท่านจึงได้รวบรวมปัจจัยเพื่อมาซ่อมแซมและก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ ท่านเป็นพระนักพัฒนาไม่ใช่แต่เพียงวัดเท่านั้น ในด้านการศึกษาท่านก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการหาทุนมาบำรุงการศึกษา ในยุคของท่านวัดเจริญขึ้นมาก ต่อมาภายหลังได้มีคำสั่งให้ท่านย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบึงบวรสถิตย์  แต่พระครูปรีชาท่านก็คงอุปถัมภ์ดูแลวัดหนองตำลึงสืบต่อมา 


ท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมา คนที่มาช่วยสละทุนทรัพย์นั้นท่านได้นำ พระปิดตาขนาดเล็กมาแจก ตั้งแต่ปีพ.. ๒๔๙๓ โดยท่านได้นำ พระปิดตาของหลวงปู่เจียม วัดใหญ่อินทารามมาแจก


พระปิดตา วัดหนองตำลึง เนื้อแดงชุบรักปิดทอง ปี 2506
หลวงปู่เจียม นั้นท่านเป็นพระภิกษุชาวเขมร พำนักอยู่ที่ วัดใหญ่อินทาราม ซึ่งวัดนี้นั้นแต่เดิมมีเจ้าอาวาสที่เป็นชาวเขมรเหมือนกันก็คือ พระครูธรรมสารอภินันท์หรือ หลวงพ่อแดง ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี ..๒๔๓๗ ต่อมาอีก ปี หลวงพ่อแดงก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวง เมื่อถึงปี .. ๒๔๘๑ หลวงพ่อท่านได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูธรรมสารอภินันท์ หลวงพ่อแดง ท่านถึงแก่มรณภาพลงเมื่อปี ..๒๔๙๐ สิริอายุรวมได้ ๘๐ ปี ๖๐ พรรษา 


พระปิดตา วัดหนองตำลึง เนื้อแดงชุบรักปิดทอง ปี 2506
หลวงพ่อแดง ท่านเป็นพระซึ่งทรง อภิญญาสมาบัติ เป็นที่ทราบกันดีในจังหวัดชลบุรี ว่าหลวงพ่อท่านให้หวยจับยี่กีแม่นมาก เชื่อกันว่าท่านสำเร็จวิชาโสฬสจึงบอกเลขหวยได้แม่นยำ มีเรื่องเล่าว่าเจ้ามือหวยส่งคนไปสืบว่า วันนี้หลวงพ่อแดงท่านให้ตัวอะไร พอทราบก็รีบเอาตัวนั้นออกจากถุงทันที พอหวยออกมาเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ตัวที่หลวงพ่อท่านให้และที่เจ้ามือคัดออกนั่นแหละ กลับเข้ามาอยู่ในถุงทำให้เจ้ามือต่างหวั่นเกรง ขนาดต้องไปขอร้องไม่ให้หลวงพ่อท่านบอกหวยแก่ผู้ใด แต่เมื่อลูกศิษย์มาขอหลวงพ่อท่านก็ไม่บอกตามสัญญา แต่เขียนไว้ข้างผนังกุฏิแทน จนเจ้ามือเจ๊งไม่มีใครกล้ารับแทง จนท้ายสุดไม่มีเจ้ามือหวยกล้ารับให้เล่นอีกต่อไป ตอนที่ท่านให้หวยนั้นมีหลายคนตำหนิท่านว่า เป็นพระทำไมให้หวย ท่านจึงบอกว่า การห้ามไม่ให้คนเล่นหวยนั้นพูดได้ง่าย แต่ชาวบ้านคงไม่ทำกัน ทางที่ดีต้องไม่ให้มีใครรับเป็นเจ้ามือหวยนั้นแหละดีที่สุด  ทำได้ง่ายกว่า 

หลังจากสิ้นหลวงพ่อแดงแล้ว คนก็ยังมาที่วัดนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะมีหลวงปู่เจียมที่เป็นเสมือนตัวแทนของท่าน  หลวงปู่เจียมท่านสร้างพระปิดตาเอาไว้หลายรุ่นโดยใช้ผงโสฬสเก่าของหลวงพ่อแดงที่ตกค้างอยู่มาทำ พุทธคุณจึงดีทางโชคลาภเป็นพิเศษ พระครูปรีชา (จำปี) คงเผ่าพงษ์  นับถือหลวงพ่อเจียมมาก จึงได้มาขอให้ หลวงปู่เจียมสร้าง พระปิดตาขึ้นมาเพื่อนำไปแจกที่วัดหนองตำลึงด้วย 


พระปิดตา วัดหนองตำลึง พิมพ์ใหญ่ แจกแม่ครัว
ในวาระที่ หลวงปู่เจียม สร้างพระปิดตารุ่นแรกขึ้นมา พระที่หลวงปู่เจียมสร้างขึ้นมานั้น มี พิมพ์ คือ สะดือกลม และสะดือสามเหลี่ยม ด้านหลังประทับไว้ด้วย ยันต์ข้าวหลามตัด มียันต์บรรจุอยู่ด้านใน แบบ คือ ยันต์ อุ-นะ ยันต์ อุบน อุล่าง และยันต์เฑาะว์ พระชุดนี้มีแจกทั้งวัดหนองตำลึงและวัดใหญ่อินทาราม 

สมัยก่อน คนที่ได้จาก หลวงปู่เจียม ก็เล่นเป็นของ วัดใหญ่อินทาราม คนที่ได้รับแจกจาก พระครูปรีชา กับกำนันผ่อง สายสุวรรณ กำนันตำบลพานทองผู้เป็นกรรมการวัด และเป็นผู้ประสานงานการจัดสร้างพระชุดนี้ให้ วัดหนองตำลึงด้วย ก็เล่นหาเป็นของ วัดหนองตำลึง รุ่นแรก กันมานับแต่นั้น 

พระปิดตา วัดหนองตำลึง พิมพ์ใหญ่ แจกแม่ครัว


สมัยก่อนสับสนกันพอสมควรกับการเล่นหาพระชุดนี้ เพราะเวลาเซียนซื้อเข้าจะตีเป็นของวัดใหญ่อินทารามหมด แต่เวลาขายจะขายออกเป็นของ วัดหนองตำลึง เพราะได้ราคาดีกว่าหลายเท่า 


สมัยที่ อาจารย์ คีโถ ถั่วทอง จัดทำหนังสือ พระปิดตาภควัมบดี ยอดนิยม ในปี ..๒๕๓๘ พระปิดตาทั้ง พิมพ์สะดือกลม และสะดือสามเหลี่ยม มีการบันทึกลงในหนังสือว่าเป็นของ หลวงปู่เจียม วัดใหญ่อินทารามทั้งหมด ส่วนของวัดหนองตำลึง จะเป็นพิมพ์ที่ทางวัดสร้างขึ้นเองในปี ..๒๕๐๖ ขึ้นมา 


สมัยที่ อาจารย์ คีโถ ถั่วทอง จัดทำหนังสือ พระปิดตาภควัมบดี ยอดนิยม ในปี พ.ศ.๒๕๓๘
แต่ปัจจุบันในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้มีการเล่นหา พระปิดตา ที่ พระครูปรีชา กับ กำนันผ่อง สายสุวรรณ นำมาแจกในปี ..๒๔๙๓ เฉพาะพิมพ์สะดือกลม เป็นพระปิดตา วัดหนองตำลึง รุ่นแรก เป็นมาตรฐานสากล พระปิดตารุ่นนี้บางคนก็เรียก รุ่นยกช่อฟ้า เพราะได้รับแจกในวาระที่มีการยกช่อฟ้าอุโบสถหลังใหม่


หลังจากที่พระครูปรีชา(จำปี)ได้สร้างอุโบสถหลังใหม่เสร็จ คณะกรรมการฝ่ายสงฆ์และกรรมการวัดหนองตำลึง ได้ประชุมกันมีมติให้รื้ออุโบสถหลังเก่าออก เพราะอุโบสถหลังเก่านี้อายุเป็น ๑๐๐ ปีแล้ว อาจจะพังลงมาเมื่อไหร่ก็ได้ ในการรื้อพระอุโบสถหลังเก่าครั้งนี้ได้พบ กรุพระหลวงพ่อแก้วโดยบังเอิญ ได้มีบันทึกเอาไว้ว่า 


“ ในตอนเช้าของวันที่ ธันวาคม .. ๒๕๐๕ เวลาประมาณ .๐๐ . ได้ขุดค้นชุกชีพระประธานอุโบสถหลังเก่า พบกรุพระเครื่องของหลวงพ่อแก้วอยู่ โดยมีศิลาปิดปากกรุ แผ่น สัณฐานของกรุนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีขนาด กว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ ศอก ได้พบพระเครื่องและเครื่องรางของขลังหลายชนิด มีพระอยู่หลายร้อยองค์ แต่ส่วนใหญ่จะจับเป็นก้อน แต่ที่เป็นพระสภาพไม่แตกหัก ค่อนข้างสมบูรณ์แบบตามรูปเดิมไม่บุบสลายก็หลายร้อยองค์ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นพระเครื่องที่ หลวงพ่อแก้ว วัดหนองตำลึง สร้างหรือไม่ก็นำมาบรรจุไว้ซึ่งมีอายุไม่ตํ่ากว่า ๑๐๐ ปี 


ทางวัดจึงได้นำพระที่สมบูรณ์นั้นออกให้บูชา โดยตั้งมูลค่าให้เช่าบูชาองค์ละ ๕๐๐ บาท และบูชาได้คนละองค์ ส่วนตัวผู้เขียนเองนั้น เคยมีโอกาสได้เห็นพระชุดนี้ด้วย จากบ้านเก่าที่เจ้าของเดิมเช่าบูชาเอาไว้ ที่น่าสนใจก็คือ พระที่ว่านี้เป็น “ พระโคนสมอ เนื้อว่านจำปาสัก คล้ายคลึงกับทางของ วัดหนองกระทุ่ม ที่อยู่ในอำเภอพานทองเช่นเดียวกัน แต่พระของวัดหนองกระทุ่มนั้นจะปิดทองมาแต่เดิมในกรุ เป็นเนื้อว่านจำปาสักเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากบริเวณชุมชนของวัดทั้งสองนี้แต่เดิมเป็นชุมชนของชาวลาวมาก่อน 


พระปิดตา วัดหนองตำลึง เนื้อแดง ทาชาด ปิดทอง
มีเรื่องที่ผู้เขียนเองอยากจะเสริมขึ้นมาเท่าที่รู้ เวลาคนลาวหรือคนทางภาคอีสานจะสร้างโบสถ์ (โบสถ์ทางอีสาน หรือฝั่งลาวจะเรียกว่า สิม) ขึ้นมานั้น ในโบสถ์จะมีจุดที่ทำเป็นหลุม หรือเป็นช่อง เป็นโพรงเอาไว้เพื่อให้คนในชุมชนนำเอา พระเครื่อง หรือ เครื่องราง ที่มีอยู่ในบ้านมาบรรจุใส่เอาไว้เหมือนเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง ในกรณีนี้ก็เช่นกัน ถ้าเป็นไปตามข้อสันนิฐาน ในกรุใต้ฐานชุกชีของวัดหนองตำลึงนั้น ตอนสร้างโบสถ์นั้น ก็คงให้ชาวบ้านซึ่งเป็นชุมชนชาวลาว ได้นำพระเครื่อง และเครื่องรางมาบรรจุใส่ เราจึงได้เห็นพระที่ขึ้นจากกรุวัดหนองตำลึงนั้นเป็น พระว่านจำปาสัก มีหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์ยืนและพิมพ์นั่งในซุ้มปราสาท 
พระปิดตา วัดหนองตำลึง เนื้อแดง ทาชาด ปิดทอง

พระว่านจำปาสัก นั้นถือเป็นเอกลักษณ์ของคนลาว และคนทั้งสองฝั่งโขงมาแต่โบราณ พระว่านจำปาสักนั้นคนทางฝั่งลาวจะเรียกว่าพระเกสรเพราะทำจากเกสรดอกไม้และว่านยา ๑๐๘ ชนิด ว่านจำปาสัก นั้นขึ้นชื่อมาเนินนานในพุทธคุณเรื่องอยู่ยงคงกระพัน


(อ่านต่อ อีบุ๊ค ลานโพธิ์ ปีที่ 46 ฉบับที่ 1248 เดือนกันยายน 2563)


ย่อจาก อีบุ๊ค ลานโพธิ์ ปีที่ 46 ฉบับที่ 1248 เดือนกันยายน 2563 : หลวงพ่อแก้ว วัดหนองตำลึง อมตะเถราจารย์แห่งพานทอง ภาพและเรื่อง โดย มนตรี โทณะวณิก