ภาพและเรื่องโดย เอกลักษณ์ เพริศพริ้ง
พิธีมหาพุทธาภิเษกพระเครื่อง ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองกึ่งพุทธกาล ตามพุทธทำนายที่ว่าพระพุทธศาสนาจะยืนยาวถึง ๕,๐๐๐ ปี เรียกพิธีนี้ว่า “ พิธี ๒๕ พุทธศตวรรษ ” ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสามพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนอีกสองพิธีก็ได้แก่ “ พิธีมหาพุทธาภิเษกวัดราชบพิธ ปี พ.ศ.๒๔๘๑ ” และ “ พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราชอินโดจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ ”
ทั้งสามพิธีที่ว่ามาแม้จะต่างวาระกัน แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือ พระอาจารย์ที่มาเสก ล้วนแต่มีคาถาอาคมเข้มขลัง มีพลังจิตแก่กล้า เป็นที่เชื่อถือของผู้คนประชาชนทั่วทั้งประเทศ และที่สำคัญพระอาจารย์ผู้เป็นเจ้าพิธีหรือประธานฝ่ายสงฆ์ในสมัยนั้นจะเป็นผู้คัดเลือกผู้เสกเองกับมือ คือแบบว่า จะต้องเอาที่เก่งที่สุดแห่งยุคเท่านั้น จะได้ไม่เสียชื่อเจ้าของงาน หรือเสียถึงพระอาจารย์เจ้าพิธี
ผู้ที่เป็นเจ้าพิธีส่วนใหญ่จะมีความเชี่ยวชาญทางด้านไสยศาสตร์ และโหราศาสตร์ชั้นบรมครู ท่านสามารถหยั่งรู้ได้ว่า พระอาจารย์ท่านใด เก่งพอที่จะเข้าร่วมพิธี แนวๆ ว่า “ ปราชญ์ ” ย่อมรู้ว่าผู้ใดคือ “ ปราชญ์ ” ประมาณนั้น ตัวอย่างเช่น พิธีจตุรพิธพรชัย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ ลูกศิษย์ของ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ต้องการสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อออกจำหน่าย โดยจะนำรายได้ไปสร้างโบสถ์ที่วัดบ้านเกิดเมืองนอนของตนในจังหวัดสุพรรณบุรี จึงมาปรึกษากับหลวงปู่ดู่ผู้เป็นพระอาจารย์ หลวงปู่ว่า
“ ให้ทำเหรียญพระเกจิอาจารย์ที่เก่งที่สุดแห่งยุคของภาคกลางขึ้นมา จำนวน ๙ ท่าน ๙ เหรียญ เสร็จก็นำไปให้แต่ละท่านปลุกเสกเดี่ยวก่อน แล้วค่อยนิมนต์ทั้ง ๙ ท่านมาทำพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ” ( หลวงปู่ดู่ท่านเลือกพระอาจารย์เองทั้งหมด )
ทีนี้ก็มาว่ากันถึงรายนามพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงเวทวิทยาคม ที่ได้รับคัดเลือกให้มาเสกทั้งสามพิธีกันบ้างว่าท่านเป็นใครมาจากสำนักไหน
สำหรับ “ พิธีมหาพุทธาภิเษกวัดราชบพิธ ปี ๒๔๘๑ ” ก็มี หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน, หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว, หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง ฯลฯ
ส่วน “ พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราชอินโดจีน เมื่อปี ๒๔๘๕ ” ก็มี หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว, หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก, หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ฯลฯ
และ “ พิธี ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ” ก็มี หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ( เสกทั้ง ๓ พิธี ), หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ( เสกทั้ง ๓ พิธี ), หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อทบ วัดชนแดน, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ฯลฯ...
ผู้เขียนเฉไฉไปเรื่องอื่นซะไกล ก็จะขอย้อนกลับมาที่ พิธี ๒๕ พุทธศตวรรษ กันอีกสักหน่อย จะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาเป็นไปในอดีตของศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของพวกเราชาวไทย โดยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นปีที่พระพุทธศาสนาล่วงเลยมาถึงกึ่งพุทธกาลตามพุทธทำนายที่ว่า พระพุทธศาสนาจะยืนยาวถึง ๕,๐๐๐ ปี ทางรัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้ทำการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลาถึง ๗ วัน ๗ คืน คือตั้งแต่วันที่ ๑๒-๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ( ช่วงเทศกาลวันวิสาขบูชา ) พร้อมกันนั้นยังได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินเพื่อสร้าง “ พุทธมณฑล ” ที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งวัตถุมงคลดังกล่าวก็คือ “ พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ” นั่นเอง
การครั้งนั้นได้นิมนต์พระคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งยังมีความเข้มขลังทางด้านมนต์คาถาจากทั่วประเทศจำนวน ๑๐๘ รูป ให้มาร่วมปลุกเสก และก็อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า พระอาจารย์ทุกท่านที่มาเสก จะต้องเก่งที่สุดแห่งยุคเท่านั้น และ ๑ ใน ๑๐๘ ท่านที่ว่ามาก็คือ หลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นั่นเอง
เรื่องประสบการณ์จากวัตถุมงคลของ “ หลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ ” นั้น หากถามคนรุ่นเก่าๆ ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะจังหวัดสระบุรี ไม่มีใครที่ไม่รู้จักกิตติศัพท์ชื่อเสียงของท่าน ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง...
คุณธนากร ทรัพย์ล้อม กรรมการ วัดดอกไม้ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่าให้ฟังว่า...
ตอนที่ “ หลวงพ่อหวาน ” ยังมีสุขภาพแข็งแรง ท่านได้จำวัดอยู่ที่หอสวดมนต์ซึ่งมีพระพุทธรูปเนื้อทองสำริดเก่าแก่งดงามมากองค์หนึ่ง นามว่า “ หลวงพ่อสำริด ” ประดิษฐานอยู่ หลวงพ่อสำริดองค์นี้เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ท่านคือศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในย่านนั้น
แล้วก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้น หลวงพ่อสำริดเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้ไปเข้าหูเข้าตาของพวกโจรใจบาปหยาบช้าเข้า พวกโจรพยายามหาลู่ทางจะมาขโมยหลวงพ่อสำริดที่หอสวดมนต์ พวกมันสืบทราบมาว่ามี “ พระสูงวัย ” นอนเฝ้าอยู่รูปหนึ่ง ( หลวงพ่อหวาน ) พวกมันคิดว่าเจองานหมูเข้าให้แล้ว แต่พวกมันคิดผิด!
วันหนึ่งเวลาประมาณตี ๓ กว่าๆ พวกโจรได้ใช้ชะแลงเหล็กงัดลูกกรงเข้าไปในหอสวดมนต์ พอพวกมันเข้าไปได้ มันก็แบ่งหน้าที่กันทำงาน สองคนเดินตรงไปยังหลวงพ่อสำริดเพื่อเตรียมการขโมย ส่วนอีกคนก็บุกเข้าไปในห้องที่ หลวงพ่อหวาน จำวัดอยู่ และโดยไม่ต้องพูดพล่ามทำเพลงอะไรให้มากความ มันได้ใช้ “ ชะแลงเหล็ก ” อันที่งัดเข้ามาหวดเข้าที่ท้ายทอยของ หลวงพ่อหวาน เต็มแรง ๒-๓ ที จนท่านนอนแน่นิ่งไม่ไหวติง โจรใจบาปคิดว่าท่านคงมรณภาพแล้ว ก็เป็นอันว่าหมดอุปสรรคสำหรับการขโมยพระ จึงไปรวมตัวกันที่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ตามแผนที่วางไว้
ขณะที่พวกโจรใจบาปหยาบช้ากำลังช่วยกันยกหลวงพ่อสำริดอยู่นั้น พวกมันก็เห็น หลวงพ่อหวาน มายืนขวางอยู่ที่ประตู จากนั้นท่านก็ “ ตวาด ” พวกโจรเสียงดังกึกก้องปานเสียงฟ้าผ่า และ เสียงตวาดนั้นทำเอาหอสวดมนต์ถึงกับสั่นสะเทือน...
พวกโจรพอเห็น หลวงพ่อหวาน มายืนเด่นเป็นสง่าขวางทางอยู่ โดยไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ ก็ถึงกับแข้งขาอ่อนเพราะกลัวท่านแทบช็อก!! ( พวกมันนึกว่าหลวงพ่อมรณภาพแล้ว เพราะตีท่านสุดแรงเกิดกะเอาให้ตาย แต่จู่ๆ ท่านกลับมายืนขวางทางหน้าตาเฉย จะไม่ให้พวกมันไม่ช็อกได้อย่างไร ) เท่านั้นยังไม่พอ พอพวกโจรได้ยินเสียง “ตวาด” ของท่านก็ถึงกับขวัญหนีดีฝ่อ ตกใจกลัวสุดขีด พวกมันจึงลนลานทั้งวิ่งทั้งคลานสี่เท้าตาลีตาเหลือกหนีไปแบบไม่คิดชีวิต
และเสียง “ตวาด” นี้เอง ทำเอาเหล่าพระ-เณร และเด็กวัดพากันแตกตื่นตกใจ รีบวิ่งมาดูที่หอสวดมนต์ต้นเสียง แต่ก็ไม่พบพวกโจรใจบาปเสียแล้ว
และที่ หลวงพ่อหวาน โดนชะแลงเหล็กตีเข้าที่ท้ายทอยตั้ง ๒-๓ ครั้ง แต่ไม่ยักจะเป็นอะไร รอยช้ำก็ไม่มีให้เห็น นั่นก็เพราะท่านสำเร็จวิชา “ ชาตรี ๙ เฮ ” บางคนเรียก “ วิชาหินเบา ” ซึ่งเรียนมาจากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อกลั่น แห่งวัดพระญาติ
อนึ่ง พระอาจารย์ที่สามารถตวาดผู้คนจน ขวัญเสีย บางคนถึงกับ เป็นบ้า ได้นั้น ท่านต้องมีตบะมหาอำนาจแก่กล้า บารมีสูงส่ง ที่ผู้เขียนเคยได้ยินมาก็มี พระอาจารย์ทองเฒ่า และ หลวงพ่อปาน จากสำนักวัดเขาอ้อ, พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา, หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก โดยพระอาจารย์ทั้ง ๔ ท่านอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ฯลฯ ส่วนพระอาจารย์จากภาคอื่นที่เคยได้ยินมาก็ หลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ นี่แหละ
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1196 หลวงพ่อหวาน พรหมสโร วัดดอกไม้ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปักษ์แรก เดือนกันยายน พ.ศ.2559 ราคาปก 60 บาท ภาพและเรื่องโดย เอกลักษณ์ เพริศพริ้ง )
#ลานโพธิ์ #หลวงพ่อหวาน #วัดดอกไม้ #จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
![]() |
หลวงพ่อหวาน พรหมสโร วัดดอกไม้ |
ทั้งสามพิธีที่ว่ามาแม้จะต่างวาระกัน แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือ พระอาจารย์ที่มาเสก ล้วนแต่มีคาถาอาคมเข้มขลัง มีพลังจิตแก่กล้า เป็นที่เชื่อถือของผู้คนประชาชนทั่วทั้งประเทศ และที่สำคัญพระอาจารย์ผู้เป็นเจ้าพิธีหรือประธานฝ่ายสงฆ์ในสมัยนั้นจะเป็นผู้คัดเลือกผู้เสกเองกับมือ คือแบบว่า จะต้องเอาที่เก่งที่สุดแห่งยุคเท่านั้น จะได้ไม่เสียชื่อเจ้าของงาน หรือเสียถึงพระอาจารย์เจ้าพิธี
![]() |
เหรียญหลวงพ่อหวาน รุ่นแรก พ.ศ.2505 ออกวัดพุขามหวานวนาราม |
“ ให้ทำเหรียญพระเกจิอาจารย์ที่เก่งที่สุดแห่งยุคของภาคกลางขึ้นมา จำนวน ๙ ท่าน ๙ เหรียญ เสร็จก็นำไปให้แต่ละท่านปลุกเสกเดี่ยวก่อน แล้วค่อยนิมนต์ทั้ง ๙ ท่านมาทำพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ” ( หลวงปู่ดู่ท่านเลือกพระอาจารย์เองทั้งหมด )
![]() |
เหรียญหลวงพ่อหวาน รุ่นแรก ออกวัดดอกไม้ บล็อกมี พ.ศ.2509 |
สำหรับ “ พิธีมหาพุทธาภิเษกวัดราชบพิธ ปี ๒๔๘๑ ” ก็มี หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน, หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว, หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง ฯลฯ
ส่วน “ พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราชอินโดจีน เมื่อปี ๒๔๘๕ ” ก็มี หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว, หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก, หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ฯลฯ
![]() |
พระอุโบสถวัดดอกไม้ ต.หันสัง อ.บางปะหัน จ.อยุูธยา |
![]() |
รูปปั้นหลวงพ่อสำริด บนหอสวดมนต์ |
การครั้งนั้นได้นิมนต์พระคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งยังมีความเข้มขลังทางด้านมนต์คาถาจากทั่วประเทศจำนวน ๑๐๘ รูป ให้มาร่วมปลุกเสก และก็อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า พระอาจารย์ทุกท่านที่มาเสก จะต้องเก่งที่สุดแห่งยุคเท่านั้น และ ๑ ใน ๑๐๘ ท่านที่ว่ามาก็คือ หลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นั่นเอง
เรื่องประสบการณ์จากวัตถุมงคลของ “ หลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ ” นั้น หากถามคนรุ่นเก่าๆ ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะจังหวัดสระบุรี ไม่มีใครที่ไม่รู้จักกิตติศัพท์ชื่อเสียงของท่าน ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง...
![]() |
เหรียญหลวงพ่อหวาน รุ่นปีกค้างคาว พ.ศ.2512 เนื้ออัลปาก้า |
ประสบการณ์จากวัตถุมงคล
๑. ตวาดจนหอสวดมนต์สะเทือนคุณธนากร ทรัพย์ล้อม กรรมการ วัดดอกไม้ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่าให้ฟังว่า...
ตอนที่ “ หลวงพ่อหวาน ” ยังมีสุขภาพแข็งแรง ท่านได้จำวัดอยู่ที่หอสวดมนต์ซึ่งมีพระพุทธรูปเนื้อทองสำริดเก่าแก่งดงามมากองค์หนึ่ง นามว่า “ หลวงพ่อสำริด ” ประดิษฐานอยู่ หลวงพ่อสำริดองค์นี้เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ท่านคือศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในย่านนั้น
แล้วก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้น หลวงพ่อสำริดเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้ไปเข้าหูเข้าตาของพวกโจรใจบาปหยาบช้าเข้า พวกโจรพยายามหาลู่ทางจะมาขโมยหลวงพ่อสำริดที่หอสวดมนต์ พวกมันสืบทราบมาว่ามี “ พระสูงวัย ” นอนเฝ้าอยู่รูปหนึ่ง ( หลวงพ่อหวาน ) พวกมันคิดว่าเจองานหมูเข้าให้แล้ว แต่พวกมันคิดผิด!
![]() |
เหรียญหลวงพ่อหวาน ดอกจิก พ.ศ.2516 |
![]() |
รูปปั้นหลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ |
พวกโจรพอเห็น หลวงพ่อหวาน มายืนเด่นเป็นสง่าขวางทางอยู่ โดยไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ ก็ถึงกับแข้งขาอ่อนเพราะกลัวท่านแทบช็อก!! ( พวกมันนึกว่าหลวงพ่อมรณภาพแล้ว เพราะตีท่านสุดแรงเกิดกะเอาให้ตาย แต่จู่ๆ ท่านกลับมายืนขวางทางหน้าตาเฉย จะไม่ให้พวกมันไม่ช็อกได้อย่างไร ) เท่านั้นยังไม่พอ พอพวกโจรได้ยินเสียง “ตวาด” ของท่านก็ถึงกับขวัญหนีดีฝ่อ ตกใจกลัวสุดขีด พวกมันจึงลนลานทั้งวิ่งทั้งคลานสี่เท้าตาลีตาเหลือกหนีไปแบบไม่คิดชีวิต
และเสียง “ตวาด” นี้เอง ทำเอาเหล่าพระ-เณร และเด็กวัดพากันแตกตื่นตกใจ รีบวิ่งมาดูที่หอสวดมนต์ต้นเสียง แต่ก็ไม่พบพวกโจรใจบาปเสียแล้ว
![]() |
ป้ายทางเข้าวัดดอกไม้ |
อนึ่ง พระอาจารย์ที่สามารถตวาดผู้คนจน ขวัญเสีย บางคนถึงกับ เป็นบ้า ได้นั้น ท่านต้องมีตบะมหาอำนาจแก่กล้า บารมีสูงส่ง ที่ผู้เขียนเคยได้ยินมาก็มี พระอาจารย์ทองเฒ่า และ หลวงพ่อปาน จากสำนักวัดเขาอ้อ, พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา, หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก โดยพระอาจารย์ทั้ง ๔ ท่านอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ฯลฯ ส่วนพระอาจารย์จากภาคอื่นที่เคยได้ยินมาก็ หลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ นี่แหละ
( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1196 หลวงพ่อหวาน พรหมสโร วัดดอกไม้ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปักษ์แรก เดือนกันยายน พ.ศ.2559 ราคาปก 60 บาท ภาพและเรื่องโดย เอกลักษณ์ เพริศพริ้ง )